Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews: TRT คว้างานใหม่ 131 ลบ. ปี 62วิ่งสู่เป้า 4.29 พันลบ.

1,294

 

 


HotNews: TRT  คว้างานใหม่ 131 ลบ.

ปี 62วิ่งสู่เป้า 4.29 พันลบ.


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(  10  ตุลาคม  2560 ) -------- TRT ประเดิม Q4 คว้างานการไฟฟ้านครหลวง กฟน. ลงนามสัญญาซื้อขาย หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสมบูรณ์ (Completely Self Protect transformer) ขนาด 225 kVA 3 Ph 24000-416/240 V จำนวน 213 เครื่อง สัญญาเลขที่ MP9-8975-BGE  มูลค่า 131,731,980 บาท เตรียมส่งมอบ Q4 ปี 2560 คาดรายได้ปีนี้ใกล้เคียงปีก่อน พร้อมเตรียมประมูลงาน อย่างต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่ง TRT คาดจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่   25 -30%   ปี 62วิ่งสู่เป้ารายได้  4.29 พันลบ.

นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ถิรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TRT ผู้นำตลาดหม้อแปลงไฟฟ้า และอุตสาหกรรมด้านเกี่ยวกับพลังงานรายใหญ่ของประเทศ เพื่อผลิตสินค้าตามคําสั่งซื้อของลูกค้า (made to order) เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาซื้อขาย หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสมบูรณ์ (Completely Self Protect transformer) ขนาด 225 kVA 3 Ph 24000-416/240 V จำนวน 213 เครื่อง สัญญาเลขที่ MP9-8975-BGE  มูลค่า 131,731,980 บาท กับการไฟฟ้านครหลวง โดยมี นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (กฟน) ร่วมลงนาม 
สำหรับการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสมบูรณ์ ที่เซ็นสัญญากับทาง กฟน. จะส่งมอบประมาณเดือนธันวาคม ปี 2560 โดยทางกฟน. จะนำไปติดตั้งในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. ซึ่งนับได้ว่า กฟน.เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สำคัญ ที่ได้ให้การสนับสนุนใช้หม้อแปลงไฟฟ้า ของ ถิรไทย ตลอดมา นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้น จวบจนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 30 ปี
                        นายสัมพันธ์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับครึ่งปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ลดลง ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยหลักมาจาก การส่งมอบสินค้าที่มีกําไรขั้นต่ำ โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้า เนื่องมาจาก ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาของตลาดหม้อแปลงไฟฟ้ายังสูง จากการใช้งบประมาณของภาครัฐยังไม่กลับมาเป็นภาวะปกติ ทําให้กําไรขั้นต้น ของ Transformer group และ Non-Transformer group ลดลงจาก 24% และ 44%  ตามลําดับ สําหรับงวด 6 เดือน ในไตรมาส 2 ปี 2559 มาอยู่ที่ 10% และ 31% ตามลําดับ ในไตรมาส 2 ปี 2560 
สำหรับกําไรขั้นต้นของกลุ่มบริษัท ถิรไทย จะขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน และการรับรู้รายได้ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาส่งมอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของกลุ่มธุรกิจ ถิรไทย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร สําหรับ 6 เดือนในไตรมาส 2 ปี 2560 อยู่ที 26% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อยู่ที  24% การเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การเพิ่ม ขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของตลาดตราสารหนี้  และ การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 
                        สำหรับแผนธุรกิจของบริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายยอดขายทั้งกลุ่มไว้ประมาณ 4,290 ล้านบาท ในปี 2562 โดยใช้กลยุทธ์การขยายฐานตลาดส่งออกหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งจะเน้นตลาดในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงโดยเฉพาะ กลุ่มประเทศ AEC โดยเน้นลูกค้าที่ต้องการวิศวกรรมการออกแบบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดส่งออกจาก 479 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 610 ล้านบาท ในปี 2560 หรือ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 27% จากปี 2559 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2562
และเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้า
กำลังของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากแผน PDP 2015 ซึ่งประมาณการงบลงทุนในโครงการระบบเสาส่งไฟฟ้า แรงสูงของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิต สำหรับปี 2559-2563 อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่ง TRT มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 25 - 30% 
รวมถึงกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ กลุ่มงาน Steel Fabrication และงาน EPC ด้วยการเตรียมแผนเพื่อเข้ารับการรับรองมาตรฐานขั้นสูงต่างๆ ตัวอย่างเช่น ASME ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในปี 2560 ทั้งด้านศักยภาพการผลิต และบุคลากร เพื่อเพิ่ม Value Added ซึ่งสามารถทำให้ยอดขายของงานกลุ่มงานนี้ สามารถเติบโตจาก จาก 161 ล้านบาทในปี 2559 เป็น 529 ล้านบาท ในปี 2560 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2561 - 2562
นายสัมพันธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ทั้งนี้บริษัทฯ ยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้น ของกลุ่มบริษัท ถิรไทย เฉลี่ยอยู่ที 20 - 23% และจะเพิ่มศักยภาพ และเสริมทรัพยากรบุคคลในองค์ให้มีคุณภาพ และเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ 

