ถ้าไปด้วยกัน ก็ไปได้ไกล
การประชุม กนง. วันนี้เป็นที่จับตาของทุกฝ่าย ว่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่มีกระแสเรียกร้องจากรัฐบาลหรือไม่ ทั้งนี้เรามองว่า แม้จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม แต่หากเสียงไม่เป็นเอกฉันท์ หรือ มีความเห็นจากที่ประชุมว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะลงได้เมื่อใด ก็น่าจะถูกตีความในทางบวกได้แล้วส่วนทางนโยบาย Digital Wallet เห็นพัฒนาการอีกครั้งหลังโดยในวันนี้ ปปช. จะแถลงข่าวเรื่องแนวทางที่แนะนำให้รัฐปฎิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตในโครงการดังกล่าว ขณะที่ท่าทีของภาครัฐก็ดำเนินการเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มโอกาสที่ Digital Wallet จะเกิดขึ้น จากพัฒนาการของข่าวที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นน่าจะเริ่มทิศทางที่สอดประสานกันมากขึ้นของนโยบายการเงิน และการคลัง ซึ่งหากทั้ง 2 ส่วนเดินไปด้วยกัน(ในทิศทางเดียวกัน) ตลาดหุ้นก็น่าจะไปได้ไกลขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ อีกเรื่องที่น่าติดตามก็คือการเจรจาของ นายกรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา ในการพัฒนาแหล่งพลังงานบนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
ประเมินว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 1400 จุด โดยรอปัจจัยขับเคลื่อนตัวใหม่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงิน หรือ นโยบายการคลัง วันนี้คาดกรอบ 1390 –1408 จุดหุ้น Top Pick วันนี้ เลือก CPN, JMART และ PTTEP
ทิศทางดอกเบี้ยในปีนี้มีโอกาสเข้าสู่ขาลง
วันนี้ (7 ก.พ. 67) เวลา 14.00 น. รอติดตามการประชุม กนง. เพื่อประเมินทิศทางการดำเนินนโยบานการเงินที่อาจมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นในปี 2567 สำหรับเหตุปัจจัยที่จะช่วยหนุนให้ กนง. ปรับลดดอกเบี้ย มีรายละเอียดหลักๆ ดังนี้
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงเติบโตช้า โดยกระทรวงการคลังได้ปรับคาดการณ์ GDPGrowth ของไทยปี2566 ลดลงเหลือเพียง 1.8%YoY จะท าให้ GDP ใน4Q66 ขยายน้อยสุดในรอบปีเพียง +1.4%YOY พร้อมกับเป็นไตรมาสอาจติดลบราว -1.3%QOQ กดดันให้เศรษฐกิจบ้านเราเสี่ยงต่อภาวะTechnicalRecession (ถ้าติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน) ส่วนในปี2567 ประเมินว่า GDPจะอยู่ที่ +2.8%YoY
เงินเฟ้อไทยติดลบ 4 เดือนติดต่อกัน อาจสะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจไทยเสี่ยงซบเซา ขณะที่ข้อมูลในอดีตนับตั้งแต่ปี 2010 – 2023 เผยช่วงที่เงินเฟ้อไทย ≤ 0มักจะบ่งชี้ถีงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ า โดยGDP Growth ของไทยเฉลี่ยจะอยู่ที่ -0.65% ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.2% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสวนทางกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงถึง 2.5%
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยล่าสุด +3.61% ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก อาทิ จีน (1.8%), สหรัฐฯ (2.1%), ยุโรป (1.7%) เป็นต้นนอกจากนี้ ผลต่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบาย (2.5%) และเงินเฟ้อพื้นฐาน(0.52%) ล่าสุดห่างกัน 1.98% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 14 ปีครึ่ง
ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนแบกรับภาระหนี้สินที่สูงขึ้น หลังดอกเบี้ยไทยอยู่ในระดับสูงถึง 2.5% ซึ่งอาจส่งผ่านไปยังกำลังซื้อที่ทรุดตัวลง ขณะที่เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนใน 3Q66 พุ่งสูงกว่า 91%
โดยสรุป การประชุม กนง. ในวันนี้ มี 2 ประเด็นหลักที่น่าติดตามตาม และอาจเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย หากมีผลสรุป อาทิ
