Today’s NEWS FEED

เวทีความคิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : คาดเฟดส่งสัญญาณถึงโอกาสในการพิจารณาการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า

12,072

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย :   ประชุมเฟด 18-19 มิ.ย. 62 คาดเฟดส่งสัญญาณถึงโอกาสในการพิจารณาการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า

 

 

ECONOMIC BRIEF

ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 18-19 มิถุนายน 2562 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดไม่น่าที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองภาพการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากประมาณรอบก่อนอย่างมีนัยสาคัญ ในขณะที่เฟดมีโอกาสปรับมุมมองเงินเฟ้อลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและอาจส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น ซึ่งการส่งสัญญาณดังกล่าวของเฟด คงจะเป็นการเปิดช่องว่างในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า หากพัฒนาความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประมาณการเงินเฟ้อของเฟดสูงขึ้น

 

 

 

 

  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มมีสัญญาณอ่อนแอลง สนับสนุนการพิจารณาความเหมาะสมของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าพัฒนาการของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงชัดเจนมากขึ้น อาทิ พัฒนาการของตลาดแรงงานที่การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพฤษภาคม 2562 เพิ่มขึ้นเพียง 7.5 หมื่นตำแหน่ง เทียบกับค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตรในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.64 แสนตาแหน่ง/เดือน นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของค้าจ้างรายชั่วโมงอันเป็นอีกเครื่องชี้ที่สะท้อนภาพรวมของตลาดแรงงงานก็มีทิศทางชะลอลงเช่นกันโดยขยายตัวในระดับต่าสุดในรอบกว่า 8 เดือน ทั้งนี้ การชะลอลงของการปรับขึ้นค่าจ้างรายชั่วโมงอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะกลางที่มีแนวโน้มชะลอลง อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันให้ทิศทางของเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในระยะต่อไป ดังนั้น ท่ามกลางแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มมีทิศทางชะลอลงชัดเจนขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงทรงตัวในระดับต่ากว่าเป้าหมายระยะยาวของเฟด คงเป็นปัจจัยที่ทาให้เฟดอาจมีการทบทวนถึงความเหมาะสมของการดาเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า

 

 

  • มองไปข้างหน้า พัฒนาการของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ คงเป็นตัวแปรสาคัญต่อความเสี่ยงการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อจังหวะในการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปัจจัยข้อพิพาททางการค้าอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสาคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าได้ โดยเห็นได้จากการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ จากจีนในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาคการผลิตในระยะข้างหน้าที่คงจะเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้ง ความเสี่ยงที่กาลังซื้อในระยะข้างหน้าอาจชะลอลง โดยดัชนี ISM ภาคการผลิตของสหรัฐฯ

 

 

2 ECONOMIC BRIEF

 

เดือนพฤษภาคม 2562 ปรับลดลงสู่ระดับต่าสุดในรอบกว่า 2 ปี ดังนั้น จุดสนใจที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคงหนีไม่พ้นการประชุม G20 ในวันที่ 28-29 มิถุนายน 2562 ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะมีการหารือกัน โดยในกรณีที่การหารือไม่ได้ข้อสรุปอาจจะส่งผลให้สหรัฐฯ ขยายการเก็บภาษีนาเข้าให้ครอบคลุมสินค้าจีนที่เหลือมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหากสถานการณ์สงครามการค้าลุกลามออกไป คงเป็นปัจจัยซ้าเติมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่การเติบโตกาลังชะลอลงในปัจจุบันเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวอาจจะเพิ่มโอกาสที่เฟดอาจจะตัดสินในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้า

 

 

 

 

 

  • ทั้งนี้ ในการเปิดเผยประมาณการเศรษฐกิจรอบการประชุมเดือนมิถุนายน 2562 ของเฟด คงจะเป็นการส่งสัญญาณเปิดโอกาสให้เฟดมีช่องว่างในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะคงมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากประมาณรอบก่อน (มี.ค. 62) ในขณะที่เฟดมีโอกาสปรับมุมมองเงินเฟ้อลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและอาจส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น ในส่วนของมุมมองคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (dot-plot) ประมาณการอัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่น่าจะส่งสัญญาณไปที่การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอาจจะมีมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งสัญญาณดังกล่าวของเฟดคงจะเป็นการเปิดช่องว่างในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า หากพัฒนาความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มเงินเฟ้อที่เฟดคาดการณ์ปรับเพิ่มสูงขึ้น

 

  • สำหรับผลต่อเศรษฐกิจไทย คาดการณ์ต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินทุนออกจากสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ฯ อันส่งผลให้ค่าเงินบาทในระยะข้างหน้ามีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้น และกดดันให้ทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลาง-ยาวของไทยปรับลดลง อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของเฟดเปิดโอกาสให้ธนาคารในประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งไทย มีพื้นที่ในการดาเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่คาดว่าที่ประชุมคณะกรรมการเงินของไทยจะยังคงติดตามพัฒนาการในเชิงความเสี่ยงความเปราะบางของภาคการเงินโดยเฉพาะประเด็นการก่อหนี้ของครัวเรือนเพื่อชั่งน้าหนักในการพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยของไทยต่อไป

 

 

 

Disclaimer

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทาเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทาขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคาแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

แนวรบเก็งกำไร By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ แม้สภาพตลาดหุ้นไทย นักลงทุน ยังไม่กลับมา แต่สำหรับแนวรบ หุ้นเก็งกำไร ......

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing Series 2024

พีทีจี เอ็นเนอยี ส่ง ออโต้แบคส์ เข้าร่วมงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 เตรียมประกาศความพร้อมการแข่งขัน PT Maxnitron Racing..

มัลติมีเดีย

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

NER กางปีก..รับราคายางพาราพุ่ง - สายตรงอินไซด์ - 18 มี.ค.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้