Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

Krungthai COMPASS ส่งออกเดือน เม.ย. 2568 ขยายตัว 10.2%YoY คาดการกลับมาขึ้น Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯจะกดดันส่งออกไทยในช่วง 2H68

106

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (27 พฤษภาคม 2568 )-------Key Highlights :
•    มูลค่าส่งออกเดือน เม.ย. เติบโต 10.2%YoY ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ 17.8%YoY โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สวนทางกับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่การส่งออกไปตลาดหลักต่างขยายตัว ด้านการนำเข้าเร่งตัวสูงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 16.1%YoY ทำให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุลที่ -3,321.3 ล้านดอลลาร์ฯ

•    แม้การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 68 เติบโต 14.0%YoY แต่การส่งออกไทยช่วง 2H68 ที่ระยะพักการขึ้น Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ หมดลง ผลกระทบต่อไทยจะชัดขึ้น ทั้งผลทางตรงจากอัตราภาษี ซึ่งยังมีความเสี่ยงที่จะสูงกว่า Universal Tariff 10% ผลจากส่วนต่างภาษี หากไทยถูกเก็บในอัตราสูงกว่าประเทศส่งออกอื่น และผลทางอ้อมจากการค้าโลกที่แย่ลง เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อ่อนแรง รวมถึงการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน


มูลค่าส่งออกเดือนเมษายน 2568 ขยายตัว 10.2%YoY

มูลค่าส่งออกเดือน เม.ย. อยู่ที่ 25,625.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 10.2%YoY ชะลอลงจาก 17.8%YoY เมื่อเดือนก่อน โดยการส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเติบโตต่อเนื่อง สวนทางกับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร สำหรับการส่งออกทองคำในเดือนนี้ขยายตัวสูงที่ 250.5%YoY ทำให้เมื่อหักทองคำแล้วมูลค่าส่งออกเดือนนี้เติบโตที่ 7.2%YoY ทั้งนี้การส่งออกสี่เดือนแรกของปี 2568 ขยายตัว 14.0%YoY โดยมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจาก

•       การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเติบโต 16.6%YoY  ชะลอตัวจาก 23.5%YoY ในเดือนก่อน โดยสินค้าสำคัญที่เติบโต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+75.1%) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) (+42.1%) แผงวงจรไฟฟ้า (+39.0%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+15.9%) เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (-33.1%) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-7.6%) ที่กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า เป็นต้น

•    การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -8.4%YoY ติดลบต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ -3.1%YoY โดยสินค้าเกษตรหดตัว -19.6%YoY หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ -0.5%YoY และต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัว 9.1%YoY สวนทางกับเดือนก่อนที่หดตัว -5.7%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัวสูงในเดือนนี้ ได้แก่ ข้าว (-44.1%) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (-38.5%) และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (-5.8%) เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำตาลทราย (+36.0%) ยางพารา (+22.5%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (+24.6%) ผลไม้กระป๋อง และแปรรูป (+21.9%) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+17.1%) เป็นต้น


การส่งออกรายตลาดสำคัญ ส่วนใหญ่ยังขยายตัวจากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสำคัญ


•    สหรัฐฯ: ขยายตัว 23.8%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ  เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น    ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง

•    จีน: ขยายตัว 3.2%YoY เติบโตต่อเนื่อง  เป็นเดือนที่ 7 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้านสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นต้น

•    ญี่ปุ่น: ขยายตัว 5.5%YoY เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยางพารา และ  อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น

•    EU27: ขยายตัว 6.1%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น   ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น

•    ASEAN-5: ขยายตัว 7.8%YoY เติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณี   และเครื่องประดับ น้ำตาลทราย เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น

•    มูลค่าการนำเข้าเดือน เม.ย. อยู่ที่ 28,946.4 ล้านดอลลาร์ฯ เติบโต 16.1%YoY เร่งขึ้นจาก 10.2%YoY เมื่อเดือนก่อน การนำเข้าสินค้าหลายหมวดขยายตัว ทั้งสินค้าทุน (+27.5%YoY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+17.4%YoY) สินค้าอุปโภคบริโภค(+11.9%YoY) และสินค้าเชื้อเพลิง (+1.7%YoY) ขณะที่การนำเข้าสินค้ายานพาหนะฯ หดตัว (-0.6%YoY) ทั้งนี้ ดุลการค้าเดือน เม.ย. ขาดดุล -3,321.3 ล้านดอลลาร์ฯ

Implication:
•    แม้การส่งออกเดือน เม.ย. 68 จะขยายตัว  หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง สะท้อนปัจจัยบวกจากการเร่งนำเข้าเริ่มแผ่วลง โดยมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัว 10.2%YoY ในเดือนนี้ ถือเป็นการเติบโตที่ช้าลงเป็นครั้งแรกใน 5 เดือน และหากเทียบมูลค่ารายเดือนแล้วจะหดตัว 13.3%MoM ติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 68 บ่งชี้ถึงการเร่งนำเข้าของประเทศคู่ค้าก่อนหมดระยะพักการขึ้น Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ อ่อนแรงลง

•    ตัวเลขล่าสุดเริ่มสะท้อนว่าการเร่งส่งออกของชาติเอเชียเริ่มมีสัญญาณลบ โดยตัวเลขส่งออกของเกาหลีใต้ 20 วันแรก ในเดือน พ.ค. 68 หดตัว-2.4%YoY ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียหดตัวชัดเจน สะท้อนจาก Manu-facturing PMI เดือน เม.ย.68 ที่อ่อนแรง โดยส่วนใหญ่หดตัวลง

•    จับตาผลการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งมีผลสำคัญต่อการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า ล่าสุดในเดือน พ.ค. จีนและสหรัฐฯ ได้เจรจาทางการค้า   และบรรลุเงื่อนไขที่สหรัฐฯ ลดภาษีศุลกากรตอบโต้กับจีนลงเหลือ 30% จาก 145% เป็นเวลา 90 วัน (สิ้นสุดเดือน ส.ค. 68) ขณะที่ไทยเฝ้ารอเข้าเจรจากับสหรัฐฯ ซึ่งหากไทยเจรจาประสบผลสำเร็จและอัตราภาษีใหม่ต่ำกว่า 36%  จะช่วยลดความเสี่ยงที่สินค้าจีนจะแทนที่การส่งออกไทย เนื่องจากอัตราภาษีที่จีนถูกเก็บในตอนนี้    ต่ำกว่าที่ไทยจะถูกเก็บในเดือน ก.ค.68

•    Krungthai COMPASS คาดการส่งออกไทยช่วง 2H68 ที่ระยะพักการขึ้น Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ หมดลง ผลกระทบต่อไทยจะชัดขึ้น ทั้งผลทางตรงจากอัตราภาษี ซึ่งยังมีความเสี่ยงที่จะสูงกว่า Universal Tariff 10% ผลจากส่วนต่างภาษี หากไทยถูกเก็บในอัตราสูงกว่าประเทศส่งออกอื่น และผลทางอ้อมจากการค้าโลกที่แย่ลง เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอ่อนแรง รวมถึงการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

ขอให้เขียว By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ จุดธูป เทียน ดอกดาวเรือง กราบไหว้เทพหุ้น ทั้ง 4 ทิศ ขอให้ตลาดหุ้นไทย บ่ายวันนี้ ยืนเขียว ....

PTG ชู Non-Oil โตเด่นผ่านฐานสมาชิก PT Max Card และ PT Max Card Plus

PTG ชู Non-Oil โตเด่นผ่านฐานสมาชิก PT Max Card และ PT Max Card Plus

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้