Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

227

 


ตลาดฯช่วยเยียวยา หวังหายเจ็บเร็วๆ
TOP PICK CPF/ BDMS


EXTERNAL FACTOR
GLOBAL INDICES

• ตลาดหุ้นทั่วโลกช่วงนี้ผันผวนหนัก จากความกังวล TRADE WAR
• สหรัฐฯ เผย มี 50 ประเทศขอเจรจาสหรัฐฯ เสนอยกเว้น-ผ่อนผันภาษีนำเข้า
• แต่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างจีนและยุโรปยังดูมีท่าทีแข็งกร้าวกับสหรัฐฯ
• ในขณะนี้ ผลกระทบจาก TRADE WAR ยังไม่ได้กดดับภารวมเศรษฐกิจทั่วโลกในทันทีทันใด แต่ในอนาคตล้วนเต็มไปด้วยความเสี่ยงเพิ่ม DOWNSIDE GDP
GROWTH และสร้างความกังวลให้กับตลาดฯ ได้ไม่น้อย

INTERNAL FACTOR
• นักลงทุนกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯจะปรับตัวขึ้นในอนาคต ดังนั้นดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ระดับสูงเพื่อรอบรับ ส่งผลให้ BOND YIELD สหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรงวานนี้จาก 3.86% เป็น 4.21% (+35 BPS.) และ FED WATHC TOOL ยังคาดการประชุมรอบหน้า FED ยังคงดอกเบี้ยระดับเดิม 4.50%
• มุมประเทศไทย เงินเฟ้อ มี.ค.68 +0.84%YOY(ต่ำคาดและเดือนก่อนหน้า) โดยหากนำดอกเบี้ยนโยบายมาคิด REAL INTEREST จะอยู่ระดับ 1.16% ซึ่งถือว่ายังพอมีROOM ให้ กนง.ลดดอกเบี้ยได้ในอนาคต เมื่อเทียบกับยุค TRADE WAR 1.0

INVESTMENT STRATEGY
• ตลาดหุ้นไทยเผชิญกับความผันผวนจาก TRADE WAR 2 ต่อ เพราะยังลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกที่เพียง 3 วันหลายประเทศ ปรับตัวลดลงเกิน -10% อีกทั้งนักลงทุนกังวลเงินเฟ้อจะกลับมา กดดัน BOND YIELD สหรัฐเร่งขึ้น อาจกดดันบาทอ่อน และ FUND FLOW ไหลออกได้
• อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เข้ามาช่วยตลาดได้ทันเวลาพอดี โดยการออกมาตรการพิเศษลดความผันผวน ปรับ 3 เกณฑ์ CEILING & FLOOR เหลือ +-15%, DPB +-5% และห้าม SHORT SELL มีผล 8 –11เม.ย. 68 คาดหวังจะช่วยพยุงตลาดได้ดี เฉกเช่นช่วงเกิด COVID1913 มี.ค. 63 ที่ช่วงเช้าหุ้นตก -13% แล้วช่วงบ่ายมีมาตรการตลาดหุ้น +1.26% ได้

 


ภาษีของ TRUMP ทำตลาดหุ้นทั่วโลกป่วนหนัก
วานนี้สินทรัพย์ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงแรง เฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชีย นำโดยฮ่องกง -13.2%, จีน -7.3%, ญี่ปุ่น -7.8%, เกาหลี้ใต้ –5.6% เป็นต้น ขณะที่ในฝั่งหสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ผันผวนหนัก หลังมีกระแสข่าวว่าสหรัฐฯ จะเลื่อนเก็บภาษีตอบโต้ออกไป 90 วัน ก่อนที่ทำเนียบขาวออกมาปฏิเสธ สะท้อนมุมมองตลาดฯ ที่ให้น้ำหนักต่อความกังวลผลกระทบ TRADE WAR จะกดดันเศรษฐกิจทั่วโลกในระยะข้างหน้า


หากพิจารณาโครงสร้างปริมาณการค้าโลกในปี 2023 มีมูลค่าราว 46.9 ล้านล้านเหรียญฯ โดยประเทศที่มีการทำสงครามการค้าระหว่างกัน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 อาทิ สหรัฐฯ , จีน, ยุโรป, ญี่ปุ่น, ไทย ฯลฯ ทำให้ศรษฐกิจทั่วโลก หลีกเลี่ยงผลกระทบที่ตามมาได้ค่อนข้างยาก เพิ่มความเสี่ยงต่อ DOWN SIDE ของ GDP GROWTHขณะที่สถานการณ์ล่าสุด หลังจากที่ ปธน. ประกาศขึ้นภาษีตอบโต้ไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 68 ทำให้หลายประเทศเข้าเจรจากับสหรัฐฯ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าไม่สูงมาก) อาทิ
• ญี่ปุ่น : เตรียมเยือนสหรัฐฯ หวังหารือประเด็นภาษีนำเข้า
• ไทย : รัฐบาลได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆ เช่น การเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในด้านพลังงานอากาศยาน และสินค้าเกษตร ขณะที่นายกฯ นัดประชุมรับมือเส้นตายภาษี TRUMP 8 เม.ย. 68
• เวียดนาม : เสนอลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือ 0%
• กัมพูชา : เสนอลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ สูงสุด 19 ประเภท จาก 35% เป็น 5

อย่างไรก็ตาม ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างจีนและยุโรปยังดูมีท่าทีค่อนข้างแข็งกร้าวกับสหรัฐฯ
• จีน : โต้กลับสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 34% พร้อมกับกีดกันสหรัฐฯ ผ่าน NON-TARIFF จนดีลTIKTOK ล่ม ขณะที่การตอบโต้กลับของสหัรฐฯ ล่าสุด ขู่ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 50% หากจีนไม่ยกเลิกภาษีตอบโต้เก็บ 34% (รวมเป็น 104%) ภายในวันที่ 8 เม.ย. (ให้เวลา 1 วัน) พร้อมยืนยันจะยกเลิกการเจรจาที่วางแผนไว้ทั้งหมด หากไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องนี้และหันเปิดดีลกับชาติอื่นแทน
• ยุโรป : ตอบโต้สินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตรา 25% (ตอบโต้มาตรการภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม)ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 พฤษภาคม ขณะที่บางรายการจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ แม้ก่อนหน้านี้จะมีกระแสข่าวว่าเตรียมเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ


ในขณะนี้ ผลกระทบจาก TRADE WAR ยังไม่ได้กดดับภารวมเศรษฐกิจทั่วโลกในทันมีทันใด แต่ในอนาคตล้วนเต็มไปด้วยความเสี่ยงเพิ่ม DOWNSIDE GDP GROWTH และสร้างความกังวลให้กับตลาดฯ ได้ไม่น้อย

ดอกเบี้ยสหรัฐฯยังผันผวน ส่วนไทยยังพอมี ROOM ให้ลดดอกเบี้ยได้
หลังจากที่ TRUMP ประกาศเก็บภาษีตอบโต้ทั่วโลก ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯจะปรับตัวขึ้นในอนาคต ดังนั้นดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ระดับสูง ส่งผลให้ BOND YIELD สหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรงวานนี้จาก 3.86%เป็น 4.21% (+35 BPS.)ซึ่งคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในอดีตอย่างช่วง GREAT DEPRESSION ในปี 1930-1932 ที่ดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสปรับขึ้นก่อนจาก 4.0% สู่ระดับ 6.25%(กังวลเงินเฟ้อสูงขึ้น) ก่อนที่จะทยอยปรับลงหลัง
จากนั้น 6.25% สู่ 2.0%(ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว)


อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเงินเฟ้อในปัจจุบันกับราคาน้ำมันดิบถือว่าอยู่ระดับต่ำกว่าในอดีตมาก จึงทำให้แม้ FEDWATCH TOOL จะคาดว่าการประชุมเดือน พ.ค.68 FED จะคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิมที่ 4.50% แต่การประชุมถัดๆไปยังมีโอกาสทยอยลดดอกเบี้ยเรื่อยๆ โดยในปีนี้มีโอกาสลดดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งราว 1%


ขณะที่ในมุมของประเทศไทย วันศุกร์ผ่านมาประกาศเงินเฟ้อ มี.ค.68 +0.84%YOY(ต่ำคาดและเดือนก่อนหน้า) โดยหากนำดอกเบี้ยนโยบายมาคิด REAL INTEREST จะอยู่ระดับ 1.16% ซึ่งถือว่ายังพอมี ROOM ให้ กนง.ลดดอกเบี้ยได้ในอนาคต(ฝ่ายวิจัยฯคาดลดดอกเบี้ยช่วง 2H68) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง TRADE WAR 1.0 ที่มี REALINTEREST เพียง 0.74% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งน่าจะพอเป็นปัจจัยหนุนให้ FLOW ต่างชาติที่ซื้อสุทธิตราสารหนี้ในช่วงที่ผ่านมาทยอยไหล และกลับเข้าตลาดทุนได้บ้าง


ตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกมาตรการได้ถูกจังหวะพอดี หวังผ่านเรื่องเลวร้ายแบบนุ่มขึ้นตลาดหุ้นไทยเผชิญกับความผันผวนจาก TRADE WAR 2 ต่อ เพราะยังลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกที่เพียง 3 วัน หลายประเทศ ปรับตัวลดลงเกิน -10% อีกทั้งนักลงทุนกังวลเงินเฟ้อจะกลับมา กดดัน BOND YIELD สหรัฐเร่งขึ้น อาจ
กดดันบาทอ่อน และ FUND FLOW ไหลออกได้

อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เข้ามาช่วยตลาดฯ ได้ทันเวลาพอดี โดยการออกมาตรการพิเศษลดความผันผวน จากการปรับ 3 เกณฑ์ชั่วคราว คือ ลด CEILING & FLOOR เหลือ +-15%, ลด DPB +-5% และห้าม SHORTSELL มีผล 8 –11 เม.ย. 68 คาดหวังจะช่วยพยุงตลาดได้ดี เฉกเช่นช่วงเกิด COVID19 13 มี.ค. 63 ที่ช่วงเช้าหุ้นตก-13% ทำจุดต่ำสุดที่ 969 จุด แล้วช่วงบ่ายมีมาตรการ ตลาดหุ้นฟื้นขึ้นเป็น 1128 หรือพลิกจากลบเยอะๆ กลายเป็นบวกได้ทันทีที่ +1.26%

 

Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้