Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

263

 

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หนุนจากความคาดหวังเรื่องข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯกับประเทศต่างๆ รวมถึงการคาดการณ์ต่อการลดดอกเบี้ยของเฟด ส่วนเครื่องมือชี้วัดด้าน Sentiment ที่ส่งสัญญาณว่าความเชื่อมั่นของตลาดปรับตัวดีขึ้น

ดัชนี CNN Fear & Greed ปรับตัวขึ้นจากระดับ 58 คะแนนในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 74 คะแนนในปัจจุบัน ซึ่งแม้ว่าจะยังคงอยู่ในโซน Greed แต่ก็เข้าใกล้ Extreme Greed แล้ว อย่างไรก็ตามองค์ประกอบด้าน Put/Call Option Ratio ได้ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 0.62 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดที่เคยทำไว้ในเดือน ก.พ. โดยในตอนนั้นดัชนี S&P500 เคยขึ้นไปแตะ 6144 จุด ก่อนที่จะปรับฐานพร้อมกับการดีดตัวของ Put/Call Ratio จากสถานการณ์เช่นนี้จึงอาจทำให้ดัชนี S&P500 อ่อนไหวต่อข่าวลบมากขึ้นในระยะสั้น

ผลสำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนของ AAII ชี้ถึงมุมมองเชิงบวกของนักลงทุน ต่อแนวโน้มตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยมุมมอง Bullish ของนักลงทุนต่อแนวโน้มตลาดในช่วง 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 9.9% เป็น 45.0% สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว (ที่ 37.5%) เป็นครั้งแรกในรอบ 6 สัปดาห์ ขณะที่มุมมอง Bearish ลดลง 7.2% เหลือ 33.1% (แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 31.0%) ส่วนนักลงทุนที่มีมุมมอง Neutral ลดลง 2.8% มาอยู่ที่ 21.9% ส่งผลให้ Bull-Bear Spread ปรับเพิ่มขึ้น 17.1% สู่ระดับ 11.9% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 6.5% เป็นครั้งแรกในรอบ 22 สัปดาห์ ส่วนผลสำรวจพิเศษของ AAII ในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับร่างกฎหมายภาษีใหม่ “One Big Beautiful Bill Act” พบว่า 64.4% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าร่างกฎหมายนี้จะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะมากเกินไป ขณะที่ 18.2% เห็นด้วยกับเนื้อหาโดยรวมของกฎหมายนี้ 7.2% ระบุว่า ร่างกฎหมายนี้ลดการใช้จ่ายของรัฐบาลมากเกินไป 3.8% ระบุว่า ร่างกฎหมายนี้ยังลดภาษีไม่เพียงพอ และ 6.2% ระบุว่า ไม่แน่ใจหรือไม่มีความคิดเห็น


แม้ภาพรวมดัชนีของตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง แต่ลักษณะการรีบาวด์ยังสะท้อนความเปราะบางของ Sentiment โดย BLS Greed & Fear Barometer แม้จะขยับขึ้นจาก 17 เป็น 20 คะแนน แต่ยังคงอยู่ในโซน Fear สัญญาณที่ดีขึ้น ได้แก่ ดัชนี Momentum Strength ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง หลังจากปรับลงแตะระดับต่ำสุดเดิมที่เคยทำไว้ในเดือน มี.ค. 2025 และ การปรับขึ้นของดัชนี Bull-to-Bear อย่างไรก็ตาม Market Breadth ยังคงปรับตัวลดลง สะท้อนว่าแม้จิตวิทยาตลาดจะเริ่มฟื้นตัว แต่แรงขับเคลื่อนใน วงกว้างยังไม่เกิดขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของตลาดไทยอาจมีอัพไซด์จำกัด

สรุปภาพตลาดวานนี้ SET บวกแรงกว่าที่คิด นำโดย DELTA และอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็พบว่ากลุ่ม Domestic play ดันตลาดช่วยด้วย เช่น AOT CPN CPAXT CPALL AWC MTC เป็นต้น ขณะที่แรงขายส่วนใหญ่เป็นไอซีที ADVANC TRUE และอื่นๆ BDMS PTTEP PTT OR CPF

 


แนวโน้มตลาดวันนี้ SET เกินต้าน
หุ้นไทยเล่นดีกว่าอาทิตย์ที่แล้วตามคาด และบวกเกินต้านไปแล้ว สัปดาห์หน้ามีโอกาสเล่นขึ้นต่อตลอดทั้งสัปดาห์ (4 วันทำการ) โดยขึ้นทดสอบ 1,150/1,160 จุด
อิงการเมืองในประเทศเข้าสู่ช่วงพักเที่ยง ส่วนข่าว ตปท. คาดผลลัพธ์เจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ มีความคืบหน้าและ เราฟันธงเป็นบวกต่อหุ้นไทย
ส่วนเรื่องการผ่อนปรน นโยบายแบนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และซอฟแวร์ แก่จีน เพื่อไม่ให้การผลิตสะดุด โดยองค์กรและบริษัทฯต่างๆ เช่น ซีเมนต์จากเยอรมัน, สหรัฐฯ ฯลฯ เรามองประเด็นสงครามการค้า เริ่มผ่อนคลายเช่นเดียวกัน สอดคล้องกับมุมมอง MS ที่มองว่าหลังจาก กำแพงภาษีมีความชัดเจน ผู้ประกอบการจะเริ่มนำเข้าสินค้าทุนอีกครั้ง หนุนให้เศรษฐกิจกลับมาหมุนเวียนได้ดีขึ้น

