Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : 7 เซียน พิพากษา TOP หลัง ปี 61 กำไรทรุด 59%

2,922

HotNews : 7 เซียน พิพากษา TOP
หลัง ปี 61 กำไรทรุด 59%

 

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP ประกาศผลประกอบการปี 2561 มีกำไรสุทธิ 1.01 หมื่นล้านบาท ลดลง 59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่กำไรสุทธิ 2.48 หมื่นล้านบาท พร้อมจ่ายปันผลเป็นเงินสดอัตรา 1.15 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมายวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) 28 ก.พ. 2562 เคาะวันจ่ายปันผล 26 เม.ย. 2562

 

ด้าน 7 เซียนหุ้น พิพากษา TOP หลัง ปี 61 กำไรทรุด 59% นำโดยทรีนีตี้ฯ ระบุผลประกอบการต่ำกว่าคาด ส่วนหนึ่งจากการบริหารวัตถุดิบและการ Hedge แต่ยังแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 88 บาท/หุ้น ด้านแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แนะนำ ซื้อ TOP ราคาเป้าหมาย 89 บาท ขณะที่บัวหลวง มอง TOP ขาดทุนสุทธิไตรมาส 4/61 มากกว่าคาด แต่แนวโน้มพลิกเป็นกำไรในไตรมาส 1/62 แนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 90 บาท/หุ้น

 

 

 

บริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า ผลประกอบการของ TOP ต่ำกว่าที่เราคาด มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่


1. สำหรับ ธุรกิจ Aromatics กำไร EBITDA ในไตรมาสนี้ ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ทว่าออกมาดีกว่าไตรมาสก่อน สาเหตุหลักที่ TOP ทำกำไรในธุรกิจนี้ไม่ค่อยดี แม้ว่าราคาตลาดของ PX ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักในไตรมาสนี้มีราคาสูงขึ้นมาก โดยส่วนต่าง PX กับ ULG95 ที่ 528 ดอลลาร์ต่อตัน ในไตรมาสนี้ ซึ่งสูงขึ้นราวร้อยละ 77 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากทางบริษัทไปทำการ Hedge ราคาขายของ PXในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด


2. ธุรกิจ LUBE ในส่วนวัตถุดิบหรือ Long Residue ที่ผลิตภายในบริษัท ทุ่มไปผลิตน้ำมันดีเซลทั้งหมด โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นนำมาจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้มัปัญหาทางเทคนิคในการผลิตตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีที่แล้ว จนทำให้ต้นทุนของธุรกิจ LUBE สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นต่อเนื่องมาจนถึงในไตรมาสที่ผ่านมา โดย EBITDA ต่ำกว่าคาดกว่าหนึ่งเท่า


3. สำหรับธุรกิจโรงกลั่น การไม่มีการปิดซ่อมบำรุง ทำให้เก็บสินค้าคงคลังในส่วนของน้ำมันดิบราว 10 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการขาดทุนจากราคาดูไบที่ลดลงและ Crude Premium รวมทั้งสิ้น 22 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้เกิด Stock Loss จากน้ำมัน 7,211 ล้านบาท รวมถึงจากการป้องกันความเสี่ยง PX 852 ล้านบาท และขาดทุนจาก FX 233 ล้านบาท

 

ความเสี่ยง ความผันผวนของราคาน้ำมัน, Unplanned Outage

 

คงแนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 88 บาท โดยใช้ P/BV เฉลี่ย 1.3 เท่า ของ BV ปี 2019F



ในภาพรวมของ 3 ธุรกิจหลัก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 86 ของกำไรสุทธิทั้งหมด ได้แก่


ส่วนธุรกิจโรงกลั่น : GRM ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ใน 4Q18 ด้านปริมาณกำลังการผลิตของโรงกลั่น ทาง TOP มีอัตราการใช้กำลังการกลั่น 115% โดยหน่วยกำลังการผลิตย่อยของโรงกลั่นกลับมาเดินเครื่องเต็มกำลังในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดีในขณะที่ Account GRM (Gross Refinery Margin) กลายเป็นติดลบ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยที่ Market GRM ใน 4Q18 เท่ากับ 3.9$/bbl ลดลงประมาณ 1.1$/bbl จากไตรมาสก่อนเนื่องจาก crude premium ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากส่วน Stock Loss ของสินค้าคงคลังน้ำมัน ที่มีกว่า 10 ล้านบาร์เรล สูงขึ้นเป็น 7.5$/B จึงทำให้ขาดทุนขั้นต้นจากการกลั่นเป็น 3.6$/B โดยเมื่อรวมผลกระทบจากปริมาณการผลิตและราคาน้ำมัน ทำให้ EBITDA จากโรงกลั่นติดลบมากกว่าคาดราว 2 พันล้านบาท

