Today’s NEWS FEED

News Feed

กรุงศรี จัดสัมมนา Mid-Year Economics and Investment Outlook 2025 ชี้ทิศลงทุนครึ่งปีหลังยังผันผวน แนะจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยง มองหุ้นสหรัฐฯ-ยุโรป-จีน-อินเดียเป็นโอกาสสำคัญ

96

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(16 กรกฎาคม 2568)--------กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) อัปเดตมุมมองเศรษฐกิจและเทรนด์การลงทุนช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 ในงานสัมมนา Mid-Year Economics and Investment Outlook 2025 จัดขึ้นสำหรับลูกค้ากรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง และกรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ โดยสรุปว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวจากความเสี่ยงสงครามการค้า ขณะที่ตลาดหุ้นผันผวนสูงจากนโยบายสหรัฐฯ แต่ยังเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ยุโรป จีน อินเดีย และสินทรัพย์ทางเลือก แนะสร้างพอร์ตลงทุนแบบ Core & Satellite กระจายการลงทุนทั้งในแง่สินทรัพย์และภูมิภาคท่ามกลางความไม่แน่นอน

งานสัมมนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของกรุงศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก 4 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลก ได้แก่ Allianz Global Investors, First Sentier Investors, Schroders, Fidelity International และนายทิวา ชินธาดาพงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดย ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ และผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ชี้ว่าเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากปัจจัยเสี่ยงด้านการค้า โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแรง แม้การเจรจาการค้าจะมีความคืบหน้า และคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้งในครึ่งปีหลัง ขณะที่ยูโรโซนเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่า ECB จะลดดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง อยู่ที่ระดับ 1.5%-1.75% ภายในสิ้นปี ในส่วนของญี่ปุ่นได้แรงหนุนจากภาคบริการที่แข็งแกร่ง แม้ภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า คาดว่า BOJ จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ส่วนจีนยังเผชิญความเสี่ยงจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ทำให้การฟื้นตัวยังไม่มั่นคง

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2568 คาดว่าจะเติบโตเพียง 2.1% ต่ำกว่ากว่าศักยภาพและต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งหากได้รับผลกระทบจากภาษีตอบโต้ที่ 36% อาจเติบโตเพียง 1.5% อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐฯ มาตรการกระตุ้น และการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่ากนง. จะลดดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง


ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ และผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

‘หุ้นสหรัฐฯ คุณภาพสูง’ ยังเป็นทางเลือกลงทุนหลัก
ผู้เชี่ยวชาญจาก Allianz Global Investors ได้ฉายภาพตลาดหุ้นที่มีความผันผวนอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โดยความผันผวนในปัจจุบันมีสาเหตุหลักจากนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความผันผวนสูงเป็นอันดับสองรองจากช่วง COVID-19 ทำให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนผ่านการคาดการณ์ GDP ที่ถูกปรับลง ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ ถูกปรับขึ้น อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ ยังมีความน่าสนใจในแง่ของคุณภาพของบริษัทที่มีการเติบโตโดดเด่นในระยะยาว ทั้งนี้ ยังได้แนะนำให้กระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในยุโรป ซึ่งได้ประโยชน์จากนโยบายการคลังที่กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงแนะนำการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งได้ประโยชน์จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง ส่วนทองคำยังคงได้รับแรงหนุนจากการซื้อของธนาคารกลางประเทศกำลังพัฒนา โดยมองกลยุทธ์การลงทุนแบบ Core & Satellite ที่กระจายการลงทุนทั้งในแง่สินทรัพย์และภูมิภาคเป็นกลยุทธ์สำคัญในช่วงนี้


Mr. Kelvin Lam, MD, Head of Sales, Southeast Asia Retail and Private Bank Distribution, Allianz Global Investors

ด้านนายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน, Head of Krungsri Investment Intelligence Office, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ยังคงมองบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ หากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังคงดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดดังเช่นที่ผ่านมา 9 ไตรมาสติดต่อกัน แม้มีความเสี่ยงจาก 4 ปัจจัยได้แก่ 1. ภาวะเศรษฐกิจแบบ Stagflation 2. ความไม่แน่นอนของนโยบายทรัมป์ 3. การผ่อนคลายนโยบายการเงินของ FED ที่มีความไม่แน่นอนเรื่องขนาดและเวลาที่ FED จะลดดอกเบี้ย 4. มูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับตึงตัว


นายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน, Head of Krungsri Investment Intelligence Office, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ดังนั้น ในส่วนของ Core Portfolio แนะนำว่า 50-70% ควรลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งยังคงมีคุณภาพและแนวโน้มผลประกอบการที่เติบโต รวมถึงกองทุนผสม เช่น KFGDB-A ลงทุนหุ้นโลก ตราสารหนี้ ผ่านกองทุนหลัก Allianz Dynamic Multi Asset Strategy SRI 50 และ KFGDA-A ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลายประเภท เน้นตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ทั่วโลก

