Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.ลิเบอเรเตอร์ : PIS แนะนำ BUY ราคาเป้าหมาย 5.10 บาท

70

 

 


Equality for All
PIS : บมจ.โปร อินไซด์

สรุป SET Opportunity Day : PIS รายงานกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 72 ลบ. +102.9% q-q +198.7% y-y ดังนี้

สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร มีแนวโน้มปรับตัวลง q-q ต่อเนื่องตามลำดับ จาก 14.4% ต่อยอดขายใน 1Q24 เหลือ 7.4% ใน 1Q25 จากผลการประหยัดต่อขนาด โดย 1Q25 SG&A เพิ่มขึ้นเพียง +26.2% y-y ขณะที่รายได้ขยายตัวแรง +145.5% y-y จากการรับงานขนาดใหญ่ภาครัฐต่อเนื่อง

Effective tax rate ลงมาเหลือ 9.8% จาก 22.0% ใน 1Q24 เกิดจากการใช้สิทธิประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจนหมด และ Effective tax rate ใน 2Q25 จะกลับสู่อัตราปกติ

Backlog แน่น 5,560 ลบ. ผบห. เผยจะรับรู้ปีนี้ราว 40% และจะมีงานภาครัฐที่รอประมูลใน 2Q-3Q25 อีกราว 4,000 ลบ. โดย PIS ตั้งทีมสำหรับงาน ERP ขึ้นมาโดยเฉพาะขนาดราว 30 คน เพื่อลุยสายงานใหม่ รวมถึงสนใจงานวางระบบ Cloud ตามนโยบาย Cloud first ของรัฐบาลที่คาดจะมีงานด้านนี้อีกมาก
แนวโน้มปี 2025 ผบห. ตั้งเป้ารายได้ 3,800 ลบ. ขยายตัว +158.4% y-y จากงานโครงการภาครัฐต่างๆ รวมถึงการขยายฐานลูกค้าภาคเอกชน โดยปี 2024 PIS มีสัดส่วนรายได้จากภาคเอกชน 6.1% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 0.1%

ปรับประมาณการเพิ่ม : เราปรับปรุงสมมติรายได้เพิ่มจากบทวิเคราะห์ก่อนหน้า(Pre-IPO) 65.3% เป็น 2,790 ลบ. จาก Backlog ที่หนาแน่นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยรายได้ 1Q25 คิดเป็น 22.5% ของประมาณการ หากผลประกอบการใน 2Q-3Q25 ขยายตัว q-q ต่อเนื่องอาจมีการทบทวนประมาณการอีกครั้ง

 


สำหรับโครงการเด่นที่ PIS ดำเนินการ เช่น
โครงการ USO NE3 Zone ร่วมกับ ICN โดยมี กสท. เป็นเจ้าของโครงการ มูลค่างานของ PIS ราว 1.1 พัน ลบ.
งานระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพแบบครบวงจร สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงราย ภูเก็ต โดยมี AOT เป็นเจ้าของโครงการ
โครงการพัฒนาระบบนิเวศศูนย์ดิจิตอลชุมชนฯ 1,722 แห่ง (ONDE DGTCENT)
โครงการระบบ Cloud กลางด้านสาธารณสุข ร่วมกับ SKY มูลค่า 1.1 พัน ลบ.

 

โครงสร้างรายได้ : ในปี 2023 งานส่วนใหญ่ 99.9% จะเป็นงานโครงการภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นการรับตรงจากเข้าของโครงการ 86.1% ที่เหลืออีก 13.7% จะรับช่วงจากบริษัทคู่สัญญา ดังนั้นการมีสัดส่วนงานภาครัฐในจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นการรับตรงจากเจ้าของงาน ทำให้แหล่งรายได้จึงมั่นคง ค่อนข้างตรงเวลา และเชื่อถือได้ โดยโครงสร้างรายได้แบ่งตามประเภทงาน มี 3 ประเภท ดังนี้

 

1. จำหน่ายและวางระบบแบบเบ็ดเสร็จ หรือ IT Solution (สัดส่วน 70.0% ของรายได้รวมปี 2023) ประกอบด้วย
งานระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Security Solution) สัดส่วน 52.6% ซึ่งจะเป็นการให้คำปรึกษา ออกแบบ พัฒนาและติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด, ระบบ Access control เข้าออกอาคาร, ระบบอ่านแผ่นป้ายทะเบียน, ระบบตรวจจับเปรียบเทียบใบหน้า, ระบบตรวจจับวัตถุ
งาน ICT Application solution สัดส่วน 37.1% ซึ่งหลังจากการติดตั้งระบบแล้ว PIS ต่อยอดด้วยการนำเอา Data Analytic มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้าง model ให้ลูกค้านำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย

-งาน IT Integration Service สัดส่วน 10.2% ทำระบบเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi ระบบจัดเก็บข้อมูล Cloud


