หุ้นถูก แต่การเมืองกดตลาดชอกช้ําระกําใจ
TOP PICK SCC / KTB / OSP
EXTERNAL FACTOR
GLOBAL INDICES
• วานนี้ตลาดหุ้นโลกค่อนข้างทรงตัว โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปิดตัวราว -0.04% ถึง +0.3%ส่วนในฝั่งยุโรป ปิดตัวราว -0.5% ถึง -0.6% ถึงแม้สหรัฐฯ จะมีกระแสข่าวที่ออกไปในโทนบวก ทั้งประเด็นสภาผู้แทนฯ สหรัฐไฟเขียวร่างกฎหมายภาษีและ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาดีกว่าคาด แต่ในมุมมองของตลาดฯ ยังดูความกังวลกับผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
• ราคาน้ำมันดิบ BRENT วานนี้ร่วงลงราว 1.4% ใกล้หลุด 64 เหรียญฯ/บาเรล หลังมีกระแสข่าว OPEC+ จะประชุมกันในวันที่ 1 มิ.ย.เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการเพิ่มกำลัง
การผลิตน้ำมัน 411,000 บาร์เรล/วันในเดือน ก.ค. 68
INTERNAL FACTOR
• สหรัฐฯ มีประเทศเป้าหมายกว่า 20 ประเทศที่ต้องเจรจาในช่วงเวลาที่เหลืออีก 45 วันและขู่จะกำหนดอัตราภาษีใหม่ หากไม่สามารถสรุปข้อตกลงได้ทันเวลา ซึ่งไทยคือ 1 ใน
กลุ่มนั้น ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอัตราภาษีของไทยจะอยู่ที่ระดับเดิม คือ 36%
• นักลงทุนกังวลว่าประเด็นการเมืองจะกลับมากดดันตลาดฯอีกครั้ง และ OVERHANGต่อไปจนถึงวันที่ 13 มิ.ย. 68 ที่ศาลฎีกาสั่งไต่สวนปมบังคับโทษ 'ทักษิณ‘ ผิดขั้นตอนทางกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ในวาระที่1-3 ที่จะต้องแล้วเสร็จภายใน ก.ย.68
INVESTMENT STRATEGY
• SET น่าจะผันผวนน้อยลงและมีโอกาสขยับขึ้นได้บ้างบางจังหวะ แม้ประเด็นการเมืองยังร้อนแรง แต่ SET INDEXช่วงสั้นๆ ก็ย่อตัวลงมาแล้วเกิน 50 จุด ขณะเดียวกันมีแรงซื้อจากต่างชาติเริ่มสลับเข้ามาพยุง
• ในมุม VALUATION ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นมายาวนาน กดดันให้นักลงทุนขายหุ้นจน ตลาดหุ้นมีขนาดMARKET CAP เหลือเพียง 14.5 ล้านล้านบาท น้อยกว่าตลาดตราสารหนี้ที่ 17.1 ล้านล้านบาท ซึ่งปกติจะสูงกว่าตลอด และที่ SET INDEX 1173 จุด มี MEYG กว้างถึง 5.21% หรือสูงกว่าระดับ 2SD ที่ 5.1% กลยุทธ์ระยะสั้นแนะนำหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว OSP CK SCC SCGP GULF สำหรับนักลงทุนระยะยาว แนะนำค่อยๆทยอยหาหุ้นสะสม
ปัจจัยแวดล้อมยังไร้ปัจจัยหนุนใหม่ๆ
วานนี้ตลาดหุ้นโลกค่อนข้างทรงตัว โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปิดตัวราว -0.04% ถึง +0.3% ส่วนในฝั่งยุโรป ปิดตัวราว -0.5% ถึง -0.6% ถึงแม้สหรัฐฯ จะมีกระแสข่าวที่ออกไปในโทนบวก แต่ในมุมมองของตลาดฯ ยังดูความกังวลกับผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
• สภาผู้แทนฯ สหรัฐไฟเขียวร่างกฎหมายภาษีของ ปธน. ทรัมป์ (หนุน BOND YIELD 30Y ย่อตัวลงเหลือ5.04%) ด้วยคะแนนฉิวเฉียด 215-214(มี 1 คนงดออกเสียง) โดยหลักๆ มีการเพิ่มเพดานการหักภาษีของมลรัฐและท้องถิ่น (SALT) สู่ระดับ 40,000 ดอลลาร์ (เดิม 10,000 ดอลลาร์) สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่า 500,000 ดอลลาร์ต่อปี และเพดานจะเพิ่มขึ้นปีละ 1% เป็นเวลา 10 ปี
สำหรับนโยบายการปรับลดภาษี อาจเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสั้น แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้ลดลง และเสี่ยงเพิ่มภาระหนี้สาธารณะของสหรัฐอย่างมาก โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 3-5 ล้านล้านเหรียญฯ จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 36.2 ล้านล้านเหรียญฯ
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาดีกว่าคาด ทั้งจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานชะลอตัวลง สะท้อนตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังไม่ทรุดตัว อีกทั้งดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการในเดือน พ.ค. อยู่ที่52.3ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดและปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในด้านทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ อาจยืนอยู่ในระดับสูงนานขึ้น ขณะที่ FED WATCH TOOL คาด FED จะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วง 3Q68
