ธุรกิจไก่และสุกรปีนี้ยังสดใส, กลุ่มอาหารทะเลและอาหารสัตว์เลี้ยง ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ยังคลุมเครือ
สรุปประเด็นสำคัญจาก TISCO Corporate Day
บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจไก่และสุกรปีนี้ได้ประโยชน์ได้แก่ CPF, TFG, GFPT, FM จากราคาหมูที่เพิ่มขึ้นจากโรคท้องถิ่นระบาดในประเทศไทย และโรค ASF ในประเทศเวียดนามและจีน ส่งผลต่อ supply ที่ลดลง ในขณะที่ราคาไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากโรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศ ประเทศบราซิลซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดของโลก พบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง (HPAI) ภายในฟาร์มแห่งหนึ่ง ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าอย่างจีนและสหภาพยุโรป (EU) ประกาศระงับการนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากบราซิลเป็นการชั่วคราวทันที โดยจีนและ EU นำเข้าเนื้อไก่จากบราซิลรวมกันกว่า 793,000 ตัน หรือ 15% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เริ่มมีการแบนการนำเข้าไก่จากบราซิล เราคาดว่าจะเกิดขาดแคลนไก่และส่งผลดีต่อราคาไก่ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ นอกจากจากราคาปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ต้นทุนในการผลิตที่ลดลงจากกากถั่วเหลืองจากผลผลิตที่มากขึ้น และมีแนวโน้มต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบอาจจะลดลง จากการเจรจานำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะเป็นข้าวโพดอาหารสัตว์ เพื่อแลกเปลี่ยนบรรเทาผลกระทบภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ
ธุรกิจอาหารทะเลและอาหารสัตว์เลี้ยง ได้แก่ TU และ ITC ยังมีความกังวลจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอน ในขณะที่ค่าเงินของประเทศที่คู่ค้าที่ส่งออกอ่อนค่า รวมถึงเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวยังเป็นความเสี่ยง บริษัทมีการปรับเป้าหมายรายได้และอัตราทำกำไรสะท้อนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในปีนี้แล้ว และมีการวางแผนรองรับสถานการณ์ดังกล่าวจากการติดตามสถานการณ์และใกล้ชิดกับคู่ค้าในการวางแผนงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนในโครงการลดต้นทุนสองโครงการ เพื่อบริหารควบคุมต้นทุนด้านซัพพลายเชน์ ได้แก่ Sonar และ Tailwind จะเริ่มเห็นผลประโยชน์ในปีหน้า
กลุ่มเครื่องดื่มส่งออก SAPPE ยังเผชิญปัญหากับค่าเงินคู่ค้าที่อ่อนค่า และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อ ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ กระทบต่อผลประกอบการปีนี้ลดลง
เราแนะนำลงทุนในกลุ่มธุรกิจไก่และสุกร ได้แก่ CPF, TFG, GFPT, FM จากราคาปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ลดลง แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่า สำหรับกลุ่มธุรกิจอาหารทะเล อาหารสัตว์เลี้ยง TU, ITC และกลุ่มเครื่องดื่มส่งออก SAPPE ยังมีความมีความไม่แน่นอนของภาษีนำเข้าสหรัฐฯ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เราแนะนำให้ชะลอการลงทุนรอดูติดตามสถานการณ์ฟื้นตัว
CPF : แนวโน้มรวมของปี 2025F เป็นบวก CPF มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากราคาสัตว์ยังอยู่ในระดับสูง โรคระบาดช่วยดันราคาสัตว์ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกระบาดในไก่ และ โรคในสุกร (เช่น ASF) ส่งผลต่อ supply ของเนื้อสัตว์ผลกระทบต่อปริมาณสัตว์ในตลาดลดลง ทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ทำโอกาส CPF ได้ประโยชน์จากราคาสัตว์ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะ สุกร ในประเทศกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และไทย ทำให้รายได้เติบโตเพิ่มขึ้น ส่งผลบวกต่อรายได้และกำไร CPF ปีนี้ โดยเฉพาะจากธุรกิจฟาร์มและต่างประเทศ แนวโน้มทั้งปี 2025F บริษัทปรับตัวได้ทันในตลาดต่างประเทศ มีลงทุนต่อเนื่องใน high-margin business (เช่น ready-to-eat, food innovation) แม้มีแรงกดดันเรื่องหนี้จากการลงทุนเพิ่มใน CTI