2.งานให้บริการด้านเทคโนโลยี (สัดส่วน 29.9% ของรายได้รวมในปี 2023) ได้แก่งานให้เช่าอุปกรณ์ งานให้บริการเป็นที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการเป็นต้น เหล่านี้มักเป็นงานต่อเนื่องจากข้อ 1 เพื่อช่วยสนับสนุนให้ระบบการทำงานดำเนินไปได้อย่างราบรื่นในระยะยาว ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญา 3-5 ปี ซึ่งจะสร้างรายได้สม่ำเสมอ (Recurring income) แก่ PIS

3.งานจำหน่ายอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ (สัดส่วนน้อย 0.04%)

จะเห็นได้ว่าแหล่งรายได้ของ PIS คือ งานจากภาครัฐซึ่งมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระที่ต่ำ ขณะที่งานวางระบบเบ็ดเสร็จ(IT Solutions) จะมีบทบาทสูงสุด โดยเฉพาะงานด้าน Physical Security ซึ่งงาน ICT Application จะเป็นการต่อยอดจาก Data ที่ได้จากงานก่อนหน้า ขณะที่งานด้านบริการซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 1/3 ทำหน้าที่เป็น Recurring income คอยหล่อเลี้ยงรายได้ในระยะยาว เรามองว่า PIS มีลักษณะโครงสร้างรายได้ที่น่าพอใจ

ต้นทุนของงาน IT Solutions ส่วนใหญ่เป็น ต้นทุนจ้างเหมาติดตั้ง ต้นทุนค่าแรง และ ต้นทุนค่าซอฟต์แวร์-อุปกรณ์ ส่วนงานบริการ ส่วนใหญ่จะเป็น ค่าแรงพนักงาน ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา ส่วนงานขาย ต้นทุนมาจากค่าจัดหา Webex License ให้แก่ลูกค้า

หากพิจารณาเป็นอัตรากำไรขั้นต้นจะพบว่า ณ 9M24 งาน IT Solutions จะอยู่ที่ 20.7% ลดลงจากช่วงปี 2021-23 ที่ 27.0%-33.6% เนื่องจาก PIS ได้งานภาครัฐที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้มาร์จิ้นต่ำลงจากการแข่งขัน แต่ PSI ได้อัตรากำไรที่ดีขึ้นจากงานบริการที่ 24.0% (เดิม 11.4%-20.9%) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรับบำรุงรักษางานที่ได้ติดตั้งไปแล้วในส่วนแรก ขณะที่งานขายให้อัตรากำไรสูงสุด 32.8% แต่ทว่ามีสัดส่วนน้อยเพียง 0.04% ของรายได้รวม


ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) ในภาพรวมจะเคลื่อนไหวที่ 8.0-15.8% ของรายได้รวม ซึ่งเฉพาะค่าใช้จ่ายในการขาย ส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือน และค่าใช้จ่ายพนักงานราวๆ 30-40 ลบ. ต่อปี ซึ่งคิดเป็น 4-5% ของรายได้รวมต่อปี ที่เหลือจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับ SKY : รายได้จากกลุ่ม SKY มีสัดส่วนระหว่าง 10.5%-24.7% ของรายได้รวมระหว่างปี 2021-2023 ซึ่งเกิดมาจากการรับงานสัญญาหลักของ SKY แล้วมีการว่าจ้าง PIS ให้ทำงานที่มีความชำนาญการดำเนินการต่อ ซึ่งงานเหล่านี้ยังคงมีงานเหล่านี้หลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย
อย่างไรก็ดีภายหลังการปรับโครงสร้างในปี 2021 SKY ได้มีการโอนย้ายพนักงานกลุ่ม IT Solution มายัง PIS เรียบร้อยแล้ว ทำให้ SKY ไม่ได้ทำงานกลุ่มนี้อีกต่อไปและไม่มีการทับซ้อนกัน ขณะที่ PIS ก็เริ่มรับงานภายนอกเองมากขึ้นอีกด้วย

 


อุตสาหกรรมไอที : ธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟท์แวร์โดยรวมยังคงขยายตัวในอัตราสูง 2 หลักต่อปี โดยปี 2022 ขยายตัว +23.8% y-y ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการปรับตัวด้าน Digital transformation ซึ่งเป็น Global megatrends
รัฐบาลไทยได้กำหนดแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570 เพื่อยกระดับการให้บริการภาครัฐให้สะดวก โปร่งใส ทันสมัย และตอบโจทย์ประชาชน โดยแผนดังกล่าวประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ :
ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ : มุ่งเน้นการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น
พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย: เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการภาครัฐได้อย่างรวดเร็วและไม่ซับซ้อน
สร้างมูลค่าเพิ่มอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ: สนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ในระดับสากล
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ: เน้นความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบและพัฒนาการทำงานของภาครัฐ
โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การยกระดับดัชนีการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (E-Government Development Index: EGDI) ให้อยู่ในอันดับที่ 40 ของโลกภายในปี 2570 จากปัจจุบันที่อยู่ในอันดับที่ 53 นอกจากนั้นในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยังได้บรรจุแผนพัฒนาดิจิทัลเอาไว้ด้วยแบ่งเป็น 4 ระยะดังรูป


