SET Index ประคองฐาน
กลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะตัว
Market Strategy
SET Index คาดพักตามกรอบ 1120-1140 จุด จากนักลงทุนอาจอยู่ในช่วงชะลอการลงทุนก่อนช่วงหยุดยาวที่คาบเกี่ยวช่วงปลายความผันผวนจากมาตรการภาษีตอบโต้สหรัฐฯยกแรก หุ้นเด่นวันนี้เลือก KBANK และ BDMS
ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้ปรับลงทุกดัชนีนำโดย NASDAQ -4.3% S&P500 -3.5% และ Dow Jones -2.5% จากแรงขายหลังจากวันก่อนที่ฟื้นตัวแรง และยังคงมีความกังวลต่อผลภาษีกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อฯ แม้ว่าวานนี้การรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน มี.ค. ออกมาขยายตัว 2.4%YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาด 2.5%YoY และเดือนก่อนที่ 2.8% YoY ก็ตาม
สำหรับประเด็นภาษีตอบโต้ ล่าสุดสหรัฐฯยืนยันการเก็บภาษีจากจีนตอนนี้อยู่ที่ 145% (125% จากภาษีตอบโต้ + 20% จากประเด็นเฟสทานิล) ส่วนประเทศอื่นๆ ลดภาษีมาที่ 10% ชั่วคราว 90 วัน ขณะที่การตอบโต้จากประเทศอื่นๆ (ยกเว้นจีน) มีท่าทีเบาลง เช่น ยุโรปวานนี้ประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีสหรัฐฯออกไปชั่วคราว 90 วัน ซึ่งเชื่อว่าระยะถัดไปจะเข้าสู่ช่วงที่ประเทศต่างๆเข้าเจรจากับสหรัฐฯเพื่อขอลดภาษีจากสหรัฐฯ
ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวหากคุณทรัมป์ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายใดๆและการตอบโต้ของจีนเริ่มจำกัด น่าจะทำให้แรงกดดันจากประเด็นภาษีสหรัฐฯค่อยๆลดลงในช่วงครึ่งหลังของ เม.ย. และตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักการกับแนวทางการเจรจาของไทย มาตรการประคองเศรษฐกิจและรายงานกำไรบริษัทฯ 1Q68 ต่อไป
Market Summary
SET Index บวกแรงที่สุดของปี 46 จุดหรือ 4.2 % หลังสหรัฐฯลดการขึ้นภาษีเหลือ 10% ยกเว้นจีน หนุนหุ้นบวกทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยกลุ่มที่ Outperform ตลาด คือ กลุ่มลงแรงช่วงที่ผ่านมาจากประเด็นภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ เช่น กลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ DELA +15% CCET +8% กลุ่มนิคม WHA +15% AMATA +15% กลุ่มพลังงาน PTTEP +6% SPRC +10% โดยนักลงทุนสถาบันประเทศซื้อสุทธิ 1.4 พันล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 958 ล้านบาท สวนทางในประเทศขายสุทธิ 4 พันล้านบาท
DAILY Stock Pick
KBANK
เก็บหุ้นก่อนปันผลในสัปดาห์หน้า
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 180 บาท
KBANK ประกาศจ่ายเงินปันผล 8 บาทต่อหุ้น (คิดเป็นอัตราเงินปันผล 5.3%) ขึ้น XD วันที่ 17 เม.ย. 68 จากข้อมูลทางสถิติพบว่า SETHD ก่อนขึ้น XD 2 สัปดาห์มักให้ผลตอบแทนเป็น 2% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าเพียงแค่ 1% โดยเราคาดว่าอัตราเงินปันผลในระดับดังกล่าวช่วงชะลอ Downside ในระยะสั้นได้
เราคาดกำไร KBANK ในปี 68/69 เติบโต +5.7%YoY/7.2%YoY ตามลำดับ หนุนจาก Credit Cost ที่ลดลง จากคุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้น โดยเฉพาะที่มีหลักประกัน อีกทั้งการเติบโตของรายได้ฝั่งค่าธรรมเนียมต่างๆ อาทิ bancassurance, บริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) และ ค่าธรรมเนียม FX
KEY FACTOR
เงินเฟ้อสหรัฐฯต่ำกว่าที่คาด และลดลง MoM ครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี
อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. -0.1% MoM และ +2.4% YoY ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ +0.1% MoM และ +2.5% YoY ได้แรงหนุนจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ลดลงถึง -2.4% MoM และเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน (ราคาน้ำมันเบนซินที่ลดลงแรง -6.3% อย่างไรก็ตามด้านราคาอาหารกลับปรับขึ้น 0.4% MoM และ +3.0% YoY (นำโดยกลุ่มอาหารสด
ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) +0.1% MoM และ +2.8% YoY ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ +0.3% MoM และ +3.0% YoY ตามลำดับ สะท้อนถึงแรงกดดันเงินเฟ้อภาคบริการที่ชะลอลง (ค่าใช้จ่ายภาคบริการขนส่ง -1.4% MoM ส่วนค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัย และบริการทางการแพทย์ เพิ่มขึ้น +0.2% MoM และ +0.5% MoM ตามลำดับ)
โดยรวมแล้ว ดัชนี CPI สะท้อนภาพเงินเฟ้อ ที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แม้ยังมีแรงกดดัจากหมวดอาหาร แต่หมวดพลังงานชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามคาดว่ามุมมองของ Fed ที่ยังคงระมัดระวังต่อโอกาสที่เงินเฟ้อจะกลับมาเร่งตัว
EYES ON
11 เม.ย. ดัชนี PPI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค.
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ, ออมทรัพย์ โง้วศิริ