Today’s NEWS FEED

เวทีความคิด

สรุปวิเคราะห์ข่าวประจำสัปดาห์ ณ วันที่ 26 กันยายน 2554

2,447

สรุปวิเคราะห์ข่าวประจำสัปดาห์ ณ วันที่ 26 กันยายน 2554

By : บลจ. ยูโอบี (ไทย) จำกัด

ตราสารทุน
ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงอย่างรุนแรงตามตลาดหุ้นโลก เพราะขาดความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในสหรัฐฯ หลังจากการประชุมของ Fed ที่ยังคงยืนนโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไป ด้วยการออกพันธบัตรระยะยาวทดแทนพันธบัตรอายุสั้น(Operation Twist) ขณะที่ในสหภาพยุโรปปัญหาขาดสภาพคล่องได้ขยายตัวในวงกว้างขึ้นปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวนี้จะส่งผลกระทบกับประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจการค้ามีการเชื่อมโยงกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในประเทศไทยน่าจะได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่จะทยอยประกาศในช่วงที่เหลือของปี

1 . คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก สำหรับคนที่ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้คืนภาษีร้อยละ 10 โดยจะทยอยคืนภายใน 5 ปี โครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2554 จนถึงสิ้นปี 2555

เป็นเพียงข่าวสนับสนุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ระยะสั้น แต่ผลกระทบกับกำไรของกลุ่มนี้ไม่มีนัยยะเพราะจำกัดเพียงคนที่ซื้อบ้านหลังแรก เม็ดเงินที่ประหยัดคาดว่าทำให้ราคาบ้านที่ซื้อนั้น
ลดลงเพียงร้อยละ 1-2% เท่านั้น

2 . การส่งออกขยายตัว 31.1% ชะลอตัวลงจาก 37.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในเดือนกรกฎาคม การนำเข้าขยายตัวในอัตราเร่ง 44.0% จาก 13.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในเดือนกรกฏาคม ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ระดับ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เกินดุล 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนกรกฏาคม

ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนสิงหาคมขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงแต่ยังมากกว่าที่คาด อย่างไรก็ดี แนวโน้มยังคงอ่อนตัวตามเศรษฐกิจโลกอยู่

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อเบื้องต้น ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสำรวจภาคการผลิตของจีนก่อนการเปิดเผยข้อมูลของทางการ ลดลงสู่ระดับ 49.4 ในเดือน ก.ย. จากระดับ 49.9 ในเดือน ส.ค. และทรงตัวต่ำกว่าระดับ 50 (ซึ่งเป็นระดับที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวลง) เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน การส่งออกในเดือน ส.ค. ของจีนชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ขณะที่การนำเข้าพุ่งขึ้น ซึ่งแสดงว่าเศรษฐกิจกำลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงมีความยืดหยุ่น โดยนักวิเคราะห์คาดว่า การส่งออกจะชะลอตัว
ลงอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งเห็นได้จากยอดสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง ทั้งดัชนีย่อยสำหรับยอดสั่งซื้อใหม่ และยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ลดลงอีก ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือน ก.ย. ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์โลกที่ลดลง ขณะที่ผู้บริโภควิตกต่อความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง และวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่ลุกลามออกไป แต่เอชเอสบีซีเชื่อว่า ดัชนี PMI ที่ระดับ 48 ของจีนยังคงบ่งชี้ว่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 12-13% และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะเพิ่มขึ้น 9% แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ถึงการหดตัวลงของ
กิจกรรมภาคการผลิตก็ตาม

2. แบงค์ ออฟ ไชน่า ได้ยุติการซื้อขายสัญญาฟอร์เวิร์ด และสว็อปอัตราแลกเปลี่ยนกับธนาคารยุโรปหลายแห่ง จากความกังวลของปัญหาหนี้สินในยุโรป

โดยธนาคารดังกล่าว ได้แก่ โซซิเอเต้ เจเนอราล, เครดิต อะกริโคล, และบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศส รวมถึง ยูบีเอส เอจี หลังจากที่ยูบีเอสขาดทุน 2.3 พันล้านดอลลาร์จากการซื้อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตของเทรดเดอร์รายหนึ่ง การกระทำดังกล่าวของแบงค์ ออฟ ไชน่า ทำให้มีการคาดการณ์ว่า จะมีธนาคารของจีนอีกหลายแห่งจะปฎิบัติตาม

3. นายอี้ กัง ผู้อำนวยการสำนักปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) และรองผู้ว่าการธนาคารกลางจีนกล่าวว่า จีนสามารถให้ความช่วยเหลือที่จำกัดแก่ยุโรปในการรับมือกับวิกฤตหนี้

โดยนายอี้ยังได้กล่าวอีกว่า ปัญหาหนี้ในยุโรปควรจะได้รับการแก้ไขโดยยุโรปเอง โดยในปัจจุบันทุนสำรองราว 25% (มูลค่าประมาณ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์) อยู่ในรูปสกุลยูโร ซึ่งนายอี้
กล่าวว่า ทางการจีนคงจะใช้ทุนสำรองส่วนนี้ในการช่วยเหลือ แต่จะเป็นกระบวนการที่ไม่ง่ายนักเนื่องจากจีนต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของประเทศด้วย

4. อดีตที่ปรึกษาธนาคารกลางจีนแนะว่า จีนควรระงับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลยุโรป และปรับลดการถือครองดอลล่าร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศ

โดยทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนประมาณ 25% (มูลค่าประมาณ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์) นั้นอยู่ในรูปสกุลเงินยูโร ซึ่งที่ผ่านมาจีนได้แสดงความเชื่อมั่นหลายครั้งในยูโรโซน แต่ก็ยังไม่เปิดเผยหรือยืนยันมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จีนจะดำเนินการเพื่อสนับสนุนยุโรป