 

 

ส่วนของธุรกิจอโรเมติกส์ : PX Spread ถูกจำกัดจากการ Hedging ในไตรมาสนี้ ธุรกิจ Aromatics พลิกกลับมาดีขึ้นเล็กน้อย โดย PX Spread ในไตรมาสนี้ สูงกว่าไตรมาสที่แล้วกว่าร้อยละ 18 จากการที่โรงงานผลิต PTA ขนาดใหญ่ในอินเดีย กลับมาเดินเครื่องอีกครั้ง หลังจากได้ชะลอการเปิดดำเนินการจากไตรมาสก่อน ในขณะที่ เราคาดว่ากำลังการผลิตด้าน Aromatics ของ TOP จะเติบโตจากไตรมาสก่อนประมาณร้อยละ 5 ซึ่งผลที่ออกมาไม่ต่างจากที่เราคาดมากนัก อย่างไรก็ดี กำไร EBITDA ในไตรมาสนี้ ต่ำกว่าคาดประมาณร้อยละ 30

 

 

 

สาเหตุหลักที่ TOP ทำกำไรในธุรกิจนี้ไม่ค่อยดีนัก แม้ว่าราคาตลาด PX ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักในไตรมาสนี้มีราคาสูงขึ้นมาก ดังตารางที่ 1 ทว่ากำไรของ TOP ใน PX กลับโตต่ำกว่าตลาด เนื่องจากทางบริษัทไปทำการ Hedge ราคาขายของ PXในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยสินค้า PX ที่บริษัทได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ยังเหลืออยู่ที่จะเป็นสินค้าในไตรมาสที่ 4 อีก ทำให้มีโอกาสที่กำไรของธุรกิจดังกล่าวยังไม่ดีมากแม้ราคา PX ยังสูงขึ้น

 

 

ส่วนของธุรกิจ LUBE Oil : ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น รายได้จากธุรกิจ LUBE เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย รวมถึงส่วนต่างระหว่างราคายางมะตอยกับน้ำมันเตากลับมาเพิ่มขึ้น ทว่า EBITDA ต่ำกว่าที่เราคาด เนื่องมาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ หนึ่ง ราคาน้ำมันเตาที่เป็นวัตถุดิบสูงขึ้นและราคาน้ำมันหล่อลื่นลดลงจากอุปทานการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในซาอุดิอาระเบียและเกาหลี และ สอง วัตถุดิบหรือ Long Residue ที่ผลิตภายในบริษัท ทุ่มไปผลิตน้ำมันดีเซลทั้งหมด โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นนำมาจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้มีปัญหาทางเทคนิคในการผลิตอยู่พักหนึ่ง จนทำให้ต้นทุนของธุรกิจ LUBE สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นในไตรมาสนี้ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสต่อไป

 

ประเมินส่วนต่างราคา Accounting และ Market GRM
Market GRM ของธุรกิจโรงกลั่น ใน 4Q18 เท่ากับ 3.9$/bbl ลดลงประมาณ 1.1$/bbl จาก crude premium ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ธุรกิจ TPX ได้รับผลดีจากอุปทานที่หดตัวลงจากโรงงาน PX ในซาอุดิอาระเบียและเวียดนาม รวมถึงอุปสงค์ของ PX ที่เพิ่มขึ้นจากจีน ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนพฤติกรรมกสนใช้พลาสติกรีไซเคลมาใช้เป็น PX แทน ส่วน Toluene ที่เป็นผลพวงมาจากการผลิต PX มีอุปทานส่วนเกินจากการผลิต PX ที่เพิ่มขึ้น และราคา benzene ที่ลดลงตามราคาน้ำมันดิบ

 

 


ด้านบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า 4Q61 ขาดทุนสุทธิ -4.8 พันลบ.เพราะถูกกระทบจากขาดทุนสต็อกน้ำมัน -8.5 พันลบ.(-$7.5/บาร์เรล) จ่ายปันผล 2H61 ที่ 1.15 บ./หุ้น ขึ้น XD เมื่อ 28 ก.พ.62+คาด 1Q62 ดีขึ้นเล็กน้อย QoQ ตามราคาน้ำมัน โครงการ CFP จะสร้างการเติบโตในระยะยาว แนะนำ "ซื้อ" ด้วยราคาเป้าหมายใหม่ 89 บ. (จาก 92 บ.)