1. มุมมองของ กนง. ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งหากส่งสัญญาณว่ามองภาพไปในทิศทางเดียวกันกับ กระทรวงการคลังมากขึ้น ซึ่งน่าจะนำมาซึ่งการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่สอดประสานกัน
2. มติในที่ประชุม กนง. ต่อทิศทางดอกเบี้ย เพราะเมื่อพิจารณาจากสถิติในช่วง5 ปีที่ผ่านมา ในครั้งที่ กนง. เสียงแตกปรับลดดอกเบี้ย มักจะช่วยหนุน SETปรับตัวขึ้น
มองเห็นพัฒนาการเชิงบวกในระยะถัดไป
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลงทุกช่วงอายุ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ตราสารหนี้อายุ 1 ปี ปรับตัวลง 6 Bps. ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.32%
ตราสารหนี้อายุ 2 ปี ปรับตัวลง 9 Bps. ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.26%
ตราสารหนี้อายุ 5 ปี ปรับตัวลง 12 Bps. ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.37%
ตราสารหนี้อายุ 10 ปี ปรับตัวลง 15 Bps. ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.64%
ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณชี้นำให้ กนง.เริ่มใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเร็วขึ้นแม้กนง.จะให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 2.50% อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว
ดังนั้น หาก กนง.หนุนการลดดอกเบี้ยให้เกิดเร็วขึ้นกว่าที่คาด ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าจะมีข้อดีต่อ SET Index ดังนี้
ตามกลไกดอกเบี้ยที่ลดลง 25 bps. (จาก 2.50% เป็น 2.25%) มีโอกาสที่จะเป็นแรงผลักให้target SET Index ปรับตัวสูงขึ้นอีก 71-72 จุด จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 1650-1670จุด (EPS 96-97 บาท/หุ้น)
ตามสถิติย้อนหลัง 10 ปี ทุกๆดอกเบี้ยที่ลดลง 25 bps. จะช่วยเพิ่มมูลค่าซื้อขายของ SETindex ราว 4-5 พันล้านบาท/วัน
ตามกลไก ทุกๆ การลดดอกเบี้ย 25 bps. จากมูลค่าหนี้คงค้างทั้งระบบ 4.25ล้านล้านบาท สามารถช่วยลดดอกเบี้ยจ่ายได้ราว 1 หมื่นล้านบาท หนุนEPS ตลาดระยะยาวเพิ่ม 1 บาท/หุ้น
โดยการปรับลดดอกเบี้ยของ กนง.ในอนาคต จะมีผลต่อกลุ่มธนาคาร และ Non –Bank โดยกรณีที่มีการลดดอกเบี้ยลบ ต่อ 6 ธ.พ. ใหญ่ (BAY, BBL, KBANK,KTB,SCB และ TTB) ทั้งจากอัตราดอกเบี้ยส่วนของ Interbank ที่ปรับตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายทันที และเงินให้สินเชื่อที่จะมีการปรับลดลงในช่วงถัดไป ทั้งนี้สมมติฐานปัจจุบันของฝ่ายวิจัยอยู่บนอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลง 1 ครั้ง 0.25%ช่วง 2H67 และรับรู้เต็มปีในปี 2568 ในทางตรงข้าม KKP, TISCO และกลุ่ม Non –bank ที่โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อมีสัดส่วนอัตราดอกเบี้ย Fixed rate มากกว่าFloating rate แต่ต้นทุนทางการเงินทยอยปรับลดตามอัตราดอกเบี้ย จะได้ประโยชน์กรณีวัฎจักรดอกเบี้ยกลับทิศ
สำหรับกลุ่มธนาคาร ให้น้ าหนักไปที่ ธ.พ. ที่จ่ายปันผลสูง อย่าง TTB (Outperform :FV@B1.98) ที่มี tax shield เหลือ 1.55 หมื่นล้านบาท มีระยะเวลาการใช้สิทธิถึงปี2571 ช่วยลดทอนผลกระทบจากทั้งวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงและ NPL ได้ดีกว่ากลุ่มฯ
พร้อมประเมิน Div yield ราว 5% - 6% ต่อปี ขณะที่ ธ.พ. เล็ก เลือก TISCO(Outperform : FV@B106) ที่คาดให้ Div yield สูงสุดในกลุ่มฯ ราว 7% - 8% และทิศทาง ROE สูงสุดในกลุ่มฯ ราว 15% -17% ขณะที่ BBL, KBANK ที่ PBV ซื้อขายแถว 0.5 เท่า ทางพื้นฐาน ถือว่าไม่แพง (คาดหวังการไหลกลับของ Fund flow และเงินปันผลประจำปี ช่วย Limit downside)
ด้านกลุ่ม Non – Bank (จ าน าทะเบียนรถ) ยังคงให้น้ำหนักไปที่ TIDLOR ที่ Coverageratio สูงสุดในกลุ่มฯ > MTC > SAWAD
ขณะที่ในมุมของนโยบายการคลังยังเห็นสัญญาณที่ดีของนโยบาย DIGITAL WalLETเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในวันนี้เวลาบ่าย 2 มีมติรับรองข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว โดยปรับเนื้อหาให้ซอฟต์ลง ย้ำไม่ได้บังคับแค่แนะนำ ให้ระมัดระวัง คาด 2 สัปดาห์เสนอรัฐบาลได้
