Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

101

 

ลุ้นๆ TARIFF ไทยจะต่ำเหมือนเพื่อนไหม?
TOP PICK SCC / TASCO / TISCO

 

EXTERNAL FACTOR

• ผลการเจรจาภาษีนำเข้ากับสหรัฐฯ มีความคืบหน้ามากขึ้น หลังมีข้อตกลงทางการค้าไปแล้วหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, จีน (บรรลุดีลชั่วคราว ซึ่งมีสัญญาณเลื่อน DEADLINE ออกไปจากวันที่ 12 ส.ค. 68) ขณะที่ล่าสุดบรรลุดีลเพิ่มเติมอีก 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น
• ส่วนบ้านเรา เตรียมส่งดีลรอบสุดท้ายในให้กับสหรัฐฯ ในวันนี้ ลุ้นสหรัฐฯ เก็บภาษีRECIPROCALS ต่ำกว่า 36% หลังข้อเสนอเบื้องต้นของไทยค่อนข้างไปในทิศทาง
เดียวกับประเทศที่ได้ดีลแล้ว


INTERNAL FACTOR
• 2 ปัจจัย หนุนให้ปัจจุบันไทยอยู่ในวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ดังนี้ 1.TRADE TARIFF 2.0 ที่มีโอกาสกดดันเศรษฐกิจไทย 2.การดำเนินนโยบายของผู้ว่า ธปท.คนใหม่อย่างคุณวิทัย มีโอกาสเห็นการลดดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น
• นักลงทุน PRICE ACTION ต่อ BOND YIELD ช่วงอายุ 1-10 ปีต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น โดย BOND YIELD 10 ปี ล่าสุดอยู่ 1.50% สะท้อนการลดดอกเบี้ยราว1 ครั้งในช่วงเวลาที่เหลือของปีประเมินจะหนุนระดับ PE ขึ้น 0.67 เท่า และดัน TARGETSET INDEX จะขยับขึ้นมาได้ราว 57 จุด


INVESTMENT STRATEGY
• TRADE TARIFF 2.0 ที่ผ่อนคลายลงสำหรับประเทศแถบบ้านเรา หนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยเช้านี้ตลาดหุ้น NIKKEI +2.48% ซึ่งหุ้นดันตลาดส่วนใหญ่ คือ กลุ่มยานยนต์ที่ได้รับแรงกดดันมานาน อาทิ หุ้นMAZDA +17% หุ้น SUBARU +15% หุ้น MITSUBISHI +14% หุ้น TOYOTA +11% หุ้น HONDA +9%
• มุมของไทยตามข้อเสนอที่มีความที่คล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมองว่าไทยน่าจะถูกเก็บภาษีระะดับต่ำกว่า20% และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงเช่นกัน โดยกลยุทธ์เน้นหุ้นที่ต่างชาติให้ความสนใจช่วงนี้ และราคาหุ้นยังไม่ปรับขึ้นแรง อาทิ AOT, CPALL, KTC, KBANK, CPN, SCC, WHA, CPF, BBL, ADVANC, OR,CBG, PTT, HANA, AMATA, TOP, BH, SAWAD, PTTGC, CK เป็นต้น

 

สหรัฐฯ ลด TARIFFS ให้รอบบ้าน รอลุ้นดีลไทยจะตามมาหรือไม่ ?
ผลการเจรจาภาษีนำเข้ากับสหรัฐฯ มีความคืบหน้ามากขึ้น หลังมีข้อตกลงทางการค้าไปแล้วหลายประเทศ ได้แก่อังกฤษ, เวียดนาม, อินโดนีเซีย,จีน (บรรลุดีลชั่วคราว ซึ่งมีสัญญาณเลื่อน DEADLINE ออกไปจากวันที่ 12 ส.ค. 68)ขณะที่ล่าสุดบรรลุดีลเพิ่มเติมอีก 2 ประเทศ คือ
• ฟิลิปปินส์จะเปิดตลาดเสรีให้แก่สินค้าจากสหรัฐ (ภาษี 0%) และจะร่วมมือกันด้านการทหาร แลกกับการที่สหรัฐฯ ลดภาษี RECIPROCALS เหลือ 19% (จาก 20%)
• ญี่ปุ่น จะลงทุนในอเมริกามูลค่าถึง 5.5 แสนล้านดอลลาร์แลกกับการที่สหรัฐฯ ลดภาษี RECIPROCALSเหลือ 15% (จาก 25%)


ส่วนบ้านเรา เตรียมส่งดีลรอบสุดท้ายในให้กับสหรัฐฯ ในวันนี้ ลุ้นสหรัฐฯ เก็บภาษีRECIPROCALS ต่ำกว่า 36%หลังข้อเสนอเบื้องต้นของไทยค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกับประเทศที่ได้ดีลแล้ว อย่างไรก็ดี ภาษีในระดับต่างๆ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยแตกต่างกันออกไป
• หากภาษีเท่าเดิม 36% (หนักสุด) มีโอกาสเพิ่ม DOWNSIDE ให้กับ GDP GROWTH ไทยปีนี้โตต่ำกว่า2.3%YOY ที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออก รวมถึงการลงทุน FDI มีความ
สี่ยงต่อการเกิด TECHNICAL RECESSION (GDP ติดลบ 2 ไตรมาสต่อกัน)
• หากภาษีลดลงอยู่ในช่วง 20% - 36% ยังมีความเสี่ยงที่ต่างชาติจะย้ายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่อัตราภาษีต่ำกว่า อย่างเวียดนาม อินโดฯ ฟิลิปปินส์ แต่ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่จะลด
ผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทย และลดความเสี่ยงต่อการเกิด TECHNICAL RECESSION
• หากภาษีต่ำกว่า 20% ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกันกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน คาดลดแรงกดดันต่อภาคส่งออกและ FDI ขณะที่ GDP GROWTH มีโอกาสที่จะขยายตัวได้ราว +2%YOY


