Today’s NEWS FEED

ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเว็บไซต์สำหรับทดสอบระบบ

เวทีความคิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : เงินบาทแข็งค่าใกล้ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯขณะที่หุ้นไทยปิดบวกได้

2,302

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : เงินบาทแข็งค่าใกล้ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯขณะที่หุ้นไทยปิดบวกได้ จากแรงซื้อของต่างชาติ แม้ประสบวิกฤตน้ำท่วม

ตลาดเงินระยะสั้นและตลาดตราสารหนี้
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงทรงตัว โดยธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดในช่วงสิ้นเดือน และความต้องการถือเงินสดที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ภาวะอุทกภัยยังไม่ยุติ ขณะที่ระบบการเงินยังคงทำงานได้เป็นปกติ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ 3.40-3.45% เทียบกับ 3.40% ในสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repo) ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน อยู่ที่ 3.4993-3.50% เทียบกับ 3.50% ในสัปดาห์ก่อน

ในสัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 4 พ.ย. 2554 ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ ขณะที่ แม้ความต้องการถือเงินสดเพิ่มจะยังคงมีต่อเนื่องในช่วงวิกฤตน้ำท่วม แต่สภาพคล่องในตลาดเงินคงจะยังมีระดับสูงและไม่เปลี่ยนแปลงมาก อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจึงน่าจะยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 3.50% นอกจากนี้ ตลาดคงจะติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 1-2 พ.ย.นี้ด้วย       
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยและสหรัฐฯ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี ปิดที่ระดับ 3.24% ในวันศุกร์ ลดลงจาก 3.31% ในสัปดาห์ก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงในเกือบทุกประเภทอายุ ท่ามกลางความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจจากผลกระทบของน้ำท่วมที่ขยายเข้าสู่กรุงเทพฯ ขณะที่ กองทุนในประเทศยังคงซื้อพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ประเภทอายุ 10 ปี ปิดที่ระดับ 2.32% ในวันศุกร์ ปรับขึ้นจาก 2.22% ในสัปดาห์ก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ จากมุมมองเชิงบวกต่อการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป ก่อนที่จะปรับลดลงในวันอังคาร จากความไม่มั่นใจของนักลงทุนก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยูโรโซนรอบที่สองในวันพุธ จากนั้น อัตราผลตอบแทนปรับพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งในวันพฤหัสบดี หลังทางการยุโรปมีความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการปกป้องสถาบันการเงิน รวมถึงแผนการปรับลดหนี้แก่กรีซ อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนปรับลงในวันศุกร์ จากแรงซื้อของนักลงทุนหลังอัตราผลตอบแทนได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาท (Onshore)
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณบวกจากความคืบหน้าในการเร่งแก้วิกฤตหนี้สาธารณะของทางการยุโรป ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนความต้องการเสี่ยงของนักลงทุน นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นไทย โดยมีนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิอีกด้วย

ในวันศุกร์ (28 ต.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.52 จาก 30.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 ต.ค.)

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (31 ตุลาคม-4 พฤศจิกายน 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.45-30.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาแถลงการณ์ของการประชุมกลุ่ม G-20 (3-4 พ.ย.) ซึ่งน่าจะมีการหารือในประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ฯ (1-2 พ.ย.) ธนาคารกลางยุโรป (3 พ.ย.) ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงาน อัตราการว่างงาน ดัชนี ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนต.ค. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เงินยูโร และเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ
เงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ก่อนลดช่วงบวกลงเล็กน้อย โดยเงินยูโรทรงตัวในกรอบที่ค่อนข้างจำกัดในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงไม่มั่นใจว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปจะสามารถประกาศมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรป อย่างไรก็ดี เงินยูโรทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงท้ายสัปดาห์ และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 1.4248 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโร หลังจากที่ผู้นำสหภาพยุโรปสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการจัดการปัญหาหนี้ยุโรปที่สำคัญหลายมาตรการ ทั้งในเรื่องการเพิ่มขนาดกองทุน EFSF การปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 50% โดยสมัครใจในภาคเอกชน และการวางแนวทางเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับภาคสถาบันการเงิน เงินยูโรลดช่วงบวกลงเล็กน้อย หลังจากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีออกมาอ่อนแอเกินคาด ขณะที่ นักลงทุนยังคงรอรายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรป  

เงินเยนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 75.66 เยนต่อดอลลาร์ฯ แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ขณะที่นักลงทุนค่อนข้างระมัดระวังถึงโอกาสการเข้าแทรกแซงเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินเยนจากทางการญี่ปุ่น  

ในวันศุกร์ (28 ต.ค.) เงินยูโรอยู่ที่ 1.4147 เทียบกับ 1.3894 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโรในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 ต.ค.) ส่วนเงินเยนอยู่ที่ 75.72 จาก 76.24 เยนต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า



ตลาดทุน
ตลาดหุ้นไทย
ดัชนี SET ปิดบวก จากแรงหนุนการซื้อสุทธิของต่างชาติ แม้มีความกังวลต่อสถานการณ์อุทกภัยในกรุงเทพฯ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 973.18 จุด เพิ่มขึ้น 6.20% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 30.60% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 27,786.94 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 242.79 จุด เพิ่มขึ้น 2.98% จากสัปดาห์ก่อน

ดัชนีเปิดปรับขึ้นในวันอังคาร จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่มีมุมมองเชิงบวกต่อการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป จากนั้น ดัชนีปรับลงในวันพุธ จากการชะลอการลงทุนก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป อย่างไรก็ดี ดัชนี SET ปิดบวกขึ้นปลายสัปดาห์ ตามตลาดต่างประเทศ หลังการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปมีความคืบหน้า แม้ว่าจะมีแรงขายหุ้นทำกำไรท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายสู่กรุงเทพฯ ก็ตาม

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 4 พ.ย. 2554 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนียังมีโอกาสฟื้นตัวต่อ จากมาตรการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปที่อาจส่งผลบวกต่อการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายสู่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ คงต้องจับตาการประชุม FOMC, ECB และ G-20 การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดแรงงาน รวมถึงการรายงานเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนและเงินเฟ้อของไทย ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 960 และ 934 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 992 และ 1,008 จุด ตามลำดับ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ดัชนี DJIA บวกขึ้น จากความกังวลที่ผ่อนคลายลงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป โดยในวันศุกร์ ดัชนี DJIA ปิดที่ 12,231.11 จุด เพิ่มขึ้น 3.58% จากสัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นในวันจันทร์ จากผลกำไรของบริษัทคาเตอร์พิลลาร์ที่แข็งแกร่ง และข้อตกลงควบรวมกิจการในธุรกิจดูแลสุขภาพและเทคโนโลยี แต่ตลาดปรับลงในวันอังคาร จากความกังวลก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป จากนั้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทะยานขึ้นต่อเนื่องในช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีความคืบหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป อีกทั้งจีดีพีสหรัฐฯ ที่ขยายตัว 2.5% ในไตรมาส 3/2554 และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้น ช่วยหนุนตลาด

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ดัชนี Nikkei ปิดเหนือ 9,000 สูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือน จากความหวังต่อการแก้ปัญหาหนี้ในยูโรโซน โดยเมื่อวันศุกร์ ดัชนี Nikkei ปิดที่ 9,050.47 จุด เพิ่มขึ้น 4.28% จากสัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นโตเกียวปรับขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป ก่อนที่จะปรับลงช่วงกลางสัปดาห์ จากความกังวลก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป และการประกาศผลกำไรของภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ดัชนี Nikkei ทะยานขึ้นต่อเนื่องช่วงปลายสัปดาห์ โดยปิดเหนือ 9,000 หลังผู้นำยุโรปเห็นพ้องในการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ และการขยายความสามารถของกองทุน EFSF เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ ที่ออกมาดี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : เงินบาทแข็งค่าใกล้ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯขณะที่หุ้นไทยปิดบวกได้ จากแรงซื้อของต่างชาติ แม้ประสบวิกฤตน้ำท่วม

