Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

100

 


MOODY’S ปรับเรตติ้งไทยลง ลุ้นกนง. ลดดอกเบี้ย
TOP PICK AOT / DELTA / TTB


EXTERNAL FACTOR
GLOBAL INDICES

• ความคืบหน้า TRADE WAR ดูผ่อนคลายลง หนุนเงินเข้าสินทรัพย์เสี่ยง โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปิดตัวราว +0.5% ถึง +0.7% ขณะที่ไทยขยับขึ้น +1.0% หลังการเจรจาทางภาษีของสหรัฐฯ กับหลายประเทศ ดูมีความคืบหน้าและมีโอกาสบรรลุข้อตกลงการค้ากับบรรดาประเทศคู่ค้า
• โดยหากเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง SET INDEX กับ TRADE POLICYUNCERTAINTY INDEX ตั้งแต่ต้นปี จะเห็นได้ว่ามีค่า CORRELATION -0.8 ดังนั้นหากประเด็น TRADE WAR 2.0 ผ่อนคลายลง น่าจะหนุนให้ SET INDEX ขยับขึ้นได้ไม่ยากนัก


INTERNAL FACTOR
• ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเก็บภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ GDP GROWTH ของไทยปี 2568 ถูกปรับลดดประมาณการลงมา โดยล่าสุดมูดี้ส์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวแค่ +2% (เดิมเมื่อ 6 เดือนก่อนคาด +2.9%)
• นอกจากนี้มูดี้ส์ยังได้ปรับลดแนวโน้มเครดิตเรตติ้งของไทยจาก “STABLE” ลงสู่“NEGATIVE”
• การประชุม กนง. ในวันนี้ จึงคาดหวังว่าจะเป็นการปรับลดดอกเบี้ยลงมาสู่ 1.75% เพื่อประคองเศรษฐกิจไทย

INVESTMENT STRATEGY
• หลังTRADE WAR ผ่อนคลายลง หนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดหุ้นหลายประเทศขึ้นมาจน เดือนเม.ย.68 ผลตอบแทนพลิกมาเป็นบวกเกือบหมดแล้ว อาทิ NASDAQ พลิกจาก -14.5% เป็น +0.9% MSCIACWI พลิกจาก -12.6% เป็น +0.5% ไทย พลิกจาก -8.8% เป็น +1.1% เป็นต้น
• อุตสาหกรรมที่เงินน่าจะไหลเข้าน่าจะอยู่ในกลุ่มเดิมๆที่เคยแนะนำ คือ หุ้นกลุ่ม TECH (DELTA HANA KCE) หุ้นกลุ่มดอกเบี้ยขาลง (MTC SAWAD) หุ้นกลุ่ม HIGH SEASON (GPSC BGRIM OSP) ส่วนอีก 1 กลุ่มที่ฝ่ายวิจัยฯ คาดหวังเม็ดเงินสลับเข้ามาซื้อ จากราคาหุ้นปรับตัวลงแรงในเดือนนี้ คือ หุ้นกลุ่มนิคม(AMATA WHA) หุ้นอิงน้ำมันดิบ (PTTEP) หุ้นท่องเที่ยว(AAV ERW AOT CENTEL)


ความคืบหน้า TRADE WAR ดูผ่อนคลายลง หนุนเงินเข้าสินทรัพย์เสี่ยง
วานนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังสดใสต่อ โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปิดตัวราว +0.5% ถึง +0.7% ขณะที่ไทยขยับขึ้น +1.0% หลังการเจรจาทางภาษีของสหรัฐฯ กับหลายประเทศ ดูมีความคืบหน้าและมีโอกาสบรรลุข้อตกลงการค้ากับบรรดาประเทศคู่ค้า โดยอินเดียจะเป็นประเทศแรกที่การเจรจาการค้าได้ข้อยุติ หลัง 22 เม.ย. ที่ผ่านมามีการเจรจารอบแรกระหว่างอินเดีย-สหรัฐฯ โดย รมว. คลังสหรัฐฯ กล่าวว่าอินเดียอาจจะเป็นประเทศแรกที่จะได้ลงนามในข้อตกลง และอาจตามมาด้วยญี่ปุ่น อีกทั้ง TRUMP เตรียมผ่อนปรนภาษีนำเข้าอะไหล่ ลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐฯ ยิ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ประเด็นดังกล่าวผ่อนคลายลงโดยหากเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง SETINDEX กับ TRADE POLICY UNCERTAINTY INDEX ตั้งแต่ต้นปีจะเห็นได้ว่ามีค่า CORRELATION -0.8 ดังนั้นหากประเด็น TRADE WAR 2.0 ผ่อนคลายลง น่าจะหนุนให้ SET INDEX ขยับขึ้นได้ไม่ยากนัก

ขณะที่ในมุมของสินทรัพย์อื่นๆ จะเห็นได้ว่าหลังสงกรานต์เม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยหลังสงกรานต์S&P500 และ SET บวกพอๆ กัน 3.7% – 3.8% แบ่งเป็น S&P500 บวก 6 วันติด สะสม 7.8%SET บวก 8 ใน 10 วัน สะสม 3.8% สวนทาง DOLLAR INDEX ที่ทยอยอ่อนค่าจาก 110 จุด สู่ระดับ 99 จุด และBOND YIELD สหรัฐที่ปรับตัวลง อยู่ที่ 4.16% จากช่วงกลางเดือน 4.6% บวกกับตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ(เม.ย.) ลดลงเหลือ 86 จาก 93 จุด (ต่ำสุดในรอบ 4 ปี 3 เดือน) อาจทำให้การประชุมวันที่ 7 พ.ค.68 มีโอกาสเห็น FEDลดดอกเบี้ย หรือมีมุมมอง DOVISH มากขึ้นได้


ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเก็บภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ GDP GROWTH ของไทยปี 2568 ถูกปรับลดดประมาณการลงมา โดยล่าสุดมูดี้ส์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวแค่ +2% (เดิมเมื่อ 6 เดือนก่อนคาด +2.9%)

นอกจากนี้มูดี้ส์ยังได้ปรับลดแนวโน้มเครดิตเรตติ้งของไทยจาก “STABLE” ลงสู่ “NEGATIVE” สะท้อนความเสี่ยงที่ว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและทางการคลังของไทยจะอ่อนแอลง


เมื่อพิจารณาฐานะทางการคลังของไทย มีหนี้สาธารณะ/GDP ในเดือน ก.พ. 68 อยู่ที่ 64.21% ซึ่งคาดว่าบ้านเราจะพอยังมี ROOM กู้เงินได้อีกราว 1.08 ล้านล้านบาท ที่เพดานหนี้ 70% ทำให้การกู้เงินของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อาจต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น

ขณะที่หนี้ครัวเรือน/GDP ของไทยใน 4Q67 อยู่ในระดบสูงถึง 88% และหากเทียบหนี้ครัวเรือน/GDP ของไทย พบว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ ซึ่งท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวลง มีโอกาสกดดันภาคการบริโภคและการจ้างงานตามไปด้วยได้ในระยะถัดไป

การประชุม กนง. ในวันนี้ จึงคาดหวังว่าจะเป็นการปรับลดดอกเบี้ยลงมาสู่ระดับ 1.75% เพื่อประคองเศรษฐกิจไทยให้สามารถขยายตัวได้ และช่วยลดแรงกดดันจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน


กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ แนะนำอย่างไร
หลังการเจรจาทางภาษีของสหรัฐฯ กับหลายประเทศ ดูผ่อนคลายลง หนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นหลายประเทศขึ้นมาจน เดือน เม.ย.68 ผลตอบแทนพลิกมาเป็นบวกเกือบหมดแล้ว อาทิเยอรมนี พลิกจาก -16.6% เป็น +1.2% NASDAQ พลิกจาก -14.5% เป็น +0.9% MSCI ACWI พลิกจาก -12.6%เป็น +0.5% ไทย พลิกจาก -8.8% เป็น +1.1% เป็นต้น

ซึ่งฝ่ายวิจัยฯมองว่าหาก TRADE WAR 2.0 ผ่อนคลายลงเรื่อยๆ บวกกับความคาดหวังดอกเบี้ยขาลงยังมีอยู่จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว
ดังนั้นกลยุทธ์เน้นอุตสาหกรรมที่เงินน่าจะไหลเข้าน่าจะอยู่ในกลุ่มเดิมๆ ที่เคยแนะนำ คือ หุ้นกลุ่ม TECH (DELTAHANA KCE) หุ้นกลุ่มดอกเบี้ยขาลง (MTC SAWAD) หุ้นกลุ่ม HIGH SEASON (GPSC BGRIM OSP) ส่วนอีก 1กลุ่มที่ฝ่ายวิจัยฯ คาดหวังเม็ดเงินสลับเข้ามาซื้อ จากราคาหุ้นปรับตัวลงมาลึกกว่าตลาดในเดือนนี้มาก คือ หุ้นกลุ่มนิคม(AMATA WHA) หุ้นอิงน้ำมันดิบ (PTTEP) หุ้นท่องเที่ยว(AAV ERW AOT CENTEL)


Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ปลุกหุ้นใหญ่ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย สูตรเดิม มักใช้ได้เสมอ ใช้หุ้นDELTA นำ ตามด้วย .....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้