Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย อินโดนีเซียได้ดีลลดภาษีเหลือ 19% พร้อมทั้งเปิดตลาดและยอมรับเงื่อนไขรอบด้านของสหรัฐฯ

192

 


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(24 กรกฎาคม 2568)---------อินโดนีเซีย-สหรัฐฯ เปิดเผยความตกลงการค้าต่างตอบแทน (Reciprocal Trade Agreement) (22 ก.ค.) ใจความสำคัญหลักอยู่ที่สหรัฐฯ ลดอัตราภาษี (Reciprocal Tariffs) ให้อินโดนีเซีย เหลือ 19% (จากเดิม 32%) ขณะที่ฝั่งอินโดนีเซียต้องเปิดตลาดและยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ที่สหรัฐฯ เสนอ ซึ่งทรัมป์ระบุว่าข้อตกลงนี้เป็น “ดีลที่ยอดเยี่ยม” ที่จะเปิด "สิทธิ์การเข้าถึงตลาดอินโดนีเซียเต็มรูปแบบ (Full access)" ให้กับสหรัฐฯ (ตารางที่ 1)


ตารางที่ 1: ตัวอย่างรายละเอียดความตกลงการค้าต่างตอบแทนระหว่างอินโดนีเซีย-สหรัฐฯ
ความตกลง สหรัฐฯ ให้อินโดนีเซีย อินโดนีเซียให้สหรัฐฯ
การลดภาษี - ลดภาษีให้สินค้าอินโดนีเซียเหลือ 19%
- อาจลดเพิ่มเติมสำหรับสินค้าที่ไม่มีในประเทศ - ยกเลิกภาษีศุลกากรราว 99% สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ
Rules of Origin - กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่เอื้อต่อสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย
การลดอุปสรรคที่มิใช่ภาษี (NTBs) - ยกเว้นข้อกำหนด Local Content สำหรับสินค้าสหรัฐฯ
- ยอมรับมาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์ของสหรัฐฯ
- ยอมรับใบรับรอง FDA และอนุญาตให้ทำการตลาดล่วงหน้าสำหรับเครื่องมือแพทย์และยา
- ยกเลิกข้อกำหนดฉลากสินค้าบางประเภท ยกเว้นข้อกำหนดบางประการสำหรับเครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์
- ดำเนินการแก้ไขปัญหาทรัพย์สินทางปัญญาที่ระบุตามรายงาน Special 301 ของ USTR
การเข้าถึงสินค้าเกษตร - ยกเว้นสินค้าสหรัฐฯ จากระบบโควตาและใบอนุญาตนำเข้า
- ยอมรับมาตรการกำกับดูแลของสหรัฐฯ เช่น ใบรับรองเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม
- ให้สถานะ Fresh Food of Plant Origin (FFPO) กับพืชผักผลไม้จากสหรัฐฯ
การค้าดิจิทัล บริการ และการลงทุน - อนุญาตให้มีการส่งข้อมูลส่วนบุคคลออกนอกประเทศไปยังสหรัฐฯ
- ยกเลิกภาษีสินค้าดิจิทัล/ไร้ตัวตน (Intangible products) และระงับข้อกำหนดเรื่องการแสดงรายการนำเข้า
- สนับสนุนการงดเก็บภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใน WTO ปรับข้อผูกพันใน WTO ด้านกฎระเบียบบริการ
ประเด็นด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม - อินโดนีเซียตกลงจะคุ้มครองสิทธิแรงงานตามหลักสากล เช่น ห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานบังคับ แก้ไขกฎหมายให้คุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง รวมถึงเสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน
- อินโดนีเซียจะรักษามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสูงและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น ปรับปรุงธรรมาภิบาลในภาคป่าไม้ ต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมาย ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ปฏิบัติตามข้อตกลง WTO ด้านเงินอุดหนุนประมงและต่อต้านการค้าไม้และสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย
ด้านอุตสาหกรรมและทรัพยากร - อินโดนีเซียจะเข้าร่วม Global Forum on Steel Excess Capacity และดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล็กล้นตลาดโลก
- อินโดนีเซียจะยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและแร่สำคัญไปยังสหรัฐฯ
การซื้อสินค้า - ซื้อสินค้าพลังงานมูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์ฯ อาทิ LPG น้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน
- ซื้อสินค้าเกษตรมูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์ฯ อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ฝ้าย
- ซื้อเครื่องบินมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ฯ
ความมั่นคง - ทั้งสองประเทศจะเสริมสร้างความร่วมมือในด้าน การควบคุมการส่งออก ความมั่นคงด้านการลงทุนและการเลี่ยงภาษี
ที่มา: Whitehouse.gov
• เงื่อนไขที่อินโดนีเซียตกลงกับสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจสหรัฐฯ ซึ่งอาจเพิ่มแรงกดดันด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในประเทศ ขณะเดียวกัน ข้อตกลงดังกล่าวยังเป็นแรงผลักดันให้อินโดนีเซียต้องยกระดับมาตรฐานด้านการผลิต แรงงาน และกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น