ตลาดเงินระยะสั้นและตลาดตราสารหนี้
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น
        อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงทรงตัว โดยธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดในช่วงสิ้นเดือน และความต้องการถือเงินสดที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ภาวะอุทกภัยยังไม่ยุติ ขณะที่ระบบการเงินยังคงทำงานได้เป็นปกติ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ 3.40-3.45% เทียบกับ 3.40% ในสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repo) ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน อยู่ที่ 3.4993-3.50% เทียบกับ 3.50% ในสัปดาห์ก่อน

ในสัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 4 พ.ย. 2554 ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ ขณะที่ แม้ความต้องการถือเงินสดเพิ่มจะยังคงมีต่อเนื่องในช่วงวิกฤตน้ำท่วม แต่สภาพคล่องในตลาดเงินคงจะยังมีระดับสูงและไม่เปลี่ยนแปลงมาก อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจึงน่าจะยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 3.50% นอกจากนี้ ตลาดคงจะติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 1-2 พ.ย.นี้ด้วย       
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยและสหรัฐฯ

    อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี ปิดที่ระดับ 3.24% ในวันศุกร์ ลดลงจาก 3.31% ในสัปดาห์ก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงในเกือบทุกประเภทอายุ ท่ามกลางความกังวลต่อความเสี่ยงเศรษฐกิจจากผลกระทบของน้ำท่วมที่ขยายเข้าสู่กรุงเทพฯ ขณะที่ กองทุนในประเทศยังคงซื้อพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง

    อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ประเภทอายุ 10 ปี ปิดที่ระดับ 2.32% ในวันศุกร์ ปรับขึ้นจาก 2.22% ในสัปดาห์ก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ จากมุมมองเชิงบวกต่อการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป ก่อนที่จะปรับลดลงในวันอังคาร จากความไม่มั่นใจของนักลงทุนก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยูโรโซนรอบที่สองในวันพุธ จากนั้น อัตราผลตอบแทนปรับพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งในวันพฤหัสบดี หลังทางการยุโรปมีความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการปกป้องสถาบันการเงิน รวมถึงแผนการปรับลดหนี้แก่กรีซ อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนปรับลงในวันศุกร์ จากแรงซื้อของนักลงทุนหลังอัตราผลตอบแทนได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาท (Onshore)
     เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณบวกจากความคืบหน้าในการเร่งแก้วิกฤตหนี้สาธารณะของทางการยุโรป ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนความต้องการเสี่ยงของนักลงทุน นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นไทย โดยมีนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิอีกด้วย

    ในวันศุกร์ (28 ต.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.52 จาก 30.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 ต.ค.)
 
            สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (31 ตุลาคม-4 พฤศจิกายน 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.45-30.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาแถลงการณ์ของการประชุมกลุ่ม G-20 (3-4 พ.ย.) ซึ่งน่าจะมีการหารือในประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ฯ (1-2 พ.ย.) ธนาคารกลางยุโรป (3 พ.ย.) ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการจ้างงาน อัตราการว่างงาน ดัชนี ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนต.ค. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เงินยูโร และเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ
    เงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ก่อนลดช่วงบวกลงเล็กน้อย โดยเงินยูโรทรงตัวในกรอบที่ค่อนข้างจำกัดในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงไม่มั่นใจว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปจะสามารถประกาศมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรป อย่างไรก็ดี เงินยูโรทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงท้ายสัปดาห์ และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 1.4248 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโร หลังจากที่ผู้นำสหภาพยุโรปสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการจัดการปัญหาหนี้ยุโรปที่สำคัญหลายมาตรการ ทั้งในเรื่องการเพิ่มขนาดกองทุน EFSF การปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 50% โดยสมัครใจในภาคเอกชน และการวางแนวทางเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับภาคสถาบันการเงิน เงินยูโรลดช่วงบวกลงเล็กน้อย หลังจากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีออกมาอ่อนแอเกินคาด ขณะที่ นักลงทุนยังคงรอรายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรป  

    เงินเยนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 75.66 เยนต่อดอลลาร์ฯ แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ขณะที่นักลงทุนค่อนข้างระมัดระวังถึงโอกาสการเข้าแทรกแซงเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินเยนจากทางการญี่ปุ่น  

    ในวันศุกร์ (28 ต.ค.) เงินยูโรอยู่ที่ 1.4147 เทียบกับ 1.3894 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโรในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 ต.ค.) ส่วนเงินเยนอยู่ที่ 75.72 จาก 76.24 เยนต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า



ตลาดทุน

ตลาดหุ้นไทย
         ดัชนี SET ปิดบวก จากแรงหนุนการซื้อสุทธิของต่างชาติ แม้มีความกังวลต่อสถานการณ์อุทกภัยในกรุงเทพฯ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 973.18 จุด เพิ่มขึ้น 6.20% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 30.60% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 27,786.94 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 242.79 จุด เพิ่มขึ้น 2.98% จากสัปดาห์ก่อน

    ดัชนีเปิดปรับขึ้นในวันอังคาร จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่มีมุมมองเชิงบวกต่อการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป จากนั้น ดัชนีปรับลงในวันพุธ จากการชะลอการลงทุนก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป อย่างไรก็ดี ดัชนี SET ปิดบวกขึ้นปลายสัปดาห์ ตามตลาดต่างประเทศ หลังการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปมีความคืบหน้า แม้ว่าจะมีแรงขายหุ้นทำกำไรท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายสู่กรุงเทพฯ ก็ตาม

    สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 4 พ.ย. 2554 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนียังมีโอกาสฟื้นตัวต่อ จากมาตรการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปที่อาจส่งผลบวกต่อการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายสู่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ คงต้องจับตาการประชุม FOMC, ECB และ G-20 การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดแรงงาน รวมถึงการรายงานเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนและเงินเฟ้อของไทย ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 960 และ 934 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 992 และ 1,008 จุด ตามลำดับ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
         ดัชนี DJIA บวกขึ้น จากความกังวลที่ผ่อนคลายลงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป โดยในวันศุกร์ ดัชนี DJIA ปิดที่ 12,231.11 จุด เพิ่มขึ้น 3.58% จากสัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นในวันจันทร์ จากผลกำไรของบริษัทคาเตอร์พิลลาร์ที่แข็งแกร่ง และข้อตกลงควบรวมกิจการในธุรกิจดูแลสุขภาพและเทคโนโลยี แต่ตลาดปรับลงในวันอังคาร จากความกังวลก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป จากนั้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทะยานขึ้นต่อเนื่องในช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีความคืบหน้ามากขึ้นเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป อีกทั้งจีดีพีสหรัฐฯ ที่ขยายตัว 2.5% ในไตรมาส 3/2554 และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้น ช่วยหนุนตลาด

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
         ดัชนี Nikkei ปิดเหนือ 9,000 สูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือน จากความหวังต่อการแก้ปัญหาหนี้ในยูโรโซน โดยเมื่อวันศุกร์ ดัชนี Nikkei ปิดที่ 9,050.47 จุด เพิ่มขึ้น 4.28% จากสัปดาห์ก่อน ตลาดหุ้นโตเกียวปรับขึ้นในวันจันทร์ โดยได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป ก่อนที่จะปรับลงช่วงกลางสัปดาห์ จากความกังวลก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป และการประกาศผลกำไรของภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ดัชนี Nikkei ทะยานขึ้นต่อเนื่องช่วงปลายสัปดาห์ โดยปิดเหนือ 9,000 หลังผู้นำยุโรปเห็นพ้องในการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ และการขยายความสามารถของกองทุน EFSF เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ ที่ออกมาดี




บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้