Today’s NEWS FEED

สัมภาษณ์/รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ..ECF เรียบง่าย ไม่ธรรมดา

4,768


รายงานพิเศษ..ECF เรียบง่าย ไม่ธรรมดา

    หุ้นดวงดี  ดวงเฮง จังหวะสวย  ต้องมอบให้น้องใหม่ป้ายแดง  บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน)ECF วันนี้ (26มี.ค.) โลกทั้งใบ เฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด คงเป็นสีชมพู สีทองผ่องอำไพ  เทรดวันแรก ซื้อขายวันแรก สัปดาห์นี้ ดีกว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งตลาดหุ้นไทย ถือว่าเป็นฝันร้าย นักลงทุนหวาดผวาสติแตก...นาทีนี้ ข่าวร้ายจางหายไป นักลงทุนมีสติ  ความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง   การซื้อขายกลับมีความคึกคัก แม้ไม่ถึงแสนล้านบาทก็ตาม
    ECF จะสร้างปรากฎใหม่ สะท้อนวงการไอพีโอได้หรือไม่ แง่มุมไหน  คงยากจะคาดการณ์....แต่สำหรับเครดิตแล้ว  แค่ชื่อที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) อันเดอร์ไรท์ บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)(CNS) ก็เป็นอะไร ที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกข้อ.....และเชื่อว่า นักลงทุนที่ได้รับการจัดสรรกว่า 3,543 ราย คงมีความสุขอีกหนึ่งวัน แต่นักลงทุนที่ได้เปรียบมากสุด คือ นักลงทุนที่ได้รับฟังข้อมูลของECF จากปากผู้บริหารโดยตรง
    ราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอ ECF ที่ ราคา 1.20 บาท/หุ้น มี P/E 17.51 เท่าหรือคิดเป็นส่วนลดประมาณ 30% วันแรก จะแจกเปอร์เซ็นต์ระดับเลข3หลักได้หรือไม่ โปรดอย่ากระพริบตา..........เพราะหนังม้วนอีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค เป็นหนังยาว ไม่ใช่ แผ่นเดียวจบ.....

    จุดกำเนิดECF
                 บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (East Coast Furnitech Public Company Limited) (“บริษัท”หรือ “ECF”) จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 6,000,000 บาท (หกล้านบาทถ้วน) โดยในช่วงแรกมีวัตถุประสงค์การก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและ จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ดแบบประกอบด้วยตนเอง ภายใต้การบริหารงานโดยกลุ่มนักธุรกิจคนไทยนำโดยนายวัลลภ สุขสวัสดิ์ ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปัจจุบัน และครอบครัวสุขสวัสดิ์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและบุกเบิกธุรกิจการผลิตและจัด จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์มาตั้งแต่ช่วงปี2535 โดยมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับธุรกิจของกลุ่มอีสต์โคสท์ ดังนี้ในปี 2535 กลุ่มผู้บริหารหรือกลุ่มครอบครัวสุขสวัสดิ์ นำโดยนายวัลลภ สุขสวัสดิ์ ได้ก่อตั้ง บริษัท อีสต์โคสท์อุตสาหกรรม จำกัด (ECI) ขึ้นในปีดังกล่าวและถือเป็นนิติบุคคลแห่งแรกของกลุ่มอีสต์โคสท์ โดยจดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจโรงเลื่อย โรงอบ ไม้ยางพาราแปรรูป และผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา รวมถึงการเป็นผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ เพื่อการตกแต่งสำนักงานและที่อยู่อาศัยโดยส่วนใหญ่เป็นการค้าปลีกโดยตรงกับ ลูกค้า และมีบางส่วนที่จำหน่ายผ่านบริษัทผู้จัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์
               ในปี 2539 ได้จดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท อีสต์โคสท์ดีไซน์ จำกัด (ECD) ขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และประกอบกิจการนำเข้าหรือส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทุกชนิดตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง โดยย้ายฐานการผลิตจาก ECI ในส่วนของการประกอบกิจการผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราจาก ECI มาไว้ที่ ECD โดยวิธีการซื้อทรัพย์สิน และเพื่อประโยชน์ในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลง ทุน (BOI) โดยต่อมาทาง ECD ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในส่วนการผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา สำหรับ ECI ภายหลังจากการขายทรัพย์สินให้ ECD แล้ว ECI ได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาเป็นผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่าง เดียว โดยดูแลในด้านการตลาด และรับผิดชอบสาขาและโชว์รูมเพื่อการจัดแสดงสินค้าและจำหน่าย ภายใต้ตราสินค้า “ELEGA” ซึ่งเป็นตราสินค้าสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่ทางบริษัทเป็นผู้ผลิต และเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงที่สั่งซื้อมาทั้งจากในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อจำหน่าย โดยมีพื้นที่เช่าเพื่อใช้เป็นโชว์รูมตั้งอยู่ในอินเด็กซ์ ลีฟวิ่ง มอลล์ (Index Living Mall) และโฮมโปร (Home Pro) โดยมีจำนวนสาขา ณ วันที่ 30 กันยายน2555 รวมทั้งสิ้น 15 สาขา
                  ต่อมาในปี 2542 ได้จดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (ECF) ขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด แบบประกอบด้วยตัวเอง ซึ่งขณะนั้นกระแสความนิยมในเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ดกำลังเพิ่มขึ้น อย่างมาก โดยต่อมา ECF เป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหลังจากนั้นในช่วงปี 2545 ได้ดำเนินการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทขึ้นอีก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท วี - ชัท เดคคอร์จำกัด (VCD) เพื่อประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษปิดผิวไม้ และให้บริการตัดแผ่นปิดขอบไม้ (พีวีซี)เพื่อจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป และในปีเดียวกันได้ก่อตั้ง บริษัท วี - ชัท อินดัสทรี จำกัด (VCI) เพื่อประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้ง ซึ่งเป็นการย้ายฐานการผลิตจาก ECD มาไว้ที่ VCIโดยวิธีการซื้อทรัพย์สิน โดยต่อมา VCI เป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างการถือหุ้น ในบริษัท อีสต์โคสท์อุตสาหกรรม จำกัด (ECI) บริษัท อีสต์โคสท์ดีไซน์ จำกัด (ECD) บริษัทอีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (ECF) บริษัท วี - ชัท เดคคอร์ จำกัด (VCD) และ บริษัท วี - ชัท อินดัสทรี จำกัด (VCI)

