Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

144

 

 

ตลาดหุ้น อยู่ท่ามกลางความสับสน
TOP PICK BDMS / PLANB / AP

 

EXTERNAL FACTOR
• ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว 2.1-2.5% จากความกังวล TRADE WAR ที่สร้าง ความผันผวนได้ทุกเมื่อ หลังการเจรจาประเทศคู้ค้ากับสหรัฐฯ ไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าที่ควร อาทิ ยุโรป ญี่ปุ่น อีกทั้งจีน ออกแถลงการณ์เตือนว่าจีนจะตอบโต้ทุกประเทศ ที่ร่วมมือกับสหรัฐ ในลักษณะที่กระทบต่อผลประโยชน์ของจีน
• มุมดอกเบี้ยสหรัฐฯก็มีความผันผวน หลัง TRUMP ได้แสดงความไม่พอใจต่อประธาน FED ที่ลดดอกเบี้ยช้าไป อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังมีความกังวลเงินเฟ้อที่จะพุ่งขึ้นใน อนาคต มากกว่าการเกิด RECESSION จึงคาดว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯจะทยอยลงแบบ ค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเริ่มลดดอกเบี้ย ณ มิ.ย.68

 

INTERNAL FACTOR
• เศรษฐกิจบ้านเราในช่วง 1Q68 ยังพอแรงช่วยผลักจากนโยบายกระตุ้นการใช้จ่าย อาทิ มาตรการ EASY E-RECEIPT โครงการแจกเงิน 10,000 บาท ฯลฯ แต่ในช่วง 2Q68 เป็นต้นไป น่าจะเต็มไปด้วยความท้าทาย หลังสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นการขึ้นภาษีศุลกากร อัตราพื้นฐาน 10% เมื่อ 9 เม.ย. 68 และมีกำหนดการปรับภาษีตอบโต้เพิ่มขึ้นเป็น 36% ในวันที่ 9 ก.ค. 68
• โดยผลกระทบลำดับแรกๆ คงหนีไม่พ้นภาคการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมี แง่มุมในเรื่องปริมาณการค้าโลกที่มีความเสี่ยงชะลอตัว จาก DEMAND ลดลง

 

INVESTMENT STRATEGY
• ตลาดหุ้นไทยขึ้นมา 3 วันติด แล้ววานนี้พลิกมาย่อตัว -16 จุด (-1.4%)จากความกังวลสหรัฐเลื่อนเจรจาเรื่อง ภาษีตอบโต้กับไทย สะท้อนได้จากหุ้นขนาดใหญ่อิงส่งออกปรับตัวลงแรง พร้อมกับหุ้นธ.พ. ถูกขายทำกำไร และ เม็ดเงินมีการสลับมาซื้อหุ้นขนาดเล็กมากขึ้น โดยดัชนี MAI +2.2%
• ความผันผวนยังมี แต่ในเชิงพื้นฐานฝ่ายวิจัยฯ ยังยืนยันกรอบแนวสะสมหุ้นที่สำคัญบริเวณ 1060 –1140 จุด แนะนำเก็งกำไร หุ้นรับแรงหนุนจาก THAIESGX PTTEP, SCC, CPALL, BDMS, CPN หุ้นรับมาตรการภาครัฐ AP, SPALI, LH, SIRI และหุ้นได้กระแสดอกเบี้ยขาลง MTC, SAWAD

 

เม็ดเงินยังไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง และไหลเข้าทองคำอย่างต่อเนื่อง
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงราว 2.1-2.5% จากความกังวล TRADE WAR ที่สร้างความผันผวนได้ทุกเมื่อ หลัง การเจรจาประเทศคู้ค้ากับสหรัฐฯ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ ยุโรป ญี่ปุ่น อีกทั้งกระทรวงพาณิชย์จีน ออก แถลงการณ์เตือน "จีนจะตอบโต้ทุกประเทศที่ร่วมมือกับสหรัฐ ในลักษณะที่กระทบต่อผลประโยชน์ของจีน" ซึ่งทำให้นัก ลงทุนกังวลว่าTRADE WAR ครั้งนี้ยังยืดเยื้อ และโยกเม็ดเงินเข้าตลาดทองคำจน ALL TIME HIGH

 

ขณะที่ในมุมดอกเบี้ยสหรัฐฯก็มีความผันผวน หลัง TRUMP ได้แสดงความไม่พอใจต่อประธาน FED ที่กล่าวว่า มาตรการภาษีศุลกากรของเขาจะทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่ง TRUMP กล่าวว่าตลาดหุ้นปรับลงแรง เพราะการลดดอกเบี้ยที่ช้าลงของ FED อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังมีความ กังวลเงินเฟ้อที่จะพุ่งขึ้นในอนาคต มากกว่าการเกิด RECESSION จึงคาดว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯจะทยอยลงแบบค่อย เป็นค่อยไป โดยจะเริ่มลดดอกเบี้ย ณ มิ.ย.68

 

