
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (24 กรกฎาคม 2568 )----- นายทศพร บุณยพิพัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่าบริษัทฯ เตรียมแผนขยายการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) เฟส2 เป็น 24 ล้านลิตรต่อปี หรือพลาสติกชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Bio-Polymers/Chemicals) จำนวน 80,000 ตันต่อปี จากที่มีกำลังการผลิต SAF จำนวน 6 ล้านลิตรต่อปี หรือ Bio Polymers/Chemicals จำนวน 20,000 ตันต่อปี ในปัจจุบัน (เฟสแรก) โดยปัจจจุบันสามารถเดินหน้าผลิตได้เต็มกำลงการผลิต หลังเริ่มเดินเครื่องในช่วงต้นปี 68
โดยเฟสแรก บริษัทฯ ใช้เงินลงทุนไปราว 160 ล้านบาท
ส่วนการลงทุนเฟสที่2 บริษัทฯ ยังไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการลงทุน โดยต้องประเมินถึงภาวะอุตสาหกรรม และนโยายที่เกี่ยวข้อง เพราะปัจจุบันการใช้SAF ยังเป็นการใช้โดยสมัครใจ โดย ณ ขณะนี้ มีข้อมูลว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มีข้อกำหนดให้สายการบินใช้ SAF สัดส่วน 2% ภายในปี 2570 เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน
ขณะที่ การผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Bio-Chemicals) และพลาสติกชีวภาพ (Bio-Polymers) บริษัทฯ ได้เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Bio-Propleneสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ พลาสติกแข็ง ของเล่นเด็ก และชิ้นส่วนยานยนต์ Bio-BD (Bio-Butadie) ใช้ในยางรถยนต์และรองเท้าก็พา และ Bio-PTA (Bio-Punfed Terephthalic Acid) สำหรับผลิตเส้นโยโพลีเอสเตอร์และขวดพลาสติก PET โดยขณะนี้มีตลาดปลายทางในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตลาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นการต่อยอยอดความเชี่ยวชาญด้านการกลั่นและเคมีภัณฑ์ขั้นสูง โดยการพัฒนากระบวนการ Co-processing ที่สามารถใช้งานร่วมกับหน่วยกลั่นเดิมได้ นำน้ำมันพืชใช้แล้ว (UsedCooking OI: UCO) มาแปรรูป
นายทศพร กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ เป็นผู้บุกเบิกการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Avion Fuel: SAF)และประสบความสำเร็จในการผลิต SAF เชิงพาณิชย์เป็นรายแรกของประเทศไทย ด้วยวิธีการผลิตร่วมแบบ C๐-processing เปลี่ยนโครงสร้างน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเป็นพลังงานสะอาดและผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างยั่งยืนพร้อมได้รับการรับรองมาตรฐาน ISCC CORSIA (International Sustainabilty and Carbon Certification -Carbon Offsetting and Reduction Scheme for Inlemational Adation) ซึ่งเป็นมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากลที่ยอมรับในอุตสาหกรรมการบิน และสามารถลดการปล่อยก๊าซดาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80%" เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไป และได้รับรองมาตรฐาน ISCC Plus (International Sustainability andCarbon Certication Plus) ที่มุ่งเน้นการใช้วัตดิบชีวภาพและวัสดุหมุนเวียนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดย GC ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงอีกกว่า 10 ชนิด ละท้อนการสร้าง "ความแตกต่างอย่างยั่งยืน" ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ศ. 2050) *อ้างอิงตามมาตรฐานการรับรอง ISCC CORSIA
ด้าน แผนดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ยังเดินตามแผน Holistic Optimization และ Asset Light ตั้งเป้าเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายที่ 5,500 ล้านบาทต่อปี รองรับความผันผวนและสถานการณ์ที่มีความท้าท้าย