Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

312

 

ทั้งFED และ ECB กำลังทำ QT อยู่นะ
ในช่วงที่เราให้ความสนใจกับ สงครามรัสเซีย-ยูเครน , อิสราเอล-ฮามาส รวมถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ย ว่าจะหยุดขึ้น หรือ จะลงเมื่อไร ในอีกมุมหนึ่งเราพบว่ากระบวนการในการลดสภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งของ FED และ ECB โดยขนาดงบดุลของ FED ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 9 ล้านล้านUSD ในปี 2022 มาอยู่ที่ 7.85 ล้านล้าน USD ในปัจจุบันหรือลดลง 12.97%ส่วนงบดุลของ ECB ลดลง 1.8 ล้านล้าน EUR จากจุดสูงสุด ภาวะสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่ลดลงดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นเหตุปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้FUND FLOW ไหลออกจากตลาดการเงินบ้านเรา และยังไม่กลับเข้ามา ซึ่งจะส่งผลทให้แรงขับเคลื่อนของ SET INDEX เบาลง กลุ่มนักลงทุนที่ดูเหมือนอาจเป็นความหวังเดียวในขณะนี้ คือนักลงทุนสถาบันในประเทศซึ่ง อาจมีเงินจากTHAILAND ESG FUND กลับเพิ่มเข้ามา แต่ก็อาจยังไม่มากเท่าที่ควรSET INDEX กลับมาอยู่ในภาวะที่ขาดปัจจัยขับเคลื่อนใหม่ๆ ขณะทิ่ทิศทางของFUND FLOW ที่จะขับเคลื่อตลาดก็ยังแผ่วเบา คาด SET INDEX แก่วงในกรอบแคบช่วง 1375 –1385 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPN, SCGP และ WHA


ความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION ค่อยๆ กลับมา
ภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวเข้าใกล้สู่กรอบเป้าหมาย ช่วยกระตุ้นให้ธนาคารกลางต่างๆ เริ่มกลับมาพิจารณาใช้นโยบายตรึงดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามแม้สถานการณ์ที่ดูนิ่งขึ้น แต่ความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION อาจกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดยมีสัญญาณที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ
• BOND YIELD สหรัฐอ่อนตัวเรื่อยๆ : โดยในเดือน พ.ย. BOND YIELDสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลดลง 53 BPS. สู่ระดับ 4.2% ซึ่งเทียบเท่ากับการปรับลดดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง สะท้อนถึงมุมองการปรับลดดอกบี้ยในระยะถัดไป ซึ่งมักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ผลสำรวจของ FEDWATCH TOOL เผยว่า FED มีโอกาสตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5% ไปจนถึงช่วงเดือน มี.ค. 67 ก่อนที่จะเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยใน 2Q67


• ราคาน้ำมันดิบชะลอตัว: โดยในเดือน พ.ย. ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงมาต่ำกว่า 76 ดอลลาร์/บาเรล หรือ -12.2%YOY จากความกังวล เศรษฐกิจโลกซบเซา เป็นเพราะ DEMAND หดตัว บวกกับความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่เบาลง ทั้งสงครามอิสราเอล-ฮามาส และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อการดีดตัวของราคาน้ำมันมากนัก

 

สรุป เงินเฟ้อที่ชะลอตัวเป็นแรงกระตุ้นให้ธนาคารกลางต่างๆ เริ่มกลับมาพิจารณาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความกังวลเศรษฐกิจRECESSION อาจกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดยมีสัญญาณที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ BOND YIELD สหรัฐที่อ่อนตัว รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลดตาม DEMAND ที่หดตัวการทำ QT ทำให้สภาพคล่องหาย ดัชนีอาจปรับตัวขึ้นต่อยากธนาคารกลางต่างๆ ทั้ง FED และ ECB อัดสภาพคล่องส่วนเกินเขาระบบ หรือเรียกว่าการทำ QE(QUANTITATIVE EASING) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆเพิ่มขึ้นทั้ง GDP, CPI, PPI, PCE, NONFARMPAYROLL เป็นต้น ซึ่งหลังจากนั้นมักตามมาด้วยการเร่งเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางตามมา
ซึ่งการทำ QE ของFED ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นชัดเจน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

• ดัชนี S&P500 และ SET INDEX ปรับตัวขึ้น 134% และ 296% ตามลำดับในช่วงวิกฤต ซับไพรม์ ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินในระบบถูกอัดฉีดเข้ามา
จากงบดุลของ FED ที่เพิ่มขึ้น 3.58 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

• ดัชนี S&P500 และ SET INDEX ในช่วงที่บริษัทจดทะเบียนเผชิญกับ COVID19 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 100% และ 58% ตามลำดับ ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินในระบบถูกอัดฉีดเข้ามาจากงบดุลของ FED ที่เพิ่มขึ้น 5.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่ในทางกลับกันการทำ QT (QUANTITATIVE TIGHTENING) คือ การลดปริมาณสภาพคล่องหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงที่เกิดการทำQT(ปี 2018-2019) SET INDEX แกว่งผันผวนและไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 2022 FED ก็ได้ประกาศว่าจะทำการลดขนาดงบดุล 4.75 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน (ในช่วง มิ.ย. - ก.ย. 65) และลดเพิ่มเป็น 9.5 หมื่นล้านเหรียญ (ในช่วง ต.ค. -ธ.ค. 65)ขณะที่ในปี 2566 หลังจากผ่านพ้นวิกฤต ธพ.ล้มละลาย ขนาดงบดุลของ FEDก็ทยอยลดลงอย่างมีนัยฯ จนล่าสุดอยู่ระดับ 7.85 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบลดลง และอาจเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นบ้านเราลดลง ทำให้SET INDEX อยู่ในภาวะที่ขาดแรงขับเคลื่อน

ซึ่งสอดคล้องกับ FLOW ต่างชาติในปีนี้ที่ขายสุทธิ SET INDEX ตั้งแต่ต้นปีกว่า 5.5พันล้านเหรียญฯ หรือ 1.9 แสนล้านบาท(ขายสุทธิ 11 จาก 12 เดือนทำการ) และกดดันSET INDEX ปรับตัวลง 17.3%(YTD) ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องติดตามประเด็น QT อย่างใกล้ชิด และควรถือเงินสดราว 10-20%ของพอร์ตการลงทุน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมุม VALUATION ของ SET INDEX ถือว่าน่าทยอยสะสมเพื่อรับผลตอบแทนในระยะกลาง-ยาวเนื่องจาก PE ต่ำระดับ -1.5S.D., PBV ต่ำระดับ -2S.D.และ MARKET EARNING YIELD GAP สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี

 

สรุป การทำ QT ของธนาคารกลางต่างๆ มีโอกาสทำให้เม็ดเงินในระบบหายไป และหนุนให้ตลาดหุ้นโลก รวมถึง SET INDEX ในยะยะนี้ปรับตัวขึ้นได้ยากลำบาก อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในเชิง VALUATION ของ SET INDEX ถือว่าถูกทั้งในมุม PE, PBV และมีค่า MARKET EARNING YIELD GAP สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ถือเป็นโอกาสทยอยสะสม เพื่อการลงทุนระยะยาว โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEXระดับ 1375-1385 จุดส่วน TOP PICKS เลือกหุ้นที่กำไรเติบโตในอนาคต และมี VALUATION ที่ไม่แพงมากนัก ชอบ WHA ,SCGP และ CPN


Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

งบท่องเที่ยว By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง วันนี้ ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ยังคงแกว่งตัว ในกรอบแคบๆ ส่วนการเก็งกำไรนั้น หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้