
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ ( 25 มิถุนายน 2561 ) TU ทุ่มงบ 37 ลบ. รุกซื้อหุ้น 25.1% ใน"ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล" เจาะสินค้าแช่แข็ง-รมควัน แบรนด์ Qfresh -เพิ่มยอดขายโดยเฉพาะแซลมอน
นายไกรสร จันศิริ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) TU เปิดเผยว่าบริษัทฯ เข้าทำสัญญาซื้อหุ้นร้อยละ 25.1 ในบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด (TSR) ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. วัน เดือน ปี ที่เกิดรายการ : คาดว่าจะเสร็จสิ้นปลายเดือนกรกฎาคม 2561
2. รายละเอียดของการลงทุน : บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยคณะกรรมการการลงทุนได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เข้าทาสัญญาซื้อหุ้นร้อยละ 25.1 ในบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด ดังนี้
ประเภทสินทรัพย์ที่ได้มา : หุ้นของบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด (TSR)
ประเภทธุรกิจ : ผู้จัดหาและนำเข้าอาหารทะเลประเภทแช่แข็งและรมควันเพื่อการค้าปลีกในประเทศไทย ผ่านช่องทางเคานเตอร์อาหารทะเลในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนา และประกอบกิจการร้านอาหารทะเล TSR ตั้งขึ้นในปี 2550 ดำเนินการธุรกิจภายใต้ 158 แห่งทั่วประเทศไทย และ 8 ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก
ผู้ขาย : นายจูเลี่ยน เซบาสเตียน แกทเทนบี้ เดวี่ส์ และนางศันสนีย์ แกทเทนบี้ เดวี่ส์
สถานะหลังการซื้อหุ้น : บริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด เป็นบริษัทร่วมของ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป
ผู้ถือหุ้นอื่นของ TSR : นายจูเลี่ยน เซบาสเตียน แกทเทนบี้ เดวี่ส์ และนางศันสนีย์ แกทเทนบี้ เดวี่ส์ ในสัดส่วนร้อยละ 74.9 ซึ่งไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยงโยงกัน

ทั้งนี้ ผู้ขายไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดังนั้นการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว จึงไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกากับตลาดทุนที่ ทจ. 21/2551 บริษัทกำหนดมูลค่าซื้อหุ้นของบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด ตามเกณฑ์ที่ใช้ในการคานวณมาจากกำไรของบริษัทและประมาณการในอนาคต ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 37 ล้านบาท TU ระบุว่า การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด เมื่อคานวณรวมกับขนาดรายการได้มาสะสมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาถึงเดือนพฤษภาคม 2561 มีขนาดของรายการเท่ากับร้อยละ 2.28 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 ซึ่งคำนวณตามเกณฑ์มูลค่าของสินทรัพย์ และเป็นวิธีที่มีมูลค่ารายการสูงสุดจากทุกเกณฑ์การคานวณที่กาหนดโดยประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจาหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ.2547 โดยจัดเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ประเภทที่ 3 ตามประกาศฯ ดังกล่าว
ซึ่งไม่ทาให้ไทยยูเนี่ยนเข้าข่ายที่ต้องรายงานสารสนเทศตามประกาศคณะกรรมการกากับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 แต่เข้าหลักการเปิดเผยสารสนเทศ กรณีเข้าลงทุนหรือยกเลิกการลงทุนในบริษัทใดๆ เกินกว่าร้อยละ 10 ของทุนชาระแล้วของบริษัทนั้น ขนาดรายการได้มาสะสมในรอบ 6 เดือนของการได้มาซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวมาจาก
1 การซื้อหุ้นร้อยละ 12.05 ในบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยร้อยละ 51.00 ของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จากัด (มหาชน) จากผู้ถือหุ้นเดิม
2 การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นโดยการซื้อหุ้นเพิ่มทุนร้อยละ 28.46 ในบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จากัด
3 การเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 45 ในบริษัท ทียูเอ็มดี ลักเซมเบิร์ก เอสเออาร์แอล ในประเทศลักเซมเบิร์ก
4 การเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 25.1 ในบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด ในประเทศไทย

