ภาพตลาดและแนวโน้ม
สินค้าส่งออกไทยส่วนใหญ่ (56%-80% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ทั้งหมด) มีความเสี่ยงในระดับสูงที่จะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ หากไทยเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ไม่สำเร็จ และภาษีนำเข้าสินค้าไทยไม่ได้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
กลุ่มสินค้าส่งออกไทยที่ยังคงรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้แก่ ยางล้อเครื่องบิน เครื่องซักผ้า และอาหารสัตว์เลี้ยง เพราะแม้จะถูกเรียกเก็บอัตราภาษีในระดับที่สูงกว่า แต่ราคาสินค้ารวมภาษีนำเข้าก็ยังถูกกว่าคู่แข่ง สะท้อนถึงข้อได้เปรียบด้านการประหยัดต่อขนาดในการผลิต (Economies of scale)
กลุ่มสินค้าส่งออกหลักของไทยที่น่าจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ เช่น กล้องบันทึกวิดีโอ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ข้าว ยางพารา ปลาทูน่ากระป๋อง ถุงมือยาง เป็นต้น
Implications:
ระยะสั้นภาคการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าส่งออกที่ไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งได้ ส่วนในระยะกลางถึงยาว อาจกระทบกับFDI ในไทยจากการย้ายฐานการผลิตไปประเทศคู่แข่งที่ได้รับสิทธิภาษีที่ดีกว่า นำมาสู่การจ้างงานที่ลดลง
นอกเหนือจากการเร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ แล้ว ภาครัฐควรต้องเร่งการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) กับกลุ่มประเทศอื่นๆ เพื่อเปิดตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับการเยียวยาผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบด้วย นอกจากนี้ ควรต้องเพิ่มมาตรการหรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีและไม่ใช่ภาษีอื่นๆ ร่วมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งส่งเสริมการหาตลาดใหม่เพิ่มเติม เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ ในระยะยาว
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET ย่อแล้วเมื่อวานนี้ กดดันโดย CPALL KBANK DELTA AOT PTTEP BDMS เป็นต้น ส่วนด้านแรงซื้อ กระจุกใน เช่น ธนาคารบางแห่ง SCB BBL TISCO เครื่องดื่ม OSP CBG เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
รอผลดีลการค้า
ระยะสั้นคาดเห็นหุ้นไทยพักฐาน บริเวณ 1,190 จุด เมื่อโดนแรงขาย Sell on fact หุ้นแบงก์ ไฟแนนซ์ รับงบ 2Q25-รับข่าวผู้ว่าแบงก์ชาติ กอปรกับความกังวลอัตราภาษีตอบโต้สหรัฐฯที่ ยังรอผลลัพธ์ซึ่งวันนี้ทีมไทยแลนด์จะส่งข้อเสนอสุดท้าย ไปถึงสหรัฐฯ และตั้งเป้าหมายลดภาษีให้ได้ต่ำกว่า 20% ซึ่งคงต้องรอข่าวภายในช่วงสุดสัปดาห์นี้-ยิ่งใกล้วันหยุดยาว อาจทำให้ นลท.ชะลอการซื้อเก็งกำไรแล้วรอผลลัพธ์
ทั้งนี้เราคงคาดป้ายถัดไปของตลาดหุ้นไทย คือ ขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,240/1,250 จุด ถ้าผลดีลการค้าไทยสหรัฐฯ ไม่สะดุด เพราะถ้าผลออกมาเป็น ตรงกันข้ามกับที่ เราและ นลท.คาดหวัง เมื่อไม่สามารถลดภาษีลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค แรงขายทำกำไรในระยะสัปดาห์อาจรุนแรงกว่าที่คาด เราจึงแนะนำ เริ่มทำการปรับพอร์ตกลยุทธ์ ลด Beta พอร์ตลง และแนะนำ ทำกำไรหุ้น แบงก์ ไฟแนนซ์
กลยุทธ์แนะนำถือหุ้นตามพอร์ตที่เราแนะนำไว้ก่อน โดยเฉพาะหุ้นปันผล และหาจังหวะเพิ่มการซื้อเก็งกำไร หุ้นที่เห็นแนวโน้มของการปรับประมาณการณ์กำไร และ การปรับเพิ่มคำแนะนำ หุ้นรายตัวจากนี้ไป
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ ถือหุ้นปันผล เริ่มสะสมหุ้นต้นรอบ ดักงบการเงินไตรมาส 2 และปันผลระหว่างกาล
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET Index ย่อ! สัญญาณเริ่มเตือนตั้งแต่การปรับตัวขึ้น test previous high! ขึ้น Wave 5…ปลายทาง นอกจากนี้ดัชนีปรับตัว +14.5% จาก low ส่งผลให้ RSI เข้าสู่เขต overbought เต็มตัว….มองอนาคตการปรับฐานในครั้งนี้จะลงแค่ไหน จบรอบหรือยัง!....จับตา จุดผลิกผัน ย่อได้หากไม่มีการทำ low lower จะยืนยันว่าดัชนีผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว นั่นเอง! หากใช้ตัวเลข Fibonacci retracement จะมีแนวรับดังนี้ 1,180 (23.6%) 1,155 (38.2%) 1,135 (50%) และ 1,120 (61.8%) ตามลำดับ…มุมมองส่วนตัวมอง ย่อ แต่!ไม่ลึก ปรับลงลง 1/3 ของระยะทางก็พอแล้ว…..
