Today’s NEWS FEED

เวทีความคิด

ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง…สัญญาณความเสี่ยงเศรษฐกิจที่ต้องจับตา

12,283



 ประเด็นสำคัญ

ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ยกระดับความรุนแรงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนส.ค. 2556 ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบ ราคาทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้น พร้อมๆ กับหนุนทิศทางการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งเดิมก็มีแรงหนุนจากกระแสการคาดการณ์การชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ อยู่ก่อนแล้ว

คงต้องยอมรับว่า การประเมินผลกระทบสุทธิต่อตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยจากประเด็นความขัดแย้งในซีเรีย ณ ขณะนี้ ยังคงทำได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความยืดเยื้อของสถานการณ์ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในกรณีที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 10% และหนุนให้ราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเดียวกันแล้ว จะมีผลทำให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีลดลงประมาณ 0.5-0.7% และผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น 0.7-0.9%

ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ความขัดแย้งคงจะไม่รุนแรงหรือยืดเยื้อ จนส่งผลต่อประมาณการหลักๆ ณ ขณะนี้ แต่ในช่วงหลังจากนี้ ยังคงต้องจับตาพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าว และผลกระทบที่อาจมีต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด

ความตึงเครียดในตะวันออกกลางเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามากขึ้น เมื่อชาติตะวันตกชั้นนำแสดงท่าทีต้องการแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่มีการใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือนเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2556 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง (ทั้งในอียิปต์ และซีเรีย) ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมาทะยานสูงขึ้นมากกว่า 10% ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา 

สถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ยกระดับความรุนแรงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนส.ค. 2556 ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบหลายเดือน  หนุนราคาทองคำ และเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมของเงินดอลลาร์ฯ จากเดิมที่มีแรงหนุนอยู่ก่อนแล้วจากกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับการเริ่มชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ (QE) ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 17-18 ก.ย. 2556 ที่กำลังจะมาถึงนี้

ส่วนผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยนั้น ความกังวลต่อสถานการณ์ที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นในซีเรียกระตุ้นแรงขายของนักลงทุนต่างชาติทั้งในตลาดหุ้น-ตลาดพันธบัตรไทย และกดดันให้เงินบาทร่วงลงทะลุระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี 

สำหรับผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การประเมินผลกระทบสุทธิต่อตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยในปี 2556 จากประเด็นความขัดแย้งในซีเรีย ณ ขณะนี้ ยังคงทำได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความยืดเยื้อของสถานการณ์
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในกรณีที่หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 10% และหนุนให้ราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเดียวกันแล้ว จะมีผลทำให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีลดต่ำลงประมาณ 0.5-0.7% และผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.7-0.9% โดยหากทิศทางเงินบาทอ่อนค่าลงมากในช่วงเวลาเดียวกันจากแรงกดดันของกระแสเงินทุนไหลออก ก็อาจมีผลทำให้ผลกระทบต่อจีดีพีและเงินเฟ้อของไทยเพิ่มสูงขึ้น ผ่านการชะลอตัวของกำลังซื้อในประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง


เหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ยังคงเป็นประเด็นความเสี่ยงต่อทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ต้องติดตาม โดยหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (และราคาขายปลีกในประเทศไทย) กระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย สภาพคล่องในระบบการเงิน ค่าเงินบาท รวมถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย ตามระดับความรุนแรงและระยะเวลาของเหตุการณ์ ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ความขัดแย้งคงจะไม่รุนแรงหรือยืดเยื้อ จนส่งผลต่อประมาณการหลักๆ ณ ขณะนี้ แต่ในช่วงหลังจากนี้ ยังคงต้องจับตาพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าว และผลกระทบที่อาจมีต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

บทความล่าสุด

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

SNNP รับรางวัล Supplier ดีเด่นจากแม็คโคร

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่าย ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

PTG ลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคีเครือข่ายร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน

เก็งหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อยขี่ไม้กวาดวิเศษ ภาคเช้าที่ผ่านมา หุ้นไทยแกว่งขึ้น ตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียส่วนการเล่นการเทรดเป็นไปตามแรง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้