Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : ส่องกำไรกลุ่มแบงก์ปี 62 โต 3.73% BAY-CIMBT กำไรบานฉ่ำ ส่วนแบงก์ใหญ่โตแค่หางอึ่ง

2,543

HotNews : ส่องกำไรกลุ่มแบงก์ปี 62 โต 3.73% BAY-CIMBT กำไรบานฉ่ำ ส่วนแบงก์ใหญ่โตแค่หางอึ่ง

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (22 มกราคม 2563 )กลุ่มแบงก์เสร็จสิ้นการประกาสผลประกอบการปี 2562  เรียบร้อยแล้ว  พบทั้งกลุ่มมีกำไรสุทธิรวม 2.02  แสนล้านบาท  เพิ่มขึ้น 3.73%   เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.94  แสนล้านบาท ขณะที่แบงก์ที่ทำผลงานได้สุดตระการตา โชว์กำไรสุทธิเติบโตมากที่สุดคือแบงก์ CIMBT   ที่มีกำไรสุทธิเติบโต 21,659%   หรือโต 216 เท่านับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ส่วน BAY ไม่น้อยหน้าอวดกำไรสุทธิโต 31.98%

 

 

ด้านแบงก์ใหญ่ กำไรน่ะมีนะ แต่โตแค่หางอึ่ง เช่น KBANK กำไรปี 62 โต 0.69% ,SCB กำไรโต 0.92% ,BBL กำไรโต 1.37% ,KTB กำไรโต 2.78% ขณะที่แบงก์ที่กำไรหดหายมากที่สุดคือ TMB กำไรทรุด 37.74%

 

 

BANK ปี 62 (ล้านบาท) ปี 61 (ล้านบาท) เพิ่มขึ้น/ลดลง (%)
KBANK 38,726 38,459 0.69%
BBL 35,816 35,329 1.37%
SCB 40,436 40,067 0.92%
KTB 29,284 28,491 2.78%
BAY 32,748 24,812 31.98%
TMB 7,222 11,601 -37.74%
KKP 5,988 6,041 -0.88%
CIMBT 1,501 7 21,659.00%
LHFG 3,214 3,108 3.42%
TISCO 7,270 7,015 3.62%

 


KBANK แจงปี 62 กำไรโต 0.70% NIM อยู่ที่ระดับ 3.31%


ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK เปิดเผยว่า ผลการดําเนินงานสําหรับปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิจํานวน 38,727 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจํานวน 268 ล้านบาท หรือ 0.70% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจํานวน 4,150 ล้านบาท หรือ 4.21% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน ทําให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.31% นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจํานวน 858 ล้านบาท หรือ 1.51%

 

 

ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการจําหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง รวมทั้งการ ยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล สําหรับค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจํานวน 4,381 ล้านบาท หรือ 6.41% หลัก ๆ เกิดจากกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ และกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทาง ธุรกิจของธนาคาร ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดําเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 45.32% ทั้งนี้ ธนาคารมีการตั้งสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ เพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

 

 

ผลการดําเนินงานสําหรับไตรมาส 4 ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิ จํานวน 8,802 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนจํานวน 1,149 ล้านบาท หรือ 11.55%โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจํานวน 526 ล้านบาท หรือ 2.02% ทําให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.25% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจํานวน 385 ล้านบาท หรือ 2.44% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการจําหน่ายหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง

 

 

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจํานวน 3,374 ล้านบาท หรือ 18.95% ซึ่งเป็นปกติตามฤดูกาล รวมถึงกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ และกิจกรรมทางการตลาด โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจของธนาคาร ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการ ดําเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 50.75% นอกจากนี้ ธนาคารมีการตั้งสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัย จะสูญลดลงจากไตรมาสก่อน

 

 

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจํานวน 3,293,889 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2561 จํานวน 138,798 ล้านบาท หรือ 4.40% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ และการเติบโตของสินเชื่อ สําหรับ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 อยู่ที่ระดับ 3.65% ขณะที่สิ้นปี 2561 อยู่ที่ ระดับ 3.34% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 อยู่ที่ ระดับ 148.60% โดยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 160.60% สําหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทาง การเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 อยู่ที่ 19.62% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.19%