ผลประกอบการ 1Q25 รายได้รวม 144,040 ล้านบาท (+3% YoY) กำไรสุทธิ: 3,400 ล้านบาท (โตแรงจากปีก่อน) Gross margin ดีขึ้นจาก 12% เป็น 18.5% แรงหนุนสำคัญมาจากราคาสุกรและสัตว์บกที่สูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed) ลดลงจากปีที่แล้ว รายได้จากต่างประเทศยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะ เวียดนาม และ จีน Equity income จากบริษัทร่วม (CPALL, CTI จีน, Thai Life Canada) เติบโต 92% YoY
การลงทุนล่าสุด CPF ซื้อหุ้น CPP เพิ่ม 23.8% มูลค่า 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก ITOCHU รวมเป็น 100% และจะส่งผลให้ CPP ถือหุ้นทางอ้อมจาก CTI ธุรกิจอาหารสัตว์และฟาร์มหมูในจีนเพิ่มขึ้นจาก 26% เป็น 35% คาดว่าการเข้าถือหุ้นครั้งนี้ 100% เป็นเวลา 8 เดือน จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 30-40% จาก 7.8 พันล้านบาท จากธุรกิจหมูที่เติบโตในปีนี้จาก supply ที่ขาดตลาดเพราะโรค ASF ระบาด และมี demand ที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาเพิ่มขึ้น บริษัทสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้คล่องตัวจากการถือหุ้น 100% และมีแผนที่จะนำหุ้นธุรกิจ CPP ในเวียดนามเข้าตลาด (IPO) ซึ่งจะช่วย Leverage ต้นทุนภาระการกู้ยืมได้ในอนาคต คาดว่าหนี้สินจะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 จากการซื้อกิจการ แต่ CPF คุม Net Debt to Equity ได้ในระดับปลอดภัย (เป้า < 2 เท่า) แต่รายได้และ equity จะเพิ่มจาก performance ที่ดีขึ้น สถานะทางการเงิน หนี้ที่มีดอกเบี้ย (Interest-Bearing Debt): 466,000 ล้านบาท Cost of Debt: 4.33% Net Debt to Equity Ratio: ~1.5–1.7 (คุมให้ไม่เกิน 2.0) มีการออกหุ้นกู้ในช่วงต้นปี
เราคาดผลประกอบการปีนี้มีแนวโน้มดีกว่าที่คาดเดิม จากราคาสุกรที่ปรับตัวขึ้น ต้นทุนลดลง
สำหรับผลประกอบการ 2Q25F เราคาดจะดีขึ้นจากราคาสุกรที่ดีขึ้นต่อเนื่องและต้นทุนที่ลดลง แนวโน้มผลประกอบการทั้งปีมีโอกาสมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ราคาหมูไทยปัจจุบันอยู่ที่ 88 บาท/กก. (บริษัทคาดราคาหมูปีนี้จะอยู่ที่ 80-82 บาท/กก. จากปลายปีที่ผ่านคาดที่ 75 บาท/กก.) จากปัญหาหมูเถื่อนที่คลี่คลาย และจาก supply ที่ลดลงจากผลกระทบราคาตกต่ำที่ผ่านมาและโรคท้องถิ่น ราคาหมูเวียดนามอยู่ที่ 65,400 VGN/kg จากโรค ASF ระบาด และ supply ที่ลดลง ในขณะที่ราคาต้นทุนกากถั่วเหลืองอยู่ที่ 16.7 บาท/กก. และข้าวโพดอาหารสัตว์อยู่ที่ 10.7 บาท/กก.
เราแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 31.00 บาท อ้างอิงวิธี sum-of-the-part โดย CPF โดยราคาปัจจุบันมีระดับ PER25F ที่ 11.2X, Dividend Yield 25F อยู่ที่ 4.1% ความเสี่ยง : ความผันผวนของราคาปศุสัตว์ และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์, โรคระบาด และภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัวกระทบต่อ demand ที่ซบเซา ความเสี่ยง: ความผันผวนของโรคระบาดใหม่, FX, ต้นทุนการเงินจากหนี้เพิ่ม
TFG : บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2025 เติบโต 10 - 15% YoY โดยการเติบโตมาจากธุรกิจสุกรทั้งไทยและเวียดนามดีขึ้นเป็นหลัก รวมถึงร้านค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสาขา
ธุรกิจสุกรที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยบวก supply หมูในประเทศเวียดนามและจีนลดลงจากโรค ASF ระบาด แต่บริษัทมอง demand การบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับกำลังการผลิตคาด 1.7 ล้านตัว และจากปริมาณสุกรที่ขายในเวียดนามเพิ่มขึ้น (ปริมาณสุกรในเวียดนามในปี 2025-2026 จะเพิ่มขึ้นจากการลงทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปริมาณ 1Q25 เติบโต 32% YoY)
ธุรกิจไก่ คาดการเติบโตของไก่ส่งออก บริษัทคาดราคาไก่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน คาดจะเห็นได้ในไตรมาส 3 จากปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดโดยเฉพาะในประเทศบราซิลส่งผลต่อ supply ลดลง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
