Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : EPG มั่นใจผลงาน Q2/62 พุ่งต่อเนื่อง ปั้นรายได้งวดปี 62/63 โต 10%

2,410

HotNews : EPG มั่นใจผลงาน Q2/62 พุ่งต่อเนื่อง ปั้นรายได้งวดปี 62/63 โต 10%

 


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(19 สิงหาคม 2562) EPG มั่นใจผลงานไตรมาส2 (ก.ค.-ก.ย.62) โตกว่าไตรมาส 1 (เม.ย.-มิ.ย.62) ตามออเดอร์พุ่ง - บริหารต้นทุนเยี่ยม ย้ำวางเป้ารายได้งวดปี 62/63 (เม.ย.62-มี.ค.63) โต10% พร้อมวางงบลงทุนระยะเวลา 3 ปี ราว 570 ล้านบาท รองรับขยายธุรกิจ AEROFLEX จำนวน 200 ล้านบาท ,ธุรกิจ AEROKLAS จำนวน 270 ล้านบาท และธุรกิจ EPP จำนวน 100 ล้านบาท

 

 

 

 

รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG เปิดเผยว่า บริษัทฯมั่นใจว่าผลประกอบการไตรมาส2 งวดบัญชีปี2562/2563(ก.ค.-ก.ย.62) จะเติบโตกว่าไตรมาส1งวดบัญชีปี2562/2563(เม.ย.-มิ.ย.62)เนื่องจาก บริษัทฯจะมีคำสั่งซื้อสินค้า ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ AEROFLEX และชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ AROKLAS เพิ่มมากขึ้นถึงแม้จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนก็ตามแต่ความต้องการสินค้ายังคงมีอยู่ ส่วนธุรกิจบรรจุภัณฑ์(EPP) คาดว่าจะเติบโตอย่างโดดเด่นในไตรมาส 3

 


ทั้งนี้ บริษัทฯยังคงเป้ารายได้งวดบัญชีปี 2562/2563 (เม.ย.62-มี.ค.63) เติบโต 10% จากปีก่อนทำได้ 10,797.40 ล้านบาท พร้อมคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะอยู่ที่ 28-30% หลังต้นทุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกในปีนี้ปรับตัวลดลงถึง 10-20% โดยบริษัทฯมองว่าในช่วงที่เหลือของปีราคาต้นทุนวัตถุดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอีกตามซัพพลายที่ค่อนข้างมาก ส่งผลให้บริษัทฯมีการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างดีเยี่ยม และบริษัทฯยังเน้นนำเทคโนโลยีเข้ามาสร้างประสิทธิผลด้วยการไม่ลดจำนวนพนักงานด้วยเช่นกัน

 

 


ขณะที่ ธุรกิจในประเทศออสเตรเลีย TJM Products Pty.Ltd (TJM) ได้ดำเนินการปรับปรุงธุรกิจไปแล้วหลายด้าน และมีการย้ายมาใช้ฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งโรงงานใหม่ของ AEROKLAS คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี2562 โดยบริษัทฯคาดว่าขะสามารถสนับสนุนรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 400-500 ล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทฯมีคำสั่งซื้อสินค้าชิ้นส่วนของรถEV อีกราว1,000คัน มูลค่าเฉลี่ยหลักหมื่นต่อคัน ส่วนตลาดประเทศในสหรัฐอเมริกามีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ ประเทศญี่ปุ่น มีโครงการขนาดใหญ่ ได้แก่ สนามกีฬาและ โรงแรมเพื่อรองรับโอลิมปิก 2020 เป็นต้น

 

 

ขณะที่ตลาดกระบะในจีน บริษัทฯมองว่าจะยังขยายตัวได้ถึง 7-10% หลังจากชาวจีนหันมาเน้นใช้กระบะในธุรกิจครอบครัวมากขึ้น ทั้งเป็นยานพาหนะ และการขนส่งจากเดิมมีเพียงชาวไร่ชาวนาใช้รถกะบะเท่านั้น ส่งผลให้บริษัทฯได้รับออเดอร์เพิ่มขึ้นทั้งไลน์เนอร์ และฝาปิดหลังคา โดยบริษัทฯมีแผนย้ายโรงงานออกจากเชี่ยงไฮ้ เพื่อรองรับตลาดใหม่ได้มากขึ้น

