Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

143


ภาพตลาดและแนวโน้ม


พื้นฐานระยะกลางเวียดนามยังแข็งแกร่งอยู่ในเส้นทาง Rising star ของอาเซียน


เวียดนามเป็นเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างเติบโตต่อเนื่อง สะท้อนจาก GDP ไตรมาส 1/2025 ที่ขยายตัวได้ 6.9% YoY สูงสุดในอาเซียน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สุทธิที่ยังไหลเข้าต่อเนื่อง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.8% YoY แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเป็น supply chain hub ใหม่ของภูมิภาค ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ก็เติบโตดีต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขในเดือนเมษายนที่ขยายตัวกว่า 15.4% YoY (ต่างจากไทยที่อยู่ในโซนหดตัว)
นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของเวียดนามก็ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2025 ทะลุเกินกว่าช่วงเวลาเดียวกันก่อนโควิดแล้ว แรงหนุนสำคัญมาจากนักท่องเที่ยวจีนที่เติบโตถึง 47.2% ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับหดตัวกว่า 32.7% ส่งผลให้เวียดนามมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสูงกว่าไทยเป็นครั้งแรก
สำหรับอัตราเงินเฟ้อก็ยังควบคุมได้ โดยช่วง 5 เดือนแรกมีค่าเฉลี่ย 3.2% ต่ำกว่ากรอบบนของอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 4.5% ส่งผลให้ธนาคารกลางยังมี policy space ในการสนับสนุนเศรษฐกิจ


แต่ระยะสั้นเศรษฐกิจเวียดนามกำลังเข้าสู่ช่วง Stress test จาก Shock ภายนอก


เดือนกรกฎาคมเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมาตรการผ่อนปรนภาษีสหรัฐฯ จะหมดอายุ ซึ่งอาจกดดันภาคการส่งออกเวียดนามซึ่งมีน้ำหนักต่อ GDP สูงมากราว 85%-90% ของ Nominal GDP โดยตลาดกำลังจับตาการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ขณะที่แรงหนุนจากการเร่งส่งออก (Front-loaded) ที่เคยมี ก็มีแนวโน้มชะลอลง
ส่วน Sentiment ตลาดหุ้นก็อาจเผชิญ Technical pressure จากการที่ตลาดมีสัดส่วนรายย่อยสูง จึงทำให้เสี่ยงผันผวนแรงหากมี Sentiment เชิงลบ


Tactical: รอจังหวะ — ระยะสั้น Neutral-to-Cautious แต่ Story กลางยังมองดี


เดือนกรกฎาคมนี้จึงยังไม่ใช่จุดไล่ซื้อ เพราะตลาดอาจพักฐานระยะสั้นหาก Export momentum อ่อนตัว แต่ Core story ระยะกลางจากพื้นฐานเศรษฐกิจไม่เปลี่ยน โดยธีมของประเทศยังอยู่ในลักษณะ FDI-Private credit-growth เป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจอยู่ ในจังหวะ Pullback ให้นักลงทุนเตรียม Re-enter เมื่อความไม่แน่นอนทางการค้าคลี่คลาย

 


สรุปภาพตลาดวานนี้

บ่ายวานนี้ บวกสวนอารมณ์ประเด็นการเมือง แม้จะมีคำตัดสินนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีแรงซื้อเข้ามา (อาจจะเพราะกังวลชุมนุมลดลง) ทำให้ดัชนีบวกแรงราว 20 จุดช่วงบ่าย แต่พอดูหุ้นบวกพบเป็น DELTA นำมาเกือบครึ่ง และทำให้หุ้นใหญ่หลายๆ ตัวก็บวกด้วย PTT GULF ADVANC AOT MINT TRUE เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
ลดช่วงบวกลง แต่ยังไปต่อ
หลังจากที่เมื่อวาน หุ้นไทย พักเพื่อรอดูเหตุการณ์การเมือง แล้ว รีบาวด์ ตามที่คาด (แต่การรีบาวด์ ยังติดด่าน ตามที่เราระบุในรายงาน กลยุทธ์ประจำสัปดาห์)
เราคงคาด เมื่อปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ มีความชัดเจน เราคาดว่า นลท.คงกลับมาโฟกัสเรื่อง งบการเงิน บจ.สิ้นสุดไตรมาส 2 (ต่อด้วยเรื่องปันผลระหว่างกาล) ที่จะเป็นตัวช่วย จำกัดความเสี่ยงด้านล่างของตลาดหุ้นไทย หรืออาจซ้ำเติม ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับ ผลการดำเนินงาน ของแต่ละบริษัทฯ แต่เราคาดว่าจะได้เรื่อง ปันผลสูงช่วยค้ำราคาหุ้นรายกลุ่ม
โดยกลุ่มเด่นในแง่ของผลตอบแทนเงินปันผลสูง และแนวโน้มงบ 2Q25 ดี ได้แก่ หุ้นกลุ่ม ปตท. หุ้นกลุ่มเครือซีเมนต์ไทย อิงหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นรายตัวที่ปรับมุมมองขึ้นแล้ว มี ITC CBG เป็นต้น