ประกอบด้วยครอบครัวสุขสวัสดิ์ เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 และเป็นกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมบริษัท ลักษณะการดำเนินธุรกิจ
1. บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (ECF) ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด
2. บริษัท อีสต์โคสท์ดีไซน์ จำกัด (ECD) ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
3. บริษัท อีสต์โคสท์อุตสาหกรรม จำกัด (ECI)ในทุกบริษัททั้งนี้สาเหตุของการก่อตั้งบริษัทหลายแห่งขึ้นในลักษณะดัง กล่าวเพื่อประโยชน์ทางด้านการขอรับการสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนจากคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นสำคัญ การก่อตั้งกลุ่มบริษัทดังกล่าว รวมเรียกว่ากลุ่มบริษัทอีสต์โคสท์ (East Coast Group) สามารถสรุปลักษณะการดำเนินธุรกิจในแต่ละบริษัท ก่อนการจัดโครงสร้างกลุ่มบริษัทในช่วงปี 2553 ได้ดังนี้


            บริษัท                                                            ลักษณะการดำเนินธุรกิจ
1. บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (ECF)        ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด
2. บริษัท อีสต์โคสท์ดีไซน์ จำกัด (ECD)               ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
3. บริษัท อีสต์โคสท์อุตสาหกรรม จำกัด (ECI)      ธุรกิจซื้อมา – จำหน่ายไป ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่ทางบริษัทเป็นผู้ผลิตเอง และเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงที่สั่งซื้อมาทั้งจากในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจำหน่ายผ่านโชว์รูมที่เป็นพื้นที่เช่าของบริษัท
4. บริษัท วี - ชัท เดคคอร์ จำกัด (VCD)        ผลิตและจำหน่ายกระดาษปิดผิวไม้ และให้บริการตัดแผ่นปิดขอบไม้ (พีวีซี) เพื่อใช้ประกอบในการผลิต เฟอร์นิเจอร์
5. บริษัท วี - ชัท อินดัสทรี จำกัด (VCI)                 ผลิตและจำหน่ายไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้ง


