ลุ้นๆ TARIFF ไทยจะต่ำเหมือนเพื่อนไหม?
TOP PICK SCC / TASCO / TISCO
EXTERNAL FACTOR
• ผลการเจรจาภาษีนำเข้ากับสหรัฐฯ มีความคืบหน้ามากขึ้น หลังมีข้อตกลงทางการค้าไปแล้วหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, จีน (บรรลุดีลชั่วคราว ซึ่งมีสัญญาณเลื่อน DEADLINE ออกไปจากวันที่ 12 ส.ค. 68) ขณะที่ล่าสุดบรรลุดีลเพิ่มเติมอีก 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น
• ส่วนบ้านเรา เตรียมส่งดีลรอบสุดท้ายในให้กับสหรัฐฯ ในวันนี้ ลุ้นสหรัฐฯ เก็บภาษีRECIPROCALS ต่ำกว่า 36% หลังข้อเสนอเบื้องต้นของไทยค่อนข้างไปในทิศทาง
เดียวกับประเทศที่ได้ดีลแล้ว
INTERNAL FACTOR
• 2 ปัจจัย หนุนให้ปัจจุบันไทยอยู่ในวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ดังนี้ 1.TRADE TARIFF 2.0 ที่มีโอกาสกดดันเศรษฐกิจไทย 2.การดำเนินนโยบายของผู้ว่า ธปท.คนใหม่อย่างคุณวิทัย มีโอกาสเห็นการลดดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น
• นักลงทุน PRICE ACTION ต่อ BOND YIELD ช่วงอายุ 1-10 ปีต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น โดย BOND YIELD 10 ปี ล่าสุดอยู่ 1.50% สะท้อนการลดดอกเบี้ยราว1 ครั้งในช่วงเวลาที่เหลือของปีประเมินจะหนุนระดับ PE ขึ้น 0.67 เท่า และดัน TARGETSET INDEX จะขยับขึ้นมาได้ราว 57 จุด
INVESTMENT STRATEGY
• TRADE TARIFF 2.0 ที่ผ่อนคลายลงสำหรับประเทศแถบบ้านเรา หนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยเช้านี้ตลาดหุ้น NIKKEI +2.48% ซึ่งหุ้นดันตลาดส่วนใหญ่ คือ กลุ่มยานยนต์ที่ได้รับแรงกดดันมานาน อาทิ หุ้นMAZDA +17% หุ้น SUBARU +15% หุ้น MITSUBISHI +14% หุ้น TOYOTA +11% หุ้น HONDA +9%
• มุมของไทยตามข้อเสนอที่มีความที่คล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมองว่าไทยน่าจะถูกเก็บภาษีระะดับต่ำกว่า20% และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงเช่นกัน โดยกลยุทธ์เน้นหุ้นที่ต่างชาติให้ความสนใจช่วงนี้ และราคาหุ้นยังไม่ปรับขึ้นแรง อาทิ AOT, CPALL, KTC, KBANK, CPN, SCC, WHA, CPF, BBL, ADVANC, OR,CBG, PTT, HANA, AMATA, TOP, BH, SAWAD, PTTGC, CK เป็นต้น
สหรัฐฯ ลด TARIFFS ให้รอบบ้าน รอลุ้นดีลไทยจะตามมาหรือไม่ ?
ผลการเจรจาภาษีนำเข้ากับสหรัฐฯ มีความคืบหน้ามากขึ้น หลังมีข้อตกลงทางการค้าไปแล้วหลายประเทศ ได้แก่อังกฤษ, เวียดนาม, อินโดนีเซีย,จีน (บรรลุดีลชั่วคราว ซึ่งมีสัญญาณเลื่อน DEADLINE ออกไปจากวันที่ 12 ส.ค. 68)ขณะที่ล่าสุดบรรลุดีลเพิ่มเติมอีก 2 ประเทศ คือ
• ฟิลิปปินส์จะเปิดตลาดเสรีให้แก่สินค้าจากสหรัฐ (ภาษี 0%) และจะร่วมมือกันด้านการทหาร แลกกับการที่สหรัฐฯ ลดภาษี RECIPROCALS เหลือ 19% (จาก 20%)
• ญี่ปุ่น จะลงทุนในอเมริกามูลค่าถึง 5.5 แสนล้านดอลลาร์แลกกับการที่สหรัฐฯ ลดภาษี RECIPROCALSเหลือ 15% (จาก 25%)
ส่วนบ้านเรา เตรียมส่งดีลรอบสุดท้ายในให้กับสหรัฐฯ ในวันนี้ ลุ้นสหรัฐฯ เก็บภาษีRECIPROCALS ต่ำกว่า 36%หลังข้อเสนอเบื้องต้นของไทยค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกับประเทศที่ได้ดีลแล้ว อย่างไรก็ดี ภาษีในระดับต่างๆ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยแตกต่างกันออกไป
• หากภาษีเท่าเดิม 36% (หนักสุด) มีโอกาสเพิ่ม DOWNSIDE ให้กับ GDP GROWTH ไทยปีนี้โตต่ำกว่า2.3%YOY ที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออก รวมถึงการลงทุน FDI มีความ
สี่ยงต่อการเกิด TECHNICAL RECESSION (GDP ติดลบ 2 ไตรมาสต่อกัน)
• หากภาษีลดลงอยู่ในช่วง 20% - 36% ยังมีความเสี่ยงที่ต่างชาติจะย้ายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่อัตราภาษีต่ำกว่า อย่างเวียดนาม อินโดฯ ฟิลิปปินส์ แต่ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่จะลด
ผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทย และลดความเสี่ยงต่อการเกิด TECHNICAL RECESSION
• หากภาษีต่ำกว่า 20% ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกันกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน คาดลดแรงกดดันต่อภาคส่งออกและ FDI ขณะที่ GDP GROWTH มีโอกาสที่จะขยายตัวได้ราว +2%YOY
ดอกเบี้ยไทยกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลงหรือไม่ ?