 

 

 

บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง ออกบทวิเคราะห์  เปิดเผยว่า TOP รายงานขาดทุนสุทธิไตรมาส 4/61 ที่ 4,812 ล้านบาท พลิกกลับจากกำไรสุทธิในไตรมาส 4/60 และ ไตรมาส 3/61 หากไม่รวมขาดทุนจากสินค้าคงคลังที่ 8,524 ล้านบาท, ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 233 ล้านบาท และขาดทุนจากการทำสัญญาปองกันความเสี่ยง 852 ล้านบาท กำไรหลักไตรมาส 4/61 จะอยู่ที่ 2,995 ล้านบาท ลดลง 9% YoY และ 7% QoQ ในขณะที่กำไรหลักสอดคล้องกับการประมาณการของเรา แต่ขาดทุนสุทธิสูงกว่าที่ที่เรา(และตลาด) คาดการณ์ไว้ เนื่องจากขาดทุนจากรายการพิเศษที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้อย่างมาก TOP ประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวน 1.15 บาทต่อหุ้น สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังปี 2561 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลขั้นต้นที่ 1.5% (ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 28 ก.พ.; จ่ายปันผลในวันที่ 26 เม.ย.)

 


การขาดทุนจากรายการพิเศษจำนวนมากกดดันผลประกอบการของ TOP ทั้งนี้กำไรหลักที่หดตัวนั้นเป็นผลมาจาก 1) ค่าการกลั่นตลาดอ่อนตัวลงทั้ง YoY และ QoQ, 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น QoQ และ 3) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น QoQ ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปลดลงกดดันค่าการกลั่น อย่างไรก็ตาม crude premium และ fuel & loss ที่ลดลงช่วยบรรเทาการปรับตัวลดลงของค่าการกลั่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามปัจจัยทางฤดูกาลมาอยู่ที่ 2.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จาก 1.8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาส 3/61 ในขณะที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 0.9% จาก 0.6% ในไตรมาส 3/61 สำหรับด้านบวกนั้นกำไรของธุรกิจอะโรเมติกส์ขยายตัวทั้ง YoY และ QoQ (ส่วนต่างราคา PX ขยายตัว) ค่าการกลั่นตลาดโดยรวม (market GIM) ลดลงมาอยู่ที่ 6.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลจาก 8.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาส 4/60 และ 7.2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาส 3/61 ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ ที่ 115% และอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานอะโรเมติกส์ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 94% จาก 82% ในไตรมาส 4/60 และ 89% ในไตรมาส 3/61 อัตรากำลังการผลิตของโรงงานน้ำมันหล่อลื่นอยู่ที่ 88% (ทรงตัว YoY แต่เพิ่มขึ้นจาก 72% ในไตรมาส 3/61 ซึ่งมีปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบนำเข้าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน)

 

 

 

แนวโน้ม
ผลประกอบการไตรมาส 1/62 ของ TOP มีแนวโน้มพลิกกลับ QoQ เป็นกำไรสุทธิ หนุนโดยกำไรจากสินค้าคงคลัง แต่กำไรจากการดำเนินงานหลักมีแนวโน้มลดลง YoY และ QoQ กดดันโดยค่าการกลั่นตลาดที่อ่อนตัวลง และกำไรจากธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นลดลง (ส่วนต่างราคาปรับตัวลดลง) อย่างไรก็ตามกำไรที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจอะโรเมติกส์ (ส่วนต่างราคา PX ขยายตัว) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่กลับสู่ระดับปกติน่าจะช่วยบรรเทาการปรับตัวลดลงของกำไรหลักได้บางส่วน

 

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง
เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิในปี 2562 ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 13,109 ล้านบาท

 