ร้านค้าปลีก TFG คาดปีนี้เพิ่มขึ้น 200 สาขา เป็น 600 สาขา (ปัจจุบัน 430 สาขา)ตั้งเป้าหมาย 1,000 สาขาภายใน 5 ปี รายได้ปีนี้ 3 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมา 2 หมื่นล้านบาท จากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นและ sssg ที่เติบโต 15% เทียบกับปี 2024 ที่เติบโต 25% ธุรกิจค้าปลีกจะมีสัดส่วนรายได้ 40% ของรายได้จากการขายในปี 2025-2026 จากการขยายร้านค้าปลีก
ต้นทุนวัตถุดิบลดลง ราคากากถั่วเหลืองและข้าวโพดอาหารสัตว์ลดลงเทียบกับปีที่ผ่านมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกากถั่วเหลือง ในขณะที่ต้นทุนข้าวโพดอาหารสัตว์ทรงตัว
เงินลงทุน 2.5 พันล้านบาท ขยายธุรกิจร้านค้าปลีก 2,000 ล้านบาท และที่เหลือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย/ทุน (IBD/E) ปี 2024 อยู่ที่ 1.41x
เราคาดแนวโน้มผลประกอบการปีนี้เติบโต จากราคาสุกรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
แนวโน้ม 2Q25F เราคาดเพิ่มขึ้น YoY และ QoQ จากราคาปศุสัตว์ทั้งไก่และสุกรที่เพิ่มขึ้น โดยราคาสุกรปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก supply ทั่วโลกที่ลดลงจากโรค ASF ยังคงระบาด ในขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ทั้งข้าวโพดอาหารสัตว์ และกากถั่วเหลือยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำส่งผลให้อัตรามาร์จิ้นดีขึ้น เราคงประมาณการเดิมกำไรเติบโตจากธุรกิจสุกรที่ดีขึ้นในไทยและเวียดนามและการขยายร้านค้าปลีก 1) ธุรกิจสุกรดีขึ้นเราคาดรายได้ปี 2025F เพิ่มขึ้น 15% และปีถัดไปเพิ่มขึ้น 8% จากคาดราคาขายเฉลี่ยที่ 75 บาท/กก. และปริมาณการขายเพิ่มขึ้น ธุรกิจสุกรในเวียดนาม บริษัทมีการขยายกำลังการผลิตในช่วงปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเท่าตัว 2) ธุรกิจไก่คาดเพิ่มขึ้น จากการเน้นจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกของบริษัทเพิ่มขึ้น 3) คาดร้านค้าปลีกมีสาขาเพิ่มขึ้นปัจจุบัน 430 สาขา (สิ้นปี 2024 ปิดที่จำนวน 401 สาขา) คาดอัตราทำกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มต้นทุนอาหารสัตว์ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งกากถั่วเหลืองและข้าวโพดอาหารสัตว์
เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 5.90 บาท คาดแนวโน้มผลประกอบการปี 2025F เพิ่มขึ้นจากคาดราคาไก่ทรงตัว และธุรกิจสุกรและร้านค้าปลีกเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นหลัก ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 5.90 บาท อ้างอิง historical PER-0.5STD เฉลี่ย10X โดยราคาปัจจุบันมีระดับ PER25F ที่ 9.0X, Dividend Yield 25F อยู่ที่ 5.3% ความเสี่ยง : โรคระบาด, ต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
FM : บริษัทยังคงเป้าหมายรายได้ปี 2025F เติบโต 12-15% และ 1 หมื่นล้านบาทในปี 2027F มาจาก demand ที่เพิ่มขึ้น และ supply ไก่ที่ลดลงในบราซิลและประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนกระบาด ส่งผลดีต่อภาพรวมอุตสาหกรรมไก่ส่งออกไทย บริษัทคาดปริมาณการขายเพิ่มขึ้นและราคาขายเฉลี่ยอาจจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาจากค่าเงินเฟ้อและค่าเงินของประเทศคู่ค้าที่อ่อนค่า แต่ชดเชยได้กับ supply ที่ลดลง
ธุรกิจ CAV ไก่แปรรูปปรุงสุก ตั้งเป้าเติบโต 20-25% จาก demand ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรป และญี่ปุ่น โดยประเทศญี่ปุ่นค่าเงินเยนเริ่มแข็งค่า คาดส่งผลดีต่อ demand ที่เพิ่มขึ้น บริษัทมีการขยายเพิ่มกำลังการผลิต 11% มาอยู่ที่ 30,000 ตัน จากปีที่ผ่านมามีกำลังการผลิต 27,000 รองรับการเติบโต และคาดปริมาณการขายเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 26,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 21,000 ตัน จากการขยายตลาดส่งออกและอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้ารายใหม่ๆ
ธุรกิจไก่สดชำแหละคาดเติบโต 5-7% จากการรองรับธุรกิจ CAV ที่เติบโต และการขยายตลาดส่งออก โดยประเทศ UAE ที่เริ่มมีส่งออกปลายปีที่ผ่านมา และปีนี้จะเริ่มส่งออกประเทศฟิลิปปินส์ และซาอุดีอาระเบียคาดจะเห็นได้ปีหน้า