ดอกเบี้ยไทยกำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลงหรือไม่ ?
2 ปัจจัย หนุนให้ปัจจุบันไทยอยู่ในวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ดังนี้ 1.TRADE TARIFF 2.0 ที่มีโอกาสกดดันเศรษฐกิจไทยไม่มากก็น้อยตามอัตราภาษีที่จะโดนเรียกเก็บจากสหรัฐฯ 36%/20%/18% ซึ่งจะกดดันภาคส่งออกชะลอตัว, การลงทุนภาคเอกชนซบเซา เป็นต้น(รายละเอียดตามหัวข้อด้านบน) 2.การดำเนินนโยบายของผู้ว่า ธปท.คนใหม่อย่างคุณวิทัย มีโอกาสเห็นการลดดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น จากผลงานเด่นก่อนดำรงตำแหน่ง อาทิ ปั้นธนาคารออมสินให้เป็นธนาคารเพื่อสังคม โดยใช้กำไรจากลูกค้ารายใหญ่ไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เช่น ลดดอกเบี้ย แก้หนี้ และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อให้กับประชาชนกว่า 13 ล้านคน อีกทั้งค่าเงินบาทปัจจุบันแข็งค่าอยู่ในโซน+-32 บาท/เหรียญฯ ซึ่งไม่ดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจที่อิงภาคส่งออกราว 65%ของ GDP ทำให้นักลงทุน PRICE ACTION ต่อ BOND YIELD ช่วงอายุ1-10 ปีต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น โดย BOND YIELD 10 ปี ล่าสุดอยู่ 1.50% สะท้อนการลดดอกเบี้ยราว1 ครั้งในช่วงเวลาที่เหลือของปี(สอดคล้องกับความเห็นจากฝ่ายวิจัยฯ) ซึ่งประเมินว่าการปรับลดดอกเบี้ย 25 BPS.จะหนุนระดับ PE ขึ้น 0.67 เท่า และดัน TARGET SET INDEX จะขยับขึ้นมาได้ราว 57 จุดอีกทั้ง ภาวะเงินฝืดอย่างตัวเลข CPI ที่ติดลบ 3 เดือนต่อเนื่อง ล่าสุด -0.25%YOY ทำให้ REAL INTEREST RATE(อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง) ของไทยอยู่สูงระดับ 2.0% (ดอกเบี้ย 1.75% - เงินเฟ้อติดลบ 0.25%) ทำให้ยังมี ROOM ให้ลดดอกเบี้ยได้มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราที่มี ROOM ในช่วง 0.75-1.5% เท่านั้น


กลยุทธ์การลงทุนหุ้นไทย ในช่วง RECIPROCAL TARIFF ยังอลเวง
TRADE TARIFF 2.0 ที่เพื่อนบ้านเราเจรจากันไปเกือบหมดแล้ว ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ตลาดการเงินผ่อนคลาย และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เช้านี้ตลาดหุ้น NIKKEI+2.48% ซึ่งหุ้นดันตลาดส่วนใหญ่ คือ กลุ่มยานยนต์ที่ได้รับแรงกดดันมานาน อาทิ หุ้น MAZDA +17% หุ้นSUBARU +15% หุ้น MITSUBISHI +14% หุ้น TOYOTA +11% หุ้น HONDA +9% เป็นต้น


ขณะที่ในมุมของไทยตามข้อเสนอของ รมว.คลังที่ออกแถลงตามสื่อต่างๆ จับใจความได้ว่ามีข้อเสนอที่คล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้าน คือการยกเลิกภาษีทั้งหมดสำหรับสินค้าสหรัฐฯ และเปิดตลาดให้สหรัฐฯ แบบปลอดภาษี (0%)รวมถึงการซื้อสินค้าจากสหรัฐฯมากขึ้น ทั้งเครื่องบิน BOEING-สินค้าเกษตร-อุปกรณ์ทางการทหาร, การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในสหรัฐฯ เป็นต้น จึงมองว่าไทยน่าจะถูกเก็บ RECIPROCAL TARIFF ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน คือระดับต่ำกว่า 20% และหนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงในอนาคตเช่นเดียวกัน โดยกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ เน้นหุ้นที่ต่างชาติให้ความสนใจ โดยการซื้อสุทธิเยอะสุด 10 ใน 11 วันทำการ(ข้อมูลสิ้นสุด 7 -22 ก.ค.68) และผลตอบแทนยังไม่ปรับตัวขึ้นมากนัก อาทิ AOT, CPALL, KTC, KBANK, CPN, SCC, WHA, CPF, BBL, ADVANC, OR, CBG,
PTT, HANA, AMATA, TOP, BH, SAWAD, PTTGC, CKเป็นต้น

 


Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ความหวัง By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย เขียวสดใส แรงซื้อหุ้นบิ๊ก แคป หนุนนำ ท่ามกลางนักลงทุน ลุ้นผลเจรจาภาษีระหว่าง..

ATLAS โชว์ศักยภาพผู้นำตลาด LPG ร่วมเวทีเสวนาสร้างธุรกิจยั่งยืนก่อนเข้า SET

ATLAS โชว์ศักยภาพผู้นำตลาด LPG ร่วมเวทีเสวนาสร้างธุรกิจยั่งยืนก่อนเข้า SET

มัลติมีเดีย

TMILL วางกลยุทธ์ ขยายตลาดควบคู่เน้นบริหารต้นทุน ดันมาร์จิ้นสดใส

TMILL วางกลยุทธ์ ขยายตลาดควบคู่เน้นบริหารต้นทุน ดันมาร์จิ้นสดใส

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้