สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ ( 10 ตุลาคม 2567 )---นาย อรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) (SLM) เปิดเผยว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ได้ประกาศเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทเอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) (SLM) จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยมีผลตั้งแต่วันที่30 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป เนื่องจากบริษัทไม่สามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนกรณีส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นเหตุให้หลักทรัพย์ของบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2542 ข้อ 9 (6) (ง) และ ข้อ 9 (15) นั้น
บริษัทขอเรียนชี้แจงและแสดงเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่า เหตุแห่งการเพิกถอนกรณีส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์ได้หมดไปแล้ว โดยเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 บริษัทได้ดำเนินการยื่นหนังสือต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อชี้แจงข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทสามารถดำเนินการแก้ไขเหตุเพิกถอนให้หมดไปได้แล้วและขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาให้บริษัทเข้าสู่ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย (Resume Stage) และเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศให้บริษัทเข้าสู่ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายซึ่งบริษัทจะต้องดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ภายในวันที่ 1 กันยายน 2566 (ระยะเวลา 2 ปี) ทั้งนี้หลักทรัพย์ของบริษัท “SLM” ยังคงถูกขึ้นเครื่องหมาย SP และ NC จนกว่าจะสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้
ภายหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศให้บริษัทเข้าสู่ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย(Resume Stage) บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีมีความโปร่งใส และการควบคุมภายในที่เพียงพอเพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นที่เชื่อถือแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และบริษัทยังคงเร่งสร้างรายได้จากธุรกิจหลักให้เติบโตมั่นคง การบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายในการขายได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริษัทมีผลการดำเนินและฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้บริษัทสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย (Resume Stage) ได้ภายในเวลาที่กำหนดและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจึงยื่นเอกสารประกอบการยื่นคำขอกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ และงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 (ไตรมาสที่ 2 ปี2564 - ไตรมาสที่ 1 ปี2565) ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อชี้แจงและแสดงเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้โดยงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน 16.76 ล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจหลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน16.99 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 54.18 ล้านบาท ต่อมาในภายหลังบริษัทได้มีการปรึกษาหารือและนำส่งข้อมูลเอกสารเพิ่มเติมประกอบการยื่นคำขอกลับมาซื้อขายให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน2565 - เมษายน 2566
และเมื่อวันที่ 17 - 18 เมษายน 2566 บริษัทได้ยื่นหนังสือการยื่นคำขอเพื่อกลับมาซื้อขาย พร้อมงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน 22.47 ล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจหลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน 22.79 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 70.50 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรม
ดำเนินงานเป็นบวก
ภายหลังการยื่นคำขอเพื่อกลับมาซื้อขายต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทได้นำส่งข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ก.ล.ต.”) อยู่เรื่อยๆ และทางตลาดหลักทรัพย์ฯ และก.ล.ต. ก็ได้มีการหารือกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชีของบริษัท เพื่อสอบถาม ขอความเห็นและขอข้อมูลเพิ่มเติม
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีหนังสือถึงบริษัท แจ้งผลการพิจารณาคำขอกลับมาซื้อขาย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนในการที่จะกลับมาซื้อขายได้ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เนื่องจากตามงบการเงินประจำปี 2566 บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานและมีผลขาดทุนสุทธิสะสมตั้งแต่งวดไตรมาสที่ 1 ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่สามารถอนุญาตให้หุ้นสามัญของบริษัทกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้ตามที่บริษัทยื่นคำขอ อย่างไรก็ดี หากบริษัทสามารถดำเนินการแก้ไขให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว บริษัทอาจจะชี้แจงข้อมูลเพื่อขอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณากรณีของบริษัทใหม่ได้และตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูล รวมถึงข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเรื่องนี้ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลสนับสนุนคำชี้แจงของบริษัทเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 บริษัทได้นำส่งหนังสือต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อชี้แจงข้อมูลลักษณะและสถานะการประกอบธุรกิจของบริษัทในปัจจุบัน และแนวทางดำเนินการเพื่อให้มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ และเมื่อวันที่23 พฤษภาคม 2567 บริษัทได้นำส่งข้อมูลประมาณการทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทในอนาคตต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการสอบถามและขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการประมาณการทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท
โดยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ELCID บนเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ แจ้งเตือนให้บริษัทเร่งดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย หากบริษัทยังไม่สามารถดำเนินการได้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเสนอคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อพิจารณาเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีหนังสือถึงบริษัท แจ้งการเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เนื่องจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาข้อเท็จจริง คำชี้แจงของบริษัท และเอกสารหลักฐานของบริษัท ประกอบกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า การที่หุ้นสามัญของบริษัทมีเหตุเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และจนถึงปัจจุบันบริษัทยังไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ ประกอบกับแนวทางดำเนินการที่บริษัทชี้แจงมายังไม่ทำให้มั่นใจได้ว่าจะทำให้บริษัทมีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องจนบริษัทสามารถมีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาอันใกล้อันถือเป็นเหตุให้หุ้นสามัญของบริษัทเข้าข่ายถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ 9 (6) (ง) และข้อ 9 (15) ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ
บริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้ทุ่มเทและพยายามอย่างสุดความสามารถในการดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 และ 31 ธันวาคม 2564 บริษัทมีรายได้รวม 207.31 ล้านบาท และ 180.87ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจำนวน 26.44 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.62 และบริษัทมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 22.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 12.58 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 123.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานจำนวน 10.21 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น และ
การบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทมีกำไรสุทธิ 7 ไตรมาสติดต่อกัน(ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 - ไตรมาสที่ 4 ปี 2565) เป็นจำนวน 33.05 ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจหลัก 7 ไตรมาสติดต่อกัน (ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 - ไตรมาสที่ 4 ปี 2565) เป็นจำนวน 33.51 ล้านบาทต่อมาบริษัทจึงได้ยื่นหนังสือการยื่นคำขอเพื่อกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเอกสารประกอบพร้อมงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อชี้แจงข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้โดยงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน 22.47 ล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจหลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน 22.79 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 70.50 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรม
ดำเนินงานเป็นบวก
สำหรับผลการดำเนินงาน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทมีรายได้รวมจำนวน 165.34 ล้านบาท ลดลงจำนวน 41.97 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 20.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวมจำนวน 207.31 ล้านบาทและบริษัทมีขาดทุนจากการดำเนินงานจำนวน 6.54 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 1 - 2 ปี 2566 บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานจำนวน 15.38 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งสร้างความกังวลต่อนักลงทุนต่อเนื่องส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ชะลอการลงทุนด้านโฆษณาและการโปรโมทสินค้า/บริการ เพื่อรอดูความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันกับข้อมูลการใช้งบโฆษณาระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2566 จัดทำโดยนีลเส็น ประเทศไทยและสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อโฆษณาแห่งประเทศไทย (MAAT) (1) พบว่า มีมูลค่ารวม 55,530 ล้านบาทลดลงร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่ารวม 55,621 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 3 - 4 ปี 2566บริษัทกลับมามีผลกำไรจากการดำเนินงาน จำนวน 8.83 ล้านบาท
หมายเหตุ: (1) ที่มา https://www.thansettakij.com/business/marketing/571054
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทมีรายได้รวมจำนวน83.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 9.95 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.62 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวมจำนวน 73.07 ล้านบาท และบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 4.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 19.42 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 126.30 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีขาดทุนจากการดำเนินงานจำนวน 15.38 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายลดลง เป็นผลมาจากในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2567 บริษัทมีการปรับลดค่าใช้จ่ายและปรับโครงสร้างองค์กร ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ปริมาณงานและการผลิต และการขับเคลื่อนองค์กรและสำหรับผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3 ปี2566 - ไตรมาสที่ 2 ปี2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน 12.48 ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจหลัก 4 ไตรมาสติดต่อกันเป็นจำนวน12.87 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการพิจารณาคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการจัดทำข้อมูลประมาณการทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ปี 2567โดยบริษัทคาดว่าจะมีรายได้จากการให้บริการจำนวน 143.00 ล้านบาท และคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน12.35 ล้านบาท บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างรายได้และกำไรได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
บริษัทมีฐานะการเงินที่มั่นคง มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอตามสภาพธุรกิจ บริษัทมีหนี้สิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน2567 เท่ากับ 64.71 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2566 จำนวน 6.83 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่น และหนี้สินตามสัญญาเช่าที่ครบกำหนดชำระในหนึ่งปีบริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 และ 31 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 67.51 ล้านบาท และ 63.33 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้น 4.18 ล้านบาทเนื่องจากบริษัทมีผลกำไรสุทธิระหว่างงวด ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของส่วนของผู้ถือหุ้น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 มีจำนวน 0.15 ล้านบาท เป็นผลมาจากลูกหนี้การค้าและลูกหนี้หมุนเวียนอื่นที่เพิ่มขึ้น และในปี 2566 บริษัทมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน-36.26 ล้านบาท เนื่องจากเงินสดจ่ายจากการดำเนินงาน เป็นผลมาจากบริษัทเน้นการลงทุนในธุรกิจผลิตสื่อรายการออนไลน์และธุรกิจผลิตละครโทรทัศน์และซีรีส์ ที่จะก่อให้เกิดรายได้และกำไรในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง โดยการผลิตละครโทรทัศน์และซีรีส์ บริษัทจะทยอยส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างและทยอยรับค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญา ประกอบกับบริษัทมีผลการดำเนินงานขาดทุน จึงส่งผลให้กระแสเงินสดสุทธิจากการกิจกรรมดำเนินงานติดลบ
สำหรับผลขาดทุนสะสม สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 จำนวน 61.06 ล้านบาท บริษัทได้มีการจัดทำประมาณการทางการเงินของบริษัทในอนาคต และตามที่ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567มีมติอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทตามแบบมอบอำนาจทั่วไป บริษัทมีแผนในการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) ก่อน แล้วจึงเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) โดยจะเสนอขายในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ (Par value) ซึ่งจะสามารถชดเชยขาดทุนสะสมของบริษัทได้ โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถล้างขาดทุนสะสมได้ภายในปี 2569ทั้งนี้ บริษัทยังคงเร่งดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างรายได้และกำไรให้เติบโตมั่นคง เพื่อให้บริษัทมีขาดทุนสะสมลดลงและกลับมามีกำไรสะสมโดยเร็ว
2. คุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566 บริษัทได้ยื่นหนังสือการยื่นคำขอเพื่อกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯพร้อมงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อชี้แจงข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ภายในเวลาที่กำหนด และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้
https://www.set.or.th/th/market/news-and-alert/newsdetails?id=91514401&symbol=SLM
3. คุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร
ตามที่บริษัทได้รับทราบจากการเปิดเผยสารสนเทศผ่านระบบสารสนเทศของสำนักงาน ก.ล.ต เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566ฉบับที่ 257/2566 เรื่อง กล่าวโทษผู้กระทำความผิด 3 ราย ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ Bybit.com กรณีประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561(พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ)
จากกรณีดังกล่าวมีอดีตกรรมการของบริษัทเป็นผู้ถูกกล่าวโทษ 1 ราย ได้แก่ นายอารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล ซึ่งนายอารมณ์ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท และกรรมการบริหาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เนื่องจากต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจ และไม่ประสงค์ให้การกล่าวโทษมาเป็นเหตุขัดขวางการดำเนินการของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการพิจารณาบริษัทให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ ตามที่บริษัทได้รับทราบจากการเปิดเผยสารสนเทศผ่านระบบสารสนเทศของสำนักงาน ก.ล.ต เมื่อวันที่ 28 มีนาคม2567 ฉบับที่ 69/2567 เรื่อง การดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 12 ราย กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) (SCN) โดยเรียกให้ชำระเงินตามมาตรการลงโทษทางแพ่งรวม 28,223,311 บาทกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารจากกรณีดังกล่าวมีอดีตกรรมการและผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด 1 ราย ได้แก่ นายณรุจ วิวรรธนไกรซึ่งนายณรุจได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เนื่องจากเหตุผลส่วนตัว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป
บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงส่งผลให้บริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคณะผู้บริหารและทีมงานที่บริหารจัดการยังคงเป็นชุดเดิมและการดำเนินธุรกิจของบริษัทยังคงเป็นไปตามปกติ
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรไม่ยื่นอุทธรณ์การสั่งเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปเพื่อสร้างรายได้และกำไรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
นอกจากนี้ ตามที่บริษัทได้รับทราบจากการเปิดเผยสารสนเทศผ่านระบบสารสนเทศของสำนักงาน ก.ล.ตเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 ฉบับที่ 201/2567และรับทราบข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ กรณีก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (เดิมชื่อบริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) กับพวกรวม 9 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกันกระทำทุจริตผ่านธุรกรรมต้องสงสัย 5 รายการ ทำให้ SLM ได้รับความเสียหายมูลค่าประมาณ
110 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า การกระทำทุจริตผ่านธุรกรรมต้องสงสัย 5 รายการดังกล่าวเป็นการกระทำของอดีตกรรมการและอดีตผู้บริหารของบริษัทในช่วงปี 2559 - 2560 ซึ่งภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงของคณะกรรมการบริหารและการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปี2561 และภายหลังการรับตำแหน่งของผู้บริหารชุดใหม่ ผู้บริหารชุดใหม่พบรายการธุรกรรมที่มีลักษณะผิดปกติเป็นจำนวนมาก และอดีตผู้บริหารมีการจัดทำและนำเสนองบการเงินรวมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารชุดปัจจุบันต้องพิสูจน์เงินลงทุน ตรวจสอบสถานะทางกฎหมายของรายการต่างๆการปรับปรุงรายการ ยกเลิกบริษัทย่อยและร่วม และจัดประเภทรายการใหม่
บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทจึงได้ยื่นหนังสือร้องเรียนขอให้ก.ล.ต. พิจารณากล่าวโทษและดำเนินคดีอาญากับอดีตกรรมการบริษัท รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเข้าทำรายการที่อาจไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (“พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ”) ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2561 ถึงวันที่14 มิถุนายน 2562 รวมจำนวน 6 ฉบับ รวมทั้งรายงานข้อสังเกตจากการตรวจสอบงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่31 ธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นการรายงานตามหน้าที่ตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ บริษัทขอขอบคุณ ก.ล.ต. สำหรับการพิจารณาและดำเนินการกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีอาญากับอดีตกรรมการบริษัท รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเข้าทำรายการที่อาจไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