แนวโน้มต้นทุนปีนี้ที่ลดลง เทียบกับปีที่ผ่านมากากถั่วเหลืองและข้าวโพดอาหารสัตว์จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น บริษัทคาดอัตราทำกำไร 13-15% เพิ่มขึ้นจากเดิมคาด 12-15% และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 4.5-5%
แผนการลงทุน 3 ส่วน คาดเริ่มดำเนินงานปี 2026F ขยายกำลังการผลิตไก่แปรรูปรูป CAV ลงทุน 550 ล้านบาท โดยเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิต 4 ไลน์เดิม และ 1 ไลน์ใหม่ เฟส 1 จะเพิ่มกำลังการผลิต 33% เป็น 3.6 หมื่นตัน จาก 2.7 หมื่นตัน และไก่สดชำแหละเพิ่มกำลังการผลิต 25% และการทำระบบ automation งบลงทุน 350 ล้าน และการลงทุนธุรกิจ Pet food อยู่ระหว่างหาพาร์ทเนอร์งบลงทุน 300 ล้านบาท
เรายังคงประมาณการเดิม คาดการณ์กำไรเติบโตเฉลี่ย 8% (CAGR2Y)
เราคาดผลประกอบการ 2Q25F จะดีขึ้นต่อเนื่อง จากการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มกำลังการผลิตไก่แปรรูปปรุงสุกเทียบกับปีที่ผ่านมา เราคาดการณ์ส่งออกไก่ CAV จะกลับมาเพิ่มขึ้นหลังจากยุโรปชะลอออเดอร์ใน 1Q25F จากการตุนสินค้าใน 4Q24 ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบทั้งข้าวโพดอาหารสัตว์และกากถั่วเหลืองยังลดลงต่อเนื่อง เรายังคงประมาณการเดิมคาดการณ์กำไรปี 2025-26F เติบโตเฉลี่ย 8% (CAGR2Y) จากรายได้ปี 2025-26F เพิ่มขึ้น 9% และ 10% ตามลำดับ คาดราคาขายเฉลี่ยทั้งไก่สดชำแหละและไก่แปรรูปปรุงสุกปี 2025F ลดลงจาก 3% และ 1% โดยอ้างอิงราคาไก่ตลาดที่คาด 40 บาท/กก. จากปี 2024F ที่คาดเฉลี่ย 41 บาท/กก. เราคาดปริมาณการขายไก่สดจะเพิ่มขึ้นปีละ 8% และ 6% ตามลำดับ โดยบริษัทมีการขยายตลาดใหม่ๆไปในปี 2025F ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และ UAE เป็นการส่งออกไก่สดชำแหละและไก่แปรรูปปรุงสุก โดยบริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ประเทศ UAE เป็นสัดส่วน 5% และฟิลิปปินส์ตั้งเป้ารายได้เป็นสัดส่วน 2% ของรายได้ส่งออกคาดต้นทุนข้าวโพดและกากถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จะลดลง 2% และ 5% ตามลำดับ ส่งผลให้มาร์จิ้นโดยรวมจะอยู่ที่ 15.1-15.2%
เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 7.2 บาท จากปัจจัยพื้นฐานยังเติบโตจากการขยายธุรกิจไก่แปรรูป และขยายตลาดส่งออก ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสมมากที่สุดในกลุ่ม บริษัทมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มี D/E ที่ต่ำ, มี ROE ที่สูงสุดในกลุ่ม มี PER25F เพียง 6.0X ต่ำสุดในกลุ่ม และคาด Dividend Yield ปี 25F สูงสุดในกลุ่มอยู่ที่ 6.6%
GFPT : แนวโน้มผลประกอบการปีนี้เติบโต จาก supply ไก่ที่ลดลง ส่งผลราคาไก่เพิ่มขึ้นและต้นทุนที่ลดลง
บริษัทคาดราคาไก่ปัจจุบันยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีก จากโรคไข้หวัดนกระบาดในบราซิลส่งผลให้กลุ่มประเทศยุโรป จีน ญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศยกเลิกการนำเข้าชั่วคราว อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณการขายของบริษัทเพิ่มขึ้นโดยตรง เนื่องจากสินค้าของบริษัทส่วนใหญ่เป็นไก่แปรรูปส่งออก และไก่สดชำแหละที่พรีเมี่ยมจากการตัดแต่งที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะ ประกอบการสั่งซื้อจะต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการตรวจสอบโรงงานและรอการอนุมัติของลูกค้าที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นได้ทันที แต่บริษัทเชื่อว่าจะส่งผลต่อราคาของอุตสาหกรรมไก่โดยรวมที่จะเพิ่มขึ้น จาก supply ที่ลดลง และส่งผลดีต่อบริษัทด้วยเช่นกัน สำหรับต้นทุนอาหารสัตว์ปีนี้ กากถั่วเหลืองยังคงอยู่ระดับต่ำ ขณะที่ข้าวโพดอาหารสัตว์ทรงตัว บริษัทมองว่าหากภาครัฐฯนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์จากสหรัฐฯ จะส่งผลให้ต้นทุนรวมลดต่ำลงได้อีก
ยังคงเป้าหมายรายได้ปีนี้เพิ่มขึ้น 2-3% YoY (1Q25 รายได้เพิ่มขึ้น 3% YoY)