คำแนะนำ
ไตรมาสที่แย่ที่สุดได้ผ่านไปแล้ว การคาดการณ์การฟืนตัวของค่าการกลั่น หนุนโดยการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในฤดูใบไม้ผลิและแนวโน้มที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ middle distillate (IMO2020) ซึ่งโรงกลั่นของ TOP น่าจะได้รับมากที่สุด น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นต่อไป มูลค่าหุ้นปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยซื้อขายที่ PBV ปี 2562 ที่ 1.2 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวอยู่ 0.8 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคาดการณ์อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลปี 2562 ที่ 3.7% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ SET ที่ 3.1%)

 

 

 

เทพหุ้นฟินันเซีย ไซรัส แนะถือ TOP ราคาเป้าหมาย 81 บาท/หุ้น ชี้ Q4/61 ขาดทุนมากกกว่าคาดจาก Stock loss และ NRV ปรับลดประมาณการกำไร 2019 จากค่าการกลั่นฟื้นช้า -เคทีซีมิโก้ ระบุผลการดำเนินงานปี 2018 ของ TOP อ่อนแอกว่าคาด มองกำไรปี 2019 ยังมีความเสี่ยง แนะนำ "Underperform" ราคาเป้าหมาย 78 บาท/หุ้น - รูทิสโก้ แนะนำ "ถือ" TOP ราคาเป้าหมาย 78 บาท/หุ้น มอง ผลประกอบการ Q4/61 ต่ำกว่าคาดจากผลขาดทุนของสต็อก ทิ้งท้ายที่เทพหุ้นธนชาต แนะนำ ขาย TOP ราคาพื้นฐาน ที่ 57.00 บาท หลังงบ Q4/61 อ่อนแอตามคาด

 


บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า TOP รายงานขาดทุนสุทธิ 4,812 ลบ. จากที่มีกำไรสุทธิ 4,558 ลบ. ใน 3Q18 และ 6,972 ลบ. ใน 4Q17 หากหักรายการ Fx และ Hedging gain/loss ออก บริษัทจะมีผลขาดทุนปกติรวม Stock gain/loss อยู่ที่ 3,702 ลบ. ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดราว 30% จากผลของ Stock loss และ NRV (Net Realizable Value) ที่มากกว่าคาด 1,305 ลบ. รวมถึง Market GRM ที่ลดลงเหลือ US$3.9/บาร์เรล (-22% Q-Q, -35% Y-Y) ซึ่งถูกฉุดจาก Inventory น้ำมันเบนซินล้นตลาด

 

อย่างไรก็ตาม มาร์จิ้นของกลุ่มอโรมาติกส์ฟื้นตัวขึ้นมาที่ US$2.2/บาร์เรล (+11% Q-Q, +48% Y-Y) เพราะต้นทุนเบนซินถูกลง รวมถึงอุปสงค์ในธุรกิจผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ Utilization Rate ขยับขึ้นมาที่ 94% (+5% Q-Q, +12% Y-Y) ส่วนกำไรสุทธิปี 2018 อยู่ที่ 10,149 ลบ. (-59% Y-Y) โดยเป็นผลจาก Stock loss จำนวน 2,628 ลบ. ตรงข้ามกับปีก่อนที่มี Stock gain 3,415 ลบ. รวมถึงค่าการกลั่นที่สูงผิดปกติในปี 2017 จากผลของพายุฮาร์วี่ในสหรัฐ

 

 

ค่าการกลั่นที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ทำให้เราปรับกำไรและราคาเป้าหมายลง
คาดว่า TOP จะกลับมามีกำไรใน 1Q19 ซึ่งเป็นผลจากการมี Stock gain กลับมาบางส่วนหลังจากราคาน้ำมันดิบดูไบที่กลับมายืนเหนือ US$62/บาร์เรล (+8.4% YTD) แต่ธุรกิจโรงกลั่นยังถูกฉุดจากค่าการกลั่นที่เราคาดว่าจะลดเหลือเพียง US$3/บาร์เรล (-23% Q-Q, -54% Y-Y) ค่าการกลั่นที่ฟื้นช้ากว่าคาดทำให้เราปรับสมมติฐานค่าการกลั่นทั้งปี 2019 ลงจากเดิม US$5.75/บาร์เรล เหลือ US$5.50/บาร์เรล ซึ่งยังเพิ่มขึ้น 18% Y-Y จากอานิสงส์ของ IMO ในช่วง 2H19 ทำให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2019 ลดลงจากประมาณการเดิม 4% เหลือ 13,622 ลบ. (+34% Y-Y) และปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 81 บาทจากเดิม 86 บาท (อิง EV/EBITDA 6.2 เท่าเท่าค่าเฉลี่ยระยะยาว) ราคาหุ้นเหลือ Upside ไม่ถึง 10% เราจึงปรับคำแนะนำลงเป็น ถือ ความเสี่ยง -การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 

 

 

 

บมจ.หลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า แม้ผลการดำเนินงานของบริษัทจะมีกันชนจากขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่รับรู้อย่างเต็มที่ไปแล้วใน 4Q18 แต่เราคาดปี 2019E จะยังเป็นปีที่ท้าทายของ TOP จากค่าการกลั่นที่ยังมีความเสี่ยงเชิงลบใน 1H19E ก่อนที่จะเห็นความเสี่ยงเชิงบวกของมาตรการ IMO (มีผลบังคับใช้ในปี 2020) ในช่วง 2H19E เป็นอย่างเร็ว แม้ว่าต้นทุนเงินสดที่ต่ำ จะหนุนให้บริษัทรับมือกับปัจจัยลบต่างๆ ได้ดี แต่เรายังไม่เห็นปัจจัยบวกหนุนราคาในระยะ 6 เดือน ขณะที่วัฏจักรการเติบโตถัดไป โดยเฉพาะจากโครงการ Clean Fuel Project (CFP) จะมีส่วนสนับสนุนกำไรครั้งแรกใน 1Q23E ดังนั้น เราคงคำแนะนำ "Underperform" (ราคาเป้าหมายปี 2019E ที่ 78 บาท)

 

สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า TOP รายงานผลประกอบการขาดทุน 4.8 พันล้านบาท จากกำไร 4.6 พันล้านบาทใน 3Q18 และ 6.9 พันล้านบาทใน 4Q17 โดยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดมาจากผลขาดทุนจากสต็อก (สต็อกสูงกว่าที่เราคาด) โดยมีผลขาดทุนจากสต็อก และ NRV รวมกว่า 8 พันล้านบาท หากไม่รวมผลของสต็อก, NRV และกำไรพิเศษอื่นๆ (ผลขาดทุนค่าเงิน และสต็อก) กำไรปกติจะอยู่ที่ 4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% QoQ และ 60% YoY โดยที่อะโรมาติกส์ดีกว่าคาดเล็กน้อย แต่โรงกลั่นและต้นทุนทางการเงินสูงกว่าคาด



การดำเนินงานอะโรมาติกส์ที่ดีชดเชยด้วยการกลั่นที่อ่อนแอ


อะโรมาติกส์มีอัตรากำไรและการใช้ประโยชน์ที่ดีกว่าคาด โดยที่ TOP มีอัตรากำไร P2F ที่ 151 ดอลลาร์/ตัน เพิ่มขึ้นจาก 129 ดอลลาร์/ตันในช่วง 3Q18 และ 93 ดอลลาร์/ตันใน 4Q17 โดยที่อัตราการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 94% ในช่วง 4Q18 เพิ่มขึ้นจาก 89% ใน 3Q18 และ 4Q17 ที่ 82% ตรงข้ามกับอัตรากำไรของโรงกลั่นที่ต่ำลง และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และ GRM ลดลงจาก 5 ดอลลาร์/บาร์เรล และ 6.1 ดอลลาร์/บาร์เรลใน 3Q18 และ 4Q17 เป็น 3.9 ดอลลาร์ใน 4Q18 ด้าน Murban Premium ลดลงจาก 2.9 ดอลลาร์ เป็น 2.5 ดอลลาร์/บาร์เรล และอัตราการดำเนินงานคงที่ QoQ แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 ดอลลาร์/บาร์เรล เป็น 1.8 ดอลลาร์/บาร์เรล



ผลประกอบการจะอ่อนแอต่อใน 1Q19F
แม้ว่าจะไม่มีผลขาดทุนจากสต็อกใน 1Q19 แต่การดำเนินงานจะอ่อนแอลงต่อ QoQ จาก GRM ที่ลดลงเป็น 2.4 ดอลลาร์/บาร์เรล และทำให้เกิดผลขาดทุนทางบัญชี และอะโรมาติกส์ที่คงที่ QTD