เราคงคาด เมื่อปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ มีความชัดเจน เราคาดว่า นลท.คงกลับมาโฟกัสเรื่อง งบการเงิน บจ.สิ้นสุดไตรมาส 2 (ต่อด้วยเรื่องปันผลระหว่างกาล) ที่จะเป็นตัวช่วย จำกัดความเสี่ยงด้านล่างของตลาดหุ้นไทย หรืออาจซ้ำเติม ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับ ผลการดำเนินงาน ของแต่ละบริษัทฯ แต่เราคาดว่าจะได้เรื่องปันผลสูงช่วยค้ำราคาหุ้นรายกลุ่ม

โดยกลุ่มเด่นในแง่ของผลตอบแทนเงินปันผลสูง และแนวโน้มงบ 2Q25 ดี ได้แก่ หุ้นกลุ่ม ปตท. หุ้นกลุ่มเครือซีเมนต์ไทย อิงหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นรายตัวที่ปรับมุมมองขึ้นแล้ว มี ITC CBG เป็นต้น


และหุ้นที่เราคาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเห็นงบแย่กว่าคาด ได้แก่ ธนาคาร ไฟแนนซ์ ค้าปลีก ค้าวัสดุ ฯลฯ อิงตามรายงานพื้นฐานที่ BLS Research มีการทยอยปรับลดคำแนะนำ และคาดการณ์กำไรในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ ถือหุ้นปันผล เริ่มสะสมหุ้นต้นรอบ ดักงบการเงินไตรมาส 2 และปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค

นับตั้งแต่ SET ฟื้นขึ้นจาก low ที่ 1,053 จุด ลักษณะการขึ้นสังเกตกราฟแท่งเขียวจะมีจำนวนมากกว่า ขณะที่การปรับฐานไม่เกิด low ใหม่เป็นภาพยกฐานสูงขึ้น ล่าสุดทะลุเส้น EMA 25 วัน…..จุดวัดใจ สำเร็จ! (เดิมไม่เคยผ่าน) จับตาโมเมนตัม RSI > 50 บ่งชี้ภาวะความแข็งแกร่ง สถิติจะมาพร้อมกับภาวะกระทิง…หากย้อนกลับไปช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย. ดันชีก่อร่างสร้างตัว ผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ จนทำให้หุ้นทั้งตลาดร่วงลงสู่ภาวะ oversold หลังจากนั้นจะเกิดสัญญาณกลับตัวของจริง! รีบาวด์ช๊อตใหญ่…รอบนี้มีลุ้นครับ


Note: หลังจากผ่านโซนต้านที่ตลาดมองไปแล้ว…ลุ้นต้านถัดไป 1,140 -1,150 / แนวรับ 1,115-1,120 จุด วันนี้ลุ้นปิด week สวยๆ !

 


What to watch
อิหร่านประกาศ ระงับความร่วมมือกับ IAEA ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบนิวเคลียร์ของ UN
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เมื่อ 1 ก.ค.รับคำร้องกรณีคลิปเสียง นายกสนทนากับสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา และมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกเตรียมยื่นคำชี้แจงภายใน 15 วันตามที่ศาลกำหนด
รัฐบาลสหรัฐฯ (3 ก.ค.) ได้ยกเลิกข้อจำกัดการส่งออกซอฟต์แวร์ออกแบบชิปไปยังประเทศจีนแล้ว ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการคลี่คลายความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองประเทศ หลังจากที่สองชาติมหาอำนาจสามารถบรรลุกรอบข้อตกลงการค้าร่วมกันในการเจรจาที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนที่ผ่านมา
บริษัทผู้ออกแบบซอฟต์แวร์เซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ Synopsys และ Cadence ของสหรัฐฯ และ Siemens AG ของเยอรมนี
รัฐบาลไทยสานต่องานเจรจาการค้าสหรัฐฯ ส่งตัวแทนเข้าประชุมหาข้อสรุปแล้ว 3 ก.ค.นี้ ซึ่งไทยได้ยื่นข้อเสนอไปยังสหรัฐฯและได้รับการตอบรับที่ดีในทุกครั้งที่มีการหารือ
MS มองค่าเงินดอลล์ อ่อนค่า คาดการณ์ผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอาเซียน

 