 


ขณะเดียวกัน บริษัทฯยังมีโรงงาน AEROFLEX ระยองซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2562 เช่นกัน โดยเฟสแรกจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 5,000 ตันต่อปี และสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทฯประมาณ 800-1,000 ล้านบาท โดยโรงงานใหม่ทั้งสองแห่ง ใช้งบลงทุนทั้งสิ้นกว่า 400 ล้านบาท และจะสามารถรับรู้เป็นรายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 งวดบัญชี 2562/2563 เป็นต้นไป

 

 

 

 

 


ด้านธุรกิตบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก (EPP) บริษัทฯตั้งเป้าภายใน 2-3 ปี จะมีอัตรากำลังการผลิตแตะถึง 100% จากปัจจุบันอยู่ที่ 60% หลังมีการรณรงค์งดใช้โฟมและพลาสติกบางประเภท โดยบริษัทฯได้ปรับเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบประเภท Bio plastic และจากความพร้อมด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรการผลิตโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม รวมถึง บริษัทมีแผนที่จะลงทุนขยายไลน์การผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษเพื่อสามารถให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร และตั้งเป้าขยายธุรกิจดังกล่าวเข้าไปยังกลุ่ม CLM ในอนาคต

 


พร้อมกันนี้ บริษัทฯได้วางงบลงทุนในระยะเวลา 3 ปี ไว้ราว 570 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับพัฒนาธุรกิจในทุกส่วน โดยแบ่งเป็นใช้สำหรับธุรกิจ AEROFLEX จำนวน 200 ล้านบาท ใช้สำหรับธุรกิจ AEROKLAS จำนวน 270 ล้านบาท และใช้สำหรับธุรกิจ EPP จำนวน 100 ล้านบาททั้งปัจจุบันบริษัทฯมีกระแสเงินสดจากกำไรสะสม จำนวน 3,700 ล้านบาท ซึเพียงพอต่อกการลงทุน และมีอัตราหนี้สินต่อทุน(D/E) 0.29 เท่า โดยบริษัทฯยังมีความสามารถในขยายการเติบโตได้อีกมากในอนาคต

 


สำหรับ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯมากนักถึงแม้บริษัทฯจะมีสัดส่วนการส่งออกถึง 65% แต่บริษัทฯมีการส่งออกเป็นสกุลเงินบาท,ยูโรและสกุลเงินออสเตรเลีย นอกเหนือจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทฯมีสัดส่วนรายได้จาก AEROKLAS อยู่ที่ 47-48% สัดส่วนรายได้จาก AEROFLEX อยู่ที่ 28.45% ส่วนที่เหลือเป็นสัดส่วนรายได้ของEPP

 

 

 

 

EPG โชว์งบไตรมาสแรก ปี 62/63 รายได้จากการขาย 2,672 ล้านบาท กำไรสุทธิ 215 ล้านบาท

 

 

 

 



ดร.ภวัฒน์ วิทูรปกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความผันผวนสูง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2562 ลง จากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และ จีน ที่มีความไม่แน่นอนจึงส่งผลต่อโอกาสในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับเศรษฐกิจในประเทศอาจจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก

 

 

EPG ทำธุรกิจในตลาดโลก ตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในภาพรวม โดยนำกลยุทธ์หลักคือ “The New S-Curve” มาใช้อย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเพื่อลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

 

 

แนวโน้มธุรกิจของ EPG ต่อจากนี้ มีปัจจัยบวกจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบที่มีทิศทางลดลง และการดำเนินธุรกิจยังคงขับเคลื่อนจาก 3 เครื่องยนต์หลัก ได้แก่ 1) ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น 2) ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ และ 3) ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ หากธุรกิจในกลุ่มใดชะลอตัวยังมีกลุ่มอื่นๆ สนับสนุน โดยทั้งปีตั้งเป้าหมายรายได้จากการขายเติบโตประมาณ 10%

 

 

 



ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ Aeroflex มีปัจจัยสนับสนุนการเติบโต ทั้งจาก ตลาดในประเทศ ได้แก่ โครงการปรับปรุงสนามบิน และ การย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติมายังประเทศไทย เป็นต้น สำหรับตลาดต่างประเทศในสหรัฐอเมริกามีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ ประเทศญี่ปุ่น มีโครงการขนาดใหญ่ ได้แก่ สนามกีฬาและ โรงแรมเพื่อรองรับโอลิมปิก 2020 เป็นต้น ในด้านการผลิตในประเทศ โรงงานใหม่คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 62