ในมุมประเทศไทย โดนเลื่อนเจรจาการค้ากับสหรัฐวันที่23 เม.ย.68 ออกไปก่อน โดยคาดรอสหรัฐฯ กำหนดวันอย่าง เป็นทางการอีกครั้ง ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเกิด OVERHANG ต่อไป ซึ่งทำให้หลายสำนักเศรษฐกิจคาดว่าประเด็น TRADE WAR จะเริ่มกระทบเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ไตรมาส 2โดย BLOOMBERG คาด GDP GROWTH YOY จะทยอย ลดลงเรื่อยๆ ในแต่ละไตรมาส ซึ่งมีมุมมองในทิศทางเดียวกันกับหลายสำนักเศรษฐกิจช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งจะกล่าวใน รายละเอียดในหัวข้อถัดไป

 

ความเสี่ยง TECHNICAL RECESSION ในไทย กำลังใกล้เข้ามา ?
เบื้องหลังของนโยบายปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ เพิ่มความรุนแรงของ TRADE WAR รอบใหม่ ทำให้ทั่วโลก ต่างกังวลกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจชะลอตัวลง ขณะที่เศรษฐกิจบ้านเราในช่วง 1Q68 ยังพอแรงช่วยผลักจาก นโยบายกระตุ้นการใช้จ่าย อาทิมาตรการ EASY E-RECEIPT โครงการแจกเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มผู้สูงอายุราว 3 ล้านราย เป็นต้น แต่ในช่วง 2Q68 เป็นต้นไป น่าจะเต็มไปด้วยความท้าทาย หลังสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นการขึ้นภาษี ศุลกากรอัตราพื้นฐาน 10% เมื่อ 9 เม.ย. 68 และมีกำหนดการปรับภาษีตอบโต้เพิ่มขึ้นเป็น 36% ในวันที่ 9 ก.ค. 68

 

โดยผลกระทบลำดับแรกๆ คงหนีไม่พ้นภาคการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งองค์ประกอบ GDP ของไทยปี 2024 มี NET EXPORTราว 5% (มีโอกาสลดลงจนเหลือ 0%) และหนุนให้ไทยที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ราว 3.5 หมื่นล้านเหรียญฯ มีโอกาสลดลง

 

นอกจากนี้ ยังมีแง่มุมในเรื่องปริมาณการค้าโลกที่มีความเสี่ยงชะลอตัว จาก DEMAND ลดลง และอาจเพิ่มผลกระทบ ต่อภาคการผลิต (MANUFACTURING)

 

หากพิจารณาข้อมูลในอดีตในช่วงที่มูลค่า GDP ไทย หดตัว QOQ (3Q21 และ 4Q22) ปัจจัยที่เข้ามากดดันหลักๆ คือ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (มีสัดส่วนราว 25% ขององค์ประกอบ GDP)ซึ่งสอดคล้องกับ PMI ภาคการผลิตหลาย ประเทศที่ร่วงลงแรงในช่วงนั้น

 

ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินกรณีมูลค่าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของไทยลดลงทุกๆ 1% คาดว่าจะกระทบกับมูลค่า GDP ไทยราว -0.25%

 

ทั้งนี้ ในช่วงสั้นต้องติดตามตัวเลข GDP 1Q68 วันที่ 28 เม.ย.68 ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร BLOOMBERG คาด +3.0%YOY โดยถ้าออกมาดีเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ GDP ช่วงที่เหลือของปี หดตัวต่อเนื่อง และเข้าสู่ภาวะ TECHNICAL RECESSION ในที่สุด

 

ตลาดหุ้นไทยอยู่ท่ามกลางความสับสน
ตลาดหุ้นไทยขึ้นมา 3 วันติด แล้วตอนช่วงเช้าวานนี้SET -3 จุด แต่หลังจากนักลงทุนกังวลสหรัฐฯ เลื่อนเจรจา เรื่อง ภาษีตอบโต้กับไทย SET พลิกมาย่อตัว -16 จุด (-1.4%) โดยแรงกดดันหลักจาก หุ้นขนาดใหญ่อิงส่งออกปรับตัวลง แรง พร้อมกับหุ้น ธ.พ. ถูกขายทำกำไร ขณะที่เม็ดเงินมีการสลับมาซื้อหุ้นขนาดเล็กมากขึ้น โดยดัชนี MAI +2.2%

 

แม้ความผันผวนยังมี แต่ในเชิงพื้นฐานฝ่ายวิจัยฯ ยังยืนยันกรอบแนวสะสมหุ้นที่สำคัญบริเวณ 1060 – 1140 จุด (ผ่านการคำนวณจาก MEYG ที่สูงสุดในช่วงโควิด 5.8% และดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% และ2.0% จะได้กรอบ P/E ที่เหมาะสม 12.82 –13.85 เท่า เมื่อคูณกับกรอบ EPS68F ที่ 80 –89 บาทต่อหุ้น)

 

แนะนำเก็งกำไร หุ้นรับแรงหนุนจาก THAIESGX CPALL, BDMS, CPN, PTTEP, SCC หุ้นรับมาตรการภาครัฐ AP, SPALI, LH, SIRI และหุ้นได้กระแสดอกเบี้ยขาลง MTC, SAWAD

 

Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ปลุกหุ้นใหญ่ By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย สูตรเดิม มักใช้ได้เสมอ ใช้หุ้นDELTA นำ ตามด้วย .....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้