และหุ้นที่เราคาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเห็นงบแย่กว่าคาด ได้แก่ ธนาคาร ไฟแนนซ์ ค้าปลีก ค้าวัสดุ สื่อสาร อสังหาฯ อิงตามรายงานพื้นฐานที่ BLS Research มีการทยอยปรับลดคำแนะนำ และคาดการณ์กำไรในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่มีการปรับลดคาดการณ์กำไร และคำแนะนำ หากงบที่ออกมาสร้างความผิดหวังให้กับตลาด อาจเสี่ยงเผชิญแรงขายทำกำไรเช่น กลุ่มหมู ไก่ หุ้นส่งออก, กลุ่มท่องเที่ยว แนะนำติดตาม Preview งบอีกครั้งในช่วงหลางเดือน ก.ค.นี้ เป็นต้นไป

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ ถือหุ้นปันผล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
สถานการณ์มีโอกาสกลับข้าง ภายหลังจาก SET ดีดตัวขึ้นมาปิดเหนือเส้น EMA ระยะสั้น 5 วัน ขณะที่โมเมนตัม RSI recovery ขึ้นจากเขต oversold หากทะลุ level > 50 (ปัจจุบันอยู่ที่ 46.7) บ่งชี้ภาวะความแข็งแกร่งด้านราคา สถิติจะเป็นเครื่องมือหนุนสัญญาณกลับทิศของตลาดให้มีน้ำหนักมากขึ้น จับตาจุดวัดใจเส้นเขียวด้านบน (EMA 25 วัน) ที่ 1,120 จุด ดัชนีไม่เคยผ่าน โดยเทรดใต้เส้นนี้มาตลอดในช่วง 1 เดือน อย่างไรก็ตามหากย้อนกลับไปช่วงเดือนเม.ย. ตลาดร่วงเพราะตกใจกับเรื่อง Trade war หลังจากผ่านช่วงแย่มาได้ ดัชนีเริ่มทำทรงฟื้นตัวกลับขึ้นไปทะลุเส้น EMA “รีบาวด์ช๊อตใหญ่” ณ.ปัจจุบันโครงสร้างก็เริ่มคล้ายกัน!

 

 


What to watch
ญี่ปุ่นยังไม่ได้ข้อสรุป เจรจาการค้าสหรัฐฯ ล่าสุด ปธน ทรัมป์ ขู่ญี่ปุ่นให้รอรับ จม.แจ้งอัตราภาษี รวมถึงประเทศอื่นที่ยังไม่ยอมทำข้อตกลง อาจโดนภาษีตั้งแต่ 10 ไปถึง 50%
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องกรณีคลิปเสียง นายกสนทนากับสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา และมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกเตรียมยื่นคำชี้แจงภายใน 15 วันตามที่ศาลกำหนด
รัฐบาลไทยสานต่องานเจรจาการค้าสหรัฐฯ ส่งตัวแทนเข้าประชุมหาข้อสรุปแล้ว 3 ก.ค.นี้ ซึ่งไทยได้ยื่นข้อเสนอไปยังสหรัฐฯและได้รับการตอบรับที่ดีในทุกครั้งที่มีการหารือ
เกณฑ์ Capped weight หุ้น เริ่มวันนี้ กำหนดหุ้นใหญ่ถ่วงน้ำหนักในดัชนี SET50 ได้ไม่เกิน 10% ซึ่ง DELTA เกินอยู่ที่ 13%

หุ้นแนะนำวันนี้
TOP แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2 เติบโตดี และปันผลสูง
แนวรับ 27 ต้าน 29 Stop loss 26