 

 


BBLแจงงบรวมปี62กำไรโต1.4% เหตุรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น


ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) BBL เปิดเผยว่า ในปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน จากการส่งออกที่ลดลง ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ความไม่แน่นอนของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ และค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าที่คาด ขณะที่การบริโภคภายในประเทศชะลอตัวจากปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวน้อยกว่าคาดจากความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณประจำปี 2563กำไรสุทธิปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ

 

 

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารในปี 2562 จำนวน 35,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากปีก่อนท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.3 เป็นผลจากค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อเพิ่มขึ้น กอปรกับการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวมสอดคล้องกับเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ของธนาคาร รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อย โดยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.35 รายได้จากการดำเนินงานอื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.3 จากกำไรสุทธิจากเงินลงทุน แม้ว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับทรงตัว

 

 

ธนาคารมีการตั้งค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในปีนี้ เพื่อเสริมสร้างระดับสำรองของธนาคารให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นตามหลักความระมัดระวัง ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่กฎเกณฑ์ใหม่ทางบัญชีซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการกันสำรองที่ลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานยังคงอยู่ในระดับดีที่ร้อยละ 41.1

 

 


SCBแจงไตรมาส4/62กำไรลด 22.3% เหตุดอกเบี้ยจากเงินลงทุนที่ลดลงหลังจากธนาคารขายบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต


ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) SCB ระบุว่า รายงานผลประกอบการประจําปี 2562 ก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมี กําไรสุทธิ (ตามงบการเงินรวม) จํานวน 40,436 ล้านบาท กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 จากปีก่อน เป็นผลมาจากกําไรพิเศษจากการขายบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) การ เพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ ซึ่งสุทธิกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการ ดําเนินงาน ธนาคารได้ตั้งสํารองหนี้สงสัยจะสูญรวมจํานวน 36,211 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 จากปีก่อน) เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร

 

 

ขณะที่ในไตรมาส 42562 กําไรสุทธิลดลงร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจํานวน 5,506 ล้าน บาทในไตรมาส 4/2562 กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองลดลงร้อยละ 6.2 ส่วนใหญ่เป็นผลจากรายได้ ดอกเบี้ยจากเงินลงทุนที่ลดลงหลังจากธนาคารขายบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต และค่าใช้จ่ายในการ ดําเนินงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากรายได้ใหม่ที่ได้รับจากการเป็น พันธมิตรทางธุรกิจด้าน bancassurance และกําไรจากเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น

 

 

เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562 กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารอง (ไม่รวมกําไรพิเศษจากการ ขายบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในไตรมาส 3/2562) ลดลงร้อยละ 12.3 เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งสุทธิกับรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่เพิ่มขึ้น

 

 

 

KTB โชว์ปี 62 กวาดกำไร 29,284 ลบ.-ไตรมาส 4/62 กำไรพุ่ง 21.1%

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ส่วนที่เป็นของธนาคาร จำนวน 7,459 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.1% จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุหลักมาจากกำไรจากเงินลงทุน ประกอบกับค่าใช้จ่ายหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญฯ ที่ลดลง ทั้งนี้ ในปี 2562ธนาคารได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ทั้ง MRR, MOR และ MLR ที่ผ่านมา แม้ว่าธนาคารมีการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังส่งผลให้ NIM ลดลงอยู่ที่ 2.91% จาก 3.23% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อีกทั้ง มีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายฯ หากไม่รวมรายการค่าใช้จ่ายพิเศษดังกล่าว กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เพิ่มขึ้น 50.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 


สำหรับปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ส่วนที่เป็นของธนาคาร จำนวน 29,284 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่มาจากการได้รับเงินบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนองจำนวน 3,899 ล้านบาทในไตรมาส 1/2562 และการเพิ่มขึ้นของกำไรจากเงินลงทุนสุทธิ แม้ว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานของธนาคารเพิ่มขึ้น จากการกันสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานในไตรมาส 3/2562 หากไม่รวมรายการพิเศษของรายได้ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายดังกล่าว กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เพิ่มขึ้น 18.2% จากปี 2561 โดยมี NIM ที่ไม่รวมรายการพิเศษเท่ากับ 3.07% ลดลงเล็กน้อยจาก 3.13% ในปี 2561 เนื่องจากได้รับผลกระทบการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อในครึ่งหลังของปี แม้ว่าธนาคารมีการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Cost to Income ratio ที่ไม่รวมรายการพิเศษเท่ากับ 43.58% ลดลงจาก 45.29% ในช่วงเดียวกันของปี 2561

 


นายผยง ศรีวณิช กล่าวต่อไปว่า ธนาคารมีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ของงบการเงินรวม ณ 31 ธันวาคม 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 131.76% จาก 125.74% ณ 31 ธันวาคม 2561 โดยมี NPLs Ratio-Gross เท่ากับ 4.33% ลดลงจาก 4.53% ณ 31 ธันวาคม 2561 และมี NPLs Ratio-Net อยู่ที่ 1.83% ลดลงจาก 1.94% ณ 31 ธันวาคม 2561 โดยสินเชื่อด้อยคุณภาพมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง (งบการเงินเฉพาะธนาคาร) เท่ากับ 14.80% และ 18.66% ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 


BAY เผยกำไรสุทธิปี 62 พุ่ง 32% เหตุหม่ำรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น -บุ๊คกำไรขายหุ้นเงินติดล้อ

ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY เปิดเผยว่า ในปี 2562 การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าศักยภาพพื้นฐาน จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ แม้ว่าสภาพแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจไม่เอื้ออํานวย แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่่แข็งแกร่งของธนาคาร กรุงศรีสามารถขยายสินเชือได้ถึงร้อยละ 8.7 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารที่ร้อยละ 6 - 8 โดยมีกําไรสุทธิอยู่ที่ 32,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 จากปี 2561 ซึงมีปัจจัยขับเคลื่่อนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการบันทึกกําไรจากการขายหุ้นจํานวนร้อยละ 50 ของบริษัท เงินติดล้อ จํากัดในไตรมาส 1/2562 และการเพิมขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่่อที่่แข็งแกร่ง นอกเหนือไปจากผลการดําเนินงานทางการเงินที่แข็งแกร่ง กรุงศรีประสบความสําเร็จในการดําเนินงานตาม แผนธุรกิจระยะกลางสู่พันธกิจ “มุ่งสู่การเป็นสถาบันธุรกิจการเงินชั่นนําระดับภูมิภาคที่ก้าวสู่เวทีโลกด้วยการเติบโตที่ยั่งยืน ดังนี้

 

 

กรุงศรี เป็นธนาคารแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ออกพันธบัตรที่คํานึงถึงเพศสภาพ (Gender Bond)และเป็นธนาคารแรกในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียที่ออกพันธบัตรเพื่อสังคม ตามหลักการพันธบัตรเพื่อสัง ค ม ข อ ง สม า ค ม ต ลา ด ทุน สา ก ล ( International Capital Markets Association Social BondPrinciples) และมาตรฐานพันธบัตรเพื่อสังคมแห่งอาเซียน (ASEAN Social Bond Standards) ทั้งนี้ เงินที่ได้รับจากการออกและเสนอขายพันธบัตรในครั้งนี้จะนําไปใช้ในการสนับสนุนสินเชื่่อ ให้แก่กิจการ SMEที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของหรือผู้บริหาร (Women-led small and medium-sized enterprises หรือ WSMEs) ซึ่งเป็นภาคส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศไทย

 


กรุงศรีประกาศแผนการเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 50 ของ SB Finance Company Inc. (SBF) ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/2563 บริษัท SBF ซึ่งเป็นหนึ่่งในบริษัทไฟแนนซ์ในประเทศฟิลิปปินส์จาก Security Bank Corporation (SBC) โดยมูลค่าการลงทุนเบื้องต้นคิดเป็นจํานวนเงิน 1,096.9 ล้านบาท ทั้งนี้แผนการซื้อธุรกิจดังกล่าว สะท้อนกลยุทธ์การขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาคอาเซียนของธนาคาร เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง รวมถึง การต่อยอดความรู้ ความเชี่ยวชาญ และแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศของธนาคาร ในธุรกิจรายย่อยและลูกค้าบุคคล

 

 

เงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่่ 1,817,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 145,859 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 จากสินเดือนธันวาคม 2561 การเติบโตของสินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งมีสินเชื่่อเพื่อรายย่อยเป็นหนึ่่งในแรงขับเคลื่อนหลัก โดยเพิ่มขึ้นจํานวน 88,157 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.1 สะท้อนตําแหน่งผู้นําทางการตลาดของกรุงศรีในสินเชื่อเพื่่อรายย่อย ขณะที่่สินเชื่่อเพื่่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยเพิ่มขึ้นจํานวน 34,977 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 และจํานวน 22,725 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.1 ตามลําดับ

 

 

สําหรับแนวโน้มธุรกิจโดยรวมในปี 2563 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าจะยังคงเผชิญปัญหาความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ด้วยนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล กอปรกับการเร่งเบิกจ่ายการลงทุนของรัฐ จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 2.5 ในปี 2563 กรุงศรีตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่่อสําหรับปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 5 – 7 ด้วยนโยบายการบริหารความเสี่่ยงที่มีความรอบคอบระมัดระวัง

 

 


TMB เผยกำไรปี 62 ทรุด 37.7% จากปีก่อนหน้า -NIM ลดลง 13 bps มาอยู่ที่ 2.81% หลังสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นสูง

 

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2562 หลังหักสำรองฯ และภาษี ทีเอ็มบีมีกำรสุทธิ 7,222 ล้านบาท ลดลงร้ อยละ 37.7 จากปีก่อนหน้า ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ธนาคารดำเนินการ write-off สินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มเติมเป็นจำนวน 4.0 พันล้านบาทในไตรมาสนี้ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพตามงบการเงินรวมลดลงมาอยู่ที่ร้ อยละ 2.30 ขณะที่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อคุณภาพของงบการเงินเฉพาะอยู่ที่ร้ อยละ 140 ยังคงอยู่ในเป้าหมายของธนาคาร สำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า ธนาคารตั้งสำรองหนี้สงสัญจะสูญในไตรมาส 4/2562 เป็นจำนวน 3,114 ล้ านบาท เทียบกับ 2,893 ล้ านบาทในไตรมาส3/2562และ 2,030 ล้านบาทในไตรมาส 4/2561 สำหรับสำรองหนี้สงสัญจะสูญในไตรมาสรอบ 12 เดือนปี 2562 เป็นจำนวน 10,337 ล้านบาท เทียบกับ 16,100 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า การตั้งสำรองหนี้สงสัญจะสูญเป็นจำนวนรวม 10.3 พันล้านบาท ซึ่ง1.4 พันล้านบาทเป็นสำรองฯของธนาคารธนชาตเพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านฐานะการเงินของธนาคาร

 


ภายหลังการรวมกิจการ ธนาคารยังคงตั้งสำรองฯ อย่างรอบคอบขณะที่ธนาคารธนชาตตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นเพื่อวางแนวทางในการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ สำหรับ Coverage ratioเมื่อรวมกับอัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารธนชาตที่ร้อยละ 102 ส่งผลให้ Coverage ratio ตามงบการเงินรวมลดลงอยู่ที่ร้อยละ 120 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 เทียบกับร้อยละ 140 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 และร้อยละ 152 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561อย่างไรก็ดีCoverage ratio ตาม งบการเงินเฉพาะอยู่ที่ร้อยละ 140 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 ยังคงอยู่ใน เป้าหมายของธนาคาร กำไรสุทธิหลังตั้งสำรองฯ และหักภาษี กำไรสุทธิในไตรมาส 4/2562อยู่ที่ 1,615 ล้านบาทลดลงร้อยละ 23.5 QoQ และร้อยละ 5.0 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรอบ 12 เดือนปี2562ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 26,865 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ9.7 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารธนชาต 28 วัน รายละเอียดดังนี้