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ BRENT วานนี้ร่วงลงราว 1.4% ใกล้หลุด 64 เหรียญฯ/บาเรล หลังมีกระแสข่าว OPEC+ จะประชุมกันในวันที่ 1 มิ.ย.เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน 411,000 บาร์เรล/วันในเดือน ก.ค. 68เหตุลงโทษประเทศสมาชิกที่ผลิตเกินโควตา (เช่น คาซัคสถาน, อิรัก) ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง อาจเป็น
SENTIMENT เชิงลบ กดดันหุ้นกลุ่มอิงน้ำมันในบ้านเราด้วยเช่นกัน
ประเด็นในประเทศมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องติดตามบ้าง ... มาดูกัน
หลังจากที่ TRUMP ได้ประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีตอบโต้กับ 75 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ออกไป 90 วัน โดยเดิมทีมาตรการภาษีใหม่นี้มีกำหนดจะเริ่มมีผลในวันที่ 9 เม.ย.68 แต่ได้ถูกเลื่อนออกไป ทำให้วันเริ่มต้นใหม่จะเป็นวันที่ 8ก.ค.68(ซึ่งผ่านมาครึ่งทางของ 90 วันแล้ว) โดยสหรัฐฯ มีประเทศเป้าหมายกว่า 20 ประเทศที่ต้องเจรจาในช่วงเวลาที่เหลืออีก 45 วัน และขู่จะกำหนดอัตราภาษีใหม่ หากไม่สามารถสรุปข้อตกลงได้ทันเวลา ส่วนประเทศไทยยังไม่ได้มีการเจรจาอย่างเป็นการกับสหรัฐฯ จึงทำให้นักลงทุนกังวลว่าอัตราภาษีของไทยจะอยู่ที่ระดับเดิม คือ 36% ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติตดามอย่างใกล้ชิดว่าทางทีมรัฐบาลไทยจะไปเจรจาอย่างเป็นทางการในช่วงไหน และมีข้อตกลงอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศบ้าง
ขณะที่วานนี้ศาลปกครองสูงสุดสั่ง "ยิ่งลักษณ์" ชดใช้คดีจำนำข้าวเป็นเงิน 10,028 ล้านบาท สร้างผลกระทบต่อด้านต่างๆทั้งในมุมการเมือง / กระบวนการยุติธรรม / ตลาดหุ้น / การลงทุนต่างชาติ/ แนวโน้มพรรคร่วมรัฐบาลในอนาคต
ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าประเด็นการเมืองจะกลับมากดดันตลาดฯอีกครั้ง และ OVERHANG ต่อไปจนถึงวันที่ 13มิ.ย. 68 ที่ศาลฎีกาสั่งไต่สวนปมบังคับโทษ 'ทักษิณ‘ ผิดขั้นตอนทางกฎหมาย และต้องกลับไปรับโทษที่เหลืออยู่หรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวอาจทำให้เกิดการสั่นคลอนของพรรคร่วมรัฐบาล และส่งผลต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ในวาระที่1-3 ที่จะต้องแล้วเสร็จภายใน ก.ย.68 โดยงบประมาณการของภาครัฐปีงบประมาณ 2569 เพิ่มขึ้น +0.7%YOY อยู่ที่ 3.78 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุน 8.6 แสนล้านบาท ซึ่งอาจทำให้เม็ดเงินส่วนนี้หยุดชะงัก และไม่มีเม็ดเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจในมุมต่างๆ(เฉกเช่นเดียวกับตอนยุครัฐบาลเศรษฐา)
เม็ดเงินกระจุกตัวอยู่ในตลาดตราสารหนี้จน VALUATION ตลาดหุ้นเปิดกว้าง
ช่วง 14 –22 พ.ค. 67 ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาต่อเนื่องจากความกังวลประเด็นการเมืองไม่แน่นอนกดดัน SET ลงมาจาก 1231 จุด เหลือ 1173 จุด โดยแรงขายหลักๆ กลับเกิดจากนักลงทุนสถาบันฯ -4.6 พันล้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างชาติ คอยช่วยพยุงเล็กน้อย โดยซื้อสุทธิหุ้น 3 วันติด 2.7 พันล้านบาท, ซื้อสุทธิตราสารหนี้3 วันติด 1.67 หมื่นล้านบาท รวมถึงซื้อสุทธิ TFEX 7 วันติด 2.4 หมื่นสัญญา
ช่วงถัดไปประเมินว่า SET น่าจะผันผวนน้อยลงและมีโอกาสขยับขึ้นได้บ้างบางจังหวะ แม้ประเด็นการเมืองยังร้อนแรงแต่ SET INDEX ช่วงสั้นๆ ก็ย่อตัวลงมาแล้วเกิน 50 จุด ขณะเดียวกันมีแรงซื้อจากต่างชาติเริ่มสลับเข้ามาพยุง
ในมุม VALUATION ของตลาด ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นมายาวนาน กดดันให้นักลงทุนขายหุ้นจน ตลาดหุ้นมีขนาดMARKET CAP เหลือเพียง 14.5 ล้านล้านบาท น้อยกว่าตลาดตราสารหนี้ที่ 17.1 ล้านล้านบาท ซึ่งปกติจะสูงกว่าตลอด
ในมุมผลตอบแทนฝ่ายวิจัยประเมิน EARNING YIELD ตลาดหุ้น 6.77% เทียบผลตอบแทน BOND YIELD 1 ปี1.56% ถือว่าสูงกว่ามาก หนุนให้ SET INDEX ที่ 1173 จุด มี MEYG กว้างถึง 5.21%หรือสูงกว่าระดับ 2SD ที่ 5.1%สรุป ตลาดหุ้นไทยถูกประเด็นการเมืองกดดัน แต่ก็มี VALUATION ถูกมากๆ กลยุทธ์ระยะสั้นแนะนำหุ้นมีปัจจัยบวก
เฉพาะตัว OSP CK SCC SCGP GULF สำหรับนักลงทุนระยะยาว แนะนำค่อยๆ ทยอยหาหุ้นสะสม
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์