Equality for All
SCGP : บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง
2Q25 คาดกำไรเพิ่มเล็กน้อย q-q แต่ลดลง y-y ตามปริมาณขายเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม : เราคาดกำไรสุทธิ 952 ลบ. +5% q-q แต่ -35% y-y เพิ่มเล็กน้อย q-q จากปริมาณขายเพิ่มจากการคำสั่งซื้อมากขึ้นก่อนจะมีการใช้อัตราภาษีจากสหรัฐ แต่ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มทำให้แนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นปรับขึ้นยาก แบ่งตามส่วนงานดังนี้
กลุ่มบรรจุภัณฑ์ครบวงจร (Integrated Packaging Business : IPB) เราคาดว่ากลุ่ม Polymer ในประเทศหดตัว q-q จากช่วงวันหยุด แต่ได้ส่วนช่วยจากเร่งส่งออกก่อนภาษีสหรัฐจะเริ่มใช้ แต่การดำเนินงานในต่างประเทศดีขึ้นโดยเฉพาะเวียดนาม และอินโดนีเซียหลังเทศกาลเต็ดสิ้นสุดลง ขณะที่ในส่วนกระดาษบรรจุภัณฑ์คาดเวียดนามยังเติบโตได้ q-q แต่ราคาขายเฉลี่ยลดลง ยกเว้นอินโดนีเซียสามารถปรับราคาขายปรับขึ้นได้ตามคู่แข่งในตลาด ขณะที่กลุ่มสินค้าคงทนยังชะลอตัวตามกำลังซื้อที่หดตัว แม้ราคาถ่านหินจะลดลง q-q แต่ต้นทุนกระดาษรีไซเคิล (RCP) ที่เร่งตัวขึ้นทำให้แนวโน้ม EBITDA margin จะทรงตัว
กลุ่มเยื่อและกระดาษ (Fibrous Business :FB) เราคาดอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง กลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหารในตปท. ดีขึ้น q-q ตามการเพิ่มขึ้นในกลุ่มร้านอาหารและฤดูกาล ขณะที่ในประเทศคาดจะหดตัว q-q ตามจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ขณะที่กลุ่มเยื่อกระดาษปริมาณขายลดลงจากอุปสงค์การใช้กลุ่มสิ่งทอหดตัว ขณะที่กลุ่มกระดาษปริมาณขายลดลงเช่นกันจากอุปสงค์หด ขณะที่ EBITDA margin คาดทรงตัว
Fajar คาดการดำเนินงานดีขึ้น q-q จากต้นทุนลดลง
มาตรการภาษีกระทบจำกัด : ผบห. แจ้งว่าสัดส่วนการขายโดยตรงของ SCGP ไปสหรัฐมีเพียง 3% ของยอดขาย (1,000 ลบ. ต่อไตรมาส) และในส่วนผลกระทบทางอ้อมอยู่ที่ 3% ของรายได้เช่นกัน รวมถึงอาจได้รับผลจากสินค้าส่งออกจากจีนมาแข่งขันในไทยซึ่งคาดจะอยู่ที่ราว 1% ของยอดขาย
ซึ่งโดยรวมแล้วคาดผลกระทบต่อยอดขายค่อนข้างจำกัด แต่ตลาดอาจกังวลต่อการแข่งขันจากสินค้าจีนมากขึ้นในตลาดเอเชียหลังจีนเร่งส่งออกเพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้าซึ่งอาจส่งผลต่อการแข่งขันด้านราคาในภูมิภาค SGCP จึงเน้นกระจายตลาดส่งออกใหม่ไปยังดินเดีย, อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอื่น ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และศึกษาการย้ายฐานการผลิตไปสหรัฐเพื่อลดผลกระทบด้านมาตรการภาษี
แนวโน้ม 2H25 คาดทรงตัว H-H : ผบห. แจ้งแนวโน้มการดำเนินงาน 2H25 คาดทรงตัว H-H แม้ว่าปกติ 3Q จะเป็นช่วง low season ก็ตาม แต่คาดปีนี้เวียดนามจะเป็นตัวผลักดันการเติบโตของการดำเนินงาน
ขณะที่ Fajar คาดฟื้นตัวตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะแผนการลดหนี้ของ Fajar ลงจะช่วยให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง 500 ลบ./ ปี ซึ่งจะเริ่มเห็นผลตั้งแต่ 3Q25 เป็นต้นไป รวมถึงยังมีคำสั่งซื้อใหม่ที่จะทยอยส่งมอบให้ลูกค้าในปลายปีนี้
ฟื้นต่อแต่มีปัจจัยต้องตาม
“แม้การดำเนินงาน 2Q25 จะยังฟื้นตัว q-q แต่แนวโน้มราคาวัตถุดิบที่เร่งตัวขึ้น และอุปทานที่มากในตลาดทำให้การปรับราคาขายทำได้ค่อนข้างจำกัด ขณะที่แนวโน้มช่วงที่เหลือของปีอาจต้องติดตามหลังการเริ่มมีผลบังคับใช้มาตรการภาษีนำเข้าจากสหรัฐจะส่งผลกระทบมากกว่าที่คาดหรือไม่ ซึ่งอาจกดดันการดำเนินงานให้ฟื้นตัวน้อยกว่าคาด ส่วน Fajar คาดฟื้นจากการปรับปรุงต้นทุนและปรับปรุงต้นทุนการเงินให้ดีขึ้น
ราคาหุ้นปรับขึ้นมาจนส่วนต่างราคาจำกัดแล้ว และภาพข้างหน้ามีความเสี่ยงมากขึ้น เน้นรอตั้งรับดีกว่า และซื้อขายตามข่าวเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวจะดีกว่า ”
นารี อภิเศวตกานต์
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน #17971
naree.a@liberator.co.th