 


• รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 YoY มาอยู่ที่ 39,837 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลจากการรับรู้ดอกเบี้ยการให้สินเชื่อเช่าซื้อและสัญญาเช่าการเงินจำนวน 1,823 ล้านบาทจากการรวมงบการเงินของธนาคารธนชาต และสินเชื่อขยายตัวปานกลาง แม้อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง
• ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 YoY มาอยู่ที่ 12,972 ล้านบาท เป็นผลจากปริมาณตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืมสุทธิเพิ่มขึ้นจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิและตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิสกุลยูโรและการขยายตัวของปริมาณเงินฝาก

 

 

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) อยู่ที่ร้อยละ 2.69 ในไตรมาส 4/2562 ลดลง 11 bps จากร้อยละ 2.80 ในไตรมาส 3/2562 สำหรับรอบ 12 เดือนปี 2562 NIM ลดลง 13 bps มาอยู่ที่ร้ อยละ 2.81การลดลงของ NIM มีสาเหตุหลักมาจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ธนาคารสามารถรับรู้งบกำไรขาดทุนได้28 วันจากการรวมงบการเงินของธนาคารธนชาต พร้อมทั้งอัตราผลตอบแทนในการให้สินเชื่อลดลงเล็กน้อยเป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างปี

 

 

 

TISCO แจงกำไรปี 62 โต 3.6% หลังตั้งสำรองหนี้สูญลดลง

บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TISCO เปิดเผยว่า ผลการดําเนินงานรวมของบริษัทเป็นการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานรวมของบริษัทในงวดประจําปี 2562บริษัท มีกําไรสุทธิจากผลการดําเนินงานเฉพาะกิจการในปี 2562 จํานวน 6,224.28 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมบริการ แต่เนื่องจากบริษัททิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) และไม่มีการประกอบธุรกิจหลักอื่นใด ดังนั้น ผลการดําเนินงานและ ฐานะการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ จึงเป็นงบการเงินรวมของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มธุรกิจธนาคาร พาณิชย์และกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์

 

 

ผลการดําเนินงานงวดประจําปี 2562 บริษัทมีผลกําไรสุทธิในส่วนของบริษัทในปี 2562 จํานวน 7,270.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 254.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปี 2561 สาเหตุหลักมาจากการตั้งสํารองหนี้สูญที่ลดลง รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า ตามส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับตัว ลดลง เนื่องจากไม่มีกําไรพิเศษจากเงินลงทุนซึ่งรับรู้ในปี 2561 ในส่วนของธุรกิจหลัก รายได้ค่าธรรมเนียมของธุรกิจธนาคาร พาณิชย์และธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุนชะลอตัว ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออํานวย

 

 

อย่างไรก็ดี บริษัทมีการรับรู้รายได้ ค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการกองทุน ซึ่งรับรู้ในรอบสิ้นปี ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่องการรับรู้รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า โดยในปี 2562 บริษัทมีรายได้ค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการ กองทุนจํานวน 362 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทตั้งสํารองหนี้สูญลดลงร้อยละ 73.9

 

 

ซึ่งเป็นไปตามความจําเป็นของการตั้งสํารอง ตามคุณภาพสินทรัพย์ของพอร์ตสินเชื่อ ประกอบกับการปรับระดับสํารองส่วนเกิน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเริ่มใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) ทั้งนี้ บริษัทยังคงรักษาอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ยในระดับสูงที่ ร้อยละ 18.9 สัดส่วนของรายได้จากการดําเนินงาน

 

 


KKP แจงปี62 กำไรหด 0.9% เหลือ 5.98 พันลบ.หลังค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น



ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP เปิดเผยว่า สําหรับปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 5,988 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับกําไรสุทธิจํานวน 6,042 ล้านบาทในปี 2561 สําหรับกําไรเบ็ดเสร็จรวมของปี 2562 เท่ากับ 5,625 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากจํานวน 5,123 ล้านบาทในปี 2561 โดยกําไรเบ็ดเสร็จรวมได้รวมผลจากการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อ ขายอันเป็นผลจากความผันผวนของตลาดทุน ในส่วนรายได้จากการดําเนินงานมีจํานวน 19, 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 

 

โดยหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ตามการเติบโตของสินเชื่อ รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานอื่นๆปรับเพิ่มขึ้น โดยหลักจากในส่วนของการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขายทางด้านสินเชื่อของธนาคารสําหรับปี 2562 มีการขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากสิ้นปี 2561 โดยมาจากการขยายตัวใน สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยเกือบทุกประเภทยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการ หดตัวในปี 2562 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ปรับ ลดลงจากสิ้นปี 2561 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ทางด้านธุรกิจตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จํากัด (มหาชน) (บล.ภัทร) มีส่วนแบ่ง ตลาด (SET และ mai ไม่รวมบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท) ร้อยละ 9.61 ซึ่งเป็นอันดับที่ 1 จากจํานวนบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งหมด 39 แห่ง โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.55 ในปี 2561

 

 

ขณะที่ รายได้จากการดําเนินงาน จํานวน 19,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,065 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.9 จากปี 2561 โดยหลักจาก รายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิที่เพิ่มขึ้นตามที่กล่าวข้างต้น

 

 

สําหรับ ผลการดําเนินงานงวดไตรมาส 4 ปี 2562 เปรียบเทียบกับงวดไตรมาส 4 ปี 2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมี กําไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 จากงวดเดียวกันของปี 2561 เป็นกําไร สุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดําเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จํากัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย จํานวน 310 ล้านบาท หาก พิจารณากําไรเบ็ดเสร็จรวมจะเท่ากับ 1,365 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 เป็นกําไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนจํานวน 41 ล้าน บาท โดยกําไรเบ็ดเสร็จรวมได้รวมผลจากการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อขายอันเป็นผลจากความผันผวนของตลาดทุน

 

 

ทั้งนี้การตั้งสํารองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการด้อยค่าและรายการขาดทุนจาก การขายรถยึด (credit cost) สําหรับไตรมาส 4/2562 คิดเป็นอัตราร้อยละ 1.09 ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย

 


CIMBT ลั่นปี 62 กำไรสูงสุดในรอบ 10 ปี


นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) เปิดเผยว่า ผลประกอบการประจำปี 2562 ที่ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 1,501.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,494.7 ล้านบาท หรือ 216 เท่า ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่กำไรก่อนหักภาษี เติบโตจาก 271 ล้านบาท เป็น 1,943 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 617% รายได้จากการดำเนินงาน เพิ่มจาก 12,896 ล้านบาทเป็น 14,032 ล้านบาทหรือเติบโต 8.8% อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.02% เป็น 4%

 

 

ปัจจัยหลัก คือ การปรับปรุงกระบวนการเพิ่มคุณภาพสินทรัพย์ส่งผลให้ภาระในการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญในปี 2562 ลดลง 48.7% จาก 4,919 ล้านบาท มาอยู่ที่ 2,522 ล้านบาท รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 160.6 ล้านบาท จากการขยายตัวของสินเชื่อและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจเช่าซื้อและรายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุน และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 362.3 ล้านบาท

 

 

จากการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยและค่าธรรมเนียมจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ ด้านเงินให้สินเชื่อสุทธิจำนวน 2.42 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3% ในจำนวนนี้มาจากสินเชื่อรายย่อยซึ่งเติบโต 12.3% ด้านเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์การเงินบางประเภท) จำนวน 2.42 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% ในฝั่งของรายได้รวม มีสัดส่วนมาจากธุรกิจรายย่อย 66% ธุรกิจขนาดใหญ่ 13% ธุรกิจบริหารเงิน 7% เอสเอ็มอี 8% ลูกค้าธนบดีธนกิจ (PRIVATE BANKING) 1% และรายได้อื่นๆ 5%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้