แผนเทรด: ตลาดเริ่มลง ระยะสั้นแนะ “ขายล็อคกำไรบางส่วน” ออกมาบ้าง ส่วนระยะกลาง-ยาว รอจังหวะปรับฐาน “ซื้อเพิ่ม” ที่โซนรับ
What to watch
12 ส.ค. ครบเส้นตายช่วงพักชำระภาษี 90 วัน อเมริกา-จีน ที่ประกาศไว้เมื่อ 12 พ.ค.ด้าน รมว.คลังสหรัฐฯ เผยถ้อยแถลงช่วยคลายความกังวลของตลาดที่เกรงว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอาจกลับมาตึงเครียดอีก หากอัตราภาษีหวนคืนสู่ระดับเดิมก่อนบรรลุข้อตกลงพักรบทางการค้า
มอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) คงมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน
มอร์แกน สแตนลีย์ มีความมั่นใจมากขึ้นว่าดัชนี S&P500 จะดีดตัวขึ้นแตะระดับ 7,200 จุดภายในกลางปี ซึ่งดีกว่ารายงานในเดือน พ.ค.ที่คาดว่าดัชนี S&P500 จะแตะที่ระดับ 6,500 จุดในไตรมาส 2 ของปี 2569
การเจรจาระหว่าง สหรัฐฯกับเขตเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างสหภาพยุโรป (EU), อินเดีย และญี่ปุ่น ยังดูเป็นเรื่องยากกว่าที่รัฐบาลสหรัฐคาดการณ์ไว้…
สมาชิก EU จำนวนมากขึ้น รวมถึงเยอรมนี กำลังพิจารณาใช้มาตรการ "ตอบโต้การบีบบังคับ" (anti-coercion) กับสหรัฐฯ ซึ่งจะอนุญาตให้กลุ่มสามารถพุ่งเป้าไปที่ภาคบริการของสหรัฐฯ หรือจำกัดการเข้าถึงการประมูลของภาครัฐได้
เรียวเซ อากาซาวะ หัวหน้าผู้แทนเจรจาด้านภาษีของญี่ปุ่นได้ออกเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ ซึ่งนับเป็นการเยือนครั้งที่ 8 ในรอบ 3 เดือน (8 รอบยังไม่จบ) และเหตุการเจรจาไม่คืบทำให้ พรรครัฐบาลญี่ปุ่นแพ้เลือกตั้ง สว.
มาตรการคว่ำบาตร รัสเซีย จากอียู และสหรัฐฯ เพิ่มเติมหลังสงครามรัสเซียยูเครนยังดำเนินต่อไป
หุ้นแนะนำวันนี้
GULF คาดการณ์กำไรหลัก 2Q68 ที่ 6.8 พันลบ.+4% q-q หนุนจากกำไรที่แข็งแกร่งของ ADVANC แนวรับ 43 ต้าน 45 Stop loss 42.25
รายงานพื้นฐานวันนี้
Wealth Insight
Tariff gap trouble…ความเสี่ยงต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในสหรัฐฯ
สินค้าส่งออกไทยส่วนใหญ่ (56%-80% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ทั้งหมด) มีความเสี่ยงในระดับสูงที่จะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ หากไทยเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ไม่สำเร็จ และภาษีนำเข้าสินค้าไทยไม่ได้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
กลุ่มสินค้าส่งออกไทยที่ยังคงรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้แก่ ยางล้อเครื่องบิน เครื่องซักผ้า และอาหารสัตว์เลี้ยง เพราะแม้จะถูกเรียกเก็บอัตราภาษีในระดับที่สูงกว่า แต่ราคาสินค้ารวมภาษีนำเข้าก็ยังถูกกว่าคู่แข่ง สะท้อนถึงข้อได้เปรียบด้านการประหยัดต่อขนาดในการผลิต (Economies of scale)
กลุ่มสินค้าส่งออกหลักของไทยที่น่าจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาดสหรัฐฯ เช่น กล้องบันทึกวิดีโอ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ข้าว ยางพารา ปลาทูน่ากระป๋อง ถุงมือยาง เป็นต้น
Implications:
1) ระยะสั้นภาคการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าส่งออกที่ไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งได้ ส่วนในระยะกลางถึงยาว อาจกระทบกับFDI ในไทยจากการย้ายฐานการผลิตไปประเทศคู่แข่งที่ได้รับสิทธิภาษีที่ดีกว่า นำมาสู่การจ้างงานที่ลดลง