 

 

 

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

Wealth Insight

เศรษฐกิจเวียดนาม: เติบโตแข็งแกร่ง ท่ามกลางแรงกดดัน
พื้นฐานระยะกลางเวียดนามยังแข็งแกร่งอยู่ในเส้นทาง Rising star ของอาเซียน โดยเวียดนามเป็นเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างเติบโตต่อเนื่อง สะท้อนจาก GDP ไตรมาส 1/2025 ที่ขยายตัวได้ 6.9% YoY สูงสุดในอาเซียน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สุทธิที่ยัง ไหลเข้าต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1/2025 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.8% YoY แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเป็น supply chain hub ใหม่ของภูมิภาค ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ก็เติบโตดีต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขในเดือนเมษายนที่ขยายตัวกว่า 15.4% YoY (ต่างจากไทยที่อยู่ในโซนหดตัว)

นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวก็ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2025 ทะลุเกินกว่าก่อนโควิดแล้ว แรงหนุนสำคัญมาจากนักท่องเที่ยวจีนที่เติบโตถึง 47.2% (สวนทางจีนมาไทยกลับหดตัวกว่า 32.7%) ส่งผลให้เวียดนามมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสูงกว่าไทยเป็นครั้งแรก

สำหรับอัตราเงินเฟ้อก็ยังควบคุมได้ โดยช่วง 5 เดือนแรกมีค่าเฉลี่ย 3.2% ต่ำกว่ากรอบบนของอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 4.5% ส่งผลให้ธนาคารกลางยังมี policy space ในการสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่ระยะสั้นเศรษฐกิจเวียดนามกำลังเข้าสู่ช่วง Stress test จากปัจจัยภายนอก

ดังนั้น เดือนกรกฎาคมเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมาตรการผ่อนปรนภาษีสหรัฐฯ จะหมดอายุ ซึ่งอาจกดดันภาคการส่งออกเวียดนามซึ่งมีน้ำหนักต่อ GDP สูงมากราว 85%-90% ของ Nominal GDP โดยตลาดกำลังจับตาการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ขณะที่แรงหนุนจากการเร่งส่งออก (Front-loaded) ที่เคยมี ก็มีแนวโน้มชะลอลง

ส่วน Sentiment ตลาดหุ้นก็อาจเผชิญ Technical pressure จากการที่ตลาดมีสัดส่วนรายย่อยสูง จึงทำให้เสี่ยงผันผวนแรงหากมี Sentiment เชิงลบ
ในมุมมองกลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำให้ “รอจังหวะ” ในระยะสั้น (แต่ Story ระยะกลางยังมองดี) ดังนั้น ในเดือนนี้ จึงยังไม่ใช่จุดไล่ซื้อ เพราะตลาดอาจพักฐานระยะสั้นหาก momentum ส่งออกอ่อนตัว

สำหรับการลงทุนกลาง-ยาวประเด็นหลัก (Core story) พื้นฐานเศรษฐกิจคาดไม่เปลี่ยน โดยธีมของประเทศยังอยู่ในการเติบโตภาคเอกชนลักษณะ FDI-Private credit-growth เป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจอยู่ จึงให้นักลงทุนรอ Re-enter เมื่อประเด็นความไม่แน่นอนทางการค้าคลี่คลาย

TU
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป
คาดกำไร 2Q25 ดีขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ต้องไล่ซื้อหุ้น
เราคาดกำไรหลัก 2Q25 ที่ 1.11 พันลบ. (ดีกว่าคาดเดิมที่ 1.0 พันลบ.) แต่เกิดจากรายได้อื่นๆ ดีกว่าเดิม และอัตราภาษีเฉลี่ย (effective tax) น้อยกว่าเดิม
ในส่วนกิจกรรมหลัก ปริมาณขาย (Volume) อาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็ง +1–2% YoY ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง (pet food) ที่ +13–15% YoY และก็ไม่มีสัญญาณ front-loading แม้มีภาษีนำเข้า 10% จากสหรัฐฯ ส่วน GM คาดอยู่ที่ 19.0% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากทั้ง YoY และ QoQ จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง แต่ SG&A/sales ยังอยู่สูง 14% จากค่าใช้จ่ายการตลาด ที่หวังเพิ่ม market share ในสหรัฐและยุโรป รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่าย Transformation ที่สูงอยู่ ส่วนใน 3Q25 เราคาดกำไรดีขึ้น QoQ จาก FX ที่ผันผวนลดลง และต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง แต่ก็ยังลดลง YoY จากฐานสูง