ดังนั้นจึงมองได้ว่าแผนการข้างต้นเหล่านี้ รวมถึงการมาของ AI ซึ่งต้องการข้อมูล Data จำนวนมากในการเอาไปวิเคราะห์ต่อยอด จะทำให้อุปสงค์ของงาน IT Solutions และการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ Data analytic เพื่อปรับปรุงพัฒนาการทำงานของภาครัฐ จะยังคงสูงต่อเนื่องไปอีกนานเป็นแหล่งรายได้ของ PIS ที่มั่นคง

 


ผลการดำเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา : กำไรสุทธิปี 2021-23 ทำได้ที่ 87 ลบ., 19 ลบ. และ 104 ลบ. ตามลำดับ มีหดตัวลงในปี 2022 เนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 อย่างไรก็ดี เมื่อกลับสู่ภาวะปกติ การลงทุนด้านดิจิทัลของภาครัฐก็เดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง
รายได้รวม มีการพัฒนาต่อเนื่องจาก 675 ลบ.ในปี 2021 สู่ 1,075 ลบ. ในปี 2023 อย่างไรก็ดีในปี 2022 หดตัวลง -4.7% y-y เนื่องจากผลของ COVID-19 ในปี 2020-21 ทำให้งบประมาณจัดสรรเพื่อลงทุนด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศลดลงและล่าช้า อย่างไรก็ดีการเริ่มกลับมาเปิดประมูลของภาครัฐใน 2H22 ทำให้รายได้ปี 2023 ฟื้นกลับมาอย่างมีนัยสำคัญ โดย PIS มีการรับรู้รายได้จากงาน ระบบนิเวศศูนย์ดิจิทัลชุมชนฯ งานระบบตรวจสอบการจราจร และติดตั้งกล้องวงจรปิดสนามบิน 4 แห่งฯ
อัตรากำไรขั้นต้น เคลื่อนไหวอยู่ที่ 26.3%-21.9%-25.2% ตามลำดับ มียุบตัวลงไปในปี 2022 จากปริมาณรายได้ที่ลดลง อย่างไรก็ดีในปี 2023 อัตรากำไรฟื้นกลับมาอยู่ในระดับปกติ

 

ฐานะทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องด้วยลูกค้าหลักเป็นหน่วยงานราชการ ทำให้การชำระหนี้ส่วนใหญ่ตรงตามกำหนดเวลา PIS จึงไม่มีรายการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตอย่างมีนัยสำคัญ
ภาระหนี้สินส่วนใหญ่จะใช้เงินกู้ยืมระยะสั้น ซึ่งจะสอดคล้องกับงานวางระบบที่มีอายุทำงาน 6-9 เดือน หรือ 1-3 ปีในงานขนาดใหญ่ โดย PIS จะใช้ตั๋ว P/N แต่ละโครงการแยกออกจากกัน ซึ่งจะทยอยชำระคืนเมื่อมีการส่งมอบงวดงาน และได้รับชำระเงินจากลูกค้า อย่างไรก็ดีแม้ D/E อาจดูสูง 2 เท่า แต่มองว่าเหมาะสมเนื่องจากงานภาครัฐ PIS สามารถกู้เงินได้ถึง 70% ของมูลค่าโครงการ ซึ่งภายหลัง IPO คาดจะทำให้ D/E ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.0 เท่า ถือว่าเป็นปกติ เช่นเดียวกับวงจรเงินสด 5-82-69 วัน สอดคล้องกับระยะเวลาการทำงานเช่นกัน

 

 


เริ่มฉายแสง
“ PIS เริ่มต้นได้ดีใน 1Q25 โดยกำไรคิดเป็น 70% ของประมาณการก่อนหน้า ซึ่งการที่ ผบห.ยังคงให้ข้อมูลต่อเนื่องกับนักลงทุน เราจึงดำเนินการศึกษา PIS ต่อไป
แม้ประมาณการรายได้ใหม่อย่างอนุรักษ์นิยมของเราจะยังต่ำกว่า ผบห. ราว 1,000 ลบ. และเราประเมินมูลค่าอิง P/E เฉลี่ยกลุ่ม System integrators เพียง 9.9 เท่า ราคาเหมาะสมก็ยังมีอัพไซด์สูง +25.0% เราแนะนำ “ซื้อ” เพื่อเติบโตไปกับงานภาครัฐที่ PIS เชี่ยวชาญ โดยมีธุรกิจ ERP และ Cloud เป็นอัพไซด์ที่ติดตาม ”


ESG Snapshot : PIS ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษา วางระบบ และบำรุงรักษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร โดยมีการบูรณาการ ESG ผ่านการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และมุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าภาครัฐและเอกชน


จรูญพันธ์ วัฒนวงศ์
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน #14076
Jaroonpan.W@liberator.co.th
จิรภัทร คงบัว
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
Jirapat.K@liberator.co.th

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

เปลี่ยนทิศ By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม เห็นตลาดหุ้นไทย สู่โหมดเปลี่ยนทิศทาง หลังจากดัชนีตลาดหลุด 1,180 จุด วันนี้หากปล่อยไปตามกลไกตลาด แนวรับ....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้