               ต่อมา ในช่วงปี 2553 ผู้บริหารกลุ่มบริษัทอีสต์โคสท์ได้วางแผนสำหรับการเตรียมตัวในการพัฒนา จากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ทางบริษัทจึงได้ดำเนินการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและการเงินภายในกลุ่ม บริษัทอีสต์โคสท์ใหม่ โดยใช้รูปแบบการปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานและการเงินของแต่ละบริษัทรวม 4 บริษัท (ECD ECI VCD และ VCI) ให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยวิธีการเข้าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนิน ธุรกิจของแต่ละบริษัทมาไว้ที่ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (ECF) เพียงแห่งเดียว วิธีการดังกล่าวครอบคลุมถึงการโอนสายการผลิตสินค้า การจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบวัสดุสิ้นเปลือง เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงอาคาร และสินทรัพย์ถาวรอื่น ๆ ของทั้ง 4 บริษัท มาให้แก่ ECF ในราคาซื้อขายสำหรับอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ตามวิธีการประเมินที่ดำเนินการโดยบริษัทประเมินมูลค่า ทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย (TVA) และ สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (VAT) และดำเนินการจ่ายชำระคืนหนี้เงินกู้ยืมระหว่างกันให้เสร็จเรียบร้อย ซึ่งในขณะนั้นการจัดรูปแบบโครงสร้างดังกล่าว เป็นไปเพื่อคำนึงถึงประโยชน์ในการเตรียมตัวสำหรับเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพื่อขจัดปัญหารายการระหว่างกัน (Connected Transaction) ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นสำคัญ นอกจากนี้ สาเหตุที่เลือกให้บริษัท อีสต์โคสต์เฟอร์นิเทค จำกัด เป็นบริษัทหลักที่จะเตรียมตัวเพื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจหลักคือ การเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด ซึ่งมีอัตราการเติบโตของรายได้จากการขายที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีรายได้

                      จากการขายสูงสุดและมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่ม ประกอบกับยังมีช่วงเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เหลืออยู่ ในขณะที่บริษัทอื่นในกลุ่มได้ใช้สิทธิจากการส่งเสริมการลงทุนครบถ้วนตาม กำหนดเวลาการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจภายในกลุ่มบริษัทอีสต์โคสท์ดัง กล่าว ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่ออำนาจในการควบคุมบริษัท โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการแต่อย่างใด และภายหลังจากที่ ECF ได้ดำเนินการเข้าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และโอนพนักงานทั้งหมดจาก 4 บริษัทดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททั้ง 4 บริษัท ได้จัดการประชุมเพื่อมีมติพิจารณากำหนดนโยบายการดำเนินธุรกิจของทั้ง 4 บริษัทขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี 2555 เพื่อเป็นการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ”พิจารณาและเห็นชอบให้มีการกำหนดนโยบายการดำเนินธุรกิจที่จะไม่แข่งขันกับ บริษัทอีสต์โคสท์ เฟอร์นิเทค จำกัด” ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นและ เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีผลขาดทุนสะสมจึงอยู่ระหว่างรอใช้ประโยชน์จากผลขาด ทุนสะสม หรือพิจารณาเพื่อให้ชำระบัญชีและปิดกิจการให้เรียบร้อยต่อไป

                   ที่ผ่านมาบริษัทใช้ระยะเวลาในการจัดโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัทอีสต์โคสท์ ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2554 โดยภายหลังดำเนินการจัดโครงสร้างกลุ่มบริษัท ในระหว่างปี 2553 – 2554 เป็นที่เรียบร้อย กลุ่มบริษัทอีสต์โคสท์ จะเหลือ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด เพียงแห่งเดียว ซึ่งต่อมาได้ดำเนินการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในช่วงปี 2555 โดยมีลักษณะการดำเนินธุรกิจครอบคลุมด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ผู้ผลิตและจำหน่ายไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้ง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราและบางส่วนจำหน่ายให้กับบุคคลภายนอก

2. ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา


3. ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด


4. ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ (Trading) สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ทางบริษัทเป็นผู้ผลิตเอง และเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงที่สั่งซื้อมาทั้งจากในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ


5. ผู้ผลิตส่วนตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ กระดาษปิดผิว และให้บริการตัดแผ่นปิดขอบไม้ (พีวีซี) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด และเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลภายนอก


                  ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 รายได้หลักของบริษัทคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของรายได้จากการขายทั้งหมดมาจากรายได้จากการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์จาก ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด โดยบริษัทมีการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ดให้แก่ลูกค้าในรูปแบบ การผลิตและจำหน่ายตามคำสั่งซื้อ (Made to order) ให้แก่ลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลูกค้าในประเทศ ได้แก่ เทสโก้ โลตัส (Tesco Lotus) บริษัทจะผลิตสินค้าให้แก่ Tesco Lotus โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ผลิตตามคำสั่งซื้อโดยใช้ตราสินค้าของ Tesco Lotus โดยตรง และส่วนที่บริษัทผลิตและจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของบริษัทเอง คือ “Muse”