 

 

ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสขยายตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น ในสหรัฐอเมริกาจากการที่ได้ลงทุนปรับปรุงไลน์การผลิตไปแล้วนั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตได้อย่างมาก และ จะทยอยลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมต่อไป

 


ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeoroklas เติบโตได้ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทพื้นปูกระบะ (Bed Liner)/ หลังคาครอบกระบะ (Canopy) และ บันไดข้างรถกระบะ (Sidestep) ที่มีความต้องการใช้จากกลุ่มลูกค้าต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ ฝาปิดกระบะ (Roller lid) ออกสู่ตลาดแล้ว และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

ถึงแม้ว่าผลกระทบสงครามการค้าส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกชะลอตัว Aeroklas เตรียมความพร้อม มุ่งเน้นการลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตทดแทน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ในทวีปแอฟริกา ซึ่งผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของโลกหลายรายเข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ เนื่องจากสามารถจะขยายธุรกิจไปยังทวีปแอฟริกาและเป็นประตูสู่ทวีปยุโรปจากการสนับสนุนของรัฐบาลแอฟริกาใต้

 

 

โดย Aeroklas ได้ลงทุนในกิจการร่วมค้า Aeroklas Duys (Pty) Ltd. ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท อุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ให้กับลูกค้า OEM และลูกค้ารายย่อยทั่วไปในประเทศแอฟริกาใต้

 

 

สำหรับธุรกิจในประเทศออสเตรเลีย TJM Products Pty.Ltd (TJM) ได้ดำเนินการปรับปรุงธุรกิจไปแล้วหลายด้าน เช่น การปรับโครงสร้างธุรกิจ การสร้างร้านสาขา รวม 3 แห่ง และ การนำระบบ Supplier Partnership Program (SPP) มาใช้ดำเนินการ เป็นต้น การดำเนินงานต่อจากนี้ บริษัทจะเร่งให้เกิด Synergy ของกลุ่มธุรกิจทั้งหมดของ AEROKLAS

 

 

 

โดยใช้ฐานลูกค้าและการให้บริการครบวงจร บริหารจัดการด้านการตั้งราคาขายสินค้าที่เหมาะสม และการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารให้ดียิ่งขึ้น รวมถึง ลดต้นทุนการผลิตสินค้าและการประกอบสินค้าบางประเภทในประเทศออสเตรเลีย โดยย้ายมาใช้ฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งโรงงานใหม่ของ AEROKLAS คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 62

 

 



ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP ตามที่ได้ปรับกลยุทธ์ โดยใช้หลักการ “Capacities Driven” บริหารจัดการกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของ EPP เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยในปีนี้จะทำการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการสินค้ามาตรฐานสูง และกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทกล่องใส่อาหารและถ้วยน้ำดื่ม

 

 

นอกจากนี้ EPP สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบประเภท Bio plastic ได้เนื่องจากมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรการผลิตโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม รวมถึง บริษัทมีแผนที่จะลงทุนขยายไลน์การผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษเพื่อสามารถให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร

 

 


สำหรับผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 62/63 (เม.ย.62 – มิ.ย.62) บริษัทมีรายได้จากการขาย 2,672.4 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 2,623.2 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% ส่งผลให้ EPG มีกำไรสุทธิ 215 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 29.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 304.8 ล้านบาท

 

 

แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 93.5% จากไตรมาสที่ผ่านมา (QoQ) ที่มีกำไรสุทธิ 111.1 ล้านบาท เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างการผลิต และได้เริ่มใช้วัตถุดิบที่ราคาปรับตัวลดลงแล้ว รวมถึง มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนธุรกิจในระยะยาว ดร.ภวัฒน์ กล่าว

 

 

EPG

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

แนวรบเก็งกำไร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ แม้สภาพตลาดหุ้นไทย นักลงทุน ยังไม่กลับมา แต่สำหรับแนวรบ หุ้นเก็งกำไร ......

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing Series 2024

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing..

มัลติมีเดีย

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้