2) นอกเหนือจากการเร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ แล้ว ภาครัฐควรต้องเร่งการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) กับกลุ่มประเทศอื่นๆ เพื่อเปิดตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับการเยียวยาผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบด้วย นอกจากนี้ ควรต้องเพิ่มมาตรการหรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีและไม่ใช่ภาษีอื่นๆ ร่วมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งส่งเสริมการหาตลาดใหม่เพิ่มเติม เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ ในระยะยาว
Beverage Sector
CBG เด่นสุด แต่ OSP ก็เห็นสัญญาณที่บวกจาก GM
CBG เด่นต่อเนื่อง: CBG คาดมีกำไรหลัก 2Q25 อยู่ที่ 809 ล้านบาท +17% YoY, +6% QoQ โดยรายได้ในประเทศโตแรง +27% YoY, +7% QoQ และส่วนแบ่งตลาดพุ่งทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 26.5% ในเดือน มิ.ย. ด้านส่งออกแม้สะดุดจากปัญหาขนส่งไปกัมพูชา แต่ยอดขายไปเมียนมายังแข็งแรง ขณะที่ต้นทุนน้ำตาลและอลูมิเนียมลดลงยังหนุน GM แม้จะถูกหักล้างบางส่วนจากผลกระทบ Sugar tax เราคาด 3Q25 กำไรยังโต YoY และ QoQ จากการ Restocking ในกัมพูชา และการเดินเครื่อง JV โรงงานเมียนมาในปลาย ก.ค. และโรงงานกัมพูชาที่จะเริ่มปลายปีนี้
OSP พลิกตัวเร็วกว่าคาด หนุนอัพเกรดคำแนะนำ: คาดเห็นการฟื้นตัว GM ใน 2Q25 แม้ยอดขายยังอ่อนตัว โดยคาดกำไรหลักอยู่ที่ 993 ล้านบาท +8% YoY, +2% QoQ ได้แรงหนุนจากต้นทุนวัตถุดิบลดลง ประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้น และสัดส่วนยอดขายต่างประเทศที่มีมาร์จิ้นสูงเพิ่มขึ้น เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2025-26 ขึ้น 15% และ 13% ตามลำดับ พร้อมปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” จากเดิม “ถือ” และปรับเป้าราคาใหม่เป็น 19 บาท จากเดิม 16 บาท
Fundamental view: เรายังเลือก CBG (ราคาเป้าหมาย 70 บาท) เป็น Top Pick ของกลุ่มจาก Momentum ที่แข็งแกร่ง ฐานรายได้ที่หลากหลาย ขณะที่ OSP (ราคาเป้าหมายใหม่ 19 บาท) กลับมาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจหลังแนวโน้มเห็นฐานกำไรใหม่จาก Margin ที่ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด
SYNEX
ซินเน็ค (ประเทศไทย)
กำไรเติบโตแรงสุดในกลุ่ม IT Retail มี Upside จาก Nintendo
คาดกำไรหลัก 2Q25 อยู่ที่ 165 ล้านบาท เติบโต 27% YoY, 9% QoQ หนุนโดยยอดขาย smart device โต 24% YoY และ Gaming พุ่ง 158% YoY จากการเปิดตัว Nintendo Switch 2 ปลายเดือน มิ.ย. แม้ GM ถูกกดดันเล็กน้อย (3.8%, -20bps YoY) จากสัดส่วนสินค้ากำไรต่ำ แต่ได้แรงหนุนจาก SG&A/Sales ที่ลดลง และกำไรจากบริษัทร่วม (NCAP) โต 155% YoY จาก ECL ที่ลดลง เมื่อรวม FX gain ทำให้กำไรสุทธิคาดอยู่ที่ 190 ล้านบาท (+19% YoY, +1% QoQ)
แนวโน้มกำไร 2H25 เร่งตัว จากการเปลี่ยนเครื่องตามรอบ (Windows 10 support จบกลาง ต.ค.), AI adoption ที่เพิ่มขึ้น, และยอดขาย Nintendo Switch 2 ที่เข้าช่วง high season โดยเฉพาะ 4Q25 ที่เป็นช่วงทำโปรโมชั่น-เปิดตัวสินค้าใหม่ คาดดันกำไรปี 2025 โต 25% YoY สู่ 640 ล้านบาท แรงที่สุดในกลุ่มฯ
