สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(30 เมษายน 2568)----------บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี KSS เปิดเผยว่า คาด SET วันนี้ “ผันผวนขึ้น ” ต้าน 1182/1190 จุด รับ 1160/1152 จุด
Best Picks : เน้นหุ้นอิงลดดอกเบี้ย AP, CPALL, SAWAD
Key Factors :
1. Thailand’s Macro Conditions at a Crossroads
1.1 โครงสร้างเศรษฐกิจไทยอ่อนแอในภาวะ Trade Shock
• Moody’s ปรับ Outlook เป็น Negative สะท้อนว่าไทยกำลังอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจที่มี “Fiscal Stress” และ “Structural Drag” เช่น ศก.โตช้า หนี้รัฐสูง ศักยภาพฟื้นตัวต่ำ ผสานความเสี่ยงหลัก: US Tariff Risk (ต่อไทย/เอเชีย) ที่กำลังก่อตัวใหม่
Analysis : KSS ประเมินโดยรวมมองเป็นเพียงจิตวิทยาลบสั้นๆต่อ SET Index เท่านั้น จากสถิติในอดีต ช่วงที่ไทยถูกปรับ Outlook ลง พบว่าค่าเงินบาทไม่ได้ตอบสนองอย่างมีนัยยะ ส่วนตลาดหุ้นไทยปรับลงเพียงช่วงสั้น และกลับมาที่ระดับเดิม/บางรอบปรับขึ้น คือ
• 1 ธ.ค. 2008 สถาบัน S&P (ปรับ Outlook จาก Stable - > Negative) : 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index -3.6%d-d (Sector ปรับลงเกือบทุก Sector ยกเว้น เพียงกลุ่มชิ้นส่วน +0.4% (KCE +4%, HANA +1.7% SVI +1.3%) ส่วนกลุ่มที่ลบน้อยกว่า SET คือ ค้าปลีก -0.5%(CPALL+1.89% ) Agri -0.53%(UVAN +1.6% CPI -0.6%) Conmat -0.6% etc กลุ่มที่ลบมากกว่า SET คือ ธนาคาร -7.9%(SCB -12% KBANK -8% BBL -7%) etc หลังจากนั้นวันที่ 2 SET index กลับมาบวก +0.5% ( Sector ส่วนใหญ่ฟื้นตัว ยกเว้นเพียง กลุ่มธนาคาร กลุ่มยานยนต์ กลุ่มปิโตรเคมีที่ยังปรับลงต่อ) โดยรวมใช้เวลาราว 4 วันกลับมาที่ระดับเดิม
• 4 ธ.ค. 2008 สถาบัน Moody (ปรับจาก Stable > Negative) : 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับขึ้นแรง +4.49%d-d หลักเดือนธันวาคม 2008 กำลังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด หลังจากเจอแรงกดดันจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (หากดูเป็นราย Sector ส่วนใหญ่ปรับขึ้นยกเว้น กลุ่มประกันชีวิต โดยกลุ่มที่ปรับหลักๆนำโดย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ชิ้นส่วน ธนาคาร ฯลฯ
• 13 เม.ย. 2020 สถาบัน S&P (ปรับจาก Positive > Stable ) 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับขึ้น +2.3% โดย Sector ปรับขึ้นเกือบทุก Sector ยกเว้น เพียงกลุ่ม ICT -0.13% โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นมากกว่าตลาดคือ กลุ่ม ท่องเที่ยว กลุ่มสื่อ เกษตร กลุ่มธนาคาร ฯลฯ
• 21 เม.ย. 2020 สถาบัน Moody (ปรับจาก Positive > Stable ) 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับลง -0.34% (หากดูเป็นราย Sector ราว 50 – 50 ปรับขึ้น / ลง โดยกลุ่มที่ปรับลงหลักๆคือ กลุ่มธนาคาร -5.9% (KBANK -12.8% BBL -12%) กลุ่มอสังหา -2.3% กลุ่มสื่อ -2.2% ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นหลักๆคือ เกษตร +5%(NER+8.8%, STA+6.6%) กลุ่มสื่อสาร +3.3% (DTAC+7.4% ADVANC +3.8% )
1.2 วัฏจักรดอกเบี้ยไทยเข้าสู่ “Rate Cut Cycle”
• จาก inverted yield curve, เงินเฟ้อต่ำ, และเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่า potential → กนง. กำลังอยู่ในจุด Pivot
• KSS ประเมินโอกาสลดดอกเบี้ย 25 bps เพิ่มเป็น 85% (สูงกว่าตลาด) ซึ่งเป็นจุดพลิกทางจิตวิทยา (policy turn)
2. Global Macro Signal: Global Trade Shift + Local Monetary Pivot
2.1 “Tariff Diplomacy” ยังไม่ชัด แต่เป็นสัญญาณผ่อนคลายบ้าง
• แม้จะไม่มีดีลกับจีน แต่ความคืบหน้ากับ อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ช่วยลดความตึงเครียด และกระตุ้น “Risk-On Sentiment” ทั่วโลก (US Equities +0.5% ทั่วกระดาน)
2.2 ความแตกต่างของ Policy Path ระหว่างไทย vs Fed
• ขณะที่ Fed ยังชะลอการลดดอกเบี้ย (Sticky Inflation) → ไทยกำลังเข้าสู่ Dovish Regime ชัดเจน
• ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า เทียบกับ USD ระยะกลาง → เป็นโอกาสของ หุ้นส่งออก ท่องเที่ยว และ asset ที่ได้ประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้าแบบ selective
Thai Equity View: “Policy-Driven Rotation” คาด SET ยังฟื้นตัวสู่ 1190-1220จุด ในอีก 1-2 สัปดาห์
Key Theme: Rate-Sensitive + External Earnings Exposure
• เช่าซื้อ/หนี้สูง: SAWAD, MTC, CPALL, BJC, AP (ได้ประโยชน์โดยตรงจากดอกเบี้ยขาลง)
• โรงไฟฟ้า: GULF, GPSC (Valuation ถูก repriced จาก lower WACC)
• Tourism Play: MINT, AOT(ได้แรงเสริมจากดอกเบี้ยต่ำและนักท่องเที่ยวจีนกลับมา)
• ส่งออกเกษตร + ชิ้นส่วน : CPF, GFPT, KCE, HANA (รับบาทอ่อน + สัญญาณ Golden Week)