Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส : กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ให้น้ำหนักลงทุน Neutral

69

 

---สินเชื่อธ.พ.งวด 1Q68 หดตัว -1.3%YoY ส่วน NPL ratio เพิ่มเป็น 2.9%---

ธปท.เปิดเผยว่าสินเชื่อไตรมาส 1/68 หดตัว -1.3%YoY จากการชำระคืนหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ยังขยายตัว ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวต่อเนื่อง ตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

การลดดอกเบี้ยไม่ได้เป็นการช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพราะปัจจัยหลักมาจากต้นทุนความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ (Credit Risk) ในการพิจารณาสินเชื่อ แต่การลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยลูกค้ามากกว่า อย่างไรก็ดี การส่งผ่านการลดดอกเบี้ยรอบนี้ ถือว่าน้อยกว่าการปรับลดดอกเบี้ยใน 2 รอบก่อนหน้า แต่ก็ส่งผ่านมากกว่าในปี 2563-2564 ในช่วงโควิด-19 และจะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ในครั้งนี้ด้วย

 

NPL ratio เพิ่มเป็น 2.9% ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อ NPL ไตรมาส 1/68 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 548.1 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วน NPL ratio เพิ่มเป็น 2.90% โดยหลักจากสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ สัดส่วน NPL ของสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเช่าซื้อที่เพิ่มขึ้น เป็นผลของฐานสินเชื่อที่ลดลง สำหรับสินเชื่อ Stage 2 ปรับลดลง โดยหลักจากการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบริหารจัดการคุณภาพหนี้

 

ผลการดำเนินงานปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยหลักจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง (ไตรมาส 4/67 มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงตามปัจจัยฤดูกาล และค่าใช้จ่ายด้าน IT) และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (เงินลงทุนและการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน) ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

 

ต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ฟื้นตัวช้า และมีภาระหนี้สูง รวมถึงธุรกิจและครัวเรือน ที่อาจได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมต่อฐานะการเงิน จากผลกระทบของนโยบายการค้าโลก ตลอดจนติดตามผลสำเร็จของการให้ความช่วยเหลือ ภายใต้โครงการคุณสู้เราช่วย"

 

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาส 4/67 ลดลงจากไตรมาสก่อน จากสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่ภาคธุรกิจมีสัดส่วนหนี้สินต่อ GDP ลดลงตามการกู้ยืมผ่านตลาดตราสารหนี้เป็นสำคัญ

 

คงน้ำหนักลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็น Neutral ทั้งนี้คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อและกำไรปีนี้จะจำกัด เนื่องจากธนาคารระวังการปล่อยสินเชื่อมาก ส่วนคุณภาพสินทรัพย์อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่วน Upside risk จะมาจากการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพขึ้น และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ซึ่งรวมถึงรายได้จากธุรกิจ Wealth management ด้าน Valuation จูงใจ โดยมี P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า และให้ Dividend yield สูง

 

ให้ KTB และ TTB เป็นหุ้นเด่น โดย KTB มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง คุณภาพสินทรัพย์ที่ควบคุมได้ และศักยภาพการเติบโตที่ชัดเจน ด้าน TTB มีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง และบริหารกำไรได้ดีจากมีผลขาดทุนสะสมจากการปิด TBANK มาช่วยลดภาษี


นักวิเคราะห์&กลยุทธ์: อาภาภรณ์ แสวงพรรค : arparporns@dbs.com : Tel 02 587 7829

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

พยายาม By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นเส้นกราฟ เส้นเทคนิค ของดัชนีหุ้นไทย พยายามจะแตะ 1,200 จุด ให้ได้ เช้าวันนี้ ทำได้...

NKT เดินหน้า 2 บิ๊กโปรเจค ตอกย้ำผู้นำในการดูแลสุขภาพ

NKT เดินหน้า 2 บิ๊กโปรเจค ตอกย้ำผู้นำในการดูแลสุขภาพ

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้