ดังนั้น ภาพรวมเรามองว่า 2Q25 เป็นการเติบโตของ “ธุรกิจตามปกติ” ไม่ใช่ช่วงเติบโตชัดเจน และในกลุ่ม TU-ITC ก็ชัดว่ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็งเติบโตต่ำ และรองรับต่อความผันผวน FX และ Trade war ได้น้อย ขณะที่ อาหารสัตว์เลี้ยง (แยกเป็น ITC ออกมา) กลับแกร่ง และมี GM สูงกว่า เป็นตัวยันกำไร

Fundamental view: เราแนะนำ Switching ไป “ซื้อ” ITC (อัปเกรดไปเมื่อ 30 มิ.ย.) ที่เติบโตดีกว่า คุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า และแนวโน้มกำไรชัดเจนกว่า ขณะที่ PER ใกล้เคียงกัน (TU = 12.4x vs. ITC 12.6x)

 


BCH
บางกอก เชน ฮอสปิทอล
ร่วมหาคำตอบว่าอะไร หุ้น BCH จะกลับมาเล่นได้จากอะไร?
หลังจากทางประกันสังคมได้มีการเปลี่ยนการจ่ายเงินส่วนของผ่าตัดโรคกระเพาะ ทำให้ทางประกันสังคมมี งบประมาณเพียงพอต่อการปรับการจ่ายเงินโรคยากเป็น 12,000 บาท/Adj.RW และทำให้เพียงพอต่อการจ่ายส่วนที่เหลือของปีนี้ (2025) แต่ประเด็นต่อไปอยู่ที่ว่า ปี แล้วสำหรับภาพปีหน้า (2026) แนวโน้มงบประมาณส่วนนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
ในงาน BLS Thai corporate day รอบกลางปีนี้ เราได้เชิญ ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ (CEO ของ BCH) มาร่วมบรรยายให้ข้อมูลในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ค.) ซึ่งนอกจากประเด็นดังกล่าว เราคาดว่าจะยังมีให้ข้อมูลแนวโน้มธุรกิจของ BCH เพิ่มเติม โดยเฉพาะแผนการเปิดโรงพยาบาลใหม่ รวมถึงแผนการปรับปรุงโรงพยาบาล และที่สำคัญแนวโน้มผลประกอบการ 2Q25 ก่อนใคร หลังเพิ่งปิดไตรมาสไป

 

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

Bank


แบงก์ชาติขยายมาตรการ คุณสู้ เราช่วย เฟส 2
แบงก์ชาติขยายการครอบคลุมลูกหนี้มากขึ้น เช่น 1) ขยายให้ลูกหนี้ที่ค้างชำระ 1-30 วัน หรือ ค้างชำระเกิน 365 วัน ซึ่งต้องผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยต้องมีสถานะก่อนวันที่ 31 ต.ค. 24 2) ขยายวงเงินในกลุ่มจ่ายปิดจบให้สูงขึ้น และ 3) ให้ลูกหนี้ NPL วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาท ผ่อนในอัตรา 2% /เดือน ของเงินต้น โดยพักดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี

View from fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลาง โดยเราประเมินว่าลูกค้าบางส่วนจะกลับมาจ่ายค่างวดได้ ทำให้ธนาคารจะมีความคล่องตัวในการตั้งสำรองหนี้ฯ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยชดเชยผลกระทบจากรายได้ดอกเบี้ยที่จะลดลง

 


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

กองหนุน By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วานนี้ เห็นพลังกองทุน ซื้อคนเดียว แบกของ วันนี้เชื่อว่า กองทุน กองหนุน คงทำหน้าที่ต่อเนื่อง..

มัลติมีเดีย

รู้จักพร้อมเปิดพื้นฐาน NUT ก่อนเทรด 11 มิ.ย.- สายตรงอินไซด์ - 9 มิ.ย.68

รู้จักพร้อมเปิดพื้นฐาน NUT ก่อนเทรด 11 มิ.ย.- สายตรงอินไซด์ - 9 มิ.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้