ต้นทุนที่ลดลงคาดกำไรขั้นต้นที่ 13-14% และคาดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย 8-8.5% คาดต้นทุนการเงินอยู่ที่ 1.5-2.5% และภาษีจ่ายที่ 10-15% ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีหนี้สินลดลงต่อเนื่องตามแผนคืนหนี้ระยะสั้น
บริษัทวางงบลงทุนปีนี้ 1-1.2 พันล้านบาท จากการขยายโรงเชือด จากกำลังการผลิต 1.5 แสนตัวต่อวัน จากปัจจุบันมีการเชือดจริงที่ 1.3 แสนตัวต่อวัน คาดการขยายโรงเชือดเสร็จใน 2Q26 สำหรับปีถัดไป บริษัทมีแผนขยายฟาร์มไก่เนื้อที่จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิต 3.4 แสนตัว/วัน และโรงงานแปรรูปของ GFPT เพื่อการส่งออก 3 หมื่นตัน/ปี คาดเสร็จภายในปี 2027 ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตเท่าตัวจากปี 2026
เราคาดแนวโน้มผลประกอบการปี 2025F มีโอกาสดีกว่าที่คาดไว้จากอัตราทำกำไรที่ดีกว่าคาดจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง และรับรู้บริษัทร่วมทุนดีเพิ่มขึ้น
แนวโน้มผลประกอบการ 2Q25F เราคาดจะดีขึ้น YoY ต่อเนื่อง จากต้นทุนที่ลดลง และราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เราคาดการบริโภคไก่ที่มีโปรตีนทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เราคาดทรงตัว QoQ จากคาดปริมาณการส่งออกประมาณ 8,200-8,500 ตัน ลดลงเล็กน้อยจากกลุ่มยุโรป อังกฤษเป็นหลักที่มีการสั่งซื้อล่วงหน้าใน 1Q25 และคาดอัตราทำกำไรยังดีต่อเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง ราคาไก่ทรงตัวจากต้นปีอยู่ที่ 40.5 บาท/ก.ก. สำหรับต้นทุนอาหารสัตว์ลดลงจากกากถั่วเหลืองเป็นหลักปัจจุบันอยู่ที่ 16.15 บาท/ก.ก. ลดลงเทียบกับเฉลี่ยปีที่ผ่านมา -9% YoY แต่ข้าวโพดอาหารสัตว์ปัจจุบันอยู่ที่ 10.4 บาท/ก.ก. ลดลงเทียบกับเฉลี่ยปีที่ผ่านมา -4%YoY แนวโน้มผลประกอบการปี 2025F มีโอกาสดีกว่าที่คาดไว้จากอัตราทำกำไรที่ดีกว่าคาดจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงต่อเนื่อง และการรับรู้บริษัทร่วมทุนที่เพิ่มขึ้น
เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” จากความผันผวนของราคาไก่ในปีนี้ และผลประกอบการที่คาดลดลง เราปรับราคาเป้าหมายใหม่อ้างอิง historical PER -1SD เฉลี่ยที่ 8X ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี upside จากราคาเป้าหมายปี 2025F อยู่ที่11.40 บาท Dividend Yield 25F อยู่ที่ 2.9% ความเสี่ยง : ราคาไก่และต้นทุนผันผวน
TU: ประเด็นในงานจะเน้นกล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับทิศทางของภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ เป็นหลัก
ผู้บริหารยืนยันว่าเป้าหมายการเติบโตของยอดขายทั้งปีที่ 1–3% ยังคงเป็นไปได้ โดยถือว่าภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ อยู่ที่ 10% (โดยอิงจากช่วงผ่อนผัน 90 วัน) ผลกระทบต่ออัตราทำกำไรคาดว่าจะบริหารจัดการได้ เนื่องจาก TU สามารถบรรเทาผลกระทบได้โดยส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภค บริษัทมีความกังวลด้าน demand มากกว่าในสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่สหรัฐฯ กำหนดภาษีนำเข้าที่อาจสูงถึง 36% สำหรับประเทศไทย บริษัทอาจทบทวนเป้าหมายอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลลัพธ์ที่รุนแรงเช่นนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้กลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ เช่น การย้ายการผลิตไปยังบริษัทสาขาในประเทศที่มีภาษีศุลกากรต่ำกว่าเพิ่มขึ้น บริษัทเปิดเผยว่าปัจจุบันยังไม่มีผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เนื่องจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ 90 วัน ที่เท่ากันทุกประเทศที่ 10% และลูกค้ายังคงรอดูสถานการณ์
บริษัทคาดว่ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงจะมีโอกาสดี เนื่องจากมีความยืดหยุ่น จากด้านราคาที่ต่ำกว่าและมีข้อได้เปรียบในการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบได้ดีขึ้น และบริษัทเชื่อว่าการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงของในประเทศสหรัฐฯ เองในปัจจุบันใกล้เต็มกำลังการผลิต ทำให้จำเป็นต้องนำเข้าsupply เพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ ดังนั้น กลุ่มนี้จึงน่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบเพียงเล็กน้อย
