Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

326

 

สงครามผ่อนคลาย ลุ้นประชุม FED คืนนี้
TOP PICK BEM / CPALL/ CCET

 

EXTERNAL FACTOR
- มีสัญญาณที่ดีขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยล่าสุด ปธน. TRUMP – PUTIN ไฟ เขียวหยุดยิงต่อเป้าหมายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในสงครามยูเครน เป็นเวลา 30 วัน คาดช่วยคลายความกังวลจากการผลิตน้ำมันในฝั่ง SUPPLY

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ย่อตัวลงมาราว -0.6% ถึง -1.1% ซึ่งอยู่ในช่วง WAIT & SEE ในการ ประชุมธนาคารการต่างๆ ในวันที่ 19 มี.ค. 68 ได้แก่ ญี่ปุ่น (BOJ) และสหรัฐฯ (FED)รอ ดูถ้อยแถลงของ POWELL และคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ รวมถึง DOT PLOT

- FED WATCH TOOL ให้น้ำหนัก 100% คาดว่า FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.5% ในการ ประชุมคืนนี้และในปีน้อาจเห็นการลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง

 

INVESTMENT STRATEGY
- เดือนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ(S&P500)ปรับฐานหนัก -5.7%MTD มากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก จากความกังวล สงครามทางการค้าบานปลาย ซึ่งหนุนให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขยายตัวและหนุนให้ FED คงดอกเบี้ยไว้นานกว่าเดิม

- ตลาดหุ้นไทยเริ่มดูดีขึ้น จาก VALUATION ที่ถูก และดัชนีสะท้อนปัจจัยลบต่างๆไปมากแล้ว ซึ่งระดับ MEYGของ ไทยดูโดดเด่น และเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีจาก ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยราว 26 ล้านเหรียญ พร้อมกับโบรก ต่างชาติ UBS ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้นไทยเป็น OUTPERFORM เช่นกัน โดยฝ่ายวิจัย แนะนำหุ้นถูกทั้ง PBV และ P/E อย่าง BCP, TOP, AP, SPALI, SIRI, PTTEP, BBL, PTT, LH, CPF, JMART, SCGP, SCC, STECON

 

จับตาการประชุม FED คืนนี้
วานนี้ราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวลดลง โดย WTI ย่อตัวลงมาใกล้หลุด 70 เหรียญฯ/บาเรล หลังมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จึงช่วยคลายความกังวลจากการผลิตน้ำมันในฝั่ง SUPPLY โดยล่าสุด ปธน. TRUMP – PUTIN เห็นพ้องกันที่จะให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 30 วัน ต่อเป้าหมายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในการทำ สงครามยูเครน และจะมีการเริ่มต้นเจรจาหยุดยิงในวงกว้างขึ้นโดยทันที

 

ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ย่อตัวลงมาราว -0.6% ถึง -1.1% ซึ่งอยู่ในช่วง WAIT & SEE ในการประชุมธนาคารการ ต่างๆ ในวันนี้ (19 มี.ค. 68) ได้แก่ ญี่ปุ่น (BOJ) และสหรัฐฯ (FED)

 

หากพิจาณา INDICATORS เศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา เห็นสัญาณการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อ ซึ่ง ถือเป็นปัจจัยเร่งในการปรับลดดอกเบี้ย ส่วนในมุมตลาดแรงงานมีความผสมผสาน โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ใน ระดับต่ำ ขณะที่การจ้างงานอ่อนแอลง

 

สำหรับ BOND YIELD 10Y ของสหรัฐฯ ล่าสุดย่อตัวอยู่ที่ 4.28% เชื่อว่าจะทำให้คาดการณ์ DOT PLOT รอบใหม่ คืนนี้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก

 

ในส่วนของ FEDWATCH TOOL ให้น้ำหนัก 100% คาดว่า FED จะคงดอกเบี้ย ไว้ที่ 4.5% ในการประชุม 19 มี.ค. 68 และในปีน้อาจเห็นการลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง

 

ข้อเสนอการลดหนี้ครัวเรือน และผลต่อผู้ให้สินเชื่อ
ภายหลังอดีตนายกรัฐมนตรี คุณทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเวทีปราศรัยที่พิษณุโลก กล่าวถึงการแก้ปัญหานี้ครัวเรือน ผ่าน วิธีการซื้อหนี้จากธนาคาร แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อน โดยวานนี้สื่อในประเทศรายงานว่าทางกระทรวงการคลังอยู่ ระหว่างการศึกษาวิธีการ

 

สำหรับข้อมูล ณ สิ้นปี 2567 ระบบธนาคารมีสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยราว 2.7 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 18% ของสินเชื่อรวม) การบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ 1.6 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 10% ของสินเชื่อ) และเช่าซื้อรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ 1.0 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 7%ของสินเชื่อ) โดยสินเชื่อ NPL ของสินเชื่อ 3 กลุ่มข้างต้น เท่ากับ 1.74 แสนล้านบาท (สัดส่วน 3.3%) และ STAGE 2 ประมาณ 4.2แสนล้านบาท (สัดส่วน 7.8%)

 

ในมุมฝ่ายวิจัยมองว่าความสำเร็จของนโยบายนี้อยู่ที่การจัดหาแหล่งเงินทุน ขณะที่การบริหารหนี้รายย่อย ซึ่งมี จำนวนมาก เป็นจุดแตกต่างกับการแก้ปัญหาสินเชื่อธุรกิจ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธ.พ. มีการบริหาร NPL ผ่านการขายให้ บริษัทบริหารสิทรัพย์ (AMC) อยู่แล้ว

 

ทั้งนี้ กรณีที่มีมาตรการเกิดขึ้น ในระยะสั้นแม้การซื้อหนี้ NPL และ STAGE 2 กระทบรายได้ของ ธ.พ. ตามสินเชื่อที่ ลดลง แต่จะได้ประโยชน์ฝั่งคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น และทำให้ทิศทาง CREDIT COST ลดลง เข้ามาชดเชยรายได้ โดย กลุ่มสินเชื่อมีหลักประกัน อย่างบ้าน น่าจะเป็นกลุ่มที่เป็นเป้าหมายหลักของนโยบายนี้ ในฝั่งผู้ซื้อ NPL อยากได้ หลักประกันไว้บริหารจัดการความเสี่ยง เช่นเดียวกับฝั่งผู้ขาย (ธ.พ.) น่าจะอยากขายสินเชื่อกลุ่มนี้ หากได้ราคาที่ เหมาะสม เนื่องจากปกติแล้วหลักประกันอย่างบ้าน สภาพคล่องในการซื้อขายไม่สูง ทำให้ NPL ของสินเชื่อบ้านคงค้าง ในงบดุลของ ธ.พ. นานกว่ากลุ่มสินเชื่อที่มีหลักประกันเป็นรถยนต์ ซึ่งการบริหารจัดการ NPL เร็วกว่าบ้าน ผ่านการ ขายรถยึด รวมถึงบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ถูกจัดการด้วยการ WRITE-OFF หรือขาย ได้ไวอยู่แล้ว ส่วนระยะยาว ระดับ NPL ที่ลดลงในงบดุลของธนาคาร จะช่วยสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารระยะถัดไป รวมถึงหนุนต่อ ระดับเงินกองทุน เอื้อให้เกิดการบริหารโครงสร้างเงินทุนในลำดับถัดไป ทั้งการเพิ่มนโยบายปันผลและซื้อหุ้นคืน โดย ธ.พ. ที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้านสูง นำโดย SCB TTB และ KTB

 

ด้านกลุ่ม NON – BANK ประเมินผลจากมาตรการนี้เป็นไปในรูปแบบเดียวกับ ธ.พ. และคาดผลกระทบไม่สูง ตาม มุมมองที่ว่าสินเชื่อเป้าหมายของนโยบายนี้น่าจะอยู่ในกลุ่มสินเชื่อบ้าน มากกว่าสินเชื่อประเภทอื่น

 

คำแนะนำลงทุนกลุ่มธนาคาร ยังมีความน่าสนใจเชิง PBV ต่ำและ DIV YIELD ราว 6% - 9% เน้นตั้งรับ KTB (ROE สูงสุดในกลุ่ม ธ.พ. ใหญ่ และมีโอกาสบริหารโครงสร้างเงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งเพิ่มนโยบายปันผลและซื้อหุ้นคืน), BBL (PBV ไม่แพง 0.47 เท่า และ COVERAGE RATIO สูงสุดในกลุ่มฯ) และ TTB (ซื้อหุ้นคืน) ด้าน NON – BANK เลือก MTC

 

ตลาดหุ้นไทยเริ่มโดดเด่นจากประเทศเพื่อนบ้าน เน้นหุ้นถูก (PBV<1) และมีอัตราการทำกำไรที่ดี EARNING YIELD > 4%
เดือนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ(S&P500)ปรับฐานหนัก -5.7%MTD มากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก จากความกังวลสงคราม ทางการค้าบานปลาย ซึ่งหนุนให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขยายตัวและหนุนให้ FED คงดอกเบี้ยไว้นานกว่าเดิม แม้จะมีปัจจัย หนุนจากกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 4Q67 ที่ออกมาดีกว่าคาดก็ตาม

 

ส่วนตลาดหุ้นไทยเริ่มดูดีขึ้น หลังมี VALUATION ที่ถูก และสะท้อนปัจจัยลบต่างๆรวมถึงแรงขายจากกองทุน LTF ไป มากแล้ว ซึ่งระดับ MARKET EARNING YIELD GAP ของไทยดูโดดเด่น โดย EYG ของ SET ที่ EPS 89 บาท/หุ้น ที่ 7.6% -> MEYG 5.6%(เกินระดับ +2SD.)ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯมี EYG 4.9% -> MEYG 0.4%ส่วนประเทศเพื่อนเราเรา ทั้งฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ก็มีระดับ MEYG ต่ำกว่าไทยทั้งสิ้น ซึ่งทำให้วานนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ดี คือ ต่างชาติสลับ มาซื้อหุ้นไทยราว 26 ล้านเหรียญฯ และโบรคต่างชาติอย่าง UBS ก็ปรับคำแนะนำเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยเป็น OUTPERFORM จาก NEUTRAL ซึ่งหลังจากนี้น่าจะเห็นแรงขายหุ้นไทยลดลงได้อย่างมีนัยฯ

 

ดังนั้น กลยุทธ์แนะนำทยอยสะสมหุ้นถูก (PBV<1) และมีอัตราการทำกำไรที่ดี EARNING YIELD > 4% อย่าง BCP, TOP, AP, SPALI, SIRI, PTTEP, BBL, PTT, TU, LH, CPF, JMART, SCGP, SCC, STECON และหุ้นอื่นๆ

 

Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้