
HotNews : ตลท. งัดมาตราการประคองหุ้น !!
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเกณฑ์การขายชอร์ตเพื่อใช้เป็นการชั่วคราว จากเดิมที่กำหนดให้สมาชิกจะขายชอร์ตได้เฉพาะในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (last trading price) เป็นจะขายชอร์ตได้เฉพาะในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (last trading price) เท่านั้นมีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราว เริ่มตั้งแต่การซื้อขายในภาคบ่ายของวันที่ 13 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ทั้งนี้ ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการติดตามการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างใกล้ชิด พบว่าในช่วงที่ผ่านมา การซื้อขายจากวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายชอร์ต หรือ program trade ยังเป็นไปตามปกติ สัดส่วนการซื้อขายไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงจากปัจจัยภายนอก ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์การขายชอร์ตเพื่อใช้เป็นการชั่วคราว จากเดิมที่กำหนดให้สมาชิกจะขายชอร์ตได้เฉพาะในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (last trading price) เป็น จะขายชอร์ตได้เฉพาะในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (last trading price) เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้เสริมสร้างความมั่นใจในการลงทุนให้แก่นักลงทุนในภาพรวม ทั้งนี้ ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากบริษัทสมาชิกและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราว เริ่มตั้งแต่การซื้อขายในภาคบ่ายของวันที่ 13 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯสามารถยกเลิกกฏเกณฑ์ดังกล่าวได้ก่อนเวลาที่กำหนดไว้ หากสถานการณ์ภาวะตลาดหุ้นกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งกฏเกณฑ์นี้ นักลงทุนมองว่าเหมาสมแล้วในการกำหนดขึ้น เพื่อช่วยให้ความผันผวนของตลาดลดลง
ด้านคณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ก.ต.ท.) มีมติให้ผ่อนผันการจัดประชุมสามัญผู้ถือหน่วยของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ไปถึง 30 มิถุนายน 2563 และผ่อนผันการจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 คณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ก.ต.ท.) ครั้งที่ 4/2563 โดยนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นประธาน จัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดประชุมสามัญผู้ถือหน่วยของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (กองทุนและทรัสต์) และการส่งงบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 โดยมีข้อสรุป ดังนี้
1. คณะกรรมการ ก.ต.ท. มีมติผ่อนผันการจัดประชุมสามัญผู้ถือหน่วยกองทุนและทรัสต์
คณะกรรมการ ก.ต.ท. มีมติให้ผ่อนผันการจัดประชุมสามัญผู้ถือหน่วยของกองทุนและทรัสต์ โดยขยายเวลาจัดประชุมประจำปี 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 หรือ 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีแล้วแต่ระยะเวลาใดจะช้ากว่า และหากสถานการณ์ยังไม่บรรเทาลงให้ ก.ล.ต. ขยายเวลาเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่วาระการประชุมประจำปี 2563 มีเพียงวาระเพื่อทราบ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และผู้จัดการกองทรัสต์สามารถส่งข้อมูลดังกล่าวแทนการจัดประชุมได้ โดยต้องมีช่องทางให้ผู้ถือหน่วยส่งคำถามหรือข้อสงสัยได้ นอกจากนี้ บลจ. และผู้จัดการกองทรัสต์ต้องเผยแพร่สรุปประเด็นคำถาม-คำตอบผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลด้วย
