Today’s NEWS FEED

เวทีความคิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ฟื้นตัวดี คาดทั้งปี 63 GDP หดตัวไม่ต่ำกว่า -7.0%

32,609

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ฟื้นตัวดี คาดทั้งปี 63 GDP หดตัวไม่ต่ำกว่า -7.0%

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (16 พฤศจิกายน 2563) เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2563 หดตัวดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -8.0% YoY โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ที่ฟื้นตัวดีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้าหลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศรวมถึงไทย ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่าจะยังหดตัวอยู่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 3 ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายครัวเรือนของภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวไม่ต่ำกว่า -7.0%

 

 


ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ยังคงเผชิญปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการ ได้แก่

 

 

 

1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรุนแรงขึ้นมากในสหรัฐฯ และยุโรป และนำมาสู่การใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกรอบในหลายประเทศในยุโรป ในขณะที่การเข้าถึงวัคซีนในระดับประชากรโลกว่าจะเกิดขึ้นไม่เร็วไปกว่าช่วงปลายปี 2564

 

 

2. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงสูง โดยการเปลี่ยนผ่านการบริหารประเทศของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวิกฤตโควิดในสหรัฐฯ

 

 

 

ในขณะที่การดำเนินมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคยังอยู่ภายใต้อำนาจบริหารของประธาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะหมดวาระบริหารอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2564 นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งของสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงว่า พรรครีพลับลิกันจะยังครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ซึ่งทำให้การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะทำได้ยาก และ

 

 

 

3. ความไม่แน่นอนที่เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญไม่ได้ลดลง ทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการระบาดของไวรัสที่ยังควบคุมไม่ได้

 

 

 

และอาจจะมีผลกระทบต่อแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยงต่างชาติของไทยในปีหน้าให้อยู่ในวงจำกัดมากกว่าที่วางแผนไว้ ทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก ซึ่งปัจจัยที่มากระทบรายได้จากต่างประเทศดังกล่าวจะมีผลกลับมายังการจ้างงานในประเทศที่ลดลง และกระทบการใช้จ่ายครัวเรือนรวมไปถึงคุณภาพของสินเชื่อในระบบการเงิน นอกจากนี้ยังมีประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังเป็นประเด็นต่อเนื่องไปยังปีหน้า

 

 

 

 


- สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรุนแรงขึ้นมากในสหรัฐฯ และยุโรป และนำมาสู่การใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกรอบในหลายประเทศในยุโรป แม้ว่าจะมีข่าวดีจากความคืบหน้าอย่างมากในการทดลองวัคซีนโควิด19 ซึ่งตลาดเงินได้ตอบสนองต่อปัจจัยบวกนี้ไปมาก แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมีมุมมองต่อการเข้าถึงวัคซีนในระดับประชากรโลกว่าจะเกิดขึ้นไม่เร็วไปกว่าช่วงปลายปี 2564 เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัคซีนของประชากรโลกทั้งในเรื่องการขนส่งที่ต้องใช้อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ความยินยอมรับเข้ารับวัคซีน และระยะเวลาที่วัคซีนสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน

 

 

 


- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงสูง โดยการเปลี่ยนผ่านการบริหารประเทศของสหรัฐฯ อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวิกฤตโควิดในสหรัฐฯ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อแตะระดับ 2 แสนคนต่อวัน ในขณะที่การดำเนินมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคยังอยู่ภายใต้อำนาจบริหารของประธาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะหมดวาระบริหารอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2564 นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งของสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงว่า พรรครีพลับลิกันจะยังครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ซึ่งทำให้การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะทำได้ยาก

 

 


- ความไม่แน่นอนที่เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญไม่ได้ลดลง ทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการระบาดของไวรัสที่ยังควบคุมไม่ได้ และอาจจะมีผลกระทบต่อแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยงต่างชาติของไทยในปีหน้าให้อยู่ในวงจำกัดมากกว่าที่วางแผนไว้ ทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก ซึ่งปัจจัยที่มากระทบรายได้จากต่างประเทศดังกล่าวจะมีผลกลับมายังการจ้างงานในประเทศที่ลดลง และกระทบการใช้จ่ายครัวเรือนรวมไปถึงคุณภาพของสินเชื่อในระบบการเงิน นอกจากนี้ยังมีประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังเป็นประเด็นต่อเนื่องไปยังปีหน้า

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้