Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

106

 

แรงไม่หยุด!!! 1200 จุด ฉุดไม่อยู่
TOP PICK CPALL/ DOHOME / CK

 

EXTERNAL FACTOR

• พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในตลาดหนี้ของรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลกมานานหลายทศวรรษ แต่จากสัญญาณ BOND YIELD ระยะยาวอายุ 30 ปีของ
ญี่ปุ่น พุ่งขึ้นแรงแตะ 3% ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่วิกฤตปี 2008 สะท้อนการเทขาย BONDออกมามหาศาล เพิ่มระดับความกังวลว่าจะเกิดวิฤตทางการเงินรอบใหม่หรือไม่ ?
• แต่ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมในอดีตและปัจจุบัน ค่อนข้างแต่ต่างกัน โดยในช่วง ส.ค. 2024 มีความกังวล RECISSION ในสหรัฐฯ ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ประเด็น CARRY TRADEอาจจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยเฉพาะผลพวงที่อาจจะตามมาของผลกระทบ TARIFF

 

INTERNAL FACTOR
• ไทยกำลังเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย จากเดิมที่กำหนดไว้สูงถึง 36% ให้เหลือไม่เกิน 20% ซึ่งหากทำได้จริงจะทำให้ไทยสามารถแข่งขัน
ได้ในระดับภูมิภาค และลดผลกระทบต่อภาคเกษตรและ SME ได้ระดับหนึ่ง
• การประชุม ครม.วันอังคารนี้เตรียมชงชื่อผู้ว่า ธปท.คนใหม่ ซึ่งทั้งสองท่านมีแนวคิดคล้ายกัน คือ มีกังวลเศรษฐกิจไทยชะลอตัวในช่วงถัดไป และพยายามส่งผ่านนโยบายลดดอกเบี้ยไปยังธนาคารพาณิชย์ให้เร็วที่สุด เน้นหุ้นกลุ่ม ธพ.กลาง-เล็ก KKP TISCO TTB หุ้นกลุ่มเช่าซื้อ MTC TIDLOR SAWAD หุ้นกลุ่มอสังหาฯ AP LH SIRI


INVESTMENT STRATEGY
• ฝ่ายวิจัยฯ ทำการค้นหา SET INDEX มักขึ้นได้แรงเกิน 7% ต่อเดือน บริเวณต่ำๆ และต่ำกว่า 1200 จุดเสมอ โดยตลอด 17 ปี มีหุ้นขึ้นเกิน 7% ต่อเดือน บริเวณต่ำกว่า 1200 จุด ถึง 5 ใน 6 ครั้ง เช่นเดียวกับปัจจุบันที่หุ้นขยับขึ้นมาแล้ว 10.7% (MTD) ซึ่งปกติมักจะเป็นแรงขับจากหุ้นขนาดใหญ่ก่อน และเดือนถัดไปยังมีโอกาสขึ้นอยู่
• อย่างไรก็ตามช่วงสั้นๆ อาจเห็นการย่อตัวลงมาบ้าง หลังจากเดือนนี้ขึ้นมาแรงเป็นอันดับที่ 3 ในรอบ 17 ปี ดังนั้นกลยุทธ์แนะเก็งกำไรหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวรออยู่ หุ้นดอกเบี้ยขาลง :TIDLOR, MTC, KTC หุ้นปันผล :SPALI, SIRI หุ้น TARIFF และหุ้นได้ประโยชน์บาทอ่อน : TU, ITC, WHA, AMATA


กระแส TRADE TARIFF ดูผ่อนคลายลง + ความหวังการลดดอกเบี้ย เล่นหุ้นอะไรดีช่วงนี้ไทยกำลังเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย จากเดิมที่กำหนดไว้สูงถึง 36% ให้เหลือไม่เกิน20% ก่อนถึงวัน DEADLINE 1 สิงหาคม 68 โดยสหรัฐฯ เสนอให้ไทยพิจารณา 3 ประเด็นหลัก คือ
1. การเพิ่มรายการสินค้าที่เปิด MARKET ACCESS
2. การลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NON-TARIFF BARRIERS)
3. การสนับสนุนการลงทุนของภาคธุรกิจไทยในสหรัฐฯ
ซึ่งหากอัตราภาษีใหม่อยู่ที่ประมาณ 20%จริงจะทำให้ไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค และลดผลกระทบต่อภาคเกษตรและ SME ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งต้องติตตามว่าไทยจะเสนอเปิดตลาดให้สินค้าสหรัฐฯ มากขึ้นเพียงใด เพื่อสร้างสมดุลทางการค้า โดยเน้นแนวทาง WIN-WIN ทั้งสองฝ่าย

ขณะที่การประชุม ครม.วันอังคารนี้เตรียมชงชื่อผู้ว่า ธปท.คนใหม่ ต้องจับตาว่าจะเสนอชื่อใคร ระหว่างคุณวิทัยรัตนากร หรือ ดร.รุ่ง โปษยานนท์ ซึ่งน่าจะเป็นตัวกำหนดทิศทางนโยบายการเงินในอนาคต อย่างไรก็ตามทั้งสองท่านมีแนวคิดคล้ายกัน คือ มีกังวลเศรษฐกิจไทยชะลอตัวในช่วงถัดไป และพยายามส่งผ่านนโยบายลดดอกเบี้ยไปยังธนาคารพาณิชย์ให้เร็วที่สุด บวกกับ REAL INTEREST RATE ของไทยอยู่ที่ 2.0% (ดอกเบี้ย 1.75% - เงินเฟ้อติดลบ 0.25%) ทำให้ยังมี ROOM ให้ลดดอกเบี้ยได้ในอนาคต