สำหรับผลประโยชน์ที่คาดว่าบริษัทจะได้รับจากการลงทุน 1 บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สามารถจำหน่ายสินค้าแช่แข็งแบรนด์ Qfresh ภายใต้ธุรกิจของ TSR 2 ช่วยลดเวลาในการเข้าถึงตลาดค้าปลีกด้วยแบรนด์ Qfresh , 3 บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สามารถเพิ่มยอดขายโดยเฉพาะแซลมอน ด้วยการจำหน่ายให้กับ TSRสำหรับแหล่งเงินทุน มาจากหมุนเวียนภายในบริษัทคณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่าการลงทุนดังกล่าวข้างต้น เป็นการเข้าทำรายการที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบริษัท สามารถเพิ่มรายได้และกำไรต่อบริษัทในกลุ่มไทยยูเนี่ยนได้
บล.บัวหลวง แนะนำ ซื้อ TU ราคาพื้นฐาน ที่ 22.50 บ.คาดว่าการเจรจาปรับราคาขายของผลิตภัณฑ์แบรนด์กับลูกค้าในยุโรป (ปรับเพิ่มขึ้น 15% สำหรับลูกค้าสหราชอาณาจักรและปรับเพิ่มขึ้น 3% สำหรับลูกค้าฝรั่งเศส) และลูกค้าในสหรัฐฯ จะเริ่มมีผลตั้งแต่ไตรมาส 2/61 เป็นต้นไป การปรับราคาขายเพิ่มขึ้นดังกล่าว รวมกับการลดลงของราคาปลาทูน่าในช่วงปลายไตรมาส 4/60 จนถึงต้นไตรมาส 1/61 จะช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาส 2/61 ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้บริหารกล่าวว่าการจับปลากลับมาเพิ่มขึ้นในบางเนื้อที่ ซึ่งน่าจะส่งผลให้ราคาปลาทูน่าทรงตัวได้ในระดับนิ่งๆ ใกล้เคียงกับระดับในเดือนเม.ย.ซึ่งอยู่ที่ 1,800 เหรียญต่อตัน เราประเมินว่าความสมดุลระหว่างต้นทุนสต๊อกปลาทูน่าและราคาปลาทูน่าเฉลี่ย ณ ปัจจุบันที่มีมากขึ้น รวมถึงราคาขายปลาทูน่าที่ปรับเพิ่มขึ้นกับลูกค้ากับต้นทุนราคาปลาทูน่าที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ถือว่าเป็นสองปัจจัยที่จะนำไปสู่อัตรากำไรขั้นต้นของ TU ที่เริ่มปรับดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2/61 เป็นต้นไป

คาดว่าการส่งออกกุ้งของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบกุ้งที่ปรับตัวลดลง และช่วงไฮซีซั่นของไตรมาสสองและสามซึ่งเป็นไตรมาสที่อุปสงค์กุ้งเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลส่งออก ชิคเก้นออฟเดอะซี อินเตอร์เนชั่นแนล (COSI) มีผลประกอบการขาดทุนและประสบกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงในไตรมาส 1/61 เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น การเน้นการขายผลิตภัณฑ์สินค้าที่ให้อัตรากำไรในระดับต่ำ และความยากลำบากมากขึ้นในการผลักภาระต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นไปให้กับลูกค้าในรูปของการปรับราคาขาย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราคาดอัตรากำไรขั้นต้นของ COSI มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 จากปัจจัยหนุนได้แก่ การเปิดตัวสินค้าใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มและให้อัตรากำไรในระดับสูง เราประเมินว่าแนวทางหรือกลยุทธ์การลดต้นทุนการดำเนินงานของทั้งกลุ่มบริษัทลงอีก 1 พันล้านบาทอยู่ในระหว่างการดำเนินการภายในปี 2561 นอกจากนี้ประเทศไทยและจีนจะเป็นตัวขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของรายได้ในปี 2561 นอกเหนือจากการออกนวัตกรรมรวมถึงรูปแบบสินค้าใหม่ๆ เราคาดว่าบริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งได้แก่ น้ำมันปลาทูน่า ตั้งแต่ไตรมาส 4/61 เป็นต้นไป
ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ลงอีก 11% (เหลือ 5.5 พันล้านบาท) และปรับลดประมาณการกำไรหลักปี 2561 ลงอีก 16% (เหลือ 4.3 พันล้านบาท) จากการปรับสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยสำหรับปี 2561 ลดลงจาก 13.7% เหลือ 13% และทำการปรับราคาเป้าหมายลงอีก 11% (เหลือ 22.50 บาท)
TU