หุ้นแนะนำวันนี้

CBG อิงตามรายงานพื้นฐาน BLS Research ที่ปรับคำแนะนำขึ้น ก่อนหน้านี้ ขณะที่ประเด็นการค้าชายแดน มีแต่จะบวกมากหรือบวกน้อย (Low Downside risk)

แนวรับ 52 ต้าน 55 Stop loss 50

Tactical port เพิ่ม CBG

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

Retails Sector
SSS ยังอ่อนในมิ.ย. แต่คาดฟื้นบางส่วนในก.ค.
SSS ของกลุ่มค้าปลีกยังลดลงต่อในเดือนมิ.ย. เฉลี่ย -4% YoY ใกล้เคียงกับพ.ค. โดยกลุ่ม HD&C (เช่น DOHOME) อ่อนแอสุด SSS -6% YoY จากผลกระทบของกำลังซื้อและการขาดแคลนเหล็ก

ส่วนสินค้าจำเป็น (Grocery) อ่อนตัวเพียง -1% YoY เพราะมีอาหารสดและช่องทางออนไลน์ช่วยหนุน ส่วน CRC (Department store) คาด SSS -4% YoY จากอุปสงค์สินค้าฟุ่มเฟือยลดลงและผลจากค่าเงินบาทแข็ง

รายตัว CPAXT ถือว่าแข็งแกร่งสุดในกลุ่ม SSS ทรงตัว YoY ได้แรงหนุนจากธุรกิจ food services และการเติบโตของสาขาต่างประเทศ ขณะที่ DOHOME อ่อนแอสุด SSS -11% YoY จากปัญหาสินค้าคงคลังกลุ่มเหล็ก (SSS ของการขาย back office-16% ถึง -17%)
แนวโน้มเดือนก.ค. เริ่มดีขึ้น โดยคาด SSS จะหดตัวน้อยกว่ามิ.ย. จากมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและสต็อกเหล็กของ DOHOME ที่เริ่มคลี่คลาย แต่กลุ่ม Grocery มีโอกาสกลับมาเป็นบวกก่อน

แนวโน้มกำไร 2Q25 คาด GM จะเด่นกว่ายอดขาย โดยเฉพาะจาก Product mixed และต้นทุนไฟฟ้า ที่ลดลง และดอกเบี้ยขาลง โดยกลุ่ม Grocery ดีกว่า HD&C น่าจะยังมีกำไรหลักลดลงด้อยสุดทั้ง YoY และ QoQ

Fundamental view: เรายังคงน้ำหนัก “เท่ากับตลาด” สำหรับกลุ่มค้าปลีก โดยยังชอบ CPALL และ CPAXT

 


BAM
บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์

กลยุทธ์ใหม่ เพื่อเร่งการเติบโตในอนาคต
เราประเมินว่ากลยุทธ์ใหม่ของ BAM จะช่วยเร่งการขาย NPLs และ NPA ให้เร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการปลดล็อกมูลค่าของ NPLs และ NPA ของ BAM ที่มีสต็อกอยู่มาก โดย BAM มีการช่วยลูกค้าในการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งในด้านให้คำปรึกษา ปรับลดดอกเบี้ยและยืดอายุการผ่อนให้ยาวขึ้น เพื่อช่วยให้การผ่อนเหมาะสมกับความสามารถของลูกค้า ในด้านธุรกิจ NPA จับมือเป็นพันธมิตรกับ BKA, SA และ V-Beyond เพื่อนำ NPA มาปรับปรุงและช่วยขายสินทรัพย์ของ BAM ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่า NPA และเร่งยอดการขาย
นอกจากนี้ NPLs ของธนาคารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประเมินว่าธนาคารจะนำ NPLs มาขายในราคาถูกลง ทำให้เราประเมินว่ากลยุทธ์ในการเร่งขายสินทรัพย์ของ BAM จะทำให้สามารถซื้อหนี้เสีย ในราคาถูกได้เร็วขึ้น และนำไปใช้เป็นส่วนลดให้ลูกค้า เพื่อเร่งการจัดเก็บเงินสดและหนุนกำไรให้ดีขึ้น

เราประเมินการกรณี Bull และ bear case ของประมาณการกำไรปีนี้ โดยใน

Bull case: คาดกำไรสุทธิจะสูงกว่า Base case ราว 9% และจะได้ราคเป้าหมายเป็น 8.30 บาท
Bear case คาดกำไรมี downside risk ราว 5% ได้ราคาเป้าหมายที่ 7 บาท

Fundamental view: เราประเมินว่ามีโอกาสเกิด bull case มากกว่า bear case ทั้งนี้ เราคาดกำไร base case ของ BAM ที่เราทำไว้ที่ 2.1 พันล้าน เติบโต 32% YoY ซึ่งสูงกว่าประมาณการกำไรที่ตลาดทำไว้ถึง 22% ทำให้เราประเมินว่ามีแนวโน้มที่ตลาดจะปรับเพิ่มกำไรปีนี้ของ BAM ขึ้นได้ใน 2H25

 


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้