Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.ทิสโก้ : หุ้นใหม่เข้าตลาด บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) STX

172


บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) (STX)
ลักษณะธุรกิจ :
ประกอบธุรกิจเหมืองหินและแร่ โดยผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หินอุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิตและชนิดหินปูน รวมทั้งผลิตภัณฑ์แร่โดโลไมต์ และให้บริการด้านขนส่งเพื่อการขนส่งสินค้าและบริหารจัดการควบคุมสต็อคสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ไซต์งานอย่างครบวงจร โดยเหมืองตั้งอยู่ที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และพื้นที่เชื่อมต่อ ต.รางบัว และ ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

ความเห็นของเรา :
ต้นทุนการขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน
การแข่งขันในธุรกิจเหมืองหินและแร่ไม่สูง เนื่องจากระยะเวลาในการระเบิดขุดหินและโม่บดหินในแต่ละวันที่จำกัด รวมทั้งการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ทำได้ยาก ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เงินลงทุนสูง ประกอบกับต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น การระเบิดหินให้ได้อัตราความสำเร็จของผลผลิต (yield) สูงสุด ขณะที่ผลิตภัณฑ์สามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกระบวนการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าในแง่ของขนาด คุณสมบัติ และคุณภาพ ประกอบกับเหมืองของบริษัทอยู่ใกล้แหล่งก่อสร้าง เช่น โซน EEC ซึ่งมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการตามการสนับสนุนของรัฐบาล อุปสงค์ต่อวัสดุก่อสร้างจึงสูงตามไปด้วย สร้างความได้เปรียบแก่บริษัท เนื่องจากต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่า

รายได้เติบโตจากโครงการก่อสร้าง
คาดรายได้ปี 2024 ขยายตัว จากการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น และได้ประโยชน์จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ พ.ค. เป็นต้นไป  ซึ่งคาดว่าอุปสงค์วัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น รวมทั้งแร่โดโลไมต์ ผลิตภัณฑ์ล่าสุดของบริษัทผลักดันให้ยอดขายเติบโต โดยปี 2023 ที่ผ่านมาเติบโตราวร้อยละ 50 จากการออกผลิตภัณฑ์แร่โดโลไมต์ผงที่ใช้ประโยชน์ได้ในหลายอุตสาหกรรม เพื่อเสริมความแข็งแรงของวัสดุ เช่น คอนกรีต แก้วและกระจก เป็นต้น โดยหากอิงจากดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในช่วง 1Q24 คาดว่าราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ในปี 2024 จะทรงตัว YoY

กำไรขยายตัวตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น
การเติบโตของอุปสงค์ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ช่วยหนุนอัตรากำไรของบริษัทจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้จากแร่โดโลไมต์ ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่าอัตรากำไรขั้นต้นจากผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ขณะที่คาดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับมีกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรที่คาดว่าเพิ่มเข้ามา อย่างไรก็ตามเหมืองแห่งใหม่ที่บริษัทคาดว่าจะเริ่มเข้าลงทุนได้ในปี 2024 อาจมีต้นทุนในการดำเนินงานช่วงแรก ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น แต่โดยภาพรวมยังคาดว่าปี 2024 จะเห็นการเติบโตของกำไร

การระดมทุนในครั้งนี้เพื่อลงทุนเหมืองแร่แห่งใหม่มีความเหมาะสม เนื่องจากจะช่วยเพิ่มปริมาณวัตถุดิบให้แก่บริษัท ซึ่งจะสร้างการเติบโตของรายได้ในอนาคต และปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ ได้แก่ เหมืองแห่งใหม่ที่บริษัทจะเข้าไปลงทุน ตั้งอยู่ที่ ต.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี (อยู่ระหว่างการยื่นคำขอประทานบัตรใหม่) และ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี (ได้รับอนุญาตประทานบัตร เป็นระยะเวลา 29 ปี) นอกจากนี้บริษัทมีแผนจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.055 บ./หุ้น หลังผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 2 พ.ค. 67 ซึ่งจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (XD) 16 พ.ค.

ความเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ 1) การสำรวจและจัดหาแหล่งวัตถุดิบ 2) การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสำรอง 3) การต่ออายุประทานบัตร โดยการประเมินเบื้องต้น อิงจาก PER เฉลี่ยของผู้ประกอบธุรกิจที่ใกล้เคียงกันในต่างประเทศที่ 16.02 เท่า มองว่ามูลค่าเหมาะสม ณ ราคา IPO มีพรีเมียมแล้ว 




 



รายละเอียดการเสนอขายหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (Par)    1.00 บาท
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย (IPO)    65 ล้านหุ้น (ร้อยละ 21.16 ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้)
ทุนจดทะเบียน    307.13 ล้านบาท (307.13 ล้านหุ้น)
ราคาเสนอขาย    3.00 บาท
วันเริ่มซื้อขาย    26 เม.ย. 2024
ตลาดรอง    ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) (PROPCON)
วันที่เสนอขาย    18-19,22 เม.ย. 2024
ที่ปรึกษาทางการเงิน    บริษัทหลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน    1)    เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในธุรกิจเหมืองหินและแร่ หรือใช้ในการซื้อเหมืองหินและแร่ หรือใช้ในการก่อสร้างอาคารโรงงานรวมถึงการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
2)    เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินธุรกิจ
นโยบายการจ่ายเงินปันผล    บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการหลังจากการหักภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละปี และการจัดสรรทุนสำรองตามกฎหมาย

Source: Company data
















 



โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่
    ก่อน IPO    หลัง IPO
1.กลุ่มตระกูลปิงคลาศัย    44.22%    34.86%
2.กลุ่มตระกูลอะโน    42.56%    33.56%
3.นายสยาม วัชรปรีชา    4.96%    3.91%
4.นายทรงวุธ เวชชานุเคราะห์ (CEO)    2.07%    1.63%
5.นายยุทธนา ทรัพย์สมบูรณ์    2.06%    1.63%
6.นายสามารถ ผันผ่อน    1.65%    1.30%
7.นางสาวสาธิตา ลิมสถายุรัตน์    0.83%    0.65%
8.นางนุตนา ศรีสมศักดิ์    0.41%    0.33%
9.นายอธิภู ลิลา    0.41%    0.33%
10.นายวรชัย สกลวรารุ่งเรือง    0.41%    0.33%
11.นางอลิสา พิศสุวรรณ    0.41%    0.33%
รวมผู้ถือหุ้นเดิม    100.0%    78.84%
หุ้น IPO    -    21.16%
รวม     100.0%    100.0%

Source: Company data

ข้อมูลทางการเงิน
    2020    2020    2021    2023
รายได้รวม (ล้านบาท)     410.93      360.75      279.55      371.28
กำไรสุทธิ (ล้านบาท)    33.15     18.50      21.56      38.04
FD EPS (บาท)    0.11    0.06    0.07    0.12
FD BV (บาท)     2.02     2.00    1.96    2.10

Source: TISCO Research


Market Insight
     E- mail :tiscoresearch@tisco.co.th

ณภัค ภัทรสุปรีดิ์

: เรียบเรียง โทร : 02-276-5976 อีเมล์ : reporter@hooninside.com ที่มา : สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้