Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

399


ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
Key Takeaways:
 กระแสเงินลงทุนในภูมิภาคพลิกกลับเป็นไหลออก โดยมียอดขายสุทธิ 3,876 ล้านเหรียญใน 5 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไต้หวันและเกาหลีใต้
 เซคเตอร์ที่มีแรงซื้อเด่นของภูมิภาคในสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ Mining & Oil ในฟิลิปปินส์ และ Basic Material ในอินโดนีเซีย
 สำหรับเซคเตอร์เด่นของไทยในสัปดาห์นี้ จากการจับสัญญาณด้วยดัชนี Volume Index คาดว่าจะเป็นกลุ่ม Commerce, Transportation และ Petrochemicals
อัปเดตกระแสเงินลงทุน:
การติดตามกระแสการลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา มียอดขายสุทธิ 3,876 ล้านเหรียญ พลิกกลับจากยอดซื้อสุทธิ 2,445 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมี net outflow ในสี่ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน 2,278 ล้านเหรียญ เกาหลีใต้ 955 ล้านเหรียญ ไทย 360 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย 319 ล้านเหรียญ โดยฟิลิปปินส์เป็นเพียงตลาดเดียวที่มี net inflow 35 ล้านเหรียญ
สำหรับเซคเตอร์เด่นของภูมิภาคในสัปดาห์ที่แล้วจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index ได้แก่ (1) Mining & Oil (ฟิลิปปินส์), (2) Basic Material (อินโดนีเซีย) และ (3) Oil Electricity & Gas (ไต้หวัน)
แนวโน้ม:
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในระยะสั้น (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker) ได้แก่ กลุ่ม Commerce, Transportation และ Petrochemicals เนื่องจาก Volume Index มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากระดับสูงกว่า mid-point
ส่วนกลุ่มที่ให้ระมัดระวังกับแรงขายทำกำไรในระยะสั้นยังคงเป็น ICT เนื่องจาก Volume Index ยังคงอยู่ในโซน super stretched level จึงทำให้มีโอกาส pullback ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเสี่ยงดังกล่าว แต่กลุ่ม ICT ก็ยังมีจุดแข็งจาก Earnings Revision Breadth ที่เป็นบวก และความผันผวนของกำไรมักจะน้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยบวกเหล่านี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่า การปรับฐานจึงอาจไม่ได้รุนแรงนัก

สรุปภาพตลาดวานนี้
ดัชนีกลับมาบวกได้วานนี้ โดยเป็นการซื้อกลับในกลุ่มคอมเมิร์ช ไอซีที และวัสดุซ่อมแซมบ้าน และยังเห็นการเก็ง Preview บางตัวอย่าง CPALL CPF (ที่มีประชุมเย็นวานนี้) นอกจากนี้ มีหุ้นกลาง-เล็กบางกลุ่มที่สลับมาบวกแรง THG AS TGPRO GEL PROEN DPAINT JPARK NETBAY เป็นต้น ขณะที่กลุ่มที่ลบสวนตลาด ได้แก่ TTB JAS และกลุ่มเล่นกองฯ ที่มีแรงเทขายจาก Bond Yields รีบาวน์ CPNREIT WHART FTREIT DIF เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
หุ้นไม่แดง ไม่มีแรงเติม-พอร์ต
สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ปัจจัยสนับสนุนการซื้อเก็งกำไรหุ้นรายตัว คือ ทิศทางผลประกอบการ, การประชุมนักวิเคราะห์กับข้อมูลคาดการณ์กำไร ไตรมาส 3/24

 