2 ปัจจัย หนุนให้ปัจจุบันไทยอยู่ในวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ดังนี้ 1.TRADE TARIFF 2.0 ที่มีโอกาสกดดันเศรษฐกิจไทยไม่มากก็น้อยตามอัตราภาษีที่จะโดนเรียกเก็บจากสหรัฐฯ 36%/20%/18% ซึ่งจะกดดันภาคส่งออกชะลอตัว, การลงทุนภาคเอกชนซบเซา เป็นต้น(รายละเอียดตามหัวข้อด้านบน) 2.การดำเนินนโยบายของผู้ว่า ธปท.คนใหม่อย่างคุณวิทัย มีโอกาสเห็นการลดดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น จากผลงานเด่นก่อนดำรงตำแหน่ง อาทิ ปั้นธนาคารออมสินให้เป็นธนาคารเพื่อสังคม โดยใช้กำไรจากลูกค้ารายใหญ่ไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เช่น ลดดอกเบี้ย แก้หนี้ และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อให้กับประชาชนกว่า 13 ล้านคน อีกทั้งค่าเงินบาทปัจจุบันแข็งค่าอยู่ในโซน+-32 บาท/เหรียญฯ ซึ่งไม่ดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่อิงภาคส่งออกราว 65%ของ GDP ทำให้นักลงทุน PRICE ACTION ต่อ BOND YIELD ช่วงอายุ1-10 ปีต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น โดย BOND YIELD 10 ปี ล่าสุดอยู่ 1.50% สะท้อนการลดดอกเบี้ยราว1 ครั้งในช่วงเวลาที่เหลือของปี(สอดคล้องกับความเห็นจากฝ่ายวิจัยฯ) ซึ่งประเมินว่าการปรับลดดอกเบี้ย 25 BPS.จะหนุนระดับ PE ขึ้น 0.67 เท่า และดัน TARGET SET INDEX จะขยับขึ้นมาได้ราว 57 จุดอีกทั้ง ภาวะเงินฝืดอย่างตัวเลข CPI ที่ติดลบ 3 เดือนต่อเนื่อง ล่าสุด -0.25%YOY ทำให้ REAL INTEREST RATE(อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง) ของไทยอยู่สูงระดับ 2.0% (ดอกเบี้ย 1.75% - เงินเฟ้อติดลบ 0.25%) ทำให้ยังมี ROOM ให้ลดดอกเบี้ยได้มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราที่มี ROOM ในช่วง 0.75-1.5% เท่านั้น
กลยุทธ์การลงทุนหุ้นไทย ในช่วง RECIPROCAL TARIFF ยังอลเวง
TRADE TARIFF 2.0 ที่เพื่อนบ้านเราเจรจากันไปเกือบหมดแล้ว ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ตลาดการเงินผ่อนคลาย และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เช้านี้ตลาดหุ้น NIKKEI+2.48% ซึ่งหุ้นดันตลาดส่วนใหญ่ คือ กลุ่มยานยนต์ที่ได้รับแรงกดดันมานาน อาทิ หุ้น MAZDA +17% หุ้นSUBARU +15% หุ้น MITSUBISHI +14% หุ้น TOYOTA +11% หุ้น HONDA +9% เป็นต้น
ขณะที่ในมุมของไทยตามข้อเสนอของ รมว.คลังที่ออกแถลงตามสื่อต่างๆ จับใจความได้ว่ามีข้อเสนอที่คล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้าน คือการยกเลิกภาษีทั้งหมดสำหรับสินค้าสหรัฐฯ และเปิดตลาดให้สหรัฐฯ แบบปลอดภาษี (0%)รวมถึงการซื้อสินค้าจากสหรัฐฯมากขึ้น ทั้งเครื่องบิน BOEING-สินค้าเกษตร-อุปกรณ์ทางการทหาร, การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในสหรัฐฯ เป็นต้น จึงมองว่าไทยน่าจะถูกเก็บ RECIPROCAL TARIFF ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน คือระดับต่ำกว่า 20% และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงในอนาคตเช่นเดียวกัน โดยกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ เน้นหุ้นที่ต่างชาติให้ความสนใจ โดยการซื้อสุทธิเยอะสุด 10 ใน 11 วันทำการ(ข้อมูลสิ้นสุด 7 -22 ก.ค.68) และผลตอบแทนยังไม่ปรับตัวขึ้นมากนัก อาทิ AOT, CPALL, KTC, KBANK, CPN, SCC, WHA, CPF, BBL, ADVANC, OR, CBG,
PTT, HANA, AMATA, TOP, BH, SAWAD, PTTGC, CKเป็นต้น
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์