ดังนั้น กระแส TRADE TARIFF ดูผ่อนคลายลง + ความหวังการลดดอกเบี้ย เพื่อพยุงเศรษฐกิจ จึงมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยสะสม SET INDEX และแนะนำหุ้น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้กระแส TRADE TARIFF ดูผ่อนคลายลง เน้นหุ้นกลุ่มชิ้นส่วน DELTA KCE หุ้นส่งออก TU CPF หุ้นนิคม AMATA WHA

ความหวังการลดดอกเบี้ย เพื่อพยุงเศรษฐกิจ เน้นหุ้นกลุ่ม ธพ.กลาง-เล็ก KKP TISCO TTB หุ้นกลุ่มเช่าซื้อ MTCTIDLOR SAWAD หุ้นกลุ่มอสังหาฯ AP LH SIRI


BOND YIELD ญี่ปุ่นพุ่งขึ้นแรง CARRY TRADE น่ากังวลแค่ไหน ?
พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในตลาดหนี้ของรัฐบาลที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลกมานานหลายทศวรรษ แต่จากสัญญาณ BOND YIELD ระยะยาวอายุ 30 ปีของญี่ปุ่น พุ่งขึ้นแรงแตะ 3% ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่วิกฤตปี 2008สะท้อนการเทขาย BOND ออกมามหาศาล เพิ่มระดับความกังวลว่าจะเกิดวิฤตทางการเงินรอบใหม่หรือไม่ ?
นับตั้งแต่ช่วงปี 2024 BOJ ตัดสินใจยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ หันมาใช้นโยบายการเงินแบบปกติยกเลิกอัตราดอกเบี้ยติดลบและโครงการ YCC พร้อมกับปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปีซึ่งทิศทางดอกเบี้ยBOJ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทำให้ประเด็นความเสี่ยง “CARRY TRADE” เริ่มกลับมาพูดถึงมากขึ้นอีกครั้ง

นอกจากนี้ BOJ ยังทำ QT(ลดขนาดงบดุล) ตั้งแต่ก.ค.2024 เพื่อลดการซื้อพันธบัตรลงอย่างต่อเนื่อง(ตั้งเป้าหมายให้ยอดการซื้อพันธบัตรต่อเดือนจาก 6 เหลือ 3 ล้านล้านเยนภายในเดือน มี.ค. 2026) อีกทั้งความต้องการซื้อจากบริษัทประกันชีวิตของญี่ปุ่นลดลงเช่นกัน


อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตลาดกังวล CARRY TRADE สังเกตจากช่วงที่ BOJ ปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วง ส.ค.2024 และ ม.ค. 2025 BOND YIELD ญี่ปุ่นการปรับตัวสูงขึ้น ก่อนที่จะย่อตัวลงมา ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าอย่างรวดเร็ว

 


แต่ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมในอดีตและปัจจุบัน ค่อนข้างแต่ต่างกัน โดยในช่วง ส.ค. 2024 มีความกังวล RECISSION ในสหรัฐฯ ร่วมด้วย โดย SAHM RULE เดือน ก.ค. 2024 เกิน 0.5 บวกกับอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ สูงขึ้น แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดูแข็งแกร่ง นอกจากนี้กระแสข่าว “YEN CARRY TRADE” ตอนนี้ยังต่ำ เมื่อเทียบกับช่วง ส.ค.2024 อย่างไรก็ตาม ประเด็น CARRY TRADE อาจจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยเฉพาะผลพวงที่อาจจะตามมาของผลกระทบ TARIFF

 

ความลับสวรรค์ บริเวณต่ำ 1200 จุด SET มักดีดแรง
ฝ่ายวิจัยฯ ทำการค้นหา SET INDEX มักขึ้นได้แรงเกิน 7% ต่อเดือน บริเวณต่ำๆ และต่ำกว่า 1200 จุดเสมอ โดยตลอด 17 ปี มีหุ้นขึ้นเกิน 7% ต่อเดือน บริเวณต่ำกว่า 1200 จุด ถึง 5 ใน 6 ครั้ง เช่นเดียวกับปัจจุบันที่หุ้นขยับขึ้นมาแล้ว 10.7% (MTD) ซึ่งปกติมักจะเป็นแรงขับจากหุ้นขนาดใหญ่ก่อน และเดือนถัดไปยังมีโอกาสขึ้นอยู่


อย่างไรก็ตามช่วงสั้นๆ อาจเห็นการย่อตัวลงมาบ้าง หลังจากเดือนนี้ขึ้นมาแรงเป็นอันดับที่ 3 ในรอบ 15 ปี ดังนั้นกลยุทธ์แนะเก็งกำไรหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวรออยู่ หุ้นดอกเบี้ยขาลง : TIDLOR, MTC, KTC หุ้นปันผล : SPALI, SIRIหุ้น TARIFF และหุ้นได้ประโยชน์บาทอ่อน : TU, ITC, WHA, AMATA

 



Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

OR–พาณิชย์ หนุนเกษตรกรเหนือ เดินหน้าเชื่อมตลาดลำไย กระจายผลผลิต

OR–พาณิชย์ หนุนเกษตรกรเหนือ เดินหน้าเชื่อมตลาดลำไย กระจายผลผลิต

มีย่อ มีพัก By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองหุ้นไทย เข้าสู่โหมดการย่อตัว พักตัว ปรับฐาน หลังจากมาแรงอย่างต่อเนื่อง บ่ายวันนี้ ....

มัลติมีเดีย

BPS ครึ่งปีแรกปี68 เดินหน้าลงทุนตามแผน มุ่งสร้างนวัตกรรมหนุนผลงานเติบโต

BPS ครึ่งปีแรกปี68 เดินหน้าลงทุนตามแผน มุ่งสร้างนวัตกรรมหนุนผลงานเติบโต

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้