แม้จะไม่ขึ้นในเร็ววัน แต่ขอสะสมก่อนนะ
TOP PICK SCC / CPF / TASCO
EXTERNAL FACTOR
• การประกาศ RECIPROCAL TARIFF รอบใหม่ เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค. 68ปธน.ทริมป์ ทยอยร่อนจดหมายออกมาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 68 โดยไทยโดนไปในอัตรา36% เท่าเดิม
• ในแง่มุมของทิศทางดอกเบี้ย ตัวแปรสำคัญอยู่ที่ผลกระทบต่อเงินเฟ้อ หลังจากวันที่ 1ส.ค. 68 ภาษีตอบโต้มีผลบังคับใช้ ขณะที่ FED WATCH TOLL ล่าสุดให้น้ำหนักเกิน90% คาดว่า FED จะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ก.ค. 68 การจะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ก.ย. 68 และครั้งต่อใปในเดือน ธ.ค. 68
INTERNAL FACTOR
• ธปท. ประเมิน นับตั้งแต่ 2H68 เป็นต้นไป ลากไปจนถึง 1H69 เศรษฐกิจไทยเข้าข่ายน่าเป็นห่วง มองไปข้างหน้าเห็นสัญญาณการเติบโตแผ่วลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการค้า โดยผลกระทบของ TARIFFS อาจทำให้เกิด SHOCK ทอดยาวและรุนแรงในเชิงโครงสร้าง สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง
• ในแง่มุมของการรับมือกับ TARIFF ยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณช่วยประคองเศรษฐกิจไทย ส่วนทิศทางดอกเบี้ย ธปท. ยังคงเดินหน้านโยบายการเงิน โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และพร้อมใช้นโยบายการเงิยแบบผ่อนคลาย เพื่อรองรับ SHOCK ที่อาจจะเกิดขึ้น
INVESTMENT STRATEGY
• หุ้นที่ COVERAGE ซึ่งมีรายได้จากสหรัฐฯเกิน 10%ของรายได้รวม อาทิ COCOCO 24%, ITC 50%, TU40%, DELTA 26%, KCE 24% ซึ่งคิดเป็นระดับ MARKET CAP เพียง 10%ของ MARKET CAP ทั้งหมดเท่านั้น จึงคาดว่าจะไม่กระทบต่อกำไรรวมมากนัก
• กำไรงวด 2Q68 น่าจะดีต่อเนื่องจาก 1Q68 โดยอ้างอิงจาก BLOOMBERG มีอยู่85 บริษัท(MARKET CAP63%) อยู่ที่ 1.76 แสนล้านบาท -2.0%QOQ / -1.6%YOY โดยมีหุ้นที่กำไร 2Q68 มีโอกาสเติบโตดี QOQ /YOY และน่าทยอยสะสมในช่วงนี้ คือ ADVANC BTG KTC MTC TIDLOR SPRC CBG CKP BCH เป็นต้น
TRUMP ทยอยส่งจดหมาย TARIFF
การประกาศ RECIPROCAL TARIFF รอบใหม่ เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค. 68 ปธน.ทริมป์ ทยอยร่อนจดหมายออกมาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 68 โดยไทยโดนไปในอัตรา 36% เท่าเดิม ขณะที่ประเทศที่มีประเด็นอย่างบราซิล ถูกขู่เก็บในอัตราที่สูงขึ้นเป็น 50% (เดิม 10%) ซึ่งเหตุผลไม่ใช่เพียงเพราะบราซิลเป็นประธานกลุ่ม BRICS แต่ยังมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยปธน. ทรัมป์ เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีอดีตปธน. JAIR BOLSONARO กรณีพยายามก่อรัฐประหาร พร้อมกับวิจารณ์การคุกคามการเลือกตั้งและการแสดงความเห็นอย่างเสรีของชาวอเมริกันในบราซิลจากการแบนสื่อสังคมออนไลน์สหรัฐฯในแง่มุมของทิศทางดอกเบี้ย ตัวแปรสำคัญอยู่ที่ผลกระทบต่อเงินเฟ้อ หลังจากวันที่ 1 ส.ค. 68 ภาษีตอบโต้มีผลบังคับใช้ขณะที่ FED WATCH TOLL ล่าสุดให้น้ำหนักเกิน 90% คาดว่า FED จะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ก.ค.68 การจะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ก.ย.68และครั้งต่อใปในเดือน ธ.ค. 68
พิษ TARIFF เสี่ยงทำเศรษฐกิจไทยซึมลากยาว
ธปท. เผยมุมมองเศรษฐกิจไทยใน 1H68 ยังขยายตัวได้ราว 2.9% ด้วยแรงหนุนหลักๆ จากการส่งออกและการผลิตเร่งตัว ก่อนนโยบาย TARIFFS จะมีผลบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ 2H68 เป็นต้นไป ลากไปจนถึง 1H69 เศรษฐกิจไทยเข้าข่ายน่าเป็นห่วง มองไปข้างหน้าเห็นสัญญาณการเติบโตแผ่วลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการค้า โดยผลกระทบของ TARIFFS อาจทำให้เกิดSHOCK ทอดยาวและรุนแรงในเชิงโครงสร้าง สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง (แตกต่างจากช่วง COVID-19, น้ำท่วมปี2554, วิกฤตต้มยำกุ้ง)