รมช.คลัง เปิดเผยว่า นายกฯ และรมว.คลัง ได้นัดหมายประชุมคณะกรรมนโยบายดังกล่าว ในต้นสัปดาห์หน้าซึ่งจะจัดจัดตั้งคณะอนุกรรมการติดตามการใช้จ่ายอย่างผิดประเภท ทำหน้าที่วางแผน กำหนดกฏเกณฑ์ และรูปแบบการทำงาน ขณะที่ พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อทำโครงการดังกล่าว ได้มีการเตรียมยกร่าง พ.ร.บ.ไว้แล้วขอให้ประชาชนมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นแน่นอนซึ่งกลุ่มหุ้นหลักที่คาดว่าจะได้ประโยชน์หากนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นจริง คือ กลุ่มCOMM FOOD TOURISM โดยหุ้นในกลุ่มดังกล่าว ที่ฝ่ายวิจัยฯ ชื่นชอบ คือ CPAXT,HMPRO, JMART, CRC, CPALL, OSP, CBG, MINT, AOT เป็นต้น
สรุป นโยบายการเงินที่มีโอกาสผ่อนคลายลงในอนาคต และโครงการ Digital wallet ที่มีสัญญาณที่ดีขึ้นเรื่อยๆ คาดหนุนให้ประเทศไทยดูดีในสายตาต่างชาติ และมีโอกาสให้ Flow ต่างชาติไหลเข้าหุ้นไทยระยะถัดไป และหนุนให้ SET Index สามารถoutperform ตลาดหุ้นอื่นๆได้ในระยะถัดไป โดยกรอบการเคลื่อนไหววันนี้อยู่ที่ 1390-1408 จุด
4 เรื่อง สนับสนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อ
วานนี้ตลาดหุ้นไทย +13.03 จุด มาอยู่ที่ 1396.96 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายที่กลับมาสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาท พร้อมกับต่างชาติที่กลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยติดต่อกัน 4 วัน กว่า8.0 พันล้านบาท
ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินมี 4 เรื่องสนับสนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อ ดังนี้
1. แรงขายหุ้นไทยจากต่างชาติเริ่มจำกัดมากขึ้น คือ ต่างชาติเคยซื้อสุทธิหุ้นไทยในปี 2022 กว่า 2 แสนล้านบาท แต่เริ่มมีการขายสุทธิออกมาจนเกือบหมดในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 66 จากความกังวลเศรษฐกิจไทยฟื้นได้ช้ากว่าที่คาดมาก แต่ด้วยมูลค่าที่ต่างชาติซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี 2022 ถูกขายจนเกลี้ยงพอดีน่าจะช่วยหนุนให้แรงขายต่อจากนี้จำกัดมากขึ้น
2. ยังมีช่องว่างให้ Fund Flow ไหลเข้าต่อ คือ จุดที่ต่างชาติเริ่มกลับมาขายสุทธิหุ้นไทยอีกครั้ง คือ 5 ม.ค. 67 –31 ม.ค. 67 ต่างชาติขาย -3.2 หมื่นล้านบาทเป็นช่วงที่เริ่มเห็นนโยบายการเงินและการคลังไม่สอดคล้องกันพอดี แต่ถ้าแนวทางนโยบายการเงินการคลังเริ่มไปทิศทางเดียวกัน เชื่อว่า Fund Flowยังมีช่องว่างให้ไหลกลับมาอยู่
3. แรงซื้อของต่างชาติในเดือน ก.พ. 67 โดดเด่นที่สุดในกลุ่ม TIP โดยเดือน ก.พ.67 ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 224 ล้านเหรียญ (mtd) สูงสุดในกลุ่ม TIP โดยอินโดนีเชียถูกซื้อสุทธิ 166 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรีญ และเป็นการกลับมาซื้อสุทธิเดือนแรกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
4. ปริมาณการ Short Sell หุ้นไทยในเดือน ก.พ. 67 (mtd) ลดน้อยลงจากเดือนม.ค. 67 โดยเดือน ม.ค. 67 ต่างชาติShort Sell หุ้นไทยด้วยสัดส่วน 12%ของมูลค่าซื้อขายรวม แต่เดือน ก.พ. 67 (mtd) มูลค่า Short Sell ลดเหลือเพียง 8.9% ดังนั้นประเมินว่าแรงกดดันจากการ Short Sell ของต่างชาติมีโอกาสลดน้อยลงเป็นตัวช่วยหนุนให้หุ้นที่ย่อตัวลงมาลึก มีโอกาสย่อตัวได้ช้าลงหรืออาจจะรีบาวน์กลับขึ้นมาจากการถูก Cover Short ได้
ในความคาดหวัง Fund Flow น่าจะเริ่มจำกัดการขายและกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยมากขึ้นกลยุทธ์แนะน าเก็งก าไรหุ้นพื้นฐานที่ต่างชาติซื้อสุทธิสะสมเด่นในช่วงเดือน ก.พ.(mtd) อย่าง KTC, AOT, BCP, SCC, BDMS, HANA, SPRC, CPN, CPALL,SAWAD เป็นต้น
นอกจากนี้ยังแนะน าเก็งกำไรในหุ้นที่ถูก Short Sell ลดน้อยลงมาก อย่าง BDMS,DELTA, CPALL, PTTEP, SCC, KTB, KKP, IVL คาดหวังการรีบาวน์สั้นๆ จากการCover Short ได้
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์