Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.ทิสโก้ : กลุ่ม Food & Beverage แนะนำ Underweight

117

 

 


Sector note
Food & Beverage


กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงจะได้รับผลกระทบจากประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามที่มีภาษีนำเข้าต่ำกว่า โดยกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงอาหารสุนัขและแมวส่งออกไปสหรัฐฯมีมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ที่ 38.2% ตามด้วย แคนาดา 20.2%, จีน 8.5%, เวียดนาม 5.3% และเม็กซิโก 4.6% โดยหากพิจารณาเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก (wet pet food)เราคาดจะส่งผลกระทบต่อ ITC, AAI จากประเทศคู่แข่งที่สำคัญของธุรกิจ wet pet food ได้แก่ จีน เวียดนาม โดยปัจจุบันจีนมีภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่ 30% จากการเจรจาพักภาษี 90 วัน ถึง 12 ส.ค.25 และหากไม่สามารถต่ออายุข้อตกลง จะกลับไปใช้อัตราเต็ม 54% และเวียดนามอยู่ที่ 20% ต่ำกว่าไทยที่อาจจะอยู่ที่ 36%

กลุ่มอาหารทะเลและปลาทูน่า ได้แก่ TU เราคาดจะได้รับผลกระทบเช่นกัน จากประเทศคู่แข่งที่มีภาษีนำเข้าต่ำกว่า ภาพรวมการนำเข้าอาหารทะเลปลาทูน่าของสหรัฐฯ ปี 2024 มีมูลค่า 1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากประเทศไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 544 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ 47.3% (ประเทศไทยมีการส่งออกอาหารทะเลปลาทูน่าไปทั่วโลก 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในโลก 24%) การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย 36% ส่งผลให้ไทยเสียเปรียบทางการค้าเทียบกับคู่แข่งอันดับ 2 ประเทศเวียดนามที่มีส่วนแบ่งการตลาด 13% อยู่อันดับ 2 รองจากไทย เสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพียง 20% และประเทศเอกวาดอร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 9% เสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพียง 10% ส่งผลให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯอาจจะลดปริมาณนำเข้าจากไทยหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งมากขึ้น หรืออาจจะมีการต่อรองเจรจาขอลดราคาขายในช่วงแรก และในระยะยาวอาจจะมีการผลักภาระขึ้นราคาให้กับผู้บริโภค

ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบจากการส่งออกไป US มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ AAI, ITC และ TU กระทบมากที่สุด หลังจากนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ส.ค. 25 นี้ โดยประเทศไทยโดนภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่ 36% และอาจจะมีการเจรจาต่อรองยื่นข้อเสนอได้ก่อนเริ่มมีผลบังคับใช้ เราคาดหุ้นที่มีผลกระทบในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มคำนวณจากสัดส่วนการส่งออกไป US มากที่สุดได้แก่ AAI ITC และ TU ทั้ง Pet food และ Human food และอาหารทะเลแช่แข็งปลาทูน่าที่เฉลี่ย 55%, 50% และ 25% ตามลำดับ (TU มีสัดส่วนส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ 18% และจากธุรกิจ Pet food 7%) ในขณะที่หุ้น SAPPE, CHAO และ TVO มีสัดส่วนส่งออกไป US ประมาณ 5-6% และ CPF กับ RBF ผลกระทบทางตรงค่อนข้างจำกัดมีการส่งออกไป US ต่ำกว่า 1%

จากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของรายได้ในสหรัฐฯที่ +/-ทุกๆ 10% ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ จะกระทบต่อกำไรสุทธิ AAI, ITC และ TU กระทบต่อกำไรสุทธิ +/- 5.9%,+/-5.6% และ+/- 2.8% ตามลำดับ และกระทบต่อ SAPPE และ CHAO, +/- 0.5%, และ +/-1.1% ตามลำดับ

 

เราคาดผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จากไทยที่อาจจะเกิดที่ 36% เราคาดจะกระทบต่อธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารทะเลมากที่สุดในกลุ่ม Food ได้แก่ ITC, AAI, TU ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯที่ 55%, 50% และ 25% ตามลำดับ (TU มีสัดส่วนรายได้สหรัฐฯ ส่งออกจากไทย 18% และจากธุรกิจ pet food 7% รวม 25%) และตามด้วยกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มได้แก่ SAPPE, CHAO, TVO, CPF, RBF ที่สัดส่วนรายได้ 6.6%, 6%, 5%, 0.3%, 0.1% ตามลำดับ

จากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของรายได้ในสหรัฐฯที่ +/-ทุกๆ 10% ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ จะกระทบต่อกำไรสุทธิ AAI, ITC และ TU กระทบต่อกำไรสุทธิ +/- 5.9%, +/-5.6% และ +/-2.8% ตามลำดับ และกระทบต่อ SAPPE และ CHAO, +/- 0.5%, และ +/-1.1% ตามลำดับ


กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงจะได้รับผลกระทบจากประเทศคู่แข่งที่มีภาษีนำเข้าต่ำกว่า โดยกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงอาหารสุนัขและแมวส่งออกไปสหรัฐฯมีมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ที่ 38.2% ตามด้วย แคนาดา 20.2%, จีน 8.5%, เวียดนาม 5.3% และเม็กซิโก 4.6% โดยหากพิจารณาเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก (wet pet food) เราคาดจะส่งผลกระทบต่อ ITC, AAI จากประเทศคู่แข่งที่สำคัญของธุรกิจ wet pet food ได้แก่ จีน เวียดนาม โดยปัจจุบันจีนมีภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่ 30% จากการเจรจาพักภาษี 90 วัน ถึง 12 ส.ค.25 และหากไม่สามารถต่ออายุข้อตกลง จะกลับไปใช้อัตราเต็ม 54% และเวียดนามอยู่ที่ 20% ต่ำกว่าไทยที่อาจจะอยู่ที่ 36%


กลุ่มอาหารทะเลและปลาทูน่า ได้แก่ TU เราคาดจะได้รับผลกระทบเช่นกัน จากประเทศคู่แข่งที่มีภาษีนำเข้าต่ำกว่า ภาพรวมการนำเข้าอาหารทะเลปลาทูน่าของสหรัฐฯ ปี 2024 มีมูลค่า 1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากประเทศไทยเป็นอันดับ 1 มูลค่า 544 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ 47.3% (ประเทศไทยมีการส่งออกอาหารทะเลปลาทูน่าไปทั่วโลก 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในโลก 24%)

การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย 36% ส่งผลให้ไทยเสียเปรียบทางการค้าเทียบกับคู่แข่งอันดับ 2 ประเทศเวียดนามที่มีส่วนแบ่งการตลาด 13% อยู่อันดับ 2 รองจากไทย เสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพียง 20% และประเทศเอกวาดอร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 9% เสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เพียง 10% ส่งผลให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯอาจจะลดปริมาณนำเข้าจากไทยหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งมากขึ้น หรืออาจจะมีการต่อรองเจรจาขอลดราคาขายในช่วงแรก และในระยะยาวอาจจะมีการผลักภาระขึ้นราคาให้กับผู้บริโภค


ITC : สัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 50% โดย

1) สินค้าส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากกว่า 80% ดำเนินการภายใต้สัญญา FOB (Free on Board) ลูกค้าของบริษัทต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร ค่าขนส่ง ซึ่ง ITC ไม่ต้องเผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากรโดยตรงสำหรับสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ไปยังสหรัฐอเมริกา

2) สำหรับสินค้าส่งออกที่เหลือ 20% ภายใต้สัญญา DDP (Delivered Duty Paid) บริษัทได้รวมปัจจัยต้นทุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงค่าขนส่งและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภาษีศุลกากรเข้าไว้ในการกำหนดราคาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยได้หารืออย่างต่อเนื่องกับลูกค้า DDP เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภาษีศุลกากร และ หากมีการบังคับใช้ภาษีศุลกากร บริษัทพร้อมที่จะเจรจาเงื่อนไขด้านราคาใหม่กับลูกค้า

โดยหากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่ภาษีนำเข้าสหรัฐฯต่อไทยที่ 36% บริษัทได้มีการคาดรายได้เติบโต 6-8% (โดยอิงจากอัตราแลกเปลี่ยน 33.5 ดอลลาร์สหรัฐ/บาท) คาดอัตรากำไรอยู่ที่ 20-22% และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย 9-10% โดยบริษัทได้มีการคาดอัตราภาษีจ่ายรวม Global minimum tax แล้วอยู่ที่ 4-6%