ธปท. ประเมิน GDP GROWTH ไทย ในช่วง 2H68 ขยายตัวแค่ 1.6% (ทั้งปี 2568 โต 2.3%) ส่วนปี 2569 คาดว่าจะขยายตัวแค่ 1.7% ขณะที่สำนักเศรษฐกิจต่างๆ คาดกาณ์ GDP GROWTH ไทยปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยราว 1.7%
กรณีสหรัฐฯ เรียกเก็บ TARIFFS ไทย 36% เสี่ยงกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าจากไทยไปสหรัฐฯ อย่างมีนัยฯ เนื่องจากปัจจุบัน ภาษีศุลกากรของสรัฐฯ อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทำให้เก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น อาจทำให้กลุ่มผู้ส่งออกไทยต้องแบกรับภารรส่วนต่างที่สูงขึ้น
นอกจากนี้หากไทยไม่เก็บภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่สินค้าจากสหรัฐฯ เข้าไทย เกิดการแย่งตลาดเนื่องจากปัจจุบัน ภาษีศุลกากรของไทย อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าในหมวดเกษตรและอาหาร
ในแง่มุมของการรับมือกับ TARIFF ยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะใช้งบประมาณช่วยประคองเศรษฐกิจไทย ส่วนทิศทางดอกเบี้ย ธปท. ยังคงเดินหน้านโยบายการเงิน โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และพร้อมใช้นโยบายการเงิยแบบผ่อนคลาย เพื่อรองรับ SHOCK ที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การเรียกเก็บภาษีตอบโต้สหรัฐฯยังไม่ชัดเจน และธปท. ยังต้องรอดูข้อมูลต่างๆ ประกอบ ก่อนตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย
ซึ่งตาม TIMELINE วันที่ 1 ส.ค. 68 เป็น DEADLINE ภาษีตอบโต้ใหม่จะมีผลบังคับใช้ (ไทยโดนไป 36% แต่ระหว่างนี้ยังเจรจากับสหรัฐฯได้) ตามด้วยการประชุม กนง. ครั้งที่ 4 ในวันพุธที่ 13 ส.ค. 68 โดยในแง่มุมของตลาดฯ เห็นความคาดหวังปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 2H68 อีกราว 1-2 ครั้ง สะท้อนจาก BOND YIELD 10Y ของไทยล่าสุด ย่อตัวลงมาอยู่ที่ 1.53% (ใกล้จะเทียบเท่ากับการลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง -25 BPS.)
กำไรบริษัทจดทะเบียนมี DOWNSIDE เยอะไหม ... มาดูกัน
เริ่มเห็นหลายประเทศที่โดนเก็บอัตราภาษีใหม่จากสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่น้อยกว่าระดับที่ไทยโดนเก็บที่ระดับ 36% จึงทำให้เกิดความกังวลกับเศรษฐกิจไทย และกำไร บล.ว่าจะมี DOWNSIDE มากน้อยเพียงใด ซึ่งฝ่ายวิจัยฯได้รวบรวมหุ้นที่COVERAGE ซึ่งมีรายได้จากสหรัฐฯเกิน 10%ของรายได้รวม อาทิ COCOCO 24%, ITC 50%, TU 40%, DELTA26%, KCE 24% ซึ่งคิดเป็นระดับ MARKET CAP เพียง 10%ของ MARKET CAP ทั้งหมดเท่านั้น จึงคาดว่าจะไม่กระทบมากนัก ส่วนอีกประเด็น คือ กำไรงวด 2Q68 น่าจะดีต่อเนื่องจาก 1Q68 โดยล่าสุดรวบรวมจากBLOOMBERG 85 บริษัท(MARKET CAP 63%) อยู่ที่ 1.76 แสนล้านบาท -2.0%QOQ / -1.6%YOY โดยมีหุ้นที่กำไร 2Q68 มีโอกาสเติบโตดี QOQ / YOY และน่าทยอยสะสมในช่วงนี้คือ ADVANC BTG KTC MTC TIDLORSPRC CBG CKP BCH เป็นต้น
และหากพิจารณาจากประมาณการทั้งปีที่ระดับ 1.06 ล้านล้านบาท EPS68F86.0 บาท/หุ้น ทำให้ DOWNSIDE ต่อการปรับประมาณการลงมีไม่มาก เนื่องจาก ช่วง 1H68 มีโอกาสทำกำไรแตะระดับ 51%ของประมาณการ หากกำไร2Q68 ออกมาใกล้เคียงที่ตลาดฯคาดการณ์ไว้
ดังนั้น หากนักลงทุนคาดหวังจะทยอยสะสมหุ้นเพื่อหวังผลกำไรระยะกลาง-ยาว มองว่าเป็นจังหวะเหมาะสม บวกกับระดับ DIVIDEND YIELD GAP ของ SET INDEX ถือว่าเด่น อยู่ระดับ 3% (สูงกว่าระดับ 2SD. ของข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2012) อีกทั้งระดับ PBV เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ถือว่าต่ำสุดๆ อยู่ระดับ 1.06 เท่า(ประเทศเพื่อนบ้าน อินโดนีเซียฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม มี PBV ในช่วง 1.2-1.7 เท่า)
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์