                นอกจากนี้ทางบริษัทยังผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายให้กับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Modern Trade) รายอื่น ได้แก่ บิ๊กซี (Big C) ภายใต้ตราสินค้าซึ่งเป็นของบริษัทเองคือ “Fur Direct” โฮมโปร (Home Pro) ภายใต้ตราสินค้าซึ่งเป็นของบริษัทเองคือ “Leaf” และณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีโชว์รูมสาขาเพื่อจำหน่ายและแสดงสินค้า ภายใต้ตราสินค้า“ELEGA” ซึ่งเป็นตราสินค้าสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่บริษัทเป็นผู้ผลิตขึ้นเอง และส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงที่สั่งซื้อมาจากทั้งในประเทศและที่นำเข้าจาก ต่างประเทศเพื่อจำหน่ายภายในโชว์รูม “ELEGA” ซึ่งตั้งอยู่ในอินเด็กซ์ ลีฟวิ่ง มอลล์(Index Living Mall) รวม 12 สาขา และโชว์รูมในโฮมโปร (Home Pro) รวม 3 สาขา รวมทั้งสิ้น 15 สาขา ปัจจุบันบริษัทอยู่
              ระหว่างขั้นตอนการจดทะเบียนตราสินค้า “Costa” เพิ่มอีกหนึ่งตราสินค้า เพื่อใช้เป็นตราสินค้าสำหรับการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ให้กับกลุ่ม ลูกค้าในระดับร้านค้าปลีกรายย่อยทั่วไป (Dealer) ซึ่งบริษัทเริ่มมีรายได้จากการจำหน่ายในตราสินค้าดังกล่าวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2555

                    สำหรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ บริษัทมีรายได้จากการผลิตจำหน่ายตามคำสั่งซื้อ (Made to order) ให้กับลูกค้าต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วน ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 ประมาณร้อยละ 60 ของรายได้จากการขายทั้งหมดของบริษัท โดยลูกค้าหลักของบริษัทคือ บริษัทผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Modern Trade) หลายรายในประเทศญี่ปุ่น โดยสัดส่วนการจำหน่ายให้กับลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อย ละ 55 ของรายได้จากการขายทั้งหมดของบริษัท

                    ในส่วนโครงสร้างการประกอบธุรกิจนอกจากบริษัทแล้วยังมี บริษัท วีวี – เดคคอร์ จำกัด (V V D?cor) เป็นบริษัทย่อยเพียงแห่งเดียว โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.95 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ด้วยทุนจดทะเบียน1.00 ล้านบาท ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจด้านการตลาด (Trading) ให้กับบริษัทเพื่อเป็นผู้จำหน่ายกระดาษปิดผิวให้กับลูกค้าบางรายของบริษัท