• ข้อตกลงซื้อสินค้าสหรัฐฯ และการเปิดตลาดให้สหรัฐฯ โดยไม่เสียภาษีอาจลดการเกินดุลการค้ากดดันต่อค่าเงินรูเปียห์อ่อนค่าในระยะข้างหน้า จากการที่อินโดนีเซียเปิดตลาดให้นำเข้าสินค้าสหรัฐฯ โดยไม่เสียภาษียิ่งทำให้สินค้าสหรัฐฯ เข้ามาทำตลาดได้มากขึ้น บวกกับข้อตกลงเพิ่มการนำเข้าในหมวดพลังงานและเกษตรกรรมล้วนส่งผลให้การเกินดุลการค้าของประเทศลดลง เพิ่มความเสี่ยงให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงขึ้นจากปัจจุบันที่ขาดดุลติดต่อกัน 2 ปี ซึ่งอาจกดดันต่อเสถียรภาพภายนอกและเพิ่มแรงกดดันต่อเงินรูเปียห์ให้อ่อนค่าต่อเนื่อง
• การลดภาษีเหลือ 19% จากเดิม 32% จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อภาคการส่งออกของอินโดนีเซียไปยังสหรัฐฯ ได้บางส่วน แต่ผลเชิงบวกต่อ GDP ยังมีจำกัด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP อินโดนีเซียในปี 2025 ขึ้นเป็น 4.8% (จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 4.5% ภายใต้สมมติฐานที่ต้องเผชิญภาษีตอบโต้ในอัตรา 32%) เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นเพียง 1.9% ของ GDP อินโดนีเซียในปี 2024 (ตารางที่ 2) อีกทั้ง เศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนและกำลังซื้อในประเทศที่ยังอ่อนแอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญกดดันเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ดี ภาษีที่ลดลงช่วยให้การส่งออกหลังวันที่ 1 ส.ค. ยังประคองตัวต่อได้ พร้อมทั้งส่งสัญญาณเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรแร่ธาตุของอินโดนีเซีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดเงินลงทุนใหม่
ตารางที่ 2: อินโดนีเซียส่งออกไปสหรัฐฯ มีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจเพียง 1.9% ในปี 2024
ประเทศ สัดส่วนความสำคัญของการส่งออกปี 2024 (%)
ส่งออกไปสหรัฐฯ/ส่งออกทั้งหมด ส่งออก/GDP ส่งออกไปสหรัฐฯ/GDP
เวียดนาม 29.4 85.2 25.1
กัมพูชา** 37.2 56.9 22.7
ไทย 18.3 57.1 10.4
มาเลเซีย 13.2 78.2 10.3
สิงคโปร์ 8.5 92.2 7.9
ฟิลิปปินส์ 16.6 15.9 2.6
อินโดนีเซีย 9.9 19.0 1.9
เมียนมา*** 3.9 22.1 0.9
สปป.ลาว* 1.4 58.2 0.8
บรูไน* 0.9 73.4 0.7
หมายเหตุ: *ข้อมูลปี 2023, **ข้อมูลปี 2022, ***ข้อมูลปี 2021
ที่มา: CEIC โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อินโดนีเซียเปิดตลาดให้สหรัฐฯ เปลี่ยนโครงสร้างการแข่งขันในประเทศ
• การเปิดตลาดอินโดนีเซียให้สินค้าสหรัฐฯ โดยยกเว้นภาษีนำเข้าเกือบทุกรายการถือเป็นข้อได้เปรียบเชิงราคาอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สหรัฐฯ มีโอกาสขยายส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากเดิมสินค้าสหรัฐฯ ต้องเสียภาษีนำเข้าเฉลี่ยที่ 7.95% (MFN เฉลี่ย) แต่หลังจาก 1 ส.ค. ภาษีดังกล่าวจะลดลงส่งผลให้สินค้าสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เกษตรและเครื่องจักร สามารถแข่งขันในตลาดอินโดนีเซียได้ดีขึ้นทันที ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 4 ของอินโดนีเซีย (รองจากจีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น) มีมูลค่านำเข้า 11.9 พันล้านดอลลาร์ ฯ ในปี 2024
• ข้อตกลงนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้โครงสร้างการค้าของอินโดนีเซียเปลี่ยนแปลงไปจากการเปิดช่องให้สหรัฐฯ เข้ามาแข่งขันได้เต็มรูปแบบ จึงอาจพลิกสมดุลการค้าในภูมิภาคได้ในอนาคต โดยเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ มีบทบาทมากขึ้นในฐานะคู่ค้า จากปัจจุบันที่สหรัฐฯ มีสัดส่วนการนำเข้าเพียง 5.1% ของการนำเข้าอินโดนีเซีย เทียบกับจีนที่ครองส่วนแบ่งสูงถึง 31% และกลุ่มประเทศในเอเชียที่มี FTA กับอินโดนีเซียซึ่งครองตลาดใน 10 อันดับแรก
• สำหรับไทยยังมีแต้มต่อที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN FTA) กับอินโดนีเซีย และโครงสร้างสินค้าส่วนใหญ่ไม่ได้ทับซ้อนกับสินค้าสหรัฐฯ (ตารางที่ 3) แต่ในบางหมวดสินค้าอุตสาหกรรมคงต้องเตรียมรับการแข่งขันที่สูงขึ้น เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซล และเคมีภัณฑ์ โดยเฉพาะหากสินค้าสหรัฐฯ สามารถเร่งเจาะตลาดอินโดนีเซียได้เร็วและมีต้นทุนที่ได้เปรียบกว่าในระยะถัดไป
ตารางที่ 3: อินโดนีเซียเปิดตลาดนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ให้เข้ามาชิงส่วนแบ่งจากฝั่งเอเชีย