ยุโรป-จีน-อินเดีย กับกลยุทธ์ Satellite Portfolio เพิ่มโอกาสในโลกผันผวน


Mr. Christopher Wong (ที่ 2 จากขวา), Client Portfolio Strategist, South East Asia, Fidelity International

ในช่วงเสวนากลุ่ม นายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA, Head of Krungsri Investment Intelligence Office พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก 4 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลก ได้แก่ Allianz Global Investors, First Sentier Investors, Schroders, Fidelity International และนายทิวา ชินธาดาพงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนประเทศไทย ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อการลงทุนในหลากหลายภูมิภาคและสินทรัพย์ทั่วโลก โดยเฉพาะในส่วนของ Satellite Portfolio ที่เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตสูงและมีความเสี่ยงที่สูงกว่าพอร์ตหลัก เริ่มจากมุมมองตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งเคยตามหลังตลาดสหรัฐฯ มาระยะหนึ่ง แต่กลับมาโดดเด่นหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนหันกลับมาให้ความสำคัญกับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น นอกจากนี้โครงสร้างตลาดหุ้นยุโรปมีความกระจายตัวในหลายกลุ่มมากกว่า เมื่อเทียบกับหุ้นสหรัฐฯ ที่กระจุกในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Magnificent 7)

ขณะที่เศรษฐกิจจีนอาจเติบโตช้าลงในไตรมาส 2 ทั้งนี้ ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจีนจะมาจากการสนับสนุนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากภาครัฐ รวมถึงความคืบหน้าในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ โดยหุ้นกลุ่ม A-Shares มีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากมาตรการภาครัฐและการบริโภคภายในประเทศ และยังมีโอกาสฟื้นตัวเมื่อเทียบกับ H-Shares

สำหรับตลาดหุ้นอินเดียยังคงเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าอย่างจำกัด เนื่องจากมีการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศสูง ประชากรวัยแรงงานขนาดใหญ่ยังช่วยหนุนกำลังซื้อในประเทศ โดยมองว่ากองทุนอย่าง FSSA Indian Subcontinent Fund มีความโดดเด่นและแตกต่างจากกองทุนหุ้นอินเดียอื่น ซึ่งเน้นวิเคราะห์หุ้นแบบเจาะลึก และให้ความสำคัญกับประเด็นด้านธรรมาภิบาลเพื่อปกป้องเงินลงทุนของนักลงทุนด้วย


Ms. Lisa Lim (ที่ 3 จากซ้าย), Director, Intermediary Business, First Sentier Investors

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอทางเลือกการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดหุ้นอย่าง Private Assets โดยเฉพาะ Private Equity ซึ่งให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและมีความผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้น โดยทาง Schroders จะเน้นลงทุนในกลุ่ม Small-mid Buyout ที่มี มูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานน่าสนใจ กระจายการลงทุนกว่า 230 บริษัททั่วโลก มีจุดเด่นด้านการบริหารสภาพคล่องแบบ Semi-liquid ที่สามารถลงทุนได้ทุกเดือน และสามารถขายคืนได้เป็นรายไตรมาส ช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงการลงทุนแบบ Private Equity ได้ง่ายขึ้น โดยพอร์ตการลงทุนของ Schroders ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Services ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำจากประเด็นสงครามการค้า

โดยสรุปในส่วนของ Satellite Portfolio ควรกระจายไปยังกองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นรายประเทศ Private Assets และ Structure Notes เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและความผันผวนโดยรวมของพอร์ตลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ


• กองทุนที่แนะนำ ได้แก่ KT-Ashares-A ลงทุนในหุ้นจีนที่มีคุณภาพสูง ผ่านตลาด A-Shares, KFHEUROP-A ลงทุนในหุ้นชั้นนำของยุโรป ครอบคลุมหลากหลาย Sector, KFINDIA-A ลงทุนในหุ้นอินเดียที่มีแนวโน้มเติบโตและมี Valuation ที่น่าสนใจ, KFGDIV-A ลงทุนในหุ้นปันผลทั่วโลกผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ Fidelity Funds - Global Dividend Fund


• ในส่วนของ Private Assets เช่น หุ้นนอกตลาด สินเชื่อเอกชน อสังหาฯ ซึ่งไม่ได้เคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นหรือตราสารหนี้ เช่น กองทุน KFGPE-UI ลงทุนในกองทุนหลัก Schroders Capital Semi-Liquid Global Private Equity ที่ลงทุนใน Private Assets กว่า 200 ดีลทั่วโลก


• หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Notes) อาทิ Bullish Shark-Fin Note หรือ Fixed Coupon Note เป็นต้น

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

พัก By : แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เช้าวันนี้ ไม่แปลกใจ ตลาดหุ้นไทย ได้พัก ปรับสภาพ หลังจาก ปรับตัวขึ้นแรงมา 2 วัน วันแรก

มัลติมีเดีย

MGT มั่นใจสร้างผลงานปี68 โตแกร่ง

MGT มั่นใจสร้างผลงานปี68 โตแกร่ง

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้