1. ประธานาธิบดีของอินเดีย Monmohan Singh กล่าวในงานประชุม UN ว่า เขากังวลถึงวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เลวร้าย
คำแถลงดังกล่าวได้เพิ่มความกังวลต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และระบบการเงินโลก โดยเขายังได้กล่าวว่า ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลกตะวันตกและญี่ปุ่นนั้นได้ทำลายความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลก ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะยิ่งส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้ออีกด้วย

1. มาตรการ Operation Twist วงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ของเฟดได้ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวดีดขึ้น ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 60 ปี

โดยมาตรการ Operation Twist นั้น ทางเฟดได้ปรับสัดส่วนการลงทุนในงบดุล 2.85ล้านล้านดอลลาร์ โดยใช้วิธีขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 3 ปี หรือต่ำกว่า ในวงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ และนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรอายุ 6-30 ปี ก่อนสิ้นเดือน มิ.ย. 2012 โดยเฟดหวังว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ลดลงจะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนและผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจในวงจำกัดเท่านั้น

3. มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้คงแนวโน้มเชิงลบแก่ตลาดพันธบัตรเทศบาลมูลค่า 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ

มูดี้ส์ให้เหตุผลว่า แม้การจัดเก็บรายได้ปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มากพอสำหรับรัฐต่างๆ ในการทดแทนมาตรการให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลกลางที่สิ้นสุดในเดือน มิ.ย. และคาดว่ารายได้จะลดลงอีก จากการที่สภาคองเกรสกำลังหาวิธีเพื่อลดยอดการขาดดุล ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเงินทุนสำหรับโครงการของรัฐบาลกลางที่รัฐต่างๆจากเหตุผลดังกล่าวทำให้มูดี้ส์มองถึงความเป็นไปได้ต่อการลดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าการปรับเพิ่มจนกว่าจะเริ่มมองเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะและการฟื้นตัวของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

4. โกลด์แมน แซคส์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ WTI ระยะ 3 เดือนลงสู่ 97.50 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 115 ดอลลาร์/บาร์เรล และยังคาดว่าส่วนต่างราคา WTI และ Brent จะยังคงอยู่ที่ 22.5 ดอลลาร์/บาร์เรล

เหตุผลสำคัญของการปรับลดนั้นมาจากแรงกดดันจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงแต่อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันโลกยังอยู่ในภาวะตึงตัวอยู่ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบยังสามารถปรับสูงขึ้นจากระดับปัจจุบัน

1. IMF แถลงวิกฤติหนี้ยุโรปจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมูลค่ากว่า 3 แสนล้านยูโร และธนาคารยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มทุน

ผู้อำนวยการแผนกตลาดการเงินและตลาดทุนของ IMF กล่าวว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยุโรปยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ตนเองเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นในระดับที่มากเพียงใด และยังไม่มีความโปร่งใสมากพอในเรื่องวิธีการที่ธนาคารปฎิบัติต่อความเสี่ยงด้านพันธบัตรรัฐบาลดังนั้น ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในยุโรปจะยังคงกดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอยู่

2. กลุ่มจี-20 เปิดเผยในวันศุกร์ที่ 23 ก.ย. ว่า จะมีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อช่วยผ่อนคลายความวิตก และหนุนระบบการเงินโลก

การประกาศช่วยเหลือดังกล่าวถือเป็นแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตาม การประกาศนั้นยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกองทุนช่วยเหลืออย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องติดตามต่อไป

3. กรีซประกาศแผนรัดเข็มขัดเพิ่มเติม โดยการปรับลดการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ 20%
การปฎิบัติดังกล่าวนั้นจะส่งผลให้กรีซสามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขในแผนความช่วยเหลือทางการเงินได้จนถึงปี 2014 และมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้กรีซได้รับเงินช่วยเหลือวงเงิน 8พันล้านยูโรจากต่างประเทศ เพื่อที่กรีซจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายเงินเดือนข้าราชการ และชำระค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในเดือน ต.ค.

4. รมว.คลังกรีซได้กล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาว่า มีความเป็นไปได้ 3 ทางในการคลี่คลายวิกฤติหนี้กรีซ

โดยความเป็นไปได้ทางแรก คือ การที่กรีซจะผิดชำระหนี้อย่างเป็นระเบียบ โดยขอให้ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซปรับลดหนี้ลง 50% ความเป็นไปได้ที่สอง คือ การผิดชำระหนี้อย่างไม่เป็นระเบียบ และความเป็นไปได้ที่สาม คือ การดำเนินการตามแผนให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง ขนาด 1.09 แสนล้านยูโร

ตราสารหนี้
ตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03 - 0.05 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 2-10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.11 - 0.17 และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ0.13 – 0.24 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-10 ปี ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.20

ความเห็น
อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ทั้งนี้เนื่องจากมีแรงขายพันธบัตรในช่วงอายุดังกล่าวจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ทำให้นักลงทุนขายพันธบัตรเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากกังวลว่านักลงทุนต่างชาติอาจขายพันธบัตรออกมา อย่างไรก็ดี ยอดการถือครองพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติในสัปดาห์ที่แล้วลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 439,800 ล้านบาท เป็น 436,384 ล้านบาท แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมีแนวโน้มทรงตัว ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะปานกลางถึงระยะยาวน่าจะมีแนวโน้มทรงตัวหลังกระทรวงการคลังแถลงว่าปริมาณอุปทานพันธบัตรในไตรมาสที่ 4/2554 นี้ จะมีเพียงประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่3/2554 ค่อนข้างมาก

บทความล่าสุด

ไต่เส้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองดูหุ้นไทยไต่เส้น แถว 1370 +/- แบบพยาบามฝ่าด่าน 1380 จุด โดยเช้านี้ พี่ DELTA..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้