ในระยะกลางถึงระยะยาว TU คาดว่าโครงการลดต้นทุนสองโครงการ ได้แก่ Sonar และ Tailwind จะเริ่มเห็นผลในปี 2025 และจะได้รับประโยชน์เต็มที่ตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป บริษัทคาดว่าโครงการเหล่านี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีที่สูงขึ้น
เราคงประมาณการเดิม คาดผลประกอบการปีนี้ลดลงจากผลกระทบภาษีนำเข้าสหรัฐฯและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และคาดผลประกอบการจะเริ่มดีขึ้นปีหน้า
แนวโน้มผลประกอบการ 2Q25F คาดปริมาณการขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ จากการเร่งสั่งสินค้าในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. แต่เดือน มิ.ย.ลดลง เรายังคงประมาณการเดิม คาดกำไรปี 2025F อยู่ที่ 4.4 พันล้านบาท (-12%YoY) จากผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลต่อ demand ที่ลดลง ค่าเงินของประเทศคู่ค้าที่อ่อนค่า และต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าทีสูงขึ้นส่งผลต่อการชะลอคำสั่งซื้อ รวมถึงแนวโน้มปัจจัยลบจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ คาดกำไรสุทธิปี 2026F จะกลับมาเพิ่มขึ้น 16%YoY จากสถานการณ์การต่างๆเริ่มปรับตัว คาดอัตราทำกำไรขั้นต้นลดลงจากราคาปลาทูน่าที่เริ่มกลับมาเราคาดที่ 1,600 US$/tons เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 11% สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคาดเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดและค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้น (บริษัทมีการขายสินค้าเป็น FOB ส่วนใหญ่ และบางธุรกิจเป็น CIF คิดเป็น 3% ของค่าใช้จ่ายรวม) และการทำการตลาดเพิ่มขึ้น และคาดอัตราภาษีจ่ายที่ 12%
เราคงคำแนะนำ “ถือ” แนวโน้มผลประกอบการที่เราคาดจะลดลงจากผลกระทบของภาพรวมเศรษฐกิจที่สะดุดจากนโยบายภาษีนำเข้าสหรัฐฯที่กระทบทั่วโลก รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 11.3 บาท อ้างอิง historical PE forward ย้อนหลัง 5 ปี -1SD ที่ 12X คาด Dividend Yield 25F ที่ 5.3% ความเสี่ยง : ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว, ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบ, การขาดแคลนเรือนขนส่ง
ITC : สถานการณ์ของภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอน โดยมีการประกาศภาษีนำเข้าพื้นฐานของสหรัฐที่ 10% ในช่วง 90 วัน (เริ่ม 9 เม.ย.ม25) ยกเว้นประเทศจีน สำหรับการแข่งขันของธุรกิจ Pet food ผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ในประเทศจีน เวียดนาม และไทย โดยภาษีนำเข้าสหรัฐฯ: จีนจากเดิม 4% ขึ้นไปถึงกว่า 100% ปัจจุบันอยู่ที่ ~35% และมีการคาดว่าเวียดนามคาดว่าจะอยู่ที่ 10–18% สำหรับไทยปัจจุบันอยู่ที่ 10% อาจขึ้นเป็น 20% โดยกลุ่มลูกค้าในสหรัฐฯ เชื่อมั่นว่าไทยจะได้ภาษีดีกว่าเวียดนาม ปัจจุบันยังไม่มีลูกค้ารายใดขอลดราคา
ITC คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จาก
1) บริษัทเชื่อว่ากำลังการผลิต wet pet food ในประเทศสหรัฐอเมริกาใกล้เต็มแล้ว ทำให้ลูกค้าย้ายออกได้ยาก และบริษัทประเมินว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 12-18 เดือนในการสร้างกำลังการผลิต
2) บริษัทได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก จากการมุ่งเน้นสินค้าพรีเมียมและมีความยืดยุ่นด้านราคา การเข้าถึงวัตถุดิบทั้งต้นทุนปลาและไก่ และความรู้ความชำนาญของแรงงานที่มีทักษะ
บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้จากผลกระทบภาษีนำเข้าสหรัฐฯ 1) กรณีภาษีนำเข้าสหรัฐฯ 10% จนถึงสิ้นปี คาดรายได้เพิ่มขึ้น 10-13% YoY 2) กรณี worst case รายได้เพิ่มขึ้น 6-8% YoY จากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ 10% (เม.ย.-พ.ค.) + 36% มิ.ย.25 เป็นต้นไป จะกระทบต่อปริมาณขายในสหรัฐลดลง 8% ในเดือนเม.ย.-พ.ค. และ 30% ในเดือน มิ.ย.-ธ.ค. และการขึ้นราคาผู้บริโภคทุก 1% จะกระทบปริมาณการขายลดลง 0.8%