อนึ่ง TRT ประกอบธุรกิจ ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (made to order) เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการให้บริการติดตั้ง ซ่อมบำรุง ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า งานบริการ งานเช่าหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ผลิตในประเทศรายเดียวที่ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าได้ทุกขนาด ทั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง และ หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย โดยยึดมั่นใน วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ ในการเป็นผู้นำในการผลิต จำหน่าย และให้บริการครบวงจรเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าในภาคพื้น เอเชียและโอเชียเนีย รวมทั้งแสวงหาโอกาสร่วมทุนในธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยผลงานคุณภาพที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล พร้อมทั้งสร้างสรรค์สิ่งดีงามต่อสังคม
  ในไตรมาส 2 ปี 2560 สำหรับงวด 3 เดือน ถึง 30.6.250 2560 บริษัทและบริษัทย่อย มีผลชาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (52.38) ล้านบาท และ สำหรับงวด 6 เดือน ถึง 30.6.2560 มีผลขาดทุนสิทธิทั้งสิ้น (83.95 ล้านบาท) ปัจจัยหลักมาจาก การส่งมอบสินค้าที่มีกำไรชั้นต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม้อแปลงไฟฟ้า เนื่องมาจาก ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาของตลาดหม้อแปลงไฟฟ้ยังสูง จากการใช้งบประมาณของภาครัฐยังไม่กลับมาเป็นภาวะปกติ ทำให้กำไรขั้นต้น ของ Transformer group และ Non-Transformer group ลดลงจาก 24% และ 44% ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือน ในไตรมาส 2 ปี 2559 มาอยู่ที่ 10% และ 31% ตามลำดับ ในไตรมาส 2 ปี 2560 กำไรขั้นต้นของกลุ่มบริษัท ถิรไทย จะขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน และ การรับรู้รายได้ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาส่งมอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของกลุ่มธุรกิจ ถิรไทย ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร สำหรับ 6 เดือนในไตรามาส 2 ปี 2560 อยู่ที่ 26% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อยู่ที่ 24% การเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ของตลาดตราสารหนี้ และ การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
***Business Plan***
เพิ่มยอดขายของกลุ่มถิรไทย ให้ถึง 4,290 ล้านบาท ในปี 2562
กลยุทธ์การขยายฐานตลาดส่งออกหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งจะเน้นตลาดในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงโดยเฉพาะ กลุ่มประเทศ AEC โดยเน้นลูกค้าที่ต้องการวิศวกรรมการออกแบบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดส่งออกจาก 479 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 610 ล้านบาท ในปี 2560 หรือ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 27% จากปี 2559 โดยมีมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2562
กลยุทธ์การเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากแผน PDP 2015 ซึ่งประมาณการงบลงทุนในโครงการระบบเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต สำหรับปี 2559-2563 อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 2,000 ล้านบาท ซึ่ง TRT มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 25%-30%
กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพของ กลุ่มงาน Steel Fabrication และงาน EPC ด้วยการเตรียมแผนเพื่อเข้ารับการรับรองมาตรฐานขั้นสูงต่างๆ (ตัวอย่างเช่น ASME ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในปี 2560) ทั้งด้านศักยภาพการผลิต และ บุคลากร เพื่อเพิ่ม Value Added ซึ่งสามารถทำให้ยอดขายของงานกลุ่มงานนี้ สามารถเติบโตจาก จาก 161 ล้านบาทในปี 2559 เป็น 529 ล้านบาท ในปี 2560 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2561 - 2562
โดยรักษาอัตรากำไรขั้นต้น ของกลุ่มบริษัท ถิรไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 20%-23%
เพิ่มศักยภาพและเสริมทรัพยากรบุคคลในองค์ให้มีคุณภาพและเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ

***Investment Highlight***
เพื่อเสริมสร้างการเติบโตอย่างแข็งแรง และยั่งยืน กลุ่มบริษัท ถิรไทย ได้ปรับกลยุทธ์ในปีที่ผ่านโดยการเพิ่มธุรกิจใหม่ๆ ทำให้สัดส่วนโครงสร้างรายได้ ของธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า เปลี่ยนจาก 84% ในปี 2556 เป็น 73% ในปี 2559 และสัดส่วนของธุรกิจที่ไม่ใช่หม้อแปลงไฟฟ้า เพิ่มจาก 5% ในปี 2556 เป็น 27% ในปี 2559 โดยจะปรับสัดส่วนกลุ่มธุรกิจ ให้ ยืดหยุ่น และ เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจในอัตรากำไรที่ทำให้ กลุ่มบริษัท ถิรไทย เติบโตอย่างแข็งแรง
TRT จะเริ่มเดินสายการผลิตของ โรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าใหม่ ตั้งในเขตอุตสาหกรรมนิคมบางปู ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย และ ส่งเสริมกำลังการผลิตของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย เพิ่มจาก 1,000 MAV เป็น 1,500 MVA และเพิ่มกำลังการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง จาก 4,000 MVA เป็น 7,500 MVA ซึ่งจะสามารถรองรับการเติบโตธุรกิจของ TRT ไปอีก 5-7 ปี โดยจะมีค่าเสื่อมราคาประมาณ 30 ล้านบาทต่อปี
          
***Risk Factor***
ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงธุรกิจใด ธุรกิจหนึ่ง ธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท ถิรไทย เป็นธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า ในปี 2556 คิดเป็น 84% ของรายได้รวมของกลุ่มบริษัท ถิรไทย ซึ่งธุรกิจนี้ ความต้องการของหม้อแปลงไฟฟ้า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ปริมาณความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้าในส่วนของภาครัฐ ตามแผน PDP ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนภาคเอกชน ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และงบลงทุนของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านนี้ ทางกลุ่มบริษัท ถิรไทย ได้ดำเนินการเพิ่มธุรกิจใหม่ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นไปตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งธุรกิจดังกล่าว เป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อยราย และเป็นธุรกิจที่มีตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รองรับอีกมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ AEC ซึ่งจะทำให้มีการกระจายสัดส่วนโครงสร้างรายได้ไปในกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตสูง ตามแผนธุรกิจ 2560-2562 ประมาณการสัดส่วนรายได้ในส่วนของกลุ่มหม้อแปลงไฟฟ้า จะลดลงเหลือ 65% และสัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่ไม่ใช่หม้อแปลงไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 35% ซึ่งจะทำให้ กลุ่มบริษัท ถิรไทย จะยังสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน
ความเสี่ยงจากการแข่งขันทางด้านราคา การแข่งขันด้านราคาในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการเลื่อนการใช้งบประมาณของภาครัฐ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น ดังนั้น ทางกลุ่มบริษัท ถิรไทย มีมาตรการลดความเสี่ยงโดยการตั้งราคาแบบวิธี Cost Plus เพื่อการบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นในการเสนอราคา และ บริหาร gross margin ให้อยู่ในอัตราเฉลี่ย 20% - 23% โดยเน้นตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่มี margin สูง ที่ต้องใช้วิศวกรรมการออกแบบ และมาตรฐานขั้นสูง รวมถึงปรับปรุงระบบการจัดการในองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ ลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็นของห่วงโซ่อุปาทานทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

      ---จบ--




 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้