ลุกขึ้นยืน…แล้วก็ค่อยๆเดินต่อ
TOP PICK CK / BCH / TASCO
EXTERNAL FACTOR
• ช่วงเวลาที่เหลืออีก 2 สัปดาห์ ก่อนที่ TARIFF รอบใหม่ เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค.68 อัตราภาษียังมีความไม่แน่นอน หลังสหรัฐฯ ยังเปิดทางให้เประเทศต่างๆ เข้ามา
เจรจา ซึ่งต้องจับตาว่าจะมีการตอบโต้ (-) หรือบรรลุดีลข้อตกลงได้เพิ่มเติม (+) หรือไม่
• ขณะที่ประเทศที่มีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงชั่วคราวได้เพิ่มเติม ได้แก่ “อินเดีย” ซึ่งสหรัฐฯอาจลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากอินเดียให้ต่ำกว่า 20% จากเดิมที่เสนอไว้ที่ 26% ซึ่ง
ถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าหลายประเทศเพื่อนบ้าน
• อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐค่อนข้างจะมีมุมมองเชิงลบต่อประเด็น TARIFF รอบใหม่
INTERNAL FACTOR
• กระทรวงการคลังมีการรวบรวมผู้ได้รับผลกระทบในประเทศเป็นรายอุตสาหกรรมภายในวันที่ 14 ก.ค.68 หลังจากหารือร่วมกับภาคเอกชนไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา และคาดหวังว่าการเจรจาครั้งนี้จะไม่เสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน และลดอัตราภาษีนำเขาลงจาก 36%
• 16 ก.ค.68 ครบกำหนดนายกฯยื่นคำชี้แจงต่อ ศาล รธน.
โดยหากศาลเห็นว่าผิดจริง: ความเป็นรัฐมนตรีของแพทองธารจะสิ้นสุดลงทันที
หากศาลเห็นว่าไม่ผิด : เธอจะสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้อีกครั้ง
INVESTMENT STRATEGY
• แรงกดดันตลาดหุ้นเบาลง ทำให้อาจเห็นเม็ดเงินจากตราสารหนี้ไหลกลับมาที่ตลาดหุ้นไทยบ้าง หลังปันผลเฉลี่ยสูงกว่า BOND YIELD 1 ปี –5 ปี เกิน 3% อีกทั้งเริ่มเห็นเม็ดเงินต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิสะสมหุ้นไทยทุกวันในสัปดาห์ที่แล้ว 2.9 พันล้านบาท
• ขณะเดียวกันมูลค่า MARGIN คงค้างในตลาดหุ้นไทย ณ พ.ค. 68 ลดลงเหลือ 1.82 แสนล้านบาท (ลดลงครึ่งหนึ่งจากปลายปี 64 ที่ 3.66 แสนล้านบาท)จึงทำให้ความผันผวนจากการถูก FORCE SELL ลดลงไปเยอะและปกติเวลายอด DEBT MARGIN อยู่ในระดับต่ำมักจะเป็นจุดเริ่มต้นในการฟื้นตัวที่ดีของ SET เสมอ กลยุทธ์แนะนำหุ้นดอกเบี้ยขาลง MTC KTC หุ้นปันผล SPALI SIRI หุ้นปัจจัย 4 BCH BH หุ้นการเมืองผ่อน CK SCC
สับสน TARIFF ยังไม่นิ่ง
นับถอบหลัง 14 วัน ก่อนที่ TARIFF รอบใหม่ เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค. 68 ล่าสุด ปธน. ทรัมป์ร่อนหนังสือแจ้งภาษีเพิ่มเติมกับ 3 ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่
• EU ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 30% (เดิม 20%) โดยสหรัฐฯ มองว่าการเกินดุลการค้าของ EU ถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ
• MEXICO ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 30% (เดิม 25%) โดย ปธน. ทรัมป์ยอมรับว่าเม็กซิโกให้ความช่วยเหลือในการสกัดกั้นการหลั่งไหลของผู้อพยพผิดกฎหมายและยาเฟนทานิลเข้าสู่สหรัฐฯ
• CANADA ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 35% (เดิม 25%) โดยสหรัฐฯ มองว่าแคนาดาล้มเหลวในการหยุดยั้งการไหลของเฟนทานิลเข้าสู่สหรัฐฯ รวมถึงการที่แคนาดาเรียกเก็บภาษีจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในสหรัฐฯช่วงเวลาที่เหลืออีก 2 สัปดาห์ อัตราภาษียังมีความไม่แน่นอน หลังสหรัฐฯ ยังเปิดทางให้เประเทศต่างๆ เข้ามาเจรจา ซึ่งต้องจับตาว่าจะมีการตอบโต้ (-) หรือบรรลุดีลข้อตกลงได้เพิ่มเติม (+) หรือไม่ ?ขณะที่ ประเทศที่มีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงชั่วคราวได้เพิ่มเติม ได้แก่ “อินเดีย”ซึ่งสหรัฐฯ อาจลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากอินเดียให้ต่ำกว่า 20% จากเดิมที่เสนอไว้ที่ 26% ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าหลายประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินค่อนข้างจะมีมุมมองเชิงลบต่อประเด็น TARIFF รอบใหม่ สะท้อนจากตลาดหุ้นฟิวเจอร์สหรัฐ (DOW JONES) เช้านี้ ร่วงลงไปแล้วเกือบ 200 จุด บวกกับ BOND YIELD 30Y สหรัฐฯ ดีดตัวใกล้แตะระดับ5% อีกทั้งราคาทองคำขยับตัวขึ้นยืนเหนือ 3,375 เหรียญฯ แล้ว
