AT THE OPEN (#ATO)
SET Index โมเมนตัมการขึ้นคาดชะลอลง
เลือกเก็งกำไรหุ้นรายตัว
Market Strategy
SET Index แกว่งตามกรอบ 1150-1170 จุด มองโมเมนตัมการปรับขึ้นชะลอลงหลังปรับขึ้นมา 50 จุด ใน 3 วัน สำหรับประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่การบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างอินโดนีเซียและสหรัฐฯ ทำให้ไทยต้องเร่งปิดดีลเพื่อลดช่องว่างการแข่งขัน หุ้นเด่นวันนี้ NER SCGP
อินโดนีเซียบรรลุการเจรจาภาษีสหรัฐฯ โดยลดมาเหลือ 19% จากเดิม 32% โดยสิ่งที่เสนอให้สหรัฐฯ เปิดตลาดนำเข้าสินค้าสหรัฐฯในอัตรา 0% นำเข้าพลังงานสหรัฐฯ 1.5 หมื่นล้านเหรียญฯ นำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐฯ 4.5 พันล้านเหรียญฯ และนำเข้าเครื่องบิน Boeing สหรัฐฯ 50 ลำ ทั้งนี้อินโดนีเซียและเวียดนามที่บรรลุข้อตกลงสหรัฐฯ ได้มีจุดร่วมกันคือการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ 0 % ทุกสินค้าซึ่งถือเป็นหนึ่งโจทย์สำคัญสำหรับไทยที่พิจารณาเพื่อขอลดภาษี ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลเผยว่าเสนอภาษี 0% ครอบคลุม 90% ของสินค้าทั้งหมด ส่วนผลต่อตลาดหุ้นจากโอกาสเจรจาไทย-สหรัฐฯที่ยังเปิดอยู่ ในเชิงกลยุทธ์มองกลุ่มส่งออกที่ Valuation ไม่แพงยังน่าสนใจ ในเชิง Laggard Play ชอบ NER (PER 4.1 เท่า ปันผล 9.5%)
เงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. ขยายตัว 2.7%/2.9%YoY ตามคาด แต่มากกว่าเดือนก่อนที่ 2.4%/2.8%YoY จากสินค้าของใช้บริโภคและอุปโภคที่เริ่มเร่งตัวขึ้นจากผลของภาษีสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดคาด FED ลดดอกเบี้ยฯ ยากขึ้น โดยล่าสุด คาดคงดอกเบี้ยฯ ในการประชุม FED วันที่ 30 ก.ค.ด้วยโอกาส 97% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วานนี้ S&P500 -0.4% สำหรับวันนี้ ติดตามดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน มิ.ย.คาดขยายตัว 0.2%MoM หากมากกว่าคาด ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อยังมีต่อ แต่อาจเป็นปัจจัยช่วยลดความแข็งกร้าวการขึ้นภาษีของคุณทรัมป์
Market Summary
SET Index ปรับขึ้น 1.5% กลุ่มที่นำตลาด คือ กลุ่มไฟแนนซ์ +4.3% กลุ่มอสังหาฯ +2.4% กลุ่มค้าปลีก +3.6% จากตลาดคาดใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้นหาก คุณวิทัยจะได้เสนอชื่อเป็นผู้ว่า ธปท. คนใหม่ แม้ว่าวานนี้ยังไม่เข้า ครม. ก็ตาม กลุ่มอื่นๆ AOT 6.7% และกลุ่มท่องเที่ยว ERW +4.5% CENTEL +4.7% ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสัปดาห์ที่ผ่านมา ฟื้นตัว 0.3% และจีนที่ฟื้นตัว 2.9%WoW หนุนความเชื่อ 2Q68 กำไรผ่านจุดต่ำสุด กลุ่ม Underperform คือกลุ่ม Bank ที่อาจเสียประโยชน์หากทิศทางดอกเบี้ยฯ ลดเร็วขึ้น แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.48 พันล้านบาท ส่วนต่างชาติสลับมาขาย 593 ล้านบาท
DAILY Stock Pick
NER
ความคืบหน้าเจรจาการค้า หนุนกำไร
ขณะที่ Valuation น่าสนใจ