หมายเหตุ: *HS code 4-digit ประกอบด้วย 2711, 1201, 2709, 2701, 2303, 2901, 8802,1001, 8411, 2301 ตามลำดับ
ที่มา: USITC รวมรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ดีลนี้หนุนสินค้าอินโดนีเซียได้เปรียบในการทำตลาดสหรัฐฯ
• ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อตกลงระหว่างอินโดนีเซียกับสหรัฐฯ ทำให้สินค้าอินโดนีเซียได้เปรียบเหนือสินค้าอาเซียนในการเจาะตลาดสหรัฐฯ โดยอินโดนีเซียจะถูกเก็บภาษีในอัตรา 19% ซึ่งต่ำเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ (10%) และเท่ากับฟิลิปปินส์ (19%) ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านราคาเมื่อเทียบกับไทยที่ยังมีอัตราภาษี 36% (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4: เปรียบเทียบความตกลงประเทศที่ได้ดีลการค้ากับสหรัฐฯ
ประเทศ Reciprocal Tariffs สหรัฐฯ ให้คู่เจรจา คู่เจรจาให้สหรัฐฯ
ก่อนลดภาษี 1 ส.ค.
สหราชอาณาจักร
(8 พ.ค.) 10% 10% - ภาษีรถยนต์เหลือ 10% (โควตา 1 แสนคัน)
- ภาษีเหล็ก/อะลูมิเนียม 0% (กำหนดโควตา)
- สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีอากาศยาน/ชิ้นส่วน - ภาษีเนื้อวัว 0% (โควตา 1.3 หมื่นตัน)
- ภาษีเอทานอล 0% (โควตา 1.4 พันล้านลิตร)
- ซื้อเครื่องบิน Boeing รวม 1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
- เปิดการจัดซื้อจัดจ้างให้สหรัฐฯ มากขึ้น
เวียดนาม
(4 ก.ค.) 46% 20% - ภาษีสินค้า Transshipment 40% - ภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ 0%
- ซื้อสินค้าสหรัฐฯ 2-3 พันล้านดอลลาร์ฯ
อินโดนีเซีย
(ลงนาม 16 ก.ค. เปิดข้อตกลง 22 ก.ค.) 32% 19% - ความร่วมมือด้านความมั่นคง
- กำหนด ROOs ที่เอื้อประโยชน์ต่อ 2 ประเทศ - ภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ 0%
- ซื้อสินค้าสหรัฐฯ อาทิ พลังงาน เกษตร เครื่องบิน
- ลดอุปสรรคทางการค้าการลงทุนด้านต่างๆ
ฟิลิปปินส์
(22 ก.ค.) 17% 19% ยังไม่เปิดเผย - ภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ 0%
ญี่ปุ่น
(22 ก.ค.) 25% 15% - เพิ่มการนำเข้าข้าวและพลังงานจากสหรัฐฯ
- ซื้อสินค้าเกษตร 8 พันล้านดอลลาร์ฯ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ปุ๋ย เชื้อเพลิงชีวิภาพ เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน
- ซื้อเครื่องบิน 100 ลำ และซื้อยุทโธปกรณ์
- ยกเลิกข้อจำกัดการนำเข้ารถยนต์สหรัฐฯ และอนุญาตให้มาตรฐานรถยนต์สหรัฐฯ ใช้งานได้ในญี่ปุ่น
- ลงทุนในสหรัฐฯ 5.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ (พลังงาน เซมิคอนดักเตอร์ เหมืองแร่ ยาและอุปกรณ์การแพทย์ สร้าง/ปรับปรุงอู่ต่อเรือ) และสหรัฐฯ จะได้รับผลกำไรจากการลงทุน 90%
ที่มา: รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