อีกทั้งผลกระทบจาก TARIFF ต่อเศรษฐกิจ อาจจะต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ 2Q68 ล่าสุดเศรษฐกิจอังกฤษในเดือน พ.ค. 68 -0.1%MOM ซึ่งติดลบมากกว่าคาดการณ์ และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังถูกฉุดโดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง
เดือนนี้ มีปัจจัยที่ต้องนึกถึง ทั้ง TRADE TARIFF และการเมืองไทย
หลังจากที่หลายประเทศโดนเก็บอัตราภาษีใหม่จากสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่น้อยกว่าระดับที่ไทยโดนเก็บที่ระดับ 36% จึงทำคลังพร้อมยื่นข้อเสนอสหรัฐฯเพิ่มเติม ก่อนที่จะถึงวันมีผลบังคับใช้ 1 ส.ค.68 โดยการเจรจาต่อรองนั้นจะกำหนดเงื่อนไขไว้ 3 ประเด็น ดังนี้
1. การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ จะต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าในประเทศ ทั้งเกษตรกร และอุตสาหกรรมรายย่อย
2. การแก้ปัญหาเรื่องการสวมสิทธิ์ โดย ดูแลการนำเข้าสินค้าให้ทั่วถึง ไม่ให้เกิดเรื่องที่ไม่เหมาะสมเหมือนที่ผ่านมา และถือเป็นโอกาสในการทบทวนตัวเองให้สินค้าได้รับการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพ ทั้งขาเข้าและขาออก
3. มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อย
ซึ่งคลังกล่าวว่าจะมีการรวบรวมผู้ได้รับผลกระทบในประเทศเป็นรายอุตสาหกรรม ภายในวันที่ 14 ก.ค.68 หลังจากหารือร่วมกับภาคเอกชนไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา และคาดหวังว่าการเจรจาครั้งนี้จะไม่เสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านขณะที่อีก 1 ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ การเมืองไทยที่ 16 ก.ค.68 ครบกำหนดนายกฯยื่นคำชี้แจงต่อ ศาล รธน. โดย
หากศาลเห็นว่าผิดจริง : ความเป็นรัฐมนตรีของแพทองธารจะสิ้นสุดลงทันที
หากศาลเห็นว่าไม่ผิด : เธอจะสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตามยังคาดหวังว่า การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี
2569 ซึ่งจะเข้าสู่การลงมติในวาระที่ 2 และ 3 ในช่วงเดือน ส.ค.2568 น่าจะผ่านไปได้ ทั้งนี้ประเมินจากท่าทีของพรรคการเมืองต่างๆ (รวมถึง ภูมิใจไทย) มีความมุ่งหวังที่จะสนับสนุนร่างงบประมาณ เพื่อเป็นแรงช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจไทย ที่ค่อนข้างเปราะบาง ทั้งนี้ทุกอย่างเดินหน้าไปตามกำหนด คาดว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ น่าจะพร้อมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ในช่วงต้นเดือน ก.ย. 2568 และเบิกใช้งานได้ตามกำหนดปีงบประมาณปี 2569 (เริ่ม 1 ต.ค.2568) ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยไม่หยุดชะงักดังอดีต
FUND FLOW สลับกลับมา พร้อมกับแรงกด MARGIN เบาลง
แรงกดดันตลาดหุ้นเบาลง ทำให้อาจเห็นเม็ดเงินจากตราสารหนี้ไหลกลับมาที่ตลาดหุ้นไทยบ้าง หลังปันผลเฉลี่ยสูงกว่า BOND YIELD 1 ปี –5 ปี เกิน 3% อีกทั้งเริ่มเห็นเม็ดเงินต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิสะสมหุ้นไทยทุกวันในสัปดาห์ที่แล้ว 2.9 พันล้านบาท
ขณะเดียวกันมูลค่า MARGIN คงค้างในตลาดหุ้นไทย ณ พ.ค. 68 ลดลงเหลือ 1.82 แสนล้านบาท (ลดลงครึ่งหนึ่งจากปลายปี 64 ที่ 3.66 แสนล้านบาท) จึงทำให้ความผันผวนจากการถูก FORCE SELL ลดลงไปเยอะ และปกติเวลายอดDEBT MARGIN อยู่ในระดับต่ำมักจะเป็นจุดเริ่มต้นในการฟื้นตัวที่ดีของ SET เสมอ กลยุทธ์แนะนำหุ้นดอกเบี้ยขาลงMTC, KTC หุ้นปันผล SPALI, SIRI หุ้นปัจจัย 4 BCH, BH หุ้นการเมืองผ่อน CK, SCC
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์