Nintendo Switch 2 มีโอกาส Upside สูง ผู้บริหารตั้งเป้าขาย 1 แสนเครื่องในปีนี้ (มากกว่าสมมติฐานของเราที่ 50k) โดย 2Q25 ขายได้แล้ว 1.5-2 หมื่นเครื่อง และคาดว่าจะเร่งขึ้นใน 3Q–4Q25 โดย GM ของ Switch 2 อยู่ที่ 10% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ SYNEX ที่ 4% หากทำยอดได้ตามเป้า จะมี Upside ต่อกำไรหลักปี 2025 ราว 70 ล้านบาท หรือ 11% จากประมาณการปัจจุบัน
Fundamental view: คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 13.60 บาท จากแนวโน้มกำไรที่เร่งตัวชัดเจนใน 2H25 และมีโอกาสได้ Upside จาก Switch 2
PTTGC
พีทีที โกลบอล เคมิคอล ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
คาดกำไรฟื้น QoQ ใน 3Q25
คาดขาดทุนหลัก 2Q25 อยู่ที่ 2,944 ล้านบาท (ขาดทุนเพิ่ม YoY แต่ดีขึ้น QoQ) รวมถึงขาดทุนพิเศษสุทธิจาก Inventory และ hedging รวมทั้ง FX gain และการถอด Vencorex ออกใน พ.ค. จะได้ขาดทุนสุทธิที่ 3,103 ล้านบาท (ลึกขึ้น YoY, QoQ) แต่ธุรกิจหลักน่าจะฟื้น QoQ จาก GRM ที่ดีขึ้น, spread aromatics ที่ขยายตัว และขาดทุนของ Vencorex ที่ลดลง แม้ธุรกิจ Olefins จะถูกกดดันจากการปิดซ่อมแผน
แนวโน้ม 3Q25 คาดดีขึ้นต่อเนื่องจาก 2Q25 โดยมีแรงหนุนจาก 1) อุปสงค์น้ำมันและเคมีที่ฟื้นตัวตามฤดูกาล (ช่วงขับขี่ฤดูร้อนในสหรัฐฯ และการเร่งสต๊อกสินค้าปลายปี), 2) อุปทานจำกัดจากการปิดซ่อมโรงกลั่น (ก.ย.–พ.ย.) และการปิดโรงงานเคมีต้นทุนสูง และ 3) ต้นทุน Naphtha ที่ลดลงตามราคาน้ำมัน คาดว่าทั้ง GRM และเคมีจะทรงตัวหรือดีขึ้น QoQ
เราคาดว่าผลประกอบการหลักของ PTTGC จะต่ำสุดแล้ว (bottom out) ใน 1Q25 และฟื้นตัว QoQ ต่อเนื่องจน 3Q25 จากปริมาณขายเคมีที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเดินเครื่องโรงกลั่นที่ทรงตัว ส่วน 4Q25 ชะลอลง QoQ จากการปิดซ่อมโรงกลั่นและโรงงาน Aromatics II แต่คาดฟื้น YoY
Fundamental view: ราคาหุ้นยังเทรด PBV ปี 2025 เพียง 0.4 เท่า (-2SD) สะท้อน downside ต่ำ คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 24 บาท
สรุปประเด็นจาก Quick take
MTC ออกหุ้นกู้ต่างประเทศมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
MTC ออกหุ้นกู้ต่างประเทศมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1.1 หมื่นล้านบาท) หุ้นกู้ประเภททยอยชำระคืนเงินต้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันและเป็นหุ้นกู้เพื่อพัฒนาสังคม อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 7.55% ต่อปี
View from fundamental: เรามีมุมมองเป็นลบเล็กน้อยต่อแนวโน้มค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้นบ้าง นอกจากนี้ เรายังกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวลงใน 2H25 จะกดดันคุณภาพสินทรัพย์ของ MTC
มุมมองจากการประชุมนักวิเคราะห์
KKP ยังมีมุมมองระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ปรับลดเป้าหมายสินเชื่อปี 2025 จากทรงตัว YoY เป็น -5 ถึง -8% YoY และปรับลด loan spread ลงจาก 4.8-4.9% มาที่ 4.5%
View from fundamental: ภาพรวมเป้าหมายทางการเงินใหม่ยังสอดคล้องกับประมาณการของเรา อย่างไรก็ตาม เรายังกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจที่จะอ่อนแอลงใน 2H25 จะกดดันคุณภาพสินทรัพย์ และแนวโน้มธุรกิจตลาดทุนจะฟื้นตัวล่าช้า จึงยังแนะนำขาย
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน