ภาพตลาดและแนวโน้ม
Chicken Game: เมื่อภาษีนำเข้าสูงลิ่วกลายเป็นเดิมพันของสหรัฐฯ
ในรายงาน Wealth Insight ฉบับล่าสุด เรานำเสนอประเด็นสำคัญของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนผ่านกรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ — Chicken Game — ซึ่งสะท้อนสถานการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายเร่งเครื่องเพิ่มภาษีนำเข้าอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีใครยอมถอย คล้ายกับเกมที่ผู้เล่นต่างขับรถพุ่งเข้าหากันโดยไม่ยอมหักหลบ นำไปสู่แรงกดดันในระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
ภายใต้มาตรการภาษีที่รุนแรงในปัจจุบัน US Effective Tariff Rate ได้พุ่งแตะระดับ 22% ใกล้เคียงกับช่วงหลังบังคับใช้ Smoot-Hawley Tariff Act ในปี 1930 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในชนวนสำคัญที่เร่งให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Great Depression
บทเรียนจากอดีตชี้ชัดว่า สงครามการค้าที่ยืดเยื้อไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศคู่แข่งเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังย้อนกลับมาบั่นทอนเสถียรภาพภายในของประเทศที่ใช้มาตรการด้วยเช่นกัน แรงกดดันเหล่านี้จึงอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้รัฐบาลทรัมป์เริ่มส่งสัญญาณเปลี่ยนท่าที โดยมีทั้งปัญหาเงินเฟ้อ ความผันผวนในตลาดการเงิน แรงสะท้อนจากภาคธุรกิจ และฐานเสียงจากรัฐสมรภูมิก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมในปีหน้าเป็นแรงผลักสำคัญ
ขณะเดียวกัน จีนเองก็เผชิญแรงกดดันทางเศรษฐกิจจากการชะลอตัวของการส่งออกและภาวะการค้าโลก ทำให้มีแนวโน้มเปิดรับต่อการเจรจาเช่นกัน เราประเมินว่าทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการ “ถอยคนละก้าว” ผ่านข้อตกลงบางส่วนที่ทั้งสองฝ่ายสามารถรักษาภาพลักษณ์และอ้างชัยชนะได้ในบางประเด็น
ท้ายที่สุด เราเชื่อว่าเกมนี้จะไม่จบลงด้วยการเร่งเครื่องเต็มที่ปล่อยให้รถพุ่งเข้าชนกันจนบาดเจ็บทั้งคู่ หากแต่เป็น Chicken Game แบบที่ต่างฝ่ายต่างเบี่ยงหลบอย่างมีจังหวะ เพื่อรักษาสถานะทางการเมือง และหลีกเลี่ยงหายนะทางเศรษฐกิจที่ไม่มีผู้ชนะอย่างแท้จริง
หากทั้งสองประเทศเริ่มส่งสัญญาณการเข้าสู่โต๊ะเจรจาในช่วง 1–2 เดือนข้างหน้า ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดการเงิน และเปิดทางให้ Fed มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงครึ่งหลังของปี
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET ดันกลับมาช่วงท้าย โดย DELTA บวกขึ้นมาเช่นเคย แต่ได้แรงส่งเพิ่มจากเพื่อนใหญ่ๆ อย่าง GULF ADVANC AOT BH BDMS TRUE และการเก็งกำไรไฟแนนซ์ MTC เป็นต้น ขระที่แรงขายอยู่ใน PTTEP CK BEM BJC GLOBAL CBG SPALI เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
World bank, IMF ฟัน มูดีส์ ซ้ำดาบสอง
มูดี้สปรับลดเครดิตพินิจ ไทยลงจากมีเสถียรภาพเป็นติดลบ ตามหลังธนาคารโลก และ IMF ที่ปรับลดเศรษฐกิจไทยไปก่อนหน้านี้ อิงเหตุกำแพงภาษีสหรัฐฯกระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรง และไทยมีหนี้เป็นตัวถ่วงฯ “ส่อแววรัฐบาลไทยต้องทบทวน/พับแผนกู้ 5 แสนล้านบาทมากระตุ้นเศรษฐกิจ”
วันนี้เราคาดหุ้นไทยพักฐานลงหลังจากที่วิ่งมาเหนื่อยเมื่อวานจากแรงซื้อหุ้นบูลชิพใหญ่ที่ดันดัชนีฯ ตามย่อหน้าบน (ตามที่เราเคยระบุในรายงาน และเพิ่ม GULF เข้าพอร์ต เพราะดูทรงแล้วตลาดกำลังบีบให้ต้องหมุนมาเข้าหุ้น Market Cap ใหญ่อีกรอบ) แต่การปรับฐานนั้น จะมาจากแรงขายหุ้นธนาคาร ซึ่งเชื่อมโยงกับเครดิต เรตติ้ง ประเทศโดยตรง เพราะไปลดศักยภาพในการกู้ยืมตราสารหนี้ และกระทบชิ่งมาที่การคุมพอร์ตสินเชื่อในที่สุด
แต่เราคิดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะพอรู้ตัว (สะท้อนไประดับหนึ่ง) หากดูจาก World bank, IMF ที่หั่น GDP ไทยซึ่งหนักว่าเพื่อนบ้านในช่วงที่ผ่านมา และนักวิเคราะห์ BLS Research ทยอยปรับลดคาดการณ์กำไรให้สอดคล้องกับสมมุติฐานเศรษฐกิจไปก่อนหน้านี้ ทำให้ความเสี่ยงขาลงจากข่าวมูดี้สน่าจะจำกัดอยู่แค่กลุ่มธนาคาร
แนะนำให้นักลงทุน กลับมาเลือกหุ้นเล่นรอบ เพราะปักธงไปแล้วว่า หุ้นไทยจะไม่กลับลงไปสร้างจุดต่ำสุดใหม่ภายใน 3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ (ตอนนี้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2) ส่วนการฟื้นตัวนั้น ก็จะไม่ขึ้นเขียวยกแผง แต่เป็นลักษณะหมุนหุ้น หมุนกลุ่ม สลับเล่นไปมา ดั่งเช่น การเลือกหุ้นตาม...
1) กลุ่มเล่นรีบาวด์ CCET DELTA HANA KCE (ยังวิ่งบวกสลับขากันมาเรื่อยๆ ไม่สน ทรัมป์)
2) การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ชดเชยผลกระทบ GDP จากการส่งออก STECON CK การซ่อมบ้าน และคอนโด (HMPRO และหุ้นค้าปลีกที่เชื่อมโยง เช่น CBG OSP CPALL CPAXT) กลุ่มนี้ไม่มาตามนัด อาจต้องยกเลิกเล่น
3) เล่นเก็งกำไรการลดดอกเบี้ย เช่น ไฟแนนซ์ MTC และ
4) เราเพิ่มการเก็งกำไรหุ้นที่ 1Q25 ส่อแวว Earnings bottom out (กำไรผ่านจุดต่ำ โดนหั่นกำไรมาตลอดทาง และเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว) เช่นกลุ่ม สินค้าโภคภัณฑ์ TOP IVL, หุ้นกลุ่มเครือซีเมนต์ไทย SCC SCGP
ด้านปัจจัยสนับสนุนการรีบาวด์ ยังคงคาดจะมาจาก 1) ความคาดหวังเชิงบวก จากเหตุที่จะนำไปสู่การยับยั้งบรรเทามาตรการภาษีตอบโต้สหรัฐฯ ความคืบหน้าเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับนานาชาติ 2) มาตรการกำกับโรบอทเทรด ของราคาหุ้นรายตัวจากทาง ตลท.และการออกขายกองทุน TESGX 3) งบไตรมาสแรก บจ.อาจยังไม่เห็นผลกระทบจาก เทรดวอร์ ทำให้มีโอกาสไม่สร้างแรงกดดันจากความผิดหวังงบการเงิน บจ.เหมือนกับรอบก่อนๆ
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ แนะนำเล่นหุ้นแบบ Buy the dips
1) กลุ่มเล่นรีบาวด์สั้น เช่น อิเล็อกทรอนิกส์ CCET DELTA HANA KCE
2) การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ชดเชยผลกระทบ GDP จากการส่งออก STECON CK การซ่อมบ้าน และคอนโด (HMPRO และหุ้นค้าปลีกที่เชื่อมโยง เช่น CBG OSP CPALL CPAXT)
3) เล่นเก็งกำไรการลดดอกเบี้ย MTC TIDLOR
4)กลุ่มหลัก ที่ใช้สะสมแบบ DCA เน้นเลือกที่แนวโน้มกำไรยังแกร่ง (จากผลกระทบสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลก) และเป็นหุ้น Defensive ได้แก่ ค้าปลีก โรงพยาบาล โรงไฟฟ้า และไอซีที
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET month ลุ้นปิดบวกเป็นเดือนแรกภายหลังร่วง 5 เดือน! ติดต่อกัน จับตารูปแบบกลับตัว “Hammer” เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต...แม่นยำ! บ่งชี้โอกาสเขียวต่อเดือนถัดไป นอกจากนี้การที่ดัชนีถูก Drawdown 25% จากจุดยอดที่ 1,506 จุด ทำให้ RSI (month) oversold & recovery คาดว่าอยู่ในช่วงปลายทางขาลง wave C ลุ้นดีดเด้งเป้าหมาย 1,200 จุด ส่วนหุ้นฮ๊ฮต DELTA มีแผนเทรดมาแนะนำ...จับตาวันนี้ประชุมกนง. โอกาสลดดอกเบี้ย & ใครได้ประโยชน์ส่วนหุ้น 3 ตัวเด่น GPSC, CPALL และ GULF บวกตามแผนครับ
(อ่านต่อหน้า 11)
What to watch
กลต.เผย 19 บลจ.ยื่นขอตั้งกองทุน THAI ESGX รวม 37 กอง คาดเปิดขายพร้อมกัน 2 พ.ค.นี้
ตลท.เตรียมใช้มาตรการแตะเบรก Auto pause การส่งคำสั่งซื้อขายที่ป่วนราคาหุ้น เริ่ม 6 พ.ค.นี้
เฟด เริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period) ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 6-7 พ.ค.
นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม ตุลาคม และธันวาคม
FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 95.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ค.
และ เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.00-4.25% ในการประชุมเดือนมิ.ย., ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมเดือนก.ค., ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.50-3.75% ในการประชุมเดือนต.ค. และปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมเดือนธ.ค.
ประเด็นเกี่ยวกับแนวทางการลดหรือคงดอกเบี้ย ก่อนการประชุม กนง. วันที่ 30 เม.ย.
ติดตาม กสทช. เคาะแนวทางประมูลคลื่นมือถือรอบใหม่
หุ้นแนะนำวันนี้
GULF แนวทางค่าไฟในประเทศ กกพ. กฟผ. เล็งประกาศช่วง 30 เม.ย. หรือไม่เกิน 10 พ.ค. แนวรับ 46.5 ต้าน 50 Stop loss 45
รายงานพื้นฐานวันนี้
Wealth Insight
Chicken Game: เมื่อภาษีนำเข้าสูงลิ่วกลายเป็นเดิมพันของสหรัฐฯ
เรากรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เรื่อง Chicken Game มาวิเคราะห์แนวทางของสหรัฐฯ และจีน ที่ปัจจุบันดูยังไม่มีใครยอมถอย คล้ายกับเกมที่ผู้เล่นต่างขับรถพุ่งเข้าหากันโดยไม่ยอมหักหลบ นำไปสู่แรงกดดันในระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
ภายใต้มาตรการภาษีที่รุนแรงในปัจจุบัน US Effective Tariff Rate ได้พุ่งแตะระดับ 22% ใกล้เคียงกับช่วงหลังบังคับใช้ Smoot-Hawley Tariff Act ในปี 1930 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในชนวนสำคัญที่เร่งให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Great Depression
บทเรียนจากอดีตชี้ชัดว่า สงครามการค้าที่ยืดเยื้อไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศคู่แข่งเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังย้อนกลับมาบั่นทอนเสถียรภาพภายในของประเทศที่ใช้มาตรการด้วยเช่นกัน แรงกดดันเหล่านี้จึงอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้รัฐบาลทรัมป์เริ่มส่งสัญญาณเปลี่ยนท่าที โดยมีทั้งปัญหาเงินเฟ้อ ความผันผวนในตลาดการเงิน แรงสะท้อนจากภาคธุรกิจ และฐานเสียงจากรัฐสมรภูมิก่อนการเลือกตั้งกลางเทอม
ขณะเดียวกัน จีนเองก็เผชิญแรงกดดันทางเศรษฐกิจจากการชะลอตัวของการส่งออกและภาวะการค้าโลก ทำให้จีนมีแนวโน้มเปิดรับต่อการเจรจาเช่นกัน เราประเมินว่าทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการ “ถอยคนละก้าว” ผ่านข้อตกลงบางส่วนที่ทั้งสองฝ่ายสามารถรักษาภาพลักษณ์และอ้างชัยชนะได้ในบางประเด็น
เราเชื่อว่าเกมนี้จะไม่จบลงด้วยการเร่งเครื่องเต็มที่ปล่อยให้รถพุ่งเข้าชนกันจนบาดเจ็บทั้งคู่ หากแต่เป็น Chicken Game แบบที่ต่างฝ่ายต่างเบี่ยงหลบอย่างมีจังหวะ เพื่อรักษาสถานะทางการเมือง และหลีกเลี่ยงหายนะทางเศรษฐกิจที่ไม่มีผู้ชนะอย่างแท้จริง
Our view: หากทั้งสองประเทศเริ่มส่งสัญญาณการเข้าสู่โต๊ะเจรจาในช่วง 1–2 เดือนข้างหน้า ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดการเงิน และเปิดทางให้ Fed มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงครึ่งหลังของปี
(อ่านต่อในรายงานฉบับเต็ม จะชี้ให้เห็นว่าสัญญาณ Indicators ต่างๆ ใกล้สู่จุดเปลี่ยนใจแค่ไหนอย่างไร)
Healthcare Sector
กลับมาเช็คอินกลุ่มโรงพยาบาล
เราคาดกำไร 1Q25 ของกลุ่มโรงพยาบาลที่ให้คำแนะนำ จะเป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งเกือบทุกแห่ง ยกเว้น BH (มีปัจจัยเฉพาะตัว และรายงานงบฯ แล้ว) โดยภาพรวมอยู่ที่ 6.6 พันลบ. เพิ่มขึ้น 1% YoY แต่ลดลง 3% QoQ จากปัจจัยฤดูกาล แต่เมื่อย่อยลงไป พบ รพ. PR9 จะเติบโตแข็งแกร่ง YoY ที่สุด คาดที่ 195 ลบ. เพิ่มขึ้น 23% YoY และทรงตัว QoQ รองลงมา BDMS คาดกำไร 4.3 พันลบ. เพิ่มขึ้น 6% YoY และทรงตัว QoQ ตามมาด้วย BCH ที่ 324 ลบ. เพิ่มขึ้น 2% YoY แต่ลดลง 14% QoQ
แนวโน้ม 2Q25 เรามองว่าจะเห็นผู้ป่วยชาวไทยปรับตัวลดลง แต่ผู้ป่วยชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง (middle east) จะเป็นดาวรุ่งในรอบนี้ หลังผ่านรอมฎอน ใน 1Q25 ดังนั้น เรามองว่ากลุ่มผู้ป่วย middle east จะกลับมาอย่างก้าวกระโดดใน 2Q25 ซึ่งสัดส่วนรายได้ middle east BH สูงที่สุดที่ 25% ตามมาด้วย BCH 10% PR9 8% และ BDMS 5%
ดังนั้น เรามองว่าหลังจากงบ 1Q25 ออกแล้ว จะเป็นช่วงเวลาสะสมหุ้นกลุ่มนี้เพื่อดักแนวโน้ม 2Q25 นอกจากนี้ ความกังวลเรื่องผู้ป่วยคูเวต เรามองว่าจะไม่ใช่ประเด็นกดดันอีกต่อไป จากฐานผู้ป่วยคูเวตปีที่แล้วเหลือน้อยกว่า 1% สำหรับทุกบริษัทแล้ว
Fundamental view: เราชอบ BH มากที่สุด เนื่องจากมี catalyst ดังกล่าว และ PER ถูกที่สุดในกลุ่ม ตามมาด้วย PR9 ที่เติบโตโดดเด่นที่สุด และลำดับถัดมา BCH
ITC
ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น ยังเผชิญแรงกดดันจากภาษีและเศรษฐกิจโลก
ใน 1Q25 แม้ยอดขายโต 5% YoY จากตลาดอเมริกา แต่ถูกหักล้างด้วยยอดขายเอเชียและยุโรปที่ลดลง ขณะที่ GM ลดลงเหลือ 24.1% ส่วนแนวโน้ม 2Q25 ผู้บริหารมองยอดขายจะฟื้น QoQ เล็กน้อย แต่ยังเผชิญแรงกดดันจากยุโรปและญี่ปุ่น โดยลูกค้าจะยังคุมสต็อกไว้เพียง 3 เดือน
บริษัทประเมินผลกระทบจากภาษี ได้ 2 กรณี ดังนี้ 1) กรณีภาษีนำเข้า 10% ต่อเนื่อง 9 เดือน คาดยอดขายเติบโต 11–13% และ GM อยู่ที่ 23–25% และ 2) กรณีภาษีขึ้นเป็น 36% จำนวน 7 เดือน คาดยอดขายเติบโตเพียง 6–8% และ GM ลดลงเหลือ 20–22%
เรายังคงประมาณการกรณีฐานปี 2025 ที่กำไรสุทธิ 2.82 พันลบ. (อยู่ระหว่างกลาง หากอิงจากเป้าหมายของของบริษัทจะคำนวณออกมาในช่วงที่ 2.26–3.29 พันลบ.) ขณะที่กรณีแย่สุด คาดกำไรสุทธิจะลดลงเหลือ 2.51 พันลบ. (GM เหลือ 23%) ส่วนกรณีดีสุด คาดกำไร 3.21 พันลบ. จากยอดขายโต 13%
Fundamental view: เรายังคงคำแนะนำเลี่ยงลงทุน เนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากภาษีนำเข้าและดีมานด์โลกที่อ่อนตัว อย่างไรก็ตาม หากไทยได้สิทธิ์ภาษีที่ต่ำกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น จีนหรือเวียดนาม อาจพลิกเป็น game changer ที่ช่วยดึงคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ กลับเข้ามาในระยะต่อไป
รายงานผลประกอบการวันนี้
SCGP
เอสซีจี แพคเกจจิ้ง
(+) SCGP รายงานกำไรหลัก 1Q25 ที่ 900 ล้านบาท หักรายการพิเศษ กำไรหลักจะอยู่ที่ 918 ล้านบาท ลดลง 45% YoY แต่เพิ่มขึ้น 186% QoQ สูงกว่าที่เราและตลาดคาด 26% และ 12% ตามลำดับ เกิดจากอัตรากำไรที่ดีกว่าคาด แนวโน้ม 2Q25 คาดกำไรหลักจะลดลง YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ โดยเฉพาะจากธุรกิจ แพ็คเกจจิ้ง (รวมถึง Fajar) โดยคาดหวังแนวโน้ม Font load demand ช่วงสหรัฐฯ ผ่อนผัน 90 วัน ขณะที่ PBV ราว 0.6 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 1 เท่า เป็นโอกาสสะสมหุ้น ราคาเป้าหมาย 16 บาท
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน