Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : BGC ส่องบรรจุภัณฑ์ปี64 ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ หลังเริ่มทยอยฉีดวัคซีน -ชูเทรนด์หนุนดีมานด์ขยายตัว

3,171

HotNews : BGC ส่องบรรจุภัณฑ์ปี 64 ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ หลังเริ่มทยอยฉีดวัคซีน -ชูเทรนด์หนุนดีมานด์ขยายตัว

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (18 มกราคม 2564)  บมจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส หรือ "BGC" ประเมินแนวโน้มตลาดบรรจุภัณฑ์คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติในปีนี้ หลังพัฒนาวัคซีนสำเร็จและเริ่มทยอยฉีดในบางประเทศ คาดส่งผลดีต่อภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว หนุนความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วเพิ่มขึ้น และยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเทรนด์สำคัญ พร้อมวางมาตรการดูแลพนักงานทุกส่วนในช่วง COVID-19 ระบาดระลอกใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่ค้า

 

 

 

นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ในไทยและภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า จากการประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้วในประเทศและภูมิภาคอาเซียนในปี 2564 คาดว่าจะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ หลังจากพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ได้เป็นผลสำเร็จและในบางประเทศเริ่มทยอยฉีดให้แก่ประชาชนแล้ว จึงคาดว่าสถานการณ์ของโรคระบาดจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นและสามารถกลับมาใช้ชีวิตรวมถึงทำกิจกรรมนอกบ้านได้ตามปกติ ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าอุปโภคบริโภคจะกลับมาเติบโตได้ดี และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วเพิ่มขึ้น

 

 

ขณะเดียวกันบริษัทมองว่าแนวโน้มสำคัญที่มีผลต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้ว ได้แก่

 

(1) เทรนด์การเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี (Premiumization) โดยผู้บริโภคในประเทศมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น และมีบรรจุภัณฑ์สวยงาม โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มของใช้ส่วนตัวและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ส่งผลดีต่อความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ดี (2)เทรนด์การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ (Health Awareness) โดยเฉพาะการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากบรรจุภัณฑ์แก้วตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยไร้สิ่งเจือปน (Purity)

 

 

(3) เทรนด์การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) ทำให้เกิดการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แก้วที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ 100%

 

 

(4) เทรนด์การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบใส (Transparency) เนื่องจากบรรจุภัณฑ์แก้วใสมีจุดเด่นในการกระตุ้นและดึงดูดความต้องการอุปโภคบริโภคของสินค้า โดยผู้บริโภคสามารถมองเห็นความสมบูรณ์และความสดใหม่ของสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์ ทำให้เกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น

 

 

และ (5) เทรนด์การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ส่งผลให้เกิดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก้วดีไซน์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า โดยเทรนด์ทั้ง 5 ข้อดังกล่าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้วทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

 

 

ทั้งนี้ ในปัจจุบันบริษัทฯ มีโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วใน 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น ปราจีนบุรี และราชบุรี มีเตาหลอมแก้วรวม 11 เตา ด้วยกำลังการผลิตรวมสูงสุด 3,495 ตันต่อวัน โดยในช่วงที่มีการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงต้นปี 63 ที่ผ่านมา และการระบาดระลอกใหม่ในปัจจุบัน บริษัทฯ และโรงงานทุกแห่งได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพนักงานเป็นสำคัญ โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด อาทิ การปรับรูปแบบให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work From Home), การเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีออนไลน์แก่พนักงาน, การใช้มาตรการคัดกรองและมาตรการด้านสุขอนามัยภายในโรงงานทุกแห่งอย่างเข้มงวด ฯลฯ เพื่อความมั่นใจของคู่ค้าและผู้บริโภคในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แก้วของบริษัทฯ

 

 

กูรูเคทีบีฯ คาด Q4/63 กำไร BGC มีลุ้นแตะ 200 ลบ.

 


บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า ยังคงคำแนะนำ ซื้อ BGC คงราคาเป้าหมายที่ 14.70 อิง SOTP เรามีมุมมองเป็นบวกต่อผลประกอบการของ BGC หลังจากกำไรสุทธิ 3Q20 ออกมาดีกว่าคาด ที่ 156 ล้านบาท (+94% YoY , +95% QoQ) ปัจจัยหลักมาจากยอดขายขวดแก้วกลุ่มเบียร์ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น +4% YoY และ +53% QoQ รวมถึง gross profit margin ที่ปรับตัวดีขึ้น +481 bps YoY อยู่ที่ 19.7% (3Q19 = 14.9%, 2Q20 = 20.4%) นอกจากนี้เรายังคาดกำไร 4Q20E มีลุ้นเห็นกำไรแตะ 200 ล้านบาท จากแนวโน้มการฟื้นตัวของยอดขายขวดแก้วที่ปรับดีขึ้น และคาดว่า gross margin จะทรงตัวในระดับสูงที่ 19% และเราได้ทำ 2 scenario สำหรับประเด็นการเข้าซื้อกิจการ โดยเราคาดว่าบริษัทจะเข้าซื้อเฉพาะกิจการที่มีกำไรและไม่เพิ่มทุน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2020E ที่ 672 ล้านบาท (+31% YoY, กำไรปกติ 9M20 คิดเป็น 64% ของคาดการณ์ทั้งปี) และคงกำไรสุทธิปี 2021E ที่ 773 ล้านบาท (+15% YoY)

 

 


ราคาหุ้นกลับมา outperform ตลาดได้ราว +5% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเป็นผลจากสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลายการเพิ่มทุน และการฟื้นตัวของผู้บริโภคที่เร็วกว่าคาด ปัจจุบัน BGC เทรดที่ 2020E PER = 11.7x (-1SD below 5-yr average PER 15.6x) และมีอัตราเงินปันผลตอบแทนที่สูงในระดับ 5-6%

 

 

 

Event: 3Q20 results review & Company update


BGC กำไรสุทธิ 3Q20 โต YoY, QoQ 2H20E BGC รายงานกำไรสุทธิ 3Q20 ที่ 156 ล้านบาท (+94% YoY, +95% QoQ) เป็นผลจาก
1) รายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,685 ล้านบาท (+6% YoY, +22% QoQ) YoY, QoQ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากรายได้พลังงานทางเลือกที่เวียดนาม มีรายได้ 131 ล้านบาท (+100% YoY, -6% QoQ) และรายได้จากกลุ่มบรรจุภัณฑ์แก้วปรับตัวเพิ่มขึ้น 29 ล้านบาท (+1% YoY, +24% QoQ) โดยปัจจัยหลักมาจากยอดขายขวดแก้วกลุ่มเบียร์ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น +4% YoY และ +53% QoQ

 

 

2) Gross profit margin ปรับตัวดีขึ้น +481 bps YoY อยู่ที่ 19.7% (3Q19 = 14.9%, 2Q20 = 20.4%) YoY ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยมีการปรับสัดส่วนการใช้เศษแก้วและพลังงาน เพื่อให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนพลังงานในการผลิต ขณะที่ gross profit margin ของกลุ่มพลังงานทางเลือก 3Q20 อยู่ที่ 51% ขณะที่ QoQ หดตัว -70 bps เป็นผลจากต้นทุนพลังงาน (NG price) ปรับตัวเพิ่มขึ้น +17% QoQ

 

 

คาดกำไร 4Q20E มีลุ้นเห็นกำไรแตะ 200 ล้านบาท จากแนวโน้มการฟื้นตัวของยอดขายขวดแก้วที่ปรับดีขึ้น จะส่งผลดีต่อ stock คงค้างที่มีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันอยู่ที่ 120,000 ตัน (ปกติอยู่ที่ระดับ 80,000-90,000 ตัน) และ 4Q20E คาดจะเห็นกำไรแตะ 200 ล้านบาท โต YoY, QoQ สอดคล้องกับสมาคมค้าปลีกและสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าเทศกาลปีใหม่ว่า ยอดคำสั่งซื้อดีขึ้น ปัจจัยสนับสนุนให้การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีขึ้นและตัวเลขกลับเป็นบวก 20-30% ทั้งในกลุ่มเบียร์และสุรากลั่น

 

 

ผู้บริหารขอทบทวนดีลเข้าซื้อกิจการอีกครั้ง แต่ยันไม่เลิกซื้อกิจการ เราได้จัดทำ 2 scenario สำหรับประเด็นการเข้าซื้อกิจการ 3 กิจการ หลังจากบริษัทแจ้งยกเลิกการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (AGM) ครั้งที่ 1 ในวันที่ 15 ธ.ค.20 เพื่อพิจารณาการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท บางกอกบรรจุภัณฑ์ จำกัด (BVP), บริษัท บีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (BGP) และบริษัท กบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี จำกัด (KBI) จากบมจ.บางกอกกล๊าส (BG) รวมทั้งการเพิ่มทุนจดทะเบียน ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวน คาดว่าหากมีความพร้อมก็จะนำเสนอต่อ AGM เพื่อพิจารณาในครั้งต่อไป โดยยืนยันว่ายังมีความสนใจในการเข้าซื้อบริษัทบรรจุภัณฑ์อยู่ เนื่องด้วยในระยะยาว BGC มีความต้องการเป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์ แม้ขณะนี้จะมีธุรกิจพลังงานเข้ามาเสริม แต่สัดส่วนรายได้ในอนาคตยังต้องมาจากบรรจุภัณฑ์ประมาณ 90%

 

 

 