จากการคำนวณ worst case scenario ของภาษีนำเข้าสหรัฐฯ 36% เป็นเวลา 7 เดือน

คาดรายได้ ITC ปีนี้เติบโต 6-8%, Gross profit margin 20-22%, SG&A to sale 9%, Tax rate 4% กำไรหลักไม่รวมรายการพิเศษจะลดลง 20-30% YoY, โดยหาก SG&A to sale เป็น 10% และทุกอย่างตามคาดการณ์เดิม กำไรจะลดลงราว 25-35% YoY (ปี 2024 ที่กำไรหลักไม่รวมรายการพิเศษ 3,830 ล้านบาท)

 

คงประมาณการเดิม คาดผลประกอบการปีนี้ลดลง จากผลกระทบภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

เราคาด ITC จะมีกำไรสุทธิ 2Q25F ที่ 736 ล้านบาท (-27% YoY, +9% QoQ) จากคาดรายได้ที่ -2% YoY และ +5% QoQ โดยในไตรมาสนี้ demand ความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะกลุ่มประเทศโซนยุโรปที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก เราคาดกำไรสุทธิ 1H25F คิดเป็น 47% ของกำไรที่เราคาดทั้งปี แนวโน้ม 3Q25F บริษัทมีออเดอร์ในมือแล้ว 30-40% ของประมาณการบริษัท แนวโน้มกำไรหลักปี 2025F จากการคำนวณตัวเลขของคาดการณ์บริษัทจะอยู่ลดลงที่ระดับ 20-35% เทียบกับที่เราคาดการณ์กำไรหลักปี 2025F ที่ 2.98 พันล้านบาท (-22% YoY) สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และเราคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ส่งผลให้ต้นทุนของลูกค้าสูงขึ้น ทำให้เราคาดว่า product mix ในส่วน premium จะลดลง และเน้นสินค้า mid-price เพิ่มขึ้น เราคาดอัตราทำกำไรขั้นต้นมีแนวโน้มอาจจะลดลงนอกเหนือจากสัดส่วน product mix ที่คาดเป็น mid-price เพิ่มขึ้น ค่าเสื่อมราคาของโรงงานใหม่สมุทรสาคร ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี คาดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นจากโปรเจกต์เทลวินด์ (Tailwind) ซึ่งมุ่งเน้นที่การเร่งการเติบโตในกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง

ยังคงคำแนะนำ “ขาย” มูลค่าเหมาะสม 12.9 บาท รอดูสถานการณ์ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

จากการคาดการณ์ผลประกอบการปีนี้จะลดลง จากปัจจัยลบหลายด้าน สภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ชัดเจนก่อนวันที่เริ่มการใช้ภาษีนำเข้าสหรัฐฯจริง 1 ส.ค.25 ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของ ITC เรายังคงคำแนะนำ “ขาย” มูลค่าที่เหมาะสมที่ 12.9 บาท อ้างอิง PER Forward-1SD เฉลี่ยที่ 13X คาด Dividend Yield 4.2% สำหรับ สถาณะการเงินแข็งแกร่งเป็นเงินสดสุทธิ (net cash)


TU : สัดส่วนรายได้การส่งออกไปสหรัฐฯ 25% โดยมาจากไทย 17% และธุรกิจ Pet food ประมาณ 7%

บริษัทได้มีการคาดรายได้เพิ่มขึ้น 1-3% (โดยอิงจากอัตราแลกเปลี่ยน 33.5 ดอลลาร์สหรัฐ/บาท) คาดอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 18-19% และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย 13.5-14% โดยบริษัทได้มีการคาดอัตราภาษีจ่าย 12% และ Global minimum tax ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 100-150 ล้านบาท โดยหากภาษีนำเข้าสหรัฐฯต่อไทยอาจจะถึง 36% หรือมากกว่าที่บริษัทคาดไว้ 10% ทำให้เราคาดว่าบริษัทจะมีการปรับประมาณการใหม่อีกครั้งหลังจากการประกาศใช้ภาษีสหรัฐฯนำเข้า 1 ส.ค.25