2. คณะกรรมการ ก.ต.ท. มีมติผ่อนผันการส่งงบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของ PVD
คณะกรรมการ ก.ต.ท. มีมติให้ผ่อนผันการจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานการสอบบัญชีของ PVD โดยบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถเลือกแนวทาง (1) จัดส่งสำเนางบการเงินและรายงานการสอบบัญชีให้ ก.ล.ต.โดยผ่อนผันเวลาการจัดส่งเอกสารจากภายใน 150 วัน เป็น 240 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี และเปิดเผยให้สมาชิก PVD ทราบภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี หรือ (2) เสนองบการเงินและรายงานการสอบบัญชีให้สมาชิก PVD รับรองด้วยการส่งหนังสือขอมติจากสมาชิก และจัดส่งเอกสารดังกล่าวที่ผ่านการรับรองแล้วให้ ก.ล.ต. ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี และต้องเสนอเอกสารชุดเดียวกันนี้ต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิกในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งถัดไป
ขณะที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุยังไม่มีการปิดซื้อขายตลาดหุ้นเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากมาตรการที่มีอยู่ ขณะที่สำนักงาน ก.ล.ต.และ ตลท.จะศึกษาการหยุดยั้งพฤติกรรมชอร์ตเซล รวมถึงศึกษาสินเชื่อเพื่อชะลอฟอร์ซเซล เพื่อหยุดยั้งความร้อนแรงของตลาดหุ้นนอกจากนี้ในในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะมีการเสนอนายกรัฐมนตรีถึงการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น
บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า แม้แนวโน้มตลาดระยะสั้นยังมีความผันผวนสูง แต่หากเป็นการลงทุนระยะยาว เชื่อว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี อิงจากสถิติหุ้นไทยที่เคยถูกใช้มาตรการ "Circuit Breaker" มาแล้ว 3 ครั้ง SET Index จะใช้เวลาประมาณ 5-7 เดือนจึงกลับมาฟื้นตัวมาที่จุดเดิม หรือแสดงนัยว่าหากเราลงทุนซื้อหุ้น ณ SET Index ระดับปัจจุบันจะมี upside ประมาณ 10% ในช่วง 5-7 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ ราคาหุ้นหลายตัวในตลาดปรับตัวลงหนักมากราวกับว่าบริษัทนั้นกำลังจะปิดกิจการ ซึ่งเรามองว่านักลงทุนอาจตื่นตระหนก เกินกว่าสภาพความจริงที่เป็นอยู่ เรายังคงมองตลาดที่ปรับตัวลงเป็นจังหวะในการลงทุน เพียงแต่เราแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ทยอยสะสมแบบแบ่งซื้อ เพื่อให้ต้นทุนเฉลี่ยเกาะไปกับราคาตลาดให้มากที่สุด (เนื่องจากการคาดการณ์จุดต่ำสุดของตลาด ณ ขณะนี้เป็นเรื่องยาก)
เน้นหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ที่ราคาปรับตัวลงมามากมี Upside มากกว่า 40% ซึ่งเชื่อว่านอกจากจะสามารถฟันฝ่าสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้แล้ว คาดจะเป็นเป้าลงทุนหลักของกองทุน SSF พิเศษที่จะเริ่มขายและลงทุนได้ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป แนะนำ AOT (เป้าพื้นฐาน 74 บาท), BAM (29 บาท), BDMS (27 บาท), BTS (15.1 บาท), CPALL (91 บาท) และ VGI (10.7 บาท) นอกจากนี้เรายังมองเป็นโอกาสในการเก็บหุ้นปันผลดีด้วย แนะนำ AP (8.6 บาท), BTSGIF (10 บาท), INTUCH (70 บาท), KKP (85 บาท), SABINA (26.5 บาท), SPALI (22.6 บาท) และ TVO (34 บาท)
บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า จากต้นปี 2563 SET Index ปรับตัวลดลงมากถึง 29.43% สะท้อนปัจจัยลบหลายประการที่เข้ามา กดดันพร้อมๆ กัน ฝ่ายวิจัยยังคงเห็นว่าการปรับลดลงของ SET Index ดังกล่าวเป็นการปรับลดลง ที่แรงเกินไป จนทําให้เกิดภาวะที่นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ซึ่งการหลุดพ้นภาวะดังกล่าวจําเป็นต้อง อาศัยหลายมาตรการเข้ามาช่วย วันนี้แนะนําปรับพอร์ตโดยเพิ่ม RATCH เข้าไป และขาย STEC และ MCS ออก Top Picks เลือก INTUCH (FV@B 73.10) และ RATCH (FV@B 75) SET Index 1,114.91 เปลี่ยนแปลง (จุด) -134.98 มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 101,652
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้ วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงตลอดวัน จนทําให้เกิด Circuit Breaker ครั้งที่ 4 ตั้งแต่จัดตั้งเกณฑ์นี้ ขึ้นมาในปี 2542 โดยประเด็นกดดันมาจาก WHO ประกาศ COVID-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก รวมถึง คําแถลงของประธานาธิปดีทรัมป์ช่วงเช้า ก็ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนเท่าที่ควร จึงทําให้ ตลาดปิดตัวในแดนลบที่ระดับ 1114.91 จุด ลดลง 134.98 จุด หรือ -10.80% โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 1.01 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงาน ได้แก่ PTT(-9.40%) PTTEP(-16.96%) GULF(-13.53%) GPSC(-12.23%) กลุ่มขนส่งเช่น AOT(-12.81%) BTS(-11.01%) BEM(-12.64%) และ กลุ่มค้าปลีกอย่าง อาทิ CPALL(-6.44%) CRC(-14.89%) HMPRO(-15.11%)
รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่ อย่างเช่น SCC(-10.58%) ADVANC (-6.22%) และ CPN(-12.04%) เป็นต้น หลากหลายปัจจัยที่เข้ามากดดันตลาดหุ้นตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการจัดทํางบประมาณปี 2563 ที่ ล่าช้า ความร้อนแรงของการเมืองระหว่างประเทศ Trade War ที่ยังมีผลต่อเนื่อง ภาวะภัยแล้ง ปัญหาฝ่น PM2.5 ตามด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 และ การปรับตัวลดลงแรงของราคานํ้ามันในตลาดโลก ส่งผลทําให้ SET Index จากต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันปรับตัวลดลงมากถึง 29.43% ขณะที่ในทาง ปัจจัยพื้นฐาน ก็ได้มีการปรับลดประมาณการเพื่อสะท้อนภาพผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน
โดยปรับลด GDP Growth ลงมาอยู่ที่ 1.6% (เดิม 2.7%) ส่วนประมาณการกําไรบริษัทจดทะเบียนปี 2563 ได้ปรับลดลงมาราว 15% จากประมาณการเดิมมาอยู่ที่ 8.54 แสนล้านบาท เห็นได้ว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงเป็นการปรับลด มากกว่า ผลกระทบในทางประมาณการของกําไรบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมองได้เป็น 2 มุม คือ 1) นักลงทุน อาจประเมินว่าประมาณการกําไรของบริษัทจดทะเบียน อาจยังมี Downside ให้ปรับลดลงเพิ่มเติม หรือ 2) ราคาปรับตัวลดลงแรงเกินไป โดยมีลักษณะของ Panic Sell เป็นแรงสะสม