โดยงบกลุ่มธนาคารทยอยออก เริ่มจาก TISCO ในต้นสัปดาห์หน้า แนะตามดูแนวโน้ม NPL ว่ามีแววดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งจะเป็นตัวบอกถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงในลำดับถัดไป
ส่วนประเด็นการลงทุนอื่นๆที่ต้องติดตาม ได้แก่ โอกาสที่ กนง.จะลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์เดิมของตลาด คือการลดดอกเบี้ยในการประชุม 16 ตค.นี้เลย โดยไม่ต้องรอ รอบ ธค. ซึ่งอาจจะเป็นเซอร์ไพร์สน้ำหนักด้านบวกต่อตลาดหุ้นไทย มากกว่าน้ำหนักด้านลบต่อกลุ่มแบงก์, กระแสข่าว อิสราเอล+สหรัฐฯ โจมตีคลังน้ำมันอิหร่านยังคงอยู่ในตลาดช่วงนี้หนุนราคาหุ้นเชื่อมโยงพลังงาน (หุ้นเด่น+เทคนิค PTTEP PCE WHAUP)
คาดการณ์กรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ “Consolidated” เหนือ 1,426 จุด แนวต้าน 1,460 จุด (ขยับจาก 1450) “ตอนนี้ยังเล่นอยู่บนกรอบที่คาดการณ์”

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้

วิเคราะห์ทางเทคนิค
ตราบใดที่แนวโน้ม SET Index ยังไม่หลุดแนวรับสำคัญ 1,426 จุด บนเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วัน คาดว่าฐานดัชนีฯจะยกสูงขึ้น และรอวันขึ้นทะลุผ่าน แนวต้านเดิมที่ทำไว้บริเวณ 1,470 จุด ในกรณีที่หลุด 1,426 จุดจะเกิด False signal และกลับลงมาที่ฐาน 1,400 จุด จาก Gap ที่เปิดทิ้งไว้ ซึ่งเราไม่คิดว่าจะเกิดเพราะดัชนีฯได้ลดความร้อนแรงจากภาวะ Overbought ไปแล้วตาม กราฟ Modified Stochastic ขณะที่รูปแบบดัชนีฯหลัก ได้ทำลายเส้นแนวโน้มขาลงไปแล้วเมื่อ ส.ค. พร้อมทั้งขึ้นทะลุผ่าน แนวต้านหลัก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ได้สำเร็จ ดังนั้นกราฟรายสัปดาห์ มีโอกาสเล่นขึ้นต่อมากกว่าที่จะปรับลง
(อ่านต่อหน้า 11)


What to watch
งบธนาคาร: วันที่ 15 มี TISCO (คาดกำไร 1,718 ลบ. -8% y-y, -2% q-q) วันที่ 18 คาด งบ BBL KBANK KTB TTB KKP และวันที่ 21 คาด SCB (ติดตามดูคาดการณ์รายงานงบ 3Q24 ในรายงานฉบับเต็ม)
พายุโซนร้อนมิลตันก่อตัวในอ่าวเม็กซิโก คาดกลายเป็นเฮอร์ริเคนสัปดาห์หน้า พายุที่ก่อตัวในอ่าวเม็กซิโกเมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ (1 ต.ค.) ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนมิลตัน (Milton) และอาจกลายเป็นเฮอร์ริเคนมุ่งหน้าสู่รัฐฟลอริดาในสัปดาห์หน้า
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5% /คลังขยับกรอบเงินเฟ้อปีหน้า 0.5% จาก 1-3% เป็น 1.5-3.5% เผื่อไว้สำหรับการลดดอกเบี้ย เวลาลบแล้ว เป้าเงินเฟ้อจะได้ตามเป้า 2% ของแบงก์ชาติ ขณะที่หนี้ครัวเรือนไทยลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี เหลือ 89.6% (จากกรอบแบงก์ชาติ 91.4%)เหตุแบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ และการแก้หนี้
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 86% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ย. และให้น้ำหนัก 14% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนดังกล่าว