• กลุ่มสินค้าหลักที่อินโดนีเซียส่งออกไปสหรัฐฯ จะได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการลดภาษี ส่งผลให้มีโอกาสขยายตลาดในสหรัฐฯ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่อินโดนีเซียมีศักยภาพและมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว เช่น น้ำมันปาล์ม ยางธรรมชาติ และกุ้งแปรรูป ขณะที่บรรดาสินค้าอาเซียนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ จะเผชิญการแข่งขันสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านราคา (ตารางที่ 5)
• สินค้าไทยเผชิญการแข่งขันสูงขึ้นในกลุ่มสินค้าที่ทับซ้อนกับประเทศอาเซียนที่มีอัตรา Reciprocal Tariffs ต่ำกว่าไทย โดยตัวอย่างสินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ต้องแข่งกับอาเซียนแต่ละประเทศ (ตารางที่ 5 และ 6) อาทิ ยางธรรมชาติ ถุงมือยาง กุ้งแปรรูป ปลาแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
• อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผลกระทบเชิงนโยบายยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากภาษีของสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนได้อีก โดยเฉพาะหลังวันที่ 1 ส.ค. เป็นต้นไป ซึ่งอัตราภาษีใหม่จะถูกนำมาใช้กับหลายประเทศในอัตราสูง
ตารางที่ 5: ตัวอย่างสินค้าที่อินโดนีเซียที่มีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ สูงมีความได้เปรียบสินค้าอาเซียน

หมายเหตุ: *HS code 4-digit ประกอบด้วย 1511, 6403, 8543, 8517, 4011, 4202, 1605, 4001, 6404, 6110 ตามลำดับ, **สิงคโปร์มี FTA กับสหรัฐฯ สินค้าส่วนใหญ่จึงมี MFN rate ที่ 0%, ***ไทย เวียดนาม ถูกสหรัฐฯ เก็บ AD/CVD เพิ่มเติม,****สมาร์ทโฟน/ส่วนประกอบได้รับยกเว้นจาก Reciprocal Tariffs, ไทยเสียเปรียบอาจถูกชิงส่วนแบ่งตลาด
ที่มา: USITC รวมรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ตารางที่ 6: สรุปสินค้าไทยที่ต้องแข่งขันกับสินค้าอาเซียนที่มีปลายทางเป็นตลาดสหรัฐฯ
การแข่งขันของสินค้าไทย สินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม
แข่งกับสินค้าอินโดนีเซีย ยางธรรมชาติ เส้นใยเทียม
แข่งกับอินโดนีเซียและเวียดนาม กุ้งแปรรูป ไม้อัดพลายวูด อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องจักรไฟฟ้า สมาร์ทโฟน/ส่วนประกอบ ยางล้อ กระเป๋าเดินทาง ชุดชั้นใน
แข่งกับเวียดนาม ปลาแปรรูป โทรทัศน์ ลวดเกลียว กระเบื้อง ชุดดำน้ำ/ชุดผจญเพลิง เครื่องคำนวณ เครื่องซักผ้า
แข่งกับฟิลิปปินส์ กล้องถ่ายรูป
แข่งกับมาเลเซีย ถุงมือยาง เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องพิมพ์ วิทยุ/เครื่องอัดเสียง

ที่มา: รวมรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

NER ร่วมทำดี บริจาคโลหิต เฉลิมพระเกียรติ จัดหาโลหิตสำรอง...ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์

NER ร่วมทำดี บริจาคโลหิต เฉลิมพระเกียรติ จัดหาโลหิตสำรอง...ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์

HotNews: เปิดหุ้นเสี่ยง! ปมข้อพิพาท ไทย-กัมพูชา

เปิดหุ้นเสี่ยง!ปมข้อพิพาท ไทย-กัมพูชา กลุ่มไหน เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย ในทางกลับกัน ธีมไหนได้ได้อานิสงส์ ไปดู...

รอดูสถานการณ์ By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ยามนี้ ต้องจับตา รอดู สถานการณ์ ชายแดน ไทย-กัมพูชา คณะมนตรีความมั่นคง UN นัดประชุมฉุกเฉิน....

มัลติมีเดีย

DEXON แผนครึ่งปีหลัง เดินหน้าขยายฐานลูกค้า ยุโรป-อเมริกา

DEXON แผนครึ่งปีหลัง เดินหน้าขยายฐานลูกค้า ยุโรป-อเมริกา

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้