ผันผวน แต่ตลาดหุ้นโลกยังฟื้นเด่นกว่าสหรัฐ
TOP PICK BDMS / SCGP / SPALI
EXTERNAL FACTOR
GLOBAL INDICES
• กระแสการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ แบบแรงๆ ดูมีท่าทีที่เบาลงนับตั้งแต่วันที่ 9เม.ย. 68 สะท้อนจากดัชนีความไม่แน่นอนทางการค้า (TPU) ชะลอตัวลงมาจากจุดพีค
• หลังสหรัฐฯ เลื่อนการเก็บภาษีตอบโต้ 90 วัน (ยกเว้นจีน) อีกทั้งล่าสุด ปธน. เผยว่ามีความลังเลปรับขึ้นภาษีจีนเพิ่มเติมอีก และอาจสั่งปรับลดภาษีลงในอนาคต พร้อมกันนี้ยังได้มีการหารือนายกฯอิตาลี มั่นใจ 100% ปิดดีลการค้ากับ EU ภายใน 90 วัน
• อย่างไรก็ตาม ในภาคปฏิบัติการพิษของ TRADE WAR ยังมีผลกระทบจริงในเชิงปัจจัยพื้นฐานของภาพรวมเศรษฐกิจ
INTERNAL FACTOR
• องค์ประกอบ GDP ของไทยปี 2024 มี NET EXPORT ราว 5% และได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ราว 3.5 หมื่นล้านเหรียญฯ มีโอกาสลดลง ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ประเมินกรณี หากไทยไม่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯเลย จะกระทบกับ GDP ไทยอย่างมีนัยสำคัญราว –4%
• ส่วนปัจจัยที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้คงหนีไม่พ้นนโยบายการเงิน ซึ่งมีโอกาสสูงที่ กนง.จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง เหลือ 1.75% ในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.68 ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนเน้น 2 THEME หลัก 1.หุ้นอสังหาได้ YIELD สูง AP SPALI LH SC 2.หุ้นเช่าซื้อได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาลง MTC SAWAD
INVESTMENT STRATEGY
• ประเด็นภาษีจากทรัมป์ ยังถูกประชาชนต่อต้านมากขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่ม “50501” ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัวได้ช้ากว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ของโลก อย่าง MSCI ACWI EX US เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา บวก 3 วันติด สวนทางตลาดหุ้นสหรัฐที่ลง 3 วันติด
• ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินกรอบแนวสะสมหุ้นที่สำคัญ 1060 –1140 จุด แนะนำเก็งกำไร หุ้นรับแรงหนุนจากTHAIESGX PTTEP, SCC, CPALL, BDMS, CPN หุ้นรับมาตรการภาครัฐ AP, SPALI, LH, SIRI และหุ้นได้กระแสดอกเบี้ยขาลง MTC, SAWAD
ท่าทีความรุนแรงนโยบายภาษีสหรัฐฯ ดูเบาลง
กระแสการประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ แบบแรงๆ ดูมีท่าทีที่เบาลงนับตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 68 สะท้อนจากดัชนีความไม่แน่นอนทางการค้า (TPU) ชะลอตัวลงมาจากจุดพีคที่ 19.3% หลัง สหรัฐฯ เลื่อนการเก็บภาษีตอบโต้ออกไปเป็นเวลา 90 วัน (ยกเว้นจีน) อีกทั้งล่าสุด ปธน. เผยว่ามีความลังเลปรับขึ้นภาษีจีนเพิ่มเติมอีก และอาจสั่งปรับลดภาษีลงในอนาคต หวั่นการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ หยุดชะงัก พร้อมกันนี้ยังได้มีการหารือนายกฯอิตาลี มั่นใจ 100% ปิดดีลการค้ากับ EU ภายใน 90 วัน
อย่างไรก็ตาม ในภาคปฏิบัติการพิษของ TRADE WAR ยังมีผลกระทบจริงในเชิงปัจจัยพื้นฐานของภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่เริ่มเห็นถึงความปั่นป่วนมากขึ้น อาทิ โบอิ้ง ทยอยนำเครื่องบินรุ่น 737MAX กลับสหรัฐ หลังจีนสั่งเบรกรับมอบล็อตใหม่, VOLVO ปลดพนักงานในสหรัฐออก 800 ตำแหน่ง, DHLระงับส่งพัสดุมูลค่าเกิน 800 ดอลลาร์ไปสหรัฐฯ เป็นต้น
ขณะที่ BLOOMBERG คาดการณ์ผลกระทบของการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ SURPRISE จากอัตราภาษีเฉลี่ยราว20.5% เสี่ยงกดดันเงินเฟ้อสหรัฐฯ ลงราว -3% และอาจผลักเงินเฟ้อขึ้นอีก 1.7%
นอกจากนี้ ในวันที่ 22 เม.ย. 68 IMF มีกำหนดเผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WORLD ECONOMICOUTLOOK) ฉบับปรับปรุงซึ่งอาจเห็นการปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อของบางประเทศ
ปัจจัย TRADE WAR ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไรบ้าง
นักลงทุนยังกังวล TRADE WAR ที่มีโอกาสปะทุได้ทุกเมื่อ ซึ่งหลังจากที่สหรัฐฯ ได้เลื่อนเก็บภาษีนำเข้า 36% ออกไป90 วัน (คาดมีผลบังคับใช้ 9 ก.ค. 68) เหลือการจัดเก็บเพียง 10% เท่ากับหลายประเทศ ซึ่งล่าสุดทีม รมต. คลัง เตรียมไปเจรจากับสหรัฐฯ วันที่ 23 เม.ย.68 ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีข้อตกลงที่เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตามในระยะถัดไปหากยักษ์ใหญ่ 2 ประเทศทั้งจีนและสหรัฐฯตกลงกันไม่ได้ และแต่ละประเทศเพิ่งพาตนเองมากขึ้น (ยุค DEGLOBALIZATION) ซึ่งองค์ประกอบ GDP ของไทยปี 2024 มี NET EXPORT ราว 5%(มีโอกาสลดลงจนเหลือ 0%)และหนุนให้ไทยที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ราว 3.5 หมื่นล้านเหรียญฯ มีโอกาสลดลง
ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินกรณี หากไทยไม่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯเลย จะกระทบกับ GDP ไทยอย่างมีนัยสำคัญราว –4%ขณะที่ในช่วงสั้นต้องติดตามตัวเลข GDP 1Q68 วันที่ 28 เม.ย.68 ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร BLOOMBERGคาด +3.0%YOY โดยถ้าออกมาดีเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ GDP ช่วงที่เหลิอของปี หดตัวแรงได้ ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวต้องใช้ทั้ง มาตรการการเงิน และการคลัง ที่ผ่อนคลายเป็นตัวช่วยประคองเศรษฐกิจ
ขณะที่ฝั่ง ธปท.ระบุว่า มาตรการภาษีของสหรัฐ รวมถึงการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลัก จะส่งผลต่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการค้าโลกอย่างมีนัย ซึ่งหากสถานการณ์ยืดเยื้อ ทำให้มีผลกระทบส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป โดยคาดจะกดดัน GDP GROWTH ปี 68 หลุดเป้าหมายเดิมที่ 2.5% ซึ่งจะแถลงประมาณการใหม่ในการประชุม กนง.วันที่ 30 เม.ย.68โดยฝ่ายวิจัยฯคาดว่าตัวเลขมีโอกาสเข้าใกล้ <2.0% ดังสำนัก
เศรษฐกิจเอกชนที่ประมาณการไว้ในช่วงก่อนหน้านี้
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นปัจจัยที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้คงหนีไม่พ้นนโยบายการเงิน ซึ่งมีโอกาสสูงที่ กนง.จะลดดอกเบี้ยอีก1 ครั้ง เหลือ 1.75% ในการประชุมวันที่ 30 เม.ย.68 ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนเน้น 2 THEME หลัก 1.หุ้นอสังหาได้YIELD สูง AP SPALI LH SC 2.หุ้นเช่าซื้อได้ประโญชน์ดอกเบี้ยขาลง MTC SAWAD
ตลาดหุ้นโลกฟื้นเด่นกว่า US แนะหุ้น 3 ธีมมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว
ประเด็นภาษีจากทรัมป์ ยังถูกภาคประชาชนต่อต้านมากขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่ม “50501” เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ช้ากว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ของโลก อย่าง MSCI ACWI EX US ที่เริ่มขยับขึ้นมาใกล้ปิด GAP ในวันที่ 2 เม.ย. 68 ซึ่งเป็นวันที่ทรัมป์ประกาศภาษีตอบโต้ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา บวก 3 วันติดสวนทางตลาดหุ้นสหรัฐที่ลง 3 วันติด
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินแนวรับ SET INDEX ในมุมพื้นฐานที่สำคัญ ผ่าน MEYG ที่สูงสุดในช่วงโควิด 5.8% และดอกเบี้ยนโยบาย 1.75% - 2.0% จะได้ P/E ที่เหมาะสม 12.82 – 13.85 เท่า เมื่อคูณกับกรอบ EPS68F ที่ 80 –89บาทต่อหุ้น จะได้กรอบแนวสะสมหุ้นที่สำคัญทางพื้นฐานของ SET INDEX บริเวณ 1060 –1140 จุด
กลยุทธ์การลงทุนแนะนำเก็งกำไรกับหุ้น 3 ธีม
• หุ้นรับแรงหนุนจาก THAIESGX PTTEP, SCC, CPALL, BDMS, CPN
• หุ้นรับมาตรการภาครัฐ AP, SPALI, LH, SIRI
• หุ้นได้กระแสดอกเบี้ยขาลง MTC, SAWAD
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์