สำหรับกรณี worst case บริษัทมีแผนดำเนินการระยะสั้น-กลาง คือ เร่งบริหารส่งสินค้าคงคลังในช่วง 90 วัน รวมถึงช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าในด้าน DDP 4-6 เดือน (DDP : Delivered Duty Paid ผู้ขายจะรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเกือบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ตั้งของผู้ซื้อ) เนื่องจาก incoterm ของ FOB มีมากกว่า 80% ในสหรัฐฯ บริษัทจะทำงานใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้ดำเนินงานต่อไปได้, ทุ่มเททำการตลาดเต็มที่ในตลาดอื่นๆ (ยุโรปและนอกสหรัฐฯเช่นแคนาดา และญี่ปุ่น), พัฒนาเน้นสินค้ากลุ่ม treats และ functional pet food, สนับสนุนราคาชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคจากการปรับขึ้นราคา, การจัดการต้นทุนในระยะยาวจากโครงการ Tailwind การสำรวจเพื่อขยายฐานการผลิตจารกการควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A) และการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์ และการมุ่งเน้นไปผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง สำหรับแผนระยะยาว คือการสำรวจเพื่อกระจายฐานการผลิต (การควบรวมและซื้อกิจการ หุ้นส่วน และการร่วมทุน), การจัดการสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์ และเสริมสร้างการเน้นที่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง
แนวโน้มผลประกอบการ 2Q25F เราคาดกำไรจะลดลง YoY จากฐานสูง แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ จากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ ปัจจุบันมี backlog order แล้ว 85% สำหรับ gross profit margin เราคาดใกล้เคียงเดิม QoQ จากสัดส่วนสินค้า premium ใกล้เคียงกับ 1Q25 ที่ 48.7% (แต่ลดลงจาก 2Q24 อยู่ที่ 54.4%) จากสัดส่วนของยุโรปที่เน้นสินค้า mid-priced ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ค่าเงินของคู่ค้าที่อ่อนค่า โดยบริษัทมองสัดส่วนที่เหมาะสมของสินค้า premium ไว้ประมาณ 47-50% เรายังคงคำแนะนำ “ขาย” มูลค่าเหมาะสม 12.9 บาท จากการคาดการณ์ผลประกอบการปีนี้จะลดลง จากปัจจัยลบหลายด้านที่มาจากต้นทุนปลาทูน่าที่เพิ่มขึ้น สภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของ ITC เรายังคงคำแนะนำ “ขาย” มูลค่าที่เหมาะสมที่ 12.9 บาท อ้างอิง PER Forward-1SD เฉลี่ยที่ 13X คาด Dividend Yield 4.4% สำหรับ สถาณะการเงินแข็งแกร่งเป็นเงินสดสุทธิ (net cash)
SAPPE : บริษัทปรับเป้ารายได้ปี 2025F ลดลง 10-20%YoY จากเดิมคาดเติบโต 5% YoY
โดยเป้าหมายรายได้ยังมีความไม่แน่นอน จากสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งค่า การส่งออกลดลงทุกทวีปโดยลดลงมากที่สุดได้แก่ 1) กลุ่มทวีปยุโรป เนื่องจากประเทศอังกฤษมีปัญหาการขยายช่องทางจำหน่ายเข้าทาง modern trade จากการบริหารจัดการไม่เป็นไปตามคาด และประเทศฝรั่งเศสจากยอดขายชะลอตัวทำให้มีสินค้าค้างสต๊อก คาดว่าจะเคลียร์จบได้ในครึ่งปีแรกและคาดจะฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลัง 2) กลุ่มทวีปเอเชีย ประเทศเกาหลีใต้ยังเผชิญปัญหาภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการแข่งขันสูงขึ้น ประเทศอินโดนีเซียรับกระทบภาพรวมเศรษฐกิจ บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับตัวแทนรายใหม่เพิ่มขึ้นจะเห็นในปีนี้ 3) อเมริกามีผลกระทบความเชื่อมั่นจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ปัจจุบันมีทั้งการเร่งออเดอร์และชะลอออเดอร์
อัตราทำกำไรขั้นต้นคาดลดลง 1-2% จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ลดลงตามรายได้และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น บริษัทคาดที่ 33 บาท/US$ และอัตราการใช้กำลังการผลิตคาดลดลงเทียบกับปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการขายทรงตัว 13% แต่ค่าใช้จ่ายในการบริหารคาดมูลค่าใกล้เคียงเดิมกับปีที่ผ่านมาจากยอดขายที่ชะลอตัว บริษัทมีแผนพิจารณาซื้อหุ้นคืน
ผลประกอบการปีนี้ลดลงสะท้อนการส่งออกไม่เป็นไปตามคาดจากเศรษฐกิจชะลอตัว
แนวโน้มผลประกอบการ 2Q25F เราคาดลดลง YoY และเพิ่มขึ้น QoQ จากยอดส่งออกที่คาดลดลงในทวีปยุโรปทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสจากการเคลียร์สต๊อกสินค้า และทวีปตะวันออกกลางคาดลดลง YoY แต่เริ่มดีขึ้น QoQ และครึ่งปีหลังมีโอกาสจะดีขึ้น YoY เราคาดกำไรอยู่ที่ 995 ล้านบาท (-20%YoY) และ 1.1 พันล้านบาท (+11%YoY) ตามลำดับ จากคาดรายได้ส่งออกลดลง 29% จากการส่งออกไปทวีปยุโรปในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสที่มี demand ที่ลดลง การขยายช่องทางจำหน่ายใน modern trade ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และยังมีสต๊อกสินค้าเก่าที่คาดว่าจะต้องเคลียร์หมดในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ และประเทศเกาหลีใต้ที่อ่อนตัวลงจากภาพรวมเศรษฐกิจและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียมีปัญหาจากเรื่องตัวแทนจำหน่ายมีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่ ความชำนาญด้านการตลาดยังมีไม่มาก สำหรับในประเทศคาดเพิ่มขึ้น 20% จากการทำการตลาดออกสินค้าใหม่ คาดอัตรามาร์จิ้นลดลงจากสัดส่วนการส่งออกที่ลดลงและคาดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ยังคงคำแนะนำ “ถือ” จากแนวโน้มผลประกอบการปีนี้อ่อนตัว และคาดจะเริ่มกลับดีขึ้นในปีหน้า ราคาเป้าหมาย 37.5 บาท อ้างอิง PER-1.5SD เฉลี่ยที่ 11.5X จากผลประกอบการที่มีความผันผวนจากการส่งออกจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก ความเสี่ยง : เศรษฐกิจชะลอตัวและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
OKJ : ใน 1Q25 OKJ มีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง โดยยอดขายรวมเติบโต 33% เป็น 708 ลบ .และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 49% เป็น 64 ลบ. จากการขยายสาขาแบรนด์โอ้กะจู๋และเปิดตัวแบรนด์ใหม่อย่าง Oh Juice และ Rap and Roll อีกทั้งยังสามารถควบคุมต้นทุนได้ดี ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 46.7%
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2QTD (ช่วงเมษายน–พฤษภาคม) SSSG ของโอ้กะจู๋ลดลงสองหลักจากผลกระทบของแผ่นดินไหวเมื่อปลายเดือนมีนาคม, ฐานสูงจากเทศกาลสงกรานต์ปีก่อนและภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแรง แม้ SSSG จะหดตัว แต่ยอดขายรวมยังคงขยายตัวได้ ด้านประเด็นการตั้งสำรองแต้มสะสมลดลงจากการหยุดรับสมัครสมาชิกใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2024 เพราะปัญหาแอปพลิเคชัน โดยบริษัทคาดว่าจะกลับมาเปิดรับในไตรมาส 3Q25F
แบรนด์ใหม่อย่าง Joe Wings ที่ชูจุดเด่น “ไก่ทอดเพื่อสุขภาพ” มีผลงานเหนือความคาดหมายในสาขาแรกพิจารณาจากจำนวนลูกค้าเฉลี่ย 500 คน/วัน เทียบกับ 200 คน/วันในประมาณการ (ใช้งบลงทุน 6-8 ล้านบาท/สาขา) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเจาะกลุ่มฐานลูกค้าใหม่ที่มีอายุต่ำลงและ Avg.ticket size ที่ต่ำลงอยู่ที่ราว 200 บาท (vs. โอ้กะจู๋ที่ 400 บาท) และมีศักยภาพในการเติบโตในตลาดไก่ทอดไทยที่มีขนาดใหญ่ โดยเน้นการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อลดเวลารอซึ่งเริ่มเห็นผลเชิงบวก ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายจากแบรนด์ใหม่สามารถชดเชยได้ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น
ในปี 2025F มีแผนเปิดสาขาทั้งหมด 26-30 สาขา โดยใน 1Q25 เปิด Oh Juice 3 สาขา ส่วนช่วงที่เหลือจะเป็นช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ Joe Wings วางแผนขยายในปีนี้จำนวน 5-10 สาขาหลังจากผู้บริหารมองว่าได้รบผลตอบรับที่ดี เพื่อตอบโจทย์ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอในปัจจุบัน OKJ ยังยืนยันเป้าหมายการเติบโตยอดขายรวม 20–30% ในปี 2025 โดยอาศัยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ สาขาใหม่ และแบรนด์ใหม่ โรงงานครัวกลางเบเกอรี่คาดว่าจะเริ่มดำเนินงานในไตรมาส 3Q25 โดยรวมบริษัทมั่นใจในการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและการเน้นคุณภาพสินค้า.
เรายังไม่ได้วิเคราะห์หุ้น OKJ โดยราคาเป้าหมายเฉลี่ยของ settrade อยู่ที่ 11.02 บาท เป้าหมาย PER25F เฉลี่ยที่ 14.85x คำแนะนำ BUY/HOLD/SELL ที่ 6/1/0