                    ปัจจุบันบริษัท มีอาคารโรงงานเพื่อใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด และไม้ยางพารารวม 9อาคาร และอาคารอื่น ๆ อีก 8 อาคาร ได้แก่ อาคารผลิตวัสดุปิดผิว อาคารซ่อมบำรุง อาคารโกดังสินค้า อาคารดังกล่าวทั้งหมดก่อสร้างบนที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท และมีที่ดินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจรวม 3 แห่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ที่ดินแห่งที่หนึ่ง เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ และโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เนื้อที่รวม 43-0-37 ไร่ ตั้งอยู่ เลขที่ 37/9 หมู่ 10 ถนนบ้านบึง–แกลง ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110ที่ดินแห่งที่สอง เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา โรงงานผลิตวัสดุปิดผิว และโรงเลื่อย / โรงอบ เนื้อที่รวม 54-2-11 ไร่ ตั้งอยู่ เลขที่ 29/1-2 หมู่ 3 ซอยชงโค - ชุมนุมใน ตำบลวังจันทร์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง21210ที่ดินแห่งที่สาม เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานและโชว์รูม เนื้อที่รวม 1-0-3 ไร่ ตั้งอยู่ เลขที่ 25/28 หมู่ 12 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150สำหรับ บริษัท วีวี – เดคคอร์ จำกัด (V V Dcor) มีสำนักงาน ตั้งอยู่ เลขที่ 25/28 หมู่ที่ 12 ตำบลบึงคำพร้อยอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับส่วนสำนักงานและโชว์รูมของบริษัท
    สิ่งเหล่านี้ คือ เส้นทางชีวิตECF  สำหรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจแล้ว  บริษัทได้กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่ จะครองส่วนแบ่งทางการตลาดในอันดับ1 ใน 5 ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ของประเทศไทย
      ปัจจุบันบริษัทมีแนวโน้มการ เติบโตของยอดขายในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ทั้งในส่วนไม้ปาร์ติเคิลบอร์ดและไม้ ยางพาราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเกิดจากการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องด้วยความ เชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่ทางบริษัทมีการติดต่อซื้อขายกันมาเป็นเวลา นานกว่า 10 ปี ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเติบโตในยอดขายของบริษัทมีแนว โน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงปริมาณความต้องการเฟอร์นิเจอร์ใน ประเทศ และโอกาสในการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย เช่นกัน ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนการขยายกำลังการผลิต การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความทันสมัย รวดเร็ว พร้อมรองรับปริมาณคำสั่งซื้อที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ทันเวลา
                 สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ บริษัทได้วางแผนเน้นการขยายตลาดไปสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีปริมาณความ ต้องการผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น กลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิด ขึ้นในต้นปี 2558 ต่อไป
    แน่นอนงานทุกกิจการย่อมมีความเสี่ยง  อาทิ

ความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ

              ในงวดบัญชีปี 2554 และงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีสัดส่วนการสั่งซื้อไม้ปาร์ติ-เคิลบอร์ด คิดเป็นร้อยละ 47.84 และร้อยละ 44.59 ของยอดสั่งซื้อวัตถุดิบรวม โดยบริษัทไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายใดรายหนึ่งโดย เฉพาะ ดังนั้น บริษัทจึงอาจได้รับความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบหากผู้จำหน่ายไม่สามารถ จำหน่ายวัตถุดิบให้กับบริษัทได้อย่างเพียงพอ หรืองดการจำหน่ายวัตถุดิบให้กับบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทตระหนักถึงประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว และได้มีการป้องกันความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบ โดยการสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายรายใหญ่ที่มีศักยภาพด้านการผลิตรวม 7 ราย ควบคู่ไปกับการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบมายาวนานต่อ เนื่อง ซึ่งจำนวนผู้จำหน่ายวัตถุดิบกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้จำหน่ายวัตถุดิบหลัก มีการขายวัตถุดิบให้กับบริษัทมาเป็นเวลานานมากกว่า 7 ปี ดังนั้น ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวจึงมีโอกาสน้อยและที่ผ่านมาบริษัทยังไม่ เคยประสบปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด

• ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
              วัตถุดิบหลักในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ของบริษัทได้แก่ ไม้ยางพารา โดยการปลูกไม้ยางพาราของเกษตรกรผู้ปลูก มีวัตถุประสงค์เพื่อกรีดน้ำยางไปทำยางแผ่นเพื่อจำหน่าย ซึ่งต้นยางถือเป็นผลพลอยได้จากการปลูกยาง เนื่องจากเมื่อต้นยางมีอายุมากขึ้น น้ำยางจะลดลง จึงตัดโค่นไม้ยางมาจำหน่าย ซึ่งภายหลังการปิดป่าทำให้ไม้ยางพาราเป็นหนึ่งในไม้ที่ได้รับความสนใจมาก ขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อจำหน่าย เนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้ที่มีลักษณะลำต้นกลม มีความสูงปานกลาง เนื้อไม้มีสีขาวอมเหลืองและจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่ออบแห้งแล้ว ซึ่งเหมาะแก่การนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากสามารถนำมาปรับสีเนื้อไม้ให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้นหากมีปริมาณความต้องการไม้ยางพารามากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนไม้ยางอันจะนำมาซึ่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำ กำไรของกิจการได้ ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ราคาไม้ยางพาราเฉลี่ยหน้าโรงเลื่อยมีการปรับตัว