1) กรณี Worse case: เข้าซื้อหุ้น 3 บริษัท และคงเงื่อนไขเพิ่มทุนเดิม (เพิ่มทุนแบบ RO 1:0.35294 ราคา 10.20 บาท จำนวน 245 ล้านหุ้น, เพิ่มทุนแบบ PP ไม่เกิน 69.4 ล้านหุ้น) เราคาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย โดยเราคาดว่าจะได้รับเงินจากการเพิ่มทุน RO ประมาณ 2.5 พันล้านบาท จะส่งผลให้ Net D/E ลดลงมาอยู่ที่ 1.5x จากเดิม 3Q20 ที่ 2.03x ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถกู้เงินได้เพิ่มอีกราว 4 พันล้านบาท ทั้งนี้ เราคาดว่าจำนวนหุ้นที่เพิ่มทุนทั้งหมดแบบรวม warrant จะเกิด dilution ต่อ EPS ที่ -32% (ถ้าเฉพาะ RO จะเกิด dilution ต่อ EPS ที่ -26%) แม้การเข้าไปซื้อหุ้น 3 บริษัท จะเป็นผลดีต่อการดำเนินงานของบริษัทในอนาคตสำหรับการขยายฐานลูกค้าและเป็นไปตามแผนบริษัทที่ต้องการเป็น one stop service

 

 

สำหรับการทำ packaging solution แต่สิ่งที่เรากังวลคือ บ.กบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี (KBI) มีผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง ปี 2019 ขาดทุน -245 ล้าน และ 1H20 ขาดทุน -147 ล้านบาท (ขณะที่อีก 1H20 BVP และ BGP มีกำไรประมาณ 46 ล้านบาท) และมีมูลค่าในการเข้าซื้อกิจการสูงสุดอยู่ที่ 2,328 ล้านบาท ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง จะทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2021E มี downside ราว -19%

 


2) กรณี Best case : เข้าซื้อ 2 กิจการ (BVP: ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กระดาษ, BGP: ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติก) โดยใช้เงินสดหรือเงินกู้ เพื่อเข้าซื้อกิจการ
เราคาดหวังจะได้เห็นกรณีนี้ เนื่องจากเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ถือหุ้น เพราะไม่ก่อให้เกิด dilution ต่อ EPS โดยมูลค่าของ BVP อยู่ที่ 500 ล้านบาท และ BGP อยู่ที่ 1,150 ล้านบาท และทั้ง 2 กิจการ มีผลประกอบการที่ดี จาก 1H20 มีกำไรรวมประมาณ 50 ล้านบาท อีกทั้งยังเป็นกิจการที่สามารถช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายระยะยาวมากกว่า จากความสามารถในการให้บริการสินค้าบรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภท ทำให้บริษัทสามารถต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมได้ หากบริษัทกู้เงินเพิ่มอีกราว 2,000 ล้านบาท จะทำให้ D/E เป็น 2.36x ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3Q20 ที่ 2.03x และจะมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มอีกราว 60 ล้านบาท (อ้างอิงดอกเบี้ยจ่ายที่ 3%) กระทบประมาณการกำไรปี 2021E ราว 7% แต่อย่างไรก็ตามภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจะถูกชดเชยด้วยกำไรของ 2 บริษัท ทำให้เรามองว่าไม่มีผลกระทบมากนัก

 

 

Implication
คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2020E-21E เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2020E ที่ 672 ล้านบาท (+31% YoY, กำไรปกติ 9M20 คิดเป็น 64% ของคาดการณ์ทั้งปี) และคงกำไรสุทธิปี 2021E ที่ 773 ล้านบาท (+15% YoY) โดยคาดกำไรสุทธิ 4Q20E จะยังคงเห็นการเติบโต YoY จากการฟื้นตัวของการบริโภคแอลกอฮอล์หลังจากร้านค้าต่างๆ กลับมาให้บริการปกติ

 

 

Valuation/Catalyst/Risk
คงราคาเป้าหมาย 14.70 บาท อิงวิธี SOTP แบ่งเป็น 1) ธุรกิจหลักบรรจุภัณฑ์แก้วด้วยวิธี PER อิง EPS ธุรกิจหลักปี 2020E ที่ 0.79 บาท และ ค่าเฉลี่ย PER ของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ 15x ได้ราคาเป้าหมาย 11.90 บาทต่อหุ้น 2) ธุรกิจ solar farm ด้วยวิธี DCF (WACC 5.5%, no terminal growth) ได้ราคาเป้าหมายที่ 2.80 บาทต่อหุ้น โดยความเสี่ยงหลักในปัจจุบันคือปัญหาเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 กระทบกำลังซื้อผู้บริโภค

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ไม่แตกต่าง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ หุ้นไทย เช้านี้ แกว่งตัว บ่ายวันนี้ ก็เช่นกัน แม้GDP ไตรมาส 1/67 ของไทยที่ออกมาวันนี้ 1.5% ...

ลุ้นกันต่อ By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง วันนี้ วันจันทร์ คงต้องมาลุ้นหุ้นกันต่อไป หลังจาก บริษัทจดทะเบียน ประกาศงบไตรมาสแรกปีนี้ออกมา ..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้