ซึ่งหากเป็นในมุมมองที่ 2 ฝ่าย วิจัยเห็นว่าองค์ประกอบหลักที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีชึ้น คือการที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ซึ่งอาจต้องดําเนินการผ่านมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นยาแรง หรือแนวทาง ในการปรับกลไกการซื้อขายบางลักษณะเพื่อลด Momentum ในการแกว่งตัวลดลง ถือเป็นปัจจัยที่ต้อง ติดตามในระยะต่อไป สําหรับทิศทางในวันนี้ เป็นไปได้ที่จะเห็น SET Index ผันผวนในทิศทางลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ประเมินจากสภาพแวดล้อมที่ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุนในปัจจุบัน กลยุทธ์การลงทุน ยังคงให้ ความสําคัญกับหุ้นปันผล
ซึ่งฝ่ายวิจัยได้คัดกรองหุ้นที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่องในช่วง 12 ปีที่ผ่าน มา และที่ระดับราคาปัจจุบันให้ Dividend Yield ระดับที่น่าพอใจ โดยวันนี้แนะนําให้ปรับพอร์ต โดยลดหุ้น STEC และ MCS ออกจากพอร์ต และให้เปลี่ยนเป็นหุ้น RATCH เข้ามาแทน ส่วน Top Picks เลือก INTUCH และ RATCH COVID-19 ทําให้ธนาคารกลางหลายแห่งอัดฉีดเงินกระตุ้น สถานการณ์การะบาดของไวรัส COVID-19 ล่าสุดจํานวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 134,559 ราย โดย จํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่มาจากประเทศอื่นๆนอกเหนือจากจีน เช่น อิตาลีมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,651 ราย, อิหร่าน 1,075 ราย, สเปน 869 ราย, เยอรมนี 779 ราย, ฝรั่งเศส 595 ราย, สหรัฐ 415 ราย เป็น ต้น ขณะที่ไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 11 ราย ความกังวลไวรัส COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลกเช่นกัน สะท้อนจากตลาดหุ้นโลกปรับฐานค่อนข้างแรง วานนี้ นําโดยดัชนี Dow Jones ลดลง 9.99%, S&P500 ลดลง 9.51% และ NASDAQ ลดลง 9.43% รวมถึง ราคานํ้ามันดิบปรับลดลงต่อ (ราคานํ้ามัน WTI ลดลง 4.5% และ Brent ลดลง 7.2%) ขณะที่ธนาคารกลางต่างๆของโลก ดําเนินนโยบายการเงินเพื่อลดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยวานนี้
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แม้ยังคงอัตราดอกเบี้ย Deposite Facility Rate (อัตราดอกเบี้ยที่ ECB ให้กับ ธนาคารกลางต่างๆในยุโรปที่ฝากเงินกับ ECB) ที่ -0.5% ซึ่งผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะลดลงเหลือ -0.6% แต่ ECB ได้ประกาศเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตร (QE) อีก 1.2 แสนล้านยูโร จนถึงสิ้นปี 2563 เพิ่มเติมจาก มาตรการ QE เดิม วงเงิน 2 หมื่นล้านยูโรที่ ECB ดําเนินการมาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 สอดคล้องกับ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ประกาศปรับปรุงการดําเนินการธุรกรรมในตลาดการเงิน
โดยขยายขอบเขต สินทรัพย์ที่เข้าซื้อ จากเดิมที่เน้นตั๋วเงินคลัง (T-Bill) มาเป็นพันธบัตรที่มีอายุยาวขึ้น, เพิ่มวงเงินธุรกรรม Repo ระยะเวลา 1 และ 3 เดือน วงเงินรวม 1 ล้านล้านเหรียญ (อย่างละ 5 แสนล้านเหรียญ) ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2563 และคงธุรกรรม Overnight repo และ Term repo ระยะเวลา 2 สัปดาห์ วงเงิน 1.75 แสนล้าน เหรียญ และ 4.5 หมื่นล้านเหรียญตามลําดับ ในภาพรวม จากท่าทีของธนาคารกลางโลกส่งผลให้ตลาดให้ นํ้าหนักการประชุมธนาคารกลางในสัปดาห์หน้า
เริ่มตั้งแต่ การประชุม Fed 17-18 มี.ค. 2563 ตลาดคาดจะ ลดดอกเบี้ยลงราว 0.75%-1% ทําให้ดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่เหลือ 0.25-0.5% (ระดับเกือบตํ่าสุดตั้งแต่วิกฤตซัพ ไพรม์), การประชุม BOJ 18-19 มี.ค. 2563 ตลาดคาดอาจะปรับลดดอกเบี้ยเช่นกัน และในส่วนของไทย ASPS คาด กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยฯลง 0.25% มาอยู่ที่ 0.75% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ทั่วโลกระดมหลายมาตรการ ฟื้นเศรษฐกิจ แต่ไทยยังไม่ชัดเจน
ตลาดหุ้นไทย (SET Index) นับตั้งแต่ต้นปีปรับฐานลงรวมราว 461 จุดหรือราว 29.4% ล่าสุด วานนี้ปิดที่ 1114.9 จุด ถือว่าการปรับลงแรงมากกว่าการปรับลดประมาณการกําไรบริษัทจดทะเบียน(EPS) ปี 2563 ASPS ปรับลดลงไป 14.6% ปัจจุบันคาดอยู่ที่ 8.54 แสนล้านบาท เท่ากับ 79.62 บาท/หุ้น (จากต้นปีคาด 1 ล้านล้านบาท เท่ากับ 95.7 บาท/หุ้น) เชื่อว่าตลาดที่ปรับฐานแรงในปัจจุบันเกิดหลักๆเกิดจากการขาดความเชื่อมั่น ทั้ง 1) แนวโน้มการเติบโต เศรษฐกิจ ปี 2563 ที่เห็นสัญญาณชะลอตัวชัดเจน หลักๆมาจากแพร่ระบาด COVID-19 ที่ยังแพร่ระบาด ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งการบริโภค, การท่องเที่ยว โดยเครื่องจักรขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยเกือบทุกตัวชะลอ
ล่าสุดวานนี้รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน ก.พ. 2563 เหลือระดับ 64.8 จุดตํ่าสุดในรอบ 21 ปี ขณะที่มาตรการการคลังของรัฐที่พึ่งออกมา ไม่เพียงพอที่จะเยียวยา หรือผลักดันเศรษฐกิจได้มากนัก (ASPS คาด GDP Growth 1.6%yoy) 2) ตลาดเชื่อว่า EPS มีโอกาสปรับ ลงต่อในอนาคต และอีกส่วนนึงเกิดเชื่อว่าจากกลไกของ Short selling , Force sell โดยเฉพาะ Block trade ฯลฯ โดยรวมตลาดหุ้นที่ปรับฐานแรงทําให้เริ่มเห็นหลายประเทศทั่วโลก เริ่มมีการออกมาตรการดูแลด้านตลาด ทุนเพื่อ ไม่เกิดการ Panic อาทิ สเปนประกาศห้าม Short selling 69 บริษัทจดทะเบียน มีผลวันนี้ หลังจากตลาดหุ้นปรับลงมา 14%เมื่อวานนี้ เช่นเดียวกับ อิตาลี, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน ขณะที่ไทยยังไม่มีการประกาศคล้ายประเทศอื่นๆ
แต่วานนี้ตลาดหลักทรัพย์ประกาศเตรียมออก กองทุนพยุงหุ้นไทย แต่ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน อีกทางหนึ่งหากแนวโน้มสถานการณ์ต้นตอปัญหา คือ COVID-19 ดีขึ้น ดังเช่น จีนที่สถานการณ์เริ่มกลับ เข้าสู่ภาวะปกติ และเห็นบางประเทศมีมาตรการที่เฉียบขาดในการควบคุมการติดเชื้อ โดยการประกาศปิด ประเทศ อาทิ อิตาลี และอินเดีย ประกาศห้ามต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ โดยรวมหากจํานวนผู้ติดเชื้อ นอกจีนเริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราน้อยลงเหมือนจีน เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัวแรงเหมือนในอดีต
โดยสรุป ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงปรับฐาน จากสภาวะแวดล้อมที่ปกคลุมไปด้วยความไม่ แน่นอนทั้ง การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมถึงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับตํ่า ดังนั้น สภาวะ ดังกล่าวหนุนให้หุ้นปันผลสูงพื้นฐานแกร่ง มีความน่าสนใจมากขึ้น และถือเป็นแหล่งพักเงินที่ เหมาะสม ฝ่ายวิจัยจึงทําการคัดกรองหุ้นปันผลสูงพื้นฐานแกร่ง ที่ผ่านวิกฤตมาได้ตลอดช่วง 12 ปี ที่ผ่านมา (จ่ายปันผลทุกงวดปี 12 ปีติดต่อกัน) ซึ่งสิ่งสําคัญ คือ บางหลักทรัพย์ยังอยู่ใน Sector ที่ กล่าวไว้ข้างต้นอีกด้วย
กลยุทธ์ยังคงเน้นหุ้นปันผลที่จ่ายปันผลสม่ําเสมอกว่า 12 ปี ชอบ RATCH INTUCH