แนะนำให้ "ถือ"
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างใกล้จบลงแล้ว โดยค่าการกลั่นของ TOP จะเพิ่มขึ้นต่อใน 2020 หนุนโดย IMO ที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ของดีเซล แต่การดำเนินงานในช่วงแรกจะถูกกดดันจากปัจจัยทางฤดูกาล และค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้าง โดยเราแนะนำให้ "ถือ" โดยมีมูลค่าที่เหมาะสม 78 บาท อิง PBV ที่ 1.1 เท่าสำหรับปี 2019F ตามค่าเฉลี่ยในภูมิภาค และระดับล่างของกลุ่ม mid-cycle เมื่อเทียบจาก RoE มีความเสี่ยงคือ อัตรากำไรที่ดีกว่าคาด, อัตราการผลิตที่ลดลง และ Premium น้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น

 

 


บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า TOP รายงานขาดทุนสุทธิ 4Q18 ที่ 4.8 พัน][. ไม่รวมมูลค่าสินค้าคงคลัง การป้องกันความเสี่ยง และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (สุทธิจากภาษี) เราประเมินว่ากำไรปกติอยู่ที่ 2.92 พันลบ. (กำไรปกติต่อหุ้น 1.41 บาท/หุ้น) ลดลง 13% q-q และ 31% y-y ผลการดำเนินงานเป็นไปตามที่เราคาด แนะนำ "ขาย"

 

กำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม (GIM) อยู่ที่ US$6.5/bbl ลดลงประมาณ 10% จาก US$7.2/bbl ใน 3Q18 เนื่องจากอ่อนตัวของค่าการกลั่น และบางส่วนถูกชดเชยด้วยอะโรเมติกส์ ปริมาณวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตของกลุ่มรวมอยู่ที่ 322kbd เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 320kbd ใน 3Q18


การกลั่น: กำไรขั้นต้นจากการกลั่น (GRM) อยู่ที่ US$3.9/bbl ลดลงจาก US$5.0 ใน 3Q18 เนื่องจาก gasoline crack spread ที่อ่อนแออัตราการใช้กำลังการกลั่นยังคงสูงที่ 115% ไม่เปลยี่ นแปลง q-q อะโรเมติกส์: Product-to-feed margin เพิ่มขึ้นเป็น US$151/tonจาก US$129/ton ใน 3Q18 ส่วนใหญ่มาจาก PX spread ที่ปรับตัวดีขึ้น อัตราการผลิตสารอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 94% เทียบกับ 89%ใน 3Q18 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจที่ดีขึ้น

 

ธรุกิจผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน : Product-to-feed margin อยู่ที่US$73/ton เพิ่มขึ้นจาก US$66/ton ในไตรมาสก่อนหน้าอย่างไรก็ตามกำไรลดลง q-q เนื่องจากต้นทุนสาธารณูปโภคที่สูงขึ้นรายการที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานที่สำคัญคือ ขาดทุนจาก FX233 ลบ, ขาดทุนสินค้าคงคลัง 8.52 พันลบ. อีกทั้ง TOP ยังมีขาดทุนจากการทำการป้องกันความเสี่ยงอีก 852 ลบ. ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขก่อนภาษี ผู้บริหารประกาศจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงาน 2H18 ที่ 1.15 บาท/หุ้น ลดลง 69% y-y

 

ประเด็นสำคัญที่ได้จากการประชุม : อัตรากำไรขั้นต้นจากการกลั่นยังคงอ่อนแอใน 1Q19 แต่บริษัทฯ คาดว่าจะดีขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากผู้กลั่นจำนวนมากในสหรัฐฯ และยุโรป เข้าสู่ช่วงซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายเงินสดของกลุ่ม TOP น้อยกว่า US$2/bblทำให้สามารถแข่งขันได้ แต่ก็ยังเห็นการลดการผลิตโดยผู้กลั่นน้ำมันรายอื่นที่จำกัด เนื่องจาก fuel-oil spread แข็งแกร่งเทียบกบั gasoline margin

 

TOP

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ได้เวลาซื้อหุ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหุ้นตก หุ้นร่วง ณ จุด นี้ ด้วยข่าวอิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน.. ขอมองต่าง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้