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 5.00 บาท
สหรัฐฯ บรรลุดีลการค้ากับประเทศอินโดนีเซีย หลังถูกสหรัฐฯ คิดภาษี reciprocal tariff ถึง 32% เหลือเพียง 19% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความคืบหน้าดังกล่าว หนุนกลุ่มส่งออก อาทิ NER ในขณะที่ทีมเจรจาของไทยมีการเตรียมส่งเอกสารข้อเสนอถัดไปกับสหรัฐฯ
ณ ราคาปัจจุบัน ถูกซื้อขาย PE68 ที่ 4.1 เท่า พร้อมกับอัตราเงินปันผลที่ 9.5% ปัจจัยดังกล่าว ช่วยจำกัดDownside อีกทั้งบริษัทตั้งเป้าปริมาณการขาย 5 แสนตัน (+13%YoY) ในปี 68 ส่งผลให้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 68/69 เติบโตถึง 13.5%/17% ตามลำดับ
WEEKLY Stock Pick
SCGP
เก็งกำไร China Play รับจีนกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 19.00 บาท
PBOC เสนอรัฐบาลจีน ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม มูลค่า 2.09 แสนล้านดอลลาร์ (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.42 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อรับมือกับผลกระทบภาษีการค้าที่เกิดขึ้น ผ่านการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ หนุนการนำเข้าบรรจุภัณฑ์มากขึ้น (50% นำเข้าจาก ASEAN)
บริษัทคาดว่าราคาขายบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียปรับราคาขึ้นตามผู้นำตลาด อีกทั้งปริมาณการขายฟื้นตัวหลังผ่านช่วงหยุดยาวในอินโดนีเซีย หนุนผลประกอบการ Fajar ฟื้นตัวขึ้น QoQใน 2Q68 ณ ราคาปัจจุบัน Bloomberg Consensus คาด ซื้อขายที่ PE ปี 68 ที่ 17.4 เท่า
KEY FACTOR
ตัวเลขเศรษฐกิจจีน ยังสะท้อนภาพที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต 1) GDP 2Q68 ขยายตัว +5.2% YoY สูงกว่าที่ Consensus คาดการณ์ไว้ +5.1%YoY อยู่เล็กน้อย 2) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม +6.8%YoY สูงกว่าคาดที่ +5.6% YoY 3) ยอดค้าปลีก +4.8% ต่ำกว่าคาดที่ +5.3% YoY
เงินเฟ้อสหรัฐฯ +0.3% MoM และ +2.7% YoY ใกล้เคียงกับที่Consensus คาด +0.3% MoM และ +2.6% YoY ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) +0.2% MoM และ 2.9% YoY ใกล้เคียงกับที่ Consensus คาดไว้ +0.3% MoM และ +2.9% YoY เช่นกัน การเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยังมาจากภาคบริการ นำโดย ค่าเช่า +0.3% MoM บริการสุขภาพ +0.5% MoM ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพลังงาน +0.9% MoM ส่วนราคาอาหารยัง+0.3% MoM ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ถือว่าไม่เหนือความคาดหมาย ทำให้มุมมองตลาดยังไม่เปลี่ยนแปลงคาดการณ์ดอกเบี้ย ให้น้ำหนัก Fed ลดดอกเบี้ยประมาณ 2 ครั้ง ในช่วงที่เหลือของปีนี้
EYES ON
15 ก.ค. GDP 2Q68, ยอดค้าปลีก, ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน, CPI สหรัฐฯ มิ.ย.
16 ก.ค. PPI สหรัฐฯ มิ.ย.
17 ก.ค. CPI ยูโรโซน เดือน มิ.ย.
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ, ออมทรัพย์ โง้วศิริ