ภาพตลาดและแนวโน้ม
Highlights:
กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาค คิดเป็นมูลค่า 2,897 ล้านเหรียญ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 5,468 ล้านเหรียญ โดยแรงขายดังกล่าวเกิดขึ้นใน 4 ประเทศจากทั้งหมด 5 ประเทศ
Volume Index ชี้ว่าเซกเตอร์ที่โดดเด่นของภูมิภาค ได้แก่ Electricity & Gas ในเกาหลีใต้
รายละเอียด:
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศมีทิศทางไหลออก โดยมียอดขายสุทธิรวม 2,897 ล้านเหรียญสหรัฐ ชะลอตัวลงจากยอดขายสุทธิ 5,468 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีเงินทุนไหลออกทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ (-2,948 ล้านเหรียญ), ไทย (-65 ล้านเหรียญ), ฟิลิปปินส์ (-65 ล้านเหรียญ) และ อินโดนีเซีย (-350 ล้านเหรียญ) ขณะที่ไต้หวันมียอดซื้อสุทธิ 530 ล้านเหรียญ
แรงขายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้ นับตั้งแต่ต้นปี 2025 ยอดขายสุทธิรวมใน 5 ประเทศถึง 33,692 ล้านเหรียญ โดยไต้หวันเป็นตลาดที่เผชิญแรงขายมากที่สุด (-18,530 ล้านเหรียญ) ตามมาด้วย เกาหลีใต้ (-11,317 ล้านเหรียญ) และอินโดนีเซีย (-2,145 ล้านเหรียญ)
จากสัญญาณ Volume Index ในสัปดาห์ที่แล้ว ของเซกเตอร์ที่มีความโดดเด่น ในภูมิภาค ได้แก่ Electricity & Gas ในเกาหลีใต้
แนวโน้มเซกเตอร์ไทย:
สำหรับสัปดาห์นี้ คาดว่ากลุ่ม Commerce, ICT และ Utilities จะเป็นเซกเตอร์เด่นของตลาดหุ้นไทย
อัปเดต Market-Timing Indicator:
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 2.2% ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้า ส่งผลให้ภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม 2023 ดัชนีปรับตัวลดลงสะสมกว่า 33%
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสัญญาณจาก Market-Timing Indicators พบพัฒนาการ ที่ชี้ว่า ดัชนี SET มีแนวโน้ม “ผ่านจุดต่ำสุด” หรืออย่างน้อย “ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุด” แล้ว โดยเฉพาะจากข้อสังเกตที่ว่า แม้ Composite Short-term Indicator จะอ่อนแรงลงอีกครั้งในช่วงล่าสุด แต่อย่างน้อย Composite Medium-term Indicator กลับทรงตัวได้ โดยทั้งสามองค์ประกอบหลักของดัชนีดังกล่าวแทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนว่าแรงขายในตลาดเริ่มชะลอลง
จากองค์ประกอบทั้งหมดนี้ เราจึงประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยน่าจะอยู่ในช่วงของการ “สร้างฐาน” บริเวณ 1,050–1,160 จุด สอดคล้องกับแนวโน้มที่เราได้อัปเดตมุมมองไว้ในรายงาน Quantitative Strategy ช่วงต้นเดือนเมษายน
กล่าวโดยสรุป:
ภาวะ Market Timing ในปัจจุบัน “ไม่เหมาะ” ต่อการขายหุ้นในพอร์ตเพื่อตัดขาดทุน เนื่องจากดัชนี SET ได้ปรับตัวลงมาแรงและสะท้อนปัจจัยลบไปเป็นวงกว้างแล้ว พิจารณาได้จาก PBV Deviation Breadth ที่ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
ขณะนี้ตลาดจึงอยู่ในช่วงรอแรงหนุนใหม่ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวอาจเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 2/2025 โดยเฉพาะหากการเจรจาการค้าระหว่างหลายประเทศกับสหรัฐฯ เริ่มมีความคืบหน้าและได้ข้อสรุปเชิงบวก
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET เกือบจะหลับ แต่ก็กลับมา แม้ในช่วงแรกแรงซื้อจะแผ่วกว่าคาด จากตลาดโลกที่ดันมีแรงขายออกมาในