Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

242

 


ประเด็นหลัก:

รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระดับภาษี Reciprocal Tariffs สูงถึง 10-49% ในกว่า 50 ประเทศ

สำหรับประเทศหลักที่พึ่งพาการส่งออก -> ไทย: 36%, เวียดนาม: 46%, อินเดีย: 26%, เกาหลีใต้: 25%, ไต้หวัน: 32%, อินโดนีเซีย: 32%, มาเลเซีย: 24%→ กลุ่มอาเซียน-เอเชียแปซิฟิก โดนถ้วนหน้า และอยู่ในระดับที่ “เปลี่ยนโครงสร้างการค้า” ได้เลย
กลุ่มประเทศที่เดิมเคยเกินดุลทางการค้ามาก (เช่น ไทย, เวียดนาม) กลับกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก
ไม่มีการยกเว้นแม้แต่ประเทศพันธมิตร เช่น EU, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ → สะท้อนว่าแนวทางนี้ เป็นเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่ tactical
ผลกระทบ:

มาตรการภาษีครั้งนี้เทียบได้กับจุดเริ่มต้นของ “Trade War 2.0” ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงและมีผลกระทบเชิงโครงสร้างมากกว่า Trade War ครั้งแรกในปี 2018

บริษัทข้ามชาติจำนวนมากอาจชะลอการลงทุนเพื่อตีความท่าทีของสหรัฐฯ และประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจใหม่ ส่งผลต่อ กระแส FDI และวัฏจักรการลงทุน (Capex Cycle) ในภูมิภาคต่างๆ

ความเชื่อมั่นใน Global Supply Chain ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในภาคการผลิต ส่งผลต่อคำสั่งซื้อใหม่ (New Orders) และแผนการขยายกำลังการผลิต

แรงกดดันเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น บั่นทอนความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศผู้นำเข้า

ความเสี่ยงของการเกิด “Fragmentation of Trade” หรือการแบ่งขั้วการค้าระหว่างกลุ่มประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตของการค้าโลก


สรุปภาพรวม:
มาตรการภาษีชุดนี้ไม่ใช่เพียงแค่กลยุทธ์กดดันเชิงการเมือง แต่ถือเป็นแรงกระแทกเชิงโครงสร้างต่อระบบการค้าโลก หลายประเทศอาจจำเป็นต้องเร่งเข้าสู่กระบวนการเจรจาการค้าใหม่กับสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบในระยะยาว
หากการเจรจาการค้าของหลาย ๆ ประเทศล่าช้า หรือไร้ความชัดเจน อาจนำไปสู่ภาวะการลงทุนชะงักงัน การบริโภคหดตัว และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้ากว่าคาดการณ์
มาตรการนี้จึงอาจกลายเป็น “จุดเปลี่ยนของโครงสร้าง Supply Chain โลก” ที่ผลักดันให้ธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของการค้า ซึ่งเน้นความยืดหยุ่นมากกว่าประสิทธิภาพและการประหยัดต้นทุนการผลิตเพียงอย่างเดียว
ในระยะสั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะ mid-depth recession หากกระบวนการเจรจาการค้ายืดเยื้อและไร้ความคืบหน้า โดยเราประเมินว่า GDP อาจหดตัวในกรอบ -1.5% ถึง -2.0% ซึ่งถือว่ารุนแรงกว่ากรณี mild recession ที่เคยเป็นสมมติฐานหลักก่อนหน้านี้
แรงกระทบหลักจะมาจาก การบริโภคที่อ่อนแรงลงจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น, ความไม่แน่นอนทางนโยบายที่บั่นทอนความเชื่อมั่นภาคเอกชน และความเสี่ยงด้านการค้าโลกที่กดดันคำสั่งซื้อใหม่

สรุปภาพตลาดวานนี้
SET ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย พร้อมปริมาณการซื้อขายยังเบา หุ้นใหญ่บวก เช่น AOT DELTA PTT CPALL BDMS BH CRC OR และหุ้นรีบาวด์แรง TLI MTC เป็นต้น ส่วนหุ้นอิง Entertainment Complex อย่าง MCOT STECON บวกแรงรับข่าว ส่วนด้านลบแรงขายทำกำไร PTTEP ADVANC TRUE และกลุ่มท่องเที่ยวยังถูกขายต่อ

แนวโน้มตลาดวันนี้
หวยออก 36(%) ไทยรับจบอีกแล้ว!
วันนี้คาดหุ้นไทยเปิดดิ่งราว 2-2.5% ด้วยประเด็นภาษีตอบโต้จากอเมริกาที่ไทยโดนสูงถึง 36% และเกินความคาดหมายทั่วโลก ทั้งนี้ไม่เก็บเพิ่มในส่วนของ ภาษียานยนต์ เหล็ก อะลูมีเนียมที่ประกาศเก็บเพิ่มไปก่อนหน้านี้ 25% และภาษีที่เก็บรอบนี้ไม่มี เม็กซิโก แคนนาดา ที่โดนไปก่อนหน้า
หลังจากหุ้นร่วงแรงแล้วจะมีรีบาวด์หรือไม่ขึ้นอยู่กับ (ซึ่งเราคิดว่ามีรีบาวด์หลังเปิดลงแรง)

 

1) การเปิดโต๊ะเจรจาว่าจะมาเร็วหรือช้า ซึ่ง MS มองไทยน่าจะเจรจาได้ง่ายกว่า เวียดนาม และจีน ส่วน มาเลย์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ คาดจะเจรจาได้ง่ายกว่าไทย (จัดอันดับความเสี่ยงไทยอยู่ชั้นกลางๆ)


2) การแก้ปัญหาระหว่างเอกชน ต่อ เอกชน: ตกลงราคาสินค้ากันเอง หรือ ช่วยออกค่าภาษีให้บางส่วน มิเช่นนั้นจะกระทบต่อสายการผลิต ซึ่งระยะสั้นอาจช่วยบรรเทาความ Panic ของตลาดหุ้นไทย (เราคาดว่าจะมีหลาย บจ. ออกมาให้ข้อมูลในโทนนี้ หลังจากเห็นความชัดเจนในเรื่องอัตราภาษีแล้ว หรือ ฝากให้ตัวกลางในอาเซียนที่โดนภาษีตอบโต้ต่ำอย่าง สิงคโปร์ช่วยส่งออกแทน เป็นต้น)
ซึ่งลำดับความสำคัญตอนนี้ คือ การจองคิวขอเจรจาทางการค้ากับอเมริกา และเดินหน้าหาข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทย อเมริกา ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดทอนความกังวลต่อเศรษฐกิจลงได้ในระยะถัดไป


ส่วนการเมืองในประเทศอาจมีความกังวลต่อการผ่าน กม.Entertainment complex ในสภาวันนี้ เพราะอาจนำไปสู่การชุมนุมประท้วง หรือ ถูกกดดันจากสภาในการลงมติซักฟอกรัฐบาลในนัดถัดไป เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรายังให้น้ำหนักน้อยกับประเด็นการเมืองในประเทศ จนกว่าจะเห็นกระแสที่เป็นลบมากกว่าขณะนี้
กลยุทธ์แนะนำ HODL หุ้นที่เราแนะนำตามพอร์ตไปก่อน โดนไม่เพิ่มการรีบหาหุ้นเพิ่มในช่วงนี้

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET Index ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่! วอลุ่มบาง เนื่องจากตลาดรอประเด็นเรื่องมาตรการภาษีตอบโต้ “Reciprocal tariff” ความชัดเจนจะช่วยให้ดัชนีฟื้นตัวขึ้นได้ในท้ายที่สุด มองโซนรับดัชนี base case scenario ที่ 1,150 จุด…ยืนยันเหมือนเดิม ส่วนการนับคลื่น Elliott wave คาดว่าดัชนีกำลังฟอร์มตัวอยู่ในคลื่น 4 ย่อย( สัญาณฟื้นตัวเริ่มชัดขึ้น) ลุ้นต้านแรก 1,180 จุด (EMA 10 วัน) ...ส่วนเงื่อนไขกลับตัวเป็นขาขึ้นต้องรอทะลุบริเวณ 1,200 จุด (EMA 25 วัน) ให้ได้เสียก่อน

 

What to watch
รัฐบาล ผ่าน พรก. เป็น กม.ให้อำนาจ กลต. ตรวจสอบรายการ Naked shorted ได้แล้ว หลังจากที่ผ่านมาขาดอำนวจในการตรวจสอบธุรกรรมต่างชาติ
EU เตรียมมาตรการตอบโต้ภาษีการค้า อเมริกา ด้าน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ประชุมความร่วมมือ รับมือภาษีตอบโต้ จากอเมริกา
เมื่อวาน ทางพาณิชย์ได้ประเมินความเสียหายจากภาษีตอบโต้ฯ (ซึ่งตัวเลขที่ออกมาเมื่อคืนดูจะพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย) เบื้องต้นคาดนโยบายภาษีทรัมป์ กระทบแน่ 2 แสนลบ. รัฐ-เอกชน กางแผนรับมือ พร้อมเพิ่มนำเข้าสินค้าสหรัฐ
มาตรการภาษีสหรัฐ 4 รูปแบบ คือ 1.ขึ้นภาษีรายประเทศ 2.ขึ้นภาษีรายสินค้า 3.ขึ้นภาษีกับกลุ่มประเทศที่มีปัญหายาเสพติด และอพยพเข้าเมือง 4.ขึ้นภาษีตอบโต้ โดยที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ทยอยขึ้นภาษีแล้ว และที่กระทบกับไทย คือ กลุ่มเหล็ก และผลิตภัณฑ์ รวมถึงอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ เป็น 25%
สิ่งที่ต้องจับตาต่อจากนี้ คือ ขึ้นภาษีกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน ในวันที่ 3 เม.ย.68 จากปัจจุบัน 0-4.9% เป็น 25% และยังจะมีเพิ่มเติมอีก 2-3 รายการ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ อาจขึ้นเป็น 25% ผลิตภัณฑ์ยา และไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า รวมถึงการขึ้นภาษีตอบโต้สินค้าไทยอีกหลายรายการ จากกรณีที่ไทยเก็บภาษีนำเข้าสูงกว่าที่สหรัฐฯ เก็บจากไทย โดยปัจจุบัน ไทยเก็บภาษีนำเข้าสูงกว่าสหรัฐเฉลี่ย 11% หากสหรัฐฯขึ้นภาษีเท่ากับไทย จะทำให้ไทยเสียหาย 7,000-8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (230,000-270,000 ล้านบาท) สินค้าที่จะได้รับผลกระทบ เช่น ข้าว กุ้งแปรรูป ยางล้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
ประเทศไทยได้เตรียมแนวทางการเจรจาไว้แล้ว โดยอาจลดภาษีนำเข้า และเพิ่มปริมาณนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพื่อลดการเกินดุลการค้า เช่น เพิ่มปริมาณนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง ที่ไทยต้องนำเข้าอยู่แล้วทุกปี, นำเข้าเนื้อวัว เศษเนื้อ และเครื่องใน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงประสานให้ บมจ.การบินไทย (THAI) เช่าหรือซื้อเครื่องบินจากสหรัฐฯ และให้ บมจ. ปตท. (PTT) นำเข้าพลังงาน เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมเหลว รวมทั้งปิโตรเคมี เพิ่มขึ้นด้วย
และไทยคงไม่สามารถลดภาษีหรือนำเข้าสินค้าเพิ่ม เพื่อแก้การดุลการค้า 30,000-40,000 ล้านเหรียญฯ ได้ทั้งหมด ดังนั้นจะต้องดำเนินการในมิติอื่นด้วย ทั้งการลงทุนในสหรัฐฯ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มการจ้างงาน ซึ่งภาคเอกชน ทั้งกลุ่มอาหาร และพลังงาน พร้อมลงทุนเพิ่ม จากปัจจุบันที่ไทยลงทุนอยู่แล้วใน 20 มลรัฐ มีการจ้างงานกว่า 11,000 ตำแหน่ง
ด้านสินค้าพลังงานจากอเมริกา ไทยได้นำเข้า น้ำมันดิบ ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว กว่า 3,000 ล้านเหรียญฯ ล่าสุด ปตท.ลงนาม MOU นำเข้าก๊าซ LNG 1 ล้านตันต่อปี ระยะเวลา 15 ปี รวม 7,500 ล้านเหรียญฯ
นอกจากนี้ ปตท. ยังลงทุนในสหรัฐ 1,200 ล้านบาทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงขยายการลงทุนไปรัฐอลาสกา ส่วนการที่สหรัฐฯ ขอให้ไทยพิจารณาต่ออายุสัมปทานบริษัทน้ำมันในไทยนั้น เรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด จะกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในการประชุมประจำปีของ Society for Advancing Business Editing and Writing (SABEW) ที่เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย วันศุกร์ที่ 4 เม.ย. เวลา 11.25 น.ตามเวลาสหรัฐฯ หรือตรงกับเวลา 22.25 น.ตามเวลาไทย
ผู้ชุมนุม คปท. นัดเคลื่อนพลบุกสภา ค้านร่างกม.Entertainment Complex

หุ้นแนะนำวันนี้
ADVANC รายได้จากการใช้อินเตอร์เน็ต และโทรในประเทศ น่าจะรอดจากหุ้นที่โดนเช็คบิล จากภาษีตอบโต้สหรัฐฯ (หลุมหลบภัยภาษี)
แนวรับ 270 แนวต้าน 285 ตัดขาดทุน 265

 

 

 

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

Wealth Insight

ภาษีทรัมป์ x โอกาส x ความเสี่ยง
Econ: จากการที่ทรัมป์ประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ หรือ Reciprocal tariff กับไทยสูงถึง 36% ในทุกๆ รายการ ในเบื้องต้น เราประเมินว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการส่งออกไทย เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยที่มีสัดส่วนการส่งออกกว่า 18.3% ของมูลค่าการส่งออกไทยทั้งหมด หากเราประเมินผลกระทบในเชิงตัวเลข เราอาจจะเห็นตัวเลขการส่งออกที่หดตัวต่ำกว่า 1% และอาจเห็น GDP growth ของไทยในปี 2025 ลงไปแตะ 1% หรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่สงครามการค้ายืดเยื้อ
อย่างไรก็ดี การที่ทรัมป์เรียกเก็บภาษีกับ 50 ประเทศคู่ค้าในอัตราที่สูงแบบนี้ ก็สะท้อนถึงความต้องการในการบีบการเจรจาทางการค้ากับคู่ค้าต่างๆ ให้จบเร็วขึ้น และสำหรับไทยเอง ภาครัฐก็คงต้องเร่งเจรจาทางการค้าเร็วขึ้น และเราอาจจะเห็นภาพการเปิดเสรีทางการค้าในบางกลุ่มสินค้าเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าไทยอาจจะจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลายรายการที่ไทยเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ สูง และอาจจะมี Non-tariff barriers ทางการค้าในอดีต เช่น เนื้อหมู นอกเหนือจากถั่วเหลือง ข้าวโพด ที่เราเคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ และอาจจะต้องเจรจานำเข้าสินค้าพลังงานหรือสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เครื่องบิน อาวุธ ยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น


Strategist: คาดกดดัน sentiment ตลาดหุ้นไทยรุนแรงจากความกังวลผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรง และทางอ้อม ในแง่ผลกระทบทางตรง สัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปสหรัฐฯ ของ SET อยู่ที่ราว 1.4% โดยบริษัทฯ ที่มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกไปสหรัฐฯ สูง เช่น ITC (ราว 50%), TU (ราว 39%), DELTA (ราว 25%), HANA (ราว 25%), KCE (ราว 23%), CPF (ราว 10%), SAT (ราว 5%)


Base Case ของเราที่ให้น้ำหนักความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจจนเข้าสู่ Mild Recession เป็นความเสี่ยงต่อกลุ่ม Cyclical/Global Play โดยสำหรับไทย Downside ต่อ EPS ของ SET ราว 6-7%


และหากอิงจากข้อมูลในอดีต การปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลง 1% อาจส่งผลให้ การประมาณการกำไรของ SET ลดลงถึง 4.4% ทำให้เรามอง EPS ของ SET อาจมี downside อยู่ที่ราว 88


หากอิงจาก PER ต่ำสุดช่วง Trade War รอบแรก และ COVID จะได้ PER ที่ 12.3x (-1.75SD จากค่าเฉลี่ย 10 ปี) ทำให้ประเมิน downside ของ SET ราว 1080
ในแง่กลยุทธ์ระยะสั้น ยังเน้นเพิ่มน้ำหนักกลุ่ม Defensive เช่น โรงพยาบาล สื่อสาร และ Domestic เช่น ค้าปลีกของใช้จำเป็น (Consumer staples) ที่มีรายได้พึ่งพาในประเทศสูง

ในขณะที่ ลดน้ำหนักกลุ่ม Exporter ไปสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง, ลดน้ำหนักหุ้น Cyclical/Global Play ที่อ่อนไหวต่อการชะลอตัวของการค้าโลก
ทั้งนี้ มองถือเงินสดบางส่วนเพื่อรอเข้าซื้อในช่วง Turning Point สำคัญ คือ “สัญญาณการเปิดทางเจรจา” และสัญญาณจุด Bottom ของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังสงครามการค้าคลี่คลาย จึงเป็นสัญญาณสำคัญในการเพิ่ม Beta พอร์ต ทยอยเข้าสะสมหุ้นที่ราคาย่อตัวแรงก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะกลุ่มวัฏจักร/Global Play เช่น กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์จากคาดเศรษฐกิจโลกผ่านจุดต่ำสุด และเข้าสู่การเติบโตรอบใหม่

 

 


Retails Sector
ยอดขายสาขาเดิมทรงตัวในเดือน มี.ค. แต่ เม.ย. คาดดีขึ้น
ยอดขายสาขาเดิม (SSS) โดยรวมยังทรงตัว YoY ใน มี.ค. ตามคาด (เทียบกับ ก.พ. ที่ -3% YoY) โดยกลุ่มสินค้าจำเป็น (Grocery) ที่ +2% YoY (จาก -1% YoY ใน ก.พ.) เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดย CPALL และ BJC มี SSSG เด่น +2–3% จากสินค้าพร้อมทาน ส่วน CPAXT ชะลอจากยอดขายเหล้าที่ลดลง
ส่วนกลุ่มซ่อมแซมและตกแต่งบ้าน (HD&C) เริ่มฟื้นเล็กน้อย เหลือติดลบที่ -1% YoY แต่ถือว่ายังอ่อนแอจากอุปสงค์ที่ไม่แน่นอน โดย GLOBAL คาด -5% (ดีขึ้นจาก -7% ใน ก.พ.) จากยอดขายเหล็กที่เริ่มกลับมา ส่วนผู้เล่น HD&C รายอื่นส่วนใหญ่รายงาน SSS ทรงตัว ส่วนกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย CRC คาดว่ามี SSSG ติดลบระดับ low- to mid-single digit ตามฐานสูงจากเทศกาล Tet ในเวียดนาม

ภาพรวม 1Q25 ทำให้ SSS อยู่ที่ -1% YoY พลิกมาจาก +1% YoY ใน 4Q24 สาเหตุหลักมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังซบเซา ผลกระทบปีปฏิทินเดือน ก.พ. ที่ปีที่แล้วมี 29 วัน และการใช้จ่ายในเมืองที่เบาลง โดยกลุ่ม HD&C ถูกกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะ GLOBAL ที่รายงาน SSS -6% เทียบกับสมมติฐานทั้งปีที่ flat (0%) และ CRC ที่รายงาน -3% เทียบกับสมมติฐานทั้งปี +4% ทำให้มีความเสี่ยงด้าน downside ต่อประมาณการกำไร 2025

แนวโน้ม เม.ย. จะเป็นจุดเริ่มฟื้น SSS ชัดเจน คาดว่า SSS จะเร่งตัวขึ้นชัด จากแรงกระตุ้นภาครัฐ ฤดูท่องเที่ยว และฤดูร้อน
Fundamental view: เราคาดว่า Grocery จะยังเป็นกลุ่มนำ โดยเฉพาะ CPALL และ BJC ส่วน HD&C อาจมีโอกาสพลิกฟื้นโดยเฉพาะในเมือง หนุนโดยเทศกาลสงกรานต์และอากาศร้อน ซึ่งจะส่งผลบวกต่อยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและปรับปรุงบ้าน โดย HMPRO จะเป็นผู้ได้ประโยชน์เด่นในกลุ่มนี้

 

 

Tourism Sector
ความเสี่ยงเพิ่ม
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1Q25 อยู่ที่ 9.5 ล้านคน (+1.9% YoY) คิดเป็น 25% ของเป้าทั้งปีที่ 38 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าปกติที่ควรอยู่ที่ 26–28% สาเหตุหลักจากนักท่องเที่ยวจีนลดลง 24% YoY จากความกังวลเรื่องความปลอดภัย ขณะที่การถือศีลอด (Ramadan) มาเร็วกว่าปี 2024 ก็ลดการเดินทางของนักท่องเที่ยวมาเลเซียและตะวันออกกลาง แต่ประวัติศาสตร์ชี้ว่า หลัง Ramadan จะมีการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว (MoM เติบโตเป็นเลขสองหลัก) โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์กลาง เม.ย.

อย่างไรก็ดี แรงส่งอาจถูกกดดันจากแผ่นดินไหวเมียนมาเมื่อ 28 มี.ค. ซึ่งสั่นสะเทือนถึงกรุงเทพฯ และส่งผลต่อความเชื่อมั่น นักลงทุนควรระวังว่าผลประกอบการ 2Q25 อาจทรงตัว YoY ก่อนที่จะกลับมาแข็งแรงขึ้นใน 3Q25 โดย 2H25 ยังจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายทั้งปีที่ 38 ล้านคน

แม้โรงแรมไม่มีความเสียหายร้ายแรงและมีประกันคุ้มครอง แต่แนวโน้มการจองใน เม.ย. เริ่มอ่อนตัว เช่น CENTEL มียอดขาย QSR วันที่ 28 มี.ค. ลดลง 30% แต่ฟื้นตัวเร็ว โดยเราวิเคราะห์ว่า MINT ได้รับผลกระทบน้อยสุด (รายได้ในไทยคิดเป็น 18%) รองลงมา CENTEL และ ERW (~40%) ขณะที่ AWC เสี่ยงสุดเพราะพึ่งพารายได้จากกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ถึง 90% ส่วน AOT ไม่ได้รับผลกระทบด้านปฏิบัติการโดยตรง แต่การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนที่ช้าอาจกดดันรายได้จาก Duty Free

Fundamental view: เรายังชอบ MINT และ CENTEL สำหรับ 2Q25 จากแนวโน้มการเติบโตที่ชัดเจน ทั้ง RevPar ที่โตดีในไทย ยุโรป และมัลดีฟส์ สำหรับ MINT และแนวโน้มโรงแรมในพัทยา สมุย ภูเก็ต และโอซาก้าของ CENTEL โดยที่ MINT มี Upside จาก high season ในยุโรป และกระแสซีรีส์ White Lotus หนุนการท่องเที่ยวสมุย ขณะที่ ERW ก็ยังมีทิศทางบวกจาก HOP Inn

 


สรุปประเด็นจาก Quick take

Construction
เร่ง TOR ความเร็วสูงไทย-จีน
"คมนาคม" สั่งการรถไฟเร่งทำร่าง TOR รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟส 2
View from fundamental: มองบวกต่อกลุ่มรับเหมาฯ ใหญ่ อย่าง CK-STECON ที่เดิมไม่ได้งานในเฟส 1 ที่ออกแบบและกำหนด Spec. โดยจีน ส่วน CIVIL ที่ทำงานนี้ได้ดีในเฟส 1 ก็น่าจะมีส่วนร่วมต่อ

Economics Update
ลดค่าไฟ-น้ำมัน เพิ่มอำนาจซื้อครัวเรือนมากน้อยแค่ไหน ?
จากนโยบายภาครัฐที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคภาคประชาชน ส่งผลให้ 1) น้ำมันลดลง 1 บาทต่อลิตร และ 2) ค่าไฟมีแนวโน้มลดลงจาก 4.15 บาทต่อหน่วย เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย เป็นเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่พฤษภาคม – สิงหาคม 2568) ซึ่งเป็นไปตามกรอบของ ครม. ที่รับทราบ ณ ปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้มีมติอนุมัติ

 

 

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้