                   ในปี 2555 สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยและสถานการณ์การเติบโตของภาคเกษตร สาขาป่าไม้ โดยระบุว่าปี 2555 สาขาป่าไม้ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ประมาณร้อยละ 1.4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากปริมาณไม้ยางพาราที่เพิ่มสูงขึ้นตามนโยบายส่ง เสริมการปลูกไม้ยางพาราของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรตัดโค่นต้นยางพาราในพื้นที่สวนยางพาราเก่าที่มีอายุ 30 ปี จำนวน 500,000 ไร่ ในระหว่างปี 2555 -2556 เพื่อปลูกทดแทนใหม่ด้วยไม้ยางพันธุ์ดีโดย ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ยังมีพื้นที่เป้าหมายคงเหลือรวมประมาณ 260,000 ไร่ และหากพิจารณาพื้นที่ปลูกไม้ยางพาราจะพบว่า ณ เดือนธันวาคม 2554 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกไม้ยางพาราเท่ากับ 12.77 ล้านไร่ และ ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 มีพื้นที่ปลูกไม้ยางพาราเท่ากับ 13.81 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 8.16 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 โดยการปลูกไม้ยางพาราในปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ทั้งภาคเหนือภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ (ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ซึ่งการส่งเสริมการปลูกไม้ยางพาราดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่อปริมาณและราคาไม้ ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของบริษัท นอกจากนี้ด้วยปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน จึงทำให้บริษัทมีอำนาจในการเจรจากับลูกค้าเพื่อปรับเพิ่มราคาสินค้าให้สอด คล้องกับต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจกว่า 20 ปี ทำให้บริษัทสามารถประมาณการความต้องการใช้ไม้ในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะ สมและสอดคล้องกับความต้องการซื้อสินค้าของลูกค้า

              ความเสี่ยงจากการขาดแคลนแรงงาน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

         ตามนโยบายรัฐบาลบริษัทดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และกระดาษปิด ผิว ซึ่งแรงงานด้านการผลิตถือเป็นส่วนสำคัญ โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 869 คน แบ่งเป็นพนักงานประจำจำนวน 142 คน และลูกจ้างรายวันจำนวน 727 คน ซึ่งร้อยละ 90.50 ของจำนวนลูกจ้างรายวันทั้งหมดอยู่ในฝ่ายโรงงาน/ผลิต ซึ่งการมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของกิจการ โดยการปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อคนต่อวัน ตามนโยบายของภาครัฐที่มีผลบังคับใช้พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม2556 จะส่งผลให้บริษัทมีต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มเติมร้อยละ 13.64 โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทมีแรงงานต่างด้าวคิดเป็นร้อยละ 79.78 ของลูกจ้างรายวันทั้งหมด ซึ่งบริษัทได้แจ้งขออนุญาตมีโควต้าการจ้างแรงงานต่างด้าวจากสำนักงานจัดหา งานจังหวัดระยอง ผ่านบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ดำเนินธุรกิจส่งแรงงานไปทำ งานต่างประเทศและได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงานของประเทศดังกล่าวแล้ว ซึ่งปัจจุบันแรงงานต่างด้าวทั้งหมดของบริษัท เป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในระหว่างปี คนงานมีการเปลี่ยนงานรวมทั้งบริษัทมีการขยายธุรกิจอยู่ตลอดเวลา จึงอาจเกิดการหมุนเวียนของแรงงานเพิ่มขึ้น/ลดลง จนอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผลิตได้ในบางช่วง ซึ่งบริษัทตระหนักถึงประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว และกำหนดแนวทางป้องกันความเสี่ยงจากการขาดแคลนแรงงาน โดยมีการประสานงานกับบริษัทจัดหางานอย่างต่อเนื่อง เพื่อแจ้งให้ทราบถึงจำนวนลูกจ้างที่บริษัทต้องการในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทยังไม่เคยประสบกับปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะปรับปรุงสายการผลิต ด้วยการนำเข้าเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อให้กระบวนการผลิตเป็น ระบบอัตโนมัติ (Automatic System) มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

    การเข้าสู่ตลาดหุ้นของECF  คง ทำให้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ธรรมดา ต้นทุนการเงินที่ต่ำลง คงทำให้มีแต้มต่อทางธุรกิจ  คู่แข่งนอกตลาด  ระวังถูก  อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค งาบส่วนแบ่งตลาด........เพราะวันนี้ ECF พร้อมแล้ว พร้อมตะลุยทุกสนาม ทุกตลาด


เด็กน้อย.........รายงาน

บทความล่าสุด

ไต่เส้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองดูหุ้นไทยไต่เส้น แถว 1370 +/- แบบพยาบามฝ่าด่าน 1380 จุด โดยเช้านี้ พี่ DELTA..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้