คาดกำไรสุทธิ 2Q25F ลดลงเล็กน้อย YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ

เราคาดกำไรสุทธิ 2Q25F อยู่ที่ 1,173 ล้านบาท (-4%YoY, +15%QoQ) โดยเราคาดรายได้รวมลดลงเล็กน้อย YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ จากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป (Ambient seafood) เพิ่มขึ้น ในกลุ่มยุโรป สหรัฐฯ และประเทศไทยเพิ่มขึ้น ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งคาดรายได้ลดลง YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ และกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงลดลงเล็กน้อย YoY จากผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่า แต่เพิ่มขึ้น QoQ จากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นในยุโรปและสหรัฐฯ คาดอัตรามาร์จิ้น 2Q25F เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 19% จากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนวัตถุดิบราคาปลาทูน่าที่ลดลงเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย 14% เพิ่มขึ้น YoY จากค่าใช้จ่าย transformation ที่เพิ่มขึ้น และค่าทำการตลาดสินค้าใหม่ และค่าขนส่งทางเรือที่ลดลง แต่ลดลง QoQ เนื่องจาก 1Q25 มีสัดส่วนรายได้ค่อนข้างต่ำ

คงประมาณการเดิม คาดผลประกอบการปีนี้ลดลงจากผลกระทบภาษีนำเข้าสหรัฐฯและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และคาดผลประกอบการจะเริ่มดีขึ้นปีหน้า

เราคาดกำไรก่อนรายการพิเศษ 1H25F ลดลง 12% YoY และคิดเป็น 48% ของกำไรทั้งปี เรายังคงประมาณการเดิม คาดกำไรปี 2025F อยู่ที่ 4.4 พันล้านบาท (-12% YoY) จากผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลต่อ demand ที่ลดลง รวมถึงแนวโน้มปัจจัยลบจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ คาดกำไรสุทธิปี 2026F จะกลับมาเพิ่มขึ้น 16%YoY จากสถานการณ์การต่างๆเริ่มปรับตัว คาดอัตราทำกำไรขั้นต้นลดลงจากราคาปลาทูน่าที่คาดที่ 1,600 US$/tons เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 11% สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคาดเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดและค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้น (บริษัทมีการขายสินค้าเป็น FOB ส่วนใหญ่ และบางธุรกิจเป็น CIF คิดเป็น 3% ของค่าใช้จ่ายรวม) และการทำการตลาดเพิ่มขึ้น และคาดอัตราภาษีจ่ายที่ 12%

เราคงคำแนะนำ “ถือ” แนวโน้มผลประกอบการที่เราคาดจะลดลงจากผลกระทบของภาพรวมเศรษฐกิจที่สะดุดจากนโยบายภาษีนำเข้าสหรัฐฯที่กระทบทั่วโลก รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 11.3 บาท อ้างอิง historical PE forward ย้อนหลัง 5 ปี -1SD ที่ 12X โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี PER25F ที่ 10.4X, PBV25F 0.9X และคาด Dividend Yield 25F ที่ 5.3% ความเสี่ยง : ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว, ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบ, การขาดแคลนเรือนขนส่ง

 


AAI : ทรัมป์ประกาศภาษีนำเข้าสหรัฐฯต่อไทย 36% อาจจะมีการต่อรองเจรจาได้ถึงสิ้นเดือนก่อนที่จะเริ่มการใช้ 1 ส.ค.25 นี้ โดย AAI มีสัดส่วนรายได้การส่งออกไปสหรัฐฯ 55% จากการสอบถามบริษัทถึงผลกระทบดังกล่าว บริษัทคาดว่าต้องรอความชัดเจนในการต่อรองเจรจาอีกครั้งก่อน 1 ส.ค.25 แต่จากการประกาศ 36% มากกว่าที่บริษัทคาดไว้ก่อนหน้านี้น่าจะอยู่ที่ 15-20% โดยบริษัทจะมีการวางแผนกับลูกค้าในเชิงปริมาณการผลิต การช่วยบรรเทาภาระภาษีนำเข้าสหรัฐฯกับคู่ค้าบางส่วนจากการปรับลดราคา การปรับผลิตภัณฑ์การออกสินค้าใหม่ที่มีต้นทุนต่ำลง เป็นต้น สำหรับในช่วงเวลาที่เหลือถึงสิ้นเดือนนี้ บริษัทไม่คิดว่าจะมีเร่งออเดอร์ก่อนภาษีจะเกิดได้ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการผลิตและส่งออก 2 เดือน สำหรับข้อดีของบริษัทจากที่ลูกค้า OEM ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ใหญ่ทำให้บริษัทเชื่อว่าลูกค้าจะสามารถผลักภาระต้นทุนบางส่วนในการขึ้นราคาสินค้าให้กับผู้บริโภคได้

บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปี 2025F (ยังไม่รวมผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯต่อไทย) คาดเติบโต 11.4% YoY คาดอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 18-20% โดยหากภาษีนำเข้าสหรัฐฯต่อไทยอาจจะถึง 36% บริษัทมีแนวโน้มปรับประมาณการลงหลังประกาศงบไตรมาส 2 ซึ่งมีความชัดเจนเรื่องภาษีนำเข้าสหรัฐฯแล้ว

 

คาดกำไร 2Q25F ลดลง จากอัตราทำกำไรที่ลดลงจากผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่า

เราคาด AAI จะมีกำไรสุทธิ 2Q25F ที่ 229 ล้านบาท (-23% YoY, -11% QoQ) โดย คาดธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (สัดส่วนรายได้ 87%) ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น YoY แต่ทรงตัว QoQ จากกลุ่มประเทศสหรัฐฯและยุโรปที่ทรงตัวและรอดูท่าทีภาษีนำเข้าสหรัฐฯ แต่ราคาขายเฉลี่ยลดลงจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า ธุรกิจ Human Food (สัดส่วนรายได้ 12%) เพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลง QoQ ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับเงินบาท และ คาดอัตรามาร์จิ้นลดลง YoY และ QoQ จากผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ต้นทุนปลาทูน่า 2Q25F อยู่ที่ประมาณ 1,537US/ton เพิ่มขึ้นราว 4% YoY แต่ลดลงคาด 7% QoQ โดยเดือน มิ.ย.25 เริ่มเพิ่มขึ้น 100$ เทียบกับ พ.ค.ที่ 1,480 US$/ton จากปริมาณการจับปลาที่ลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง YoY และใกล้เคียง QoQ จากการควบคุมค่าใช้จ่าย

ยังคงคาดกำไรสุทธิปี 2025F จะลดลงจากผลกระทบของความไม่แน่นอนด้านภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สำหรับแนวโน้มผลประกอบการครึ่งปีหลังคาดว่าจะอ่อนตัวกว่าครึ่งปีแรก จากแผนการพัฒนาและออกสินค้าใหม่มีการชะลอเพื่อรอปรับแผนรองรับต้นทุนภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ขณะที่ต้นทุนค่าขนส่งทางเรืออาจเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ลูกค้าเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง ด้านอัตรากำไรขั้นต้นคาดว่าจะลดลงจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่า เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025F-2026F ที่ 860 ล้านบาท (-14% YoY) และ 894 ล้านบาท (+4% YoY)

เรายังคงคำแนะนำ “ขาย” ราคาเป้าหมายที่ 4.00 บาท อ้างอิง PER -1SD ที่ 10X เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของผลประกอบการยังต่ำกว่าปีก่อน จาก demand สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงแบบพรีเมียมที่ชะลอตัวทั่วโลก และผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ แม้บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง (Net Cash) และคาดว่าเงินปันผลจะอยู่ที่ Dividend Yield 4.6% ความเสี่ยงสำคัญยังคงเป็นรายได้ที่อาจต่ำกว่าคาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ไม่ผ่อนผัน By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นข่าว ประธานาธิบดีสหรัฐ ทรัมป์ แจ้งว่า จดหมายแจ้งถึงแต่ละประเทศคู่ค้าจะถูกทยอยส่งออกไป...

มัลติมีเดีย

CRD ครึ่งปีหลัง68 เร่งเครื่องสร้างผลงาน ชูBacklog กว่า700 ลบ. #งานmaiforum2025

CRD ครึ่งปีหลัง68 เร่งเครื่องสร้างผลงาน ชูBacklog กว่า700 ลบ. #งานmaiforum2025

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้