กกพ.ประกาศวันรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ 8 ต.ค.นี้
ปลัดคลัง เผย เตรียมขายหุ้น เพื่อนำออกจากพอร์ตกระทรวงการคลัง แย้มเป็นหุ้นในตลาดเกินครึ่ง ก่อนชงเข้า ครม.พิจารณาอนุมัติในเดือน ธ.ค. 67
รมว.คลัง พิจารณา ในช่วงต้นเดือน พ.ย. 67 และประชุมสรุปอีกครั้ง เพื่อทบทวนว่ายังคงให้ถือหุ้นอยู่หรือไม่ หลังจากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ทันที
ทั้งนี้ในปัจจุบันกระทรวงการคลังมีการบริหารจัดการพอร์ตหุ้นในมือทั้งหมดกว่า 140 ตัว โดยมีสำนักงาน สคร. ดูแลในภาพรวมทั้งหมด สำหรับวิธีการขายหุ้นออกจากพอร์ตของ สคร. มีหลายวิธี ซึ่งแยก หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ โดยต้องดูระเบียบข้อบังคับของบริษัทนั้นๆ ว่าจะต้องมีมติของบริษัทออกมาก่อนหรือไม่ หรือ ว่าจะต้องขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม หรือ สามารถขายให้กับนักลงทุนคนอื่นได้

หุ้นแนะนำวันนี้
WHAUP (แดงซื้อ) กกพ.เริ่มวันนี้เปิดรับซื้อไฟพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ ข่าวภาษีล่าสุดที่สหรัฐฯจะเก็บผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์(จีน) ในประเทศไทย ยิ่งส่งผลบวกต่อต้นทุนผลิตของกลุ่ม Renewable energy ให้ลดลง จากภาวะ Oversupply ตีกลับมาในประเทศ (S 4.8 R 5 SL 4.7)

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

ECON
เงินเฟ้อเดือน ก.ย. ต่ำกว่าตลาดคาด
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายน 2024 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ +0.61% YoY แต่ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ +0.75% YoY ต่ำกว่าคาดเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน จึงเป็นเหตุให้เราปรับประมาณการเงินเฟ้อปี 2024 ลงเหลือ +0.5% YoY (จาก +0.8% YoY)
โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ +2.25% YoY (+0.25% MoM) โดยเฉพาะในกลุ่มผักและผลไม้ +8.16% YoY แรงหนุนหลักมาจากน้ำท่วม (ผลผลิตเสียหายและออกสู่ตลาดน้อยลง) ทำให้ราคาผักสดแปรรูปขยายตัวเร่งขึ้น +9.8% YoY (+0.1% MoM) ผลไม้แปรรูปที่ขยายตัว +5.83% YoY (+1.43% MoM) ส่วนของสดราคาผักสดปรับตัวสูงราว +12.76% YoY ผลไม้สด +6.01% YoY ขณะเดียวกันราคากลุ่มอาหารสำเร็จรูปก็ขยายตัวสูงเช่นกัน อย่างไรก็ดี ราคากลุ่มพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักกดดันเงินเฟ้อทั่วไป โดยยังคงหดตัว -2.55% YoY หรือหดตัว -1.35% MoM ซึ่งหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานที่หักอาหารสดและพลังงานเพียง +0.77% YoY
เราคาดว่าเงินเฟ้อ 4Q24 น่าจะเร่งตัวสูงขึ้น แต่ไม่เพียงพอที่จะดันเงินเฟ้อทั้งปี 2024 อยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1.0% - 3.0% (9M24 ขยายตัวได้เพียง +0.2% YoY)
แม้ผลกระทบน้ำท่วมและการท่องเที่ยวที่กำลังจะเข้าสู่ช่วง High Season จะทำให้ราคาหมวดอาหารปรับเพิ่มขึ้น แต่เงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีก็ยังคงมีปัจจัยกดดันทางด้านราคาพลังงาน รวมถึงกำลังซื้อภาคครัวเรือนไทยโดยรวมที่ยังคงอ่อนแอ
สำหรับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่แจกเงินสด 10,000 ให้แก่กลุ่มเปราะบาง เราก็ยังมองว่าเป็นผลบวกระยะสั้น 1-2 เดือนเท่านั้น และไม่ได้ทำให้กำลังซื้อในภาพรวมกลับมาแบบยั่งยืน เราจึงคาดว่าเงินเฟ้อปี 2024 น่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ราว +0.5% YoY ดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น

Commodities
สินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ย่อลงในสัปดาห์ก่อน
ในสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบดูไบ เพิ่มขึ้น $0.50 WoW เป็น $74.32/บาร์เรล โดยความกังวลปัญหาตะวันออกกลาง (และยังขึ้นต่อสัปดาห์นี้)
ค่าการกลั่น (อิงสิงคโปร์) ทรงตัว WoW เป็น $2.55/บาร์เรล จากอุปสงค์ที่ชะลอตัว ขณะที่มีอุปทานใหม่เข้ามา โดยกลุ่มที่ถูกกดดันเป็น Gasoline และน้ำมันเตา
ส่วนต่างราคา (Spread) ส่วนใหญ่กลับมาหดตัว WoW แม้ราคาเคมีภัณฑ์จะทรงๆ แต่ต้นทุน Naphtha เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน กดดันในแทบทุกกลุ่มย่อย
ราคาถ่านหิน ทรงตัว WoW อยู่ที่ $141.57/ตัน
ค่าระวางเรือเทกอง (BDI) ลดลง 4% WoW เป็น 1,969 จุด จากทุกกลุ่มย่อย
ส่วนค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ (World Container Index) ลดลง 5% WoW เป็น 3,489 จุด
Fundamental View: หากพิจารณาปัจจัยพื้นฐานตลาดที่อ่อนแอลง (แบบไม่ได้มีปัจจัยความขัดแย้งก่อกวนต่อเนื่อง) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มที่จะลดลงใน 4Q24 ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อัตรากำไรขั้นต้น (GRM) ควรจะเพิ่มขึ้น QoQ ตามฤดูกาล
อย่างไรก็ตาม หากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น จะกลับไปกดดัน Crude Premium ของโรงกลั่น ซึ่งจะทำให้ GRM ลดลง (ภาพรวม ทำให้มองกลุ่มน้ำมันดิบ-โรงกลั่น มีความไม่แน่นอนทั้งสองด้าน)
ในขณะที่กลุ่มเคมีภัณฑ์ มีแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของจีนควรช่วยเพิ่มความต้องการ โดยกลุ่ม PE จะเด่นกว่า PP ตามแนวโน้มการเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ที่ต่ำกว่า
ในเชิงพื้นฐานโดยรวม เราจึงเราชื่นชอบ TOP มากที่สุดในกลุ่มตอนนี้

สรุปประเด็นจาก Quick take

OKJ
ปลูกผักเพราะรักแม่
ผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่
OKJ ประกาศต่อ SET เรื่องผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อฟาร์มผักที่อำเภอสารภี ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพื้นที่เพาะปลูกผักสลัดของ OKJ หรือคิดเป็นประมาณไม่เกิน 13% ของกำลังการผลิตผักสลัดทั้งหมดในปัจจุบัน
View From Fundamental: เราประเมินผลกระทบต่อเหตุการณ์น้ำท่วม ในเคสที่แย่ที่สุด คือ 1) รายได้จากร้านอาหารทั้ง 2 ร้าน หายไป 1 เดือน จากการไม่มีผู้เข้าใช้บริการในช่วงที่จังหวัดเชียงใหม่น้ำท่วม จะกระทบรายได้ 1.3% ของรายได้ปี 2024 และ 2) ต้นทุนผักสลัดเพิ่มขึ้น จากการปรับแผนการซื้อผักสลัดจากฟาร์มเกษตรกรเครือข่าย (ผักสลัดคิดเป็น 10% ของต้นทุนขาย) จะกระทบต้นทุนน้อยกว่า 1% ของต้นทุนปี 2024ดังนั้น ในกรณีที่แย่ที่สุด เราคาดการณ์ผลกระทบกำไร 6% ของกำไรปี 2024

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ดันต่อ By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง วันนี้ หุ้นใหญ่ หน้าเดิม ดันSET ฝ่า 1,200 จุด ต่อ การสลับหน้าที่กันไป ห้วงระหว่างอยู่ ผลการ....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้