Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

471

 

โอกาสที่จะเห็น FUND FLOW ไหลกลับมีน้อยลง
การเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ ในวันที่ 5 พ.ย.67 ถือเป็นประเด็นที่มีน้ำหนัก ในการกำหนดทิศทาง FUND FLOW โดยจากการตรวจสอบข้อมูลจาก โพลสำนักต่างๆ รวมถึง WEB SITE พนัน (แบบถูกกฎหมายใน ต่างประเทศ) พบว่ามีโอกาสสูงกว่าที่ REBUBLICAN จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งหาก พิจารณาจากสัญญาณที่ส่งผ่านออกมาจากตลาดการเงิน พบว่า BOND YIELD ขยับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หนุน USD แข็งค่า ซึ่งในเชิง เปรียบเทียบก็ทำให้เงินบาทมีโอกาสกลับมาอ่อนค่า ซึ่งภาวะดังกล่าวถือ ว่าไม่เอื้อต่อการที่ FUND FLOW จะไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นบ้านเรา ดังนั้นหาก SET INDEX จะปรับตัวสูงขึ้นคงต้องหวังพึ่งพาเม็ดเงินลงทุน จากสถาบันในประเทศเป็นหลัก สำหรับในบ้านเราวานนี้มีการประกาศ ตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย.พบว่าเพิ่มขึ้น 1.1% YOY ต่ำกว่าคาด

 

ประเมินภาพตลาดวันนี้ยังอยู่ในภาวะที่ขาดแรงขับเคลื่อน ทำให้ยังต้องอยู่ในช่วงการปรับฐาน คาด SET INDEX วันนี้อยู่ในกรอบ 1450 –1462 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CBG, PLANB และTASCO

 

เตรียมรับมือผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024
เหลือเวลาอีกแค่ 1 สัปดาห์ ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47ในวันที่ 5 พ.ย. 67 ซึ่งจากสถิติก่อนและหลังการเลือกตั้ง 3 ครั้งล่าสุด : 1 สัปดาห์ตลาดหุ้นสหรัฐมักผันผวน และจะผันผวนต่อไปจนถึงช่วง2 สัปดาห์หลังเลือกตั้ง

 

ขณะที่ POLL ผลสำรวจล่าสุดของ BLOOMBLERG เผย TRUMP มีคะแนนความ นิยมแซงหน้า HARRIS แล้ว ในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งซึ่งช่วงเดือน ต.ค. ของก่อน การเลือกตั้ง 3 รอบหลังสุด คะแนนความนิยมของ TRUMP เร่งขึ้นมาเสมอ ส่วนหนึ่ง เพราะผู้ชื่นชอบ TRUMP มักจะเปิดเผยตัวในช่วงท้ายก่อนการเลือกตั้ง

 

หากอ้างอิงจากสถิติในอดีต ผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่ มักจะเป็นไปตามผลสำรวจ ทำให้ “โอกาสที่ TRUMP จะชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง”

 

เมื่อพิจารณานโยบายหลักๆ หากพรรค REPUBLICAN ชนะ คือ การปรับ COPERATE TAX ในสหรัฐฯลงจาก 21% เหลือ 15% ,การเพิ่มภาษีนำเข้าจากจีน ซึ่งล่าสุดอาจตั้งกำแพงภาษีเพิ่มเป็น 150 – 200% ถ้าจีนบุกไต้หวัน และการกลับมาของ AMERICAN FIRST อาจเสี่ยงทำให้สงครามการค้าจีน-สหรัฐ (TRADE WAR) ปลุกความร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง

 

สำหรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาพรวม จากการเดินหน้านโยบายหลักๆ ของ พรรค REPUBLICAN อาทิ

 

แผนลดภาษีนิติบุคคลเป็น 15% (จาก 21%) ของ TRUMP มีแนวโน้มจะหนุน ให้กำไรบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น โดย GOLDMAN SACHS คาดว่าจะช่วยผลักให้ EPS GRWOTH ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว +4.0% ในปี 2568

 

แผนงบประมาณขาดดุลในช่วงเวลา 10 ปี (ปี 2569 – 2578) คณะกรรมการ ดูแลงบประมาณของรัฐบาลกลาง (CFRB) คาดว่า TRUMP มีแนวโน้มก่อหนี้ เพิ่มขึ้นราว 7.5 ล้านล้านเหรียญฯ ส่วน HARRIS มีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่มขึ้น ราว 3.5 ล้านล้านเหรียญฯ (TRUMP อาจทำให้ภาระขาดดุลการคลังสูงกว่า HARRIS อีกกว่า 1 เท่าตัว) ทำให้ความกังวลต่อการก่อหนี้ในอนาคต ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น

 

แผนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่ม 60% และประเทศคู่ค้าอื่นๆ เพิ่ม 10% ของ TRUMP อาจทำให้ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐฯ กลับสู่กรอบเป้าหมายยากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคาดการณ์ของสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ (PIIE) ที่ประเมินว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะเร่งตัวขึ้นมากในปี 2568 ราว 0.7% - 1.3% (จากกรณีปกติ) เสี่ยงส่งผลให้วงจรดอกเบี้ยขาลงของ FED อาจต้องหยุดชะงักลง ซึ่งความกังวลนี้ส่งผ่านไปยัง BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ ขยับขึ้น ตามคะแนนความนิม TRUMP ที่ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น

 

ความเสี่ยงการตั้งกำแพงภาษีกลุ่ม BRICS 100% ของ TRUMP อาจกดดัน การเติบโตเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก กลุ่ม BRIC มีสัดส่วน GDP 20.6% ของทั้งโลก และมีสัดส่วนการค้าขายทั่วโลก 15.2% รวมถึงมีสัดส่วนค้าขายกับไทย 11.8%

 

ขณะที่การตั้งรับของไทย หาก TRUMP ได้รับการคัดเลือกเป็น ปธน. สหรัฐฯ สมัยที่ 2 จริง คาดว่าจะช่วยหนุนให้ยอด BOI และ FDI เร่งตัวขึ้นเฉกเช่นในอดีต จากการรีบสต็อกสินค้าก่อนสหรัฐฯขึ้นภาษี รวมถึงการย้ายฐานการผลิต เพื่อหลีกหนี TRADE WAR มาที่ไทยเพิ่มขึ้น โดยเมื่อตอนที่ TRUMP ได้เป็น ปธน. สมัยที่ 1 SET -3.0% แต่ มีกลุ่มหุ้นที่ขึ้นได้ดี คือ

 

หุ้นกลุ่มนิคมอย่าง AMATA +84%, ROJNA +46% และ WHA +19%
หุ้นกลุ่มเดินเรือที่ BDI +98% หุ้นกลุ่มเดินเรืออย่าง RCL +856%, PSL +102%, TTA +5%
หุ้นกลุ่มค้าเหล็กอย่าง TSTH +49% TMT +29%

 

นอกจากนี้บ้านเรายังมีความเสี่ยงที่พึงระวังเพิ่มเติม !!! คือ 1.) ต้นทุนการทำธุรกิจใน สหรัฐฯ ที่จะลดลง อาจหนุนให้ EPS GROWTH เพิ่มขึ้น คาดกดดัน FUND FLOW ไหลออกจากบ้านเราและไหลเข้าสหรัฐฯ มากขึ้น 2.) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า และผันผวน 3.) เงินเฟ้ออาจขยับสูงขึ้น จากราคาสินค้าพุ่ง ซึ่งเป็นแรงผลักจากฝั่ง SUPPLY 4.) อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจตึงไว้ในระดับสูงนานขึ้น ซึ่งจะการเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ

 

FUND FLOW มีโอกาสไหลเข้าหุ้นไทยน้อยลง หาก TRUMP ชนะการเลือกตั้ง
ปัจจุบันเริ่มเห็นโอกาสที่ ทรัมป์ จะเป็นปธน. สหรัฐ คนใหม่ ตามคะแนนความนิยมที่เร่ง ขึ้นมาในช่วงโค้งสุดท้าย รวมถึงเว็บพนันถูกกฏหมายหลายแห่ง ให้ทรัมป์มีโอกาสชนะ 65.2%

 

ส่งผลให้เห็นการโยกย้ายเม็ดเงินไปสู่สินทรัพย์ที่ได้กระแสเชิงบวก อาทิ บิตคอยน์ +10% (MTD) รวมถึง BOND YIELD 10 ปีสหรัฐฯ ที่ขึ้นมาแรง เกิน 60 BPS. ในช่วง 1 เดือนกว่าๆที่ผ่านมาหลัง FED ประกาศลดดอกเบี้ยท้าย เดือน ก.ย. ตามกลไกยังกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า 5% และ FUND FLOW ไหลออกจากตลาดหุ้นไทย -2.1 หมื่นล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน

 

และหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งจริง ตามผลโพล และ BOND YIELD 10 ปี สหรัฐ ที่วิ่งขึ้นนำ BOND YIELD 10 ปี ไทย ไปถึง 1.86% (ส่วนต่างดังกล่าวเร่งเพิ่มขึ้นมาเร็ว 78 BPS. ในช่วง 1 เดือนกว่าๆ เท่านั้น) สภาวะดังกล่าว จะกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าที่ยังอ่อนค่าม่เยอะ มีโอกาสขยับขึ้นไปที่ 36 – 37 บาท/เหรียญ ได้ พร้อมกับกดดันให้ FUND FLOW อาจชะลอการไหลเข้าหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี เพราะมีโอกาสขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ และยังมีนโยบายของพรรค REPUBLICAN ที่จะลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 21% เหลือ 15% ส่งผลให้ EPS สหรัฐมีโอกาสปรับขึ้น คอยกดดันให้ FUND FLOW บางส่วนเลือกไหลกลับไปที่ตลาดหุ้นสหรัฐได้

 

สรุป FUND FLOW มีโอกาสไหลเข้าหุ้นไทยน้อยลงในช่วงที่เหลือของปี หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง เนื่องจากค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการแข็งค่า และ EPS ตลาดหุ้นสหรัฐมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการ ส่งผลให้ FUND FLOW ไหลออกจากตลาดหุ้นสหรัฐน้อยลงได้

 

ส่งออกต่ำคาด หวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
วานนี้กระทรวงพาณิชย์เผยยอดส่งออกเดือน ก.ย.67 บวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ออกมา +1.1%YOY ต่ำกว่าตลาดคาด +3.0%YOY และยอดนำเข้าออกมา +9.9%YOY สูงกว่าตลาดคาด +5.7%YOY และเกินดุลการค้า 394 ล้านเหรียญฯ (ถือเป็นการเกินดุลการค้าเป็นเดือนที่ 2) ซึ่งกลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัวเด่นๆ อาทิ ข้าว ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ขณะที่ระยะถัดไปผู้อำนวยการ สนค. มั่นใจว่า การส่งออกของไทยในปีนี้ มีโอกาสจะโตเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 2%YOY จากมูลค่าการส่งออกทั้งปี ที่มีแนวโน้มจะทำ NEW HIGH แตะที่ 290,000 ล้านดอลลาร์

 

ส่วนประเด็นในประเทศถัดมา คือ กกร.ได้ระดมความเห็นจากภาคธุรกิจในสาขาต่าง ๆ และจัดทำเป็นสมุดปกขาวข้อเสนอทางเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการพิจารณาดำเนินการทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยมีประเด็นข้อเสนอ เป็น 4 ด้านสำคัญ คือ 1) การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 2) การช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMES) 3) การบริหารจัดการน้ำ และ 4) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนโดยตรง คงเป็นข้อเสนอที่ 1 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเอกชนเสนอให้เสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะ โครงการคูณสอง โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณกึ่งหนึ่ง อาทิ มาตรการคนละครึ่ง รวมถึงมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายช่วงต้นปี 2568 เช่น EASY E-RECEIPT และ มาตรการทางภาษีอื่นๆ และหากพิจารณาข้อมูลในอดีต ช่วงที่เศรษฐกิจไทยมีแรงกระตุ้นทยอยฟื้นตัวได้สูงกว่าคาดการณ์ มักจะหนุนให้ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มขยับขึ้น ตามไปด้วย อาทิ ช่วง 1Q66-1Q65 เป็นต้น ส่วนหุ้นที่น่าทยอยสะสมหลังจากนี้ คือ หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ทางตรงจากนโยบายแจกเงินของภาครัฐฯ อาทิ

 

กลุ่มเกษตร-อาหาร TU CPF CBG SAPPE SNNP ICHI NSL M
กลุ่มค้าปลีก CPALL CRC BJC HMPRO COM7
กลุ่มเช่าซื้อ MTC SAWAD TIDLOR BAM

 

สรุป เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามความคาดหวังการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดหนุน SET ขยับขึ้นได้ต่อในช่วงที่ เหลือของปี

 

ทิศทางกำไรกลุ่มก่อสร้าง-รับเหมาฯ และ เกษตร-อาหารฯ
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : เข้าสู่ช่วง LOW SEASON ในไตรมาส 3 เพราะเป็นฤดูฝน แม้ว่าปีนี้จะมีความคาดหวังเกี่ยวกับการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐก่อนสิ้นสุด ปีงบประมาณในเดือน ก.ย แต่ก็ส่งผลบวกต่อสินค้ายางมะตอยเท่านั้น โดยคาด TASCO จะมีกำไรในงวด 3Q67 เติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่มฯ ขณะที่สินค้าวัสดุ ก่อสร้างอื่นๆยังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่เน้นตลาดในประเทศเป็นหลักอย่าง DCC และ DRT ส่วนผู้ผลิตปูนซีเมนต์ เผชิญปัจจัยลบด้าน DEMAND เป็นหลัก แม้ว่าในเชิงต้นทุนถือว่าผ่อนคลายลงเพราะค่าไฟฟ้าไม่ได้เพิ่มขึ้น จาก 2Q67 และราคาถ่านหินก็ยังต่ำกว่าปีก่อน ผู้ประกอบการทุกรายก็มีโครงการลด COST เช่น การติดตั้ง SOLAR ROOF การใช้เชื้อเพลิงทดแทน อย่างไรก็ตาม บริษัท ในกลุ่มปูนซีเมตต์อย่าง SCC และ TPIPL มีสัดส่วนผลประกอบการมาจากธุรกิจปิโตรเคมีสูง จึงได้รับผลกระทบเชิงลบจาก SPREAD ในธุรกิจปิโตรเคมีที่ลดลง ส่งผลให้ผลประกอบการ 3Q67 ไม่โดดเด่น มีเพียง SCCC ที่น่าจะทำกำไรได้เติบโตได้ทั้ง QOQ และ YOY หนุนจากธุรกิจในต่างประเทศที่ทำกำไรดีขึ้น บวกกับค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหารที่ลดลงจากปีก่อนที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างองค์กร เลือก SCCC (FV@BT 196 ) และ TASCO (FV@BT 21.00 ) เป็นหุ้น TOP PICKS ของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง

 

กลุ่มรับเหมาฯ : แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทรับเหมารายใหญ่น่าจะดีขึ้นกว่างวด 2Q67 ที่มีปัญหาต้นทุนบานปลาย ทำให้มีการปรับปรุงต้นทุนก่อสร้างไปแล้ว คาดอัตรากำไรขั้นต้นในงวด 3Q67 จะกลับเข้าสู่ระดับปกติอีกครั้ง โดย CK น่าจะเป็นบริษัทก่อสร้างที่ทำผลงานได้ดีที่สุด เพราะไตรมาสที่ 3 จะเป็นไตรมาสที่ CK รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก CKP และ BEM สูงที่สุดของปี โดยที่ธุรกิจก่อสร้างของ CK ก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่องต้นทุนเหมือนบริษัทก่อสร้างอื่นๆ สำหรับ STEC แม้คาดหวังจะเห็นอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้น แต่การรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนตามส่วนได้เสียจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพูที่ STEC เข้าไปถือหุ้น 15% ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันผลประกอบการ ส่วน ITD มีความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับรายการพิเศษในทาง ลบที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงหลังๆ โดยเฉพาะรายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ สูญ ดังนั้นฝ่ายวิจัยเลือก CK (FV@ BT 27) เป็นหุ้น TOP PICK ในกลุ่มรับเหมา

 

กลุ่มเกษตร/อาหาร: ทิศทางผลประกอบการ 3Q67 ของหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรและอาหารภายใต้การดูแลของฝ่ายวิจัย ได้แก่ CPF ,GFPT ,TU และ ITC ประเมินกำไรปกติ กลุ่มฯ รวม 9.43 พันล้านบาท พลิกจากขาดทุนปกติ 928 ล้านบาทงวด 3Q67 หนุน หลักจากกลุ่มผู้ผลิตเนื้อสัตว์อย่าง CPF และ GFPT ซึ่งได้ประโยชน์จากราคาเนื้อสัตว์ ปรับตัวดีขึ้น และต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง ตามด้วย ITC กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง ที่มีการเติบโตของยอดขายและมาร์จิ้น หนุนต่อการทำกำไร ขณะที่ TU คาดกำไรอยู่ในระดับ ทรงตัว YOY สำหรับกำไรกลุ่มฯ ในเชิง QOQ คาดเพิ่มขึ้น 7% จาก 2Q67 ที่มีกำไร ปกติ 8.8 พันล้านบาท จาก CPF และ TU ดีขึ้น ขณะที่ ITC และ GFPT คาดกำไรอ่อนตัวเล็กน้อย QOQ โดย ITC มีแรงกดดันจากค่าเสื่อมราคาโรงงานใหม่ และค่าใช้จ่าย ปรับโครงสร้างธุรกิจ ส่วน GFPT จากส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมลดลง

 

แม้ทิศทางกำไรปกติกลุ่มฯ 3Q67 ดีขึ้น QOQ และ YOY แต่คาดเป็นระดับกำไรที่สูงสุด ในรอบปีนี้ ก่อนอ่อนตัว QOQ ใน 4Q67 และต่อเนื่อง 1Q68 (ปกติไตรมาส 1 ต่้ำสุดของปี) จากปัจจัยนอกฤดูกาล ขณะเดียวกันยังคงต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยแม้ค่าเงินบาท/USD เดือน ต.ค. เคลื่อนไหวในกรอบ 33-34 บาท/USD ใกล้เคียงเดือน ก.ย. แต่ยังแข็งค่าเทียบกับเฉลี่ย 3Q67 ที่ 34.76 บาท/USD และ 4Q66 ที่ 35.59 บาท/USD จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อกลุ่มฯ โดยหากพิจารณาในเชิงผลประกอบการ 3Q67 มองว่า CPF (FV@B30.00) เป็นตัวเลือกที่ดีในกลุ่มฯ เนื่องจากสามารถทำกำไรเติบโตเด่นสุดได้ทั้ง YOY และ QOQ

 



Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ยืน 1200 จุด By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ในท้องทุ่งสีเขียว หุ้นไทยบวกยืน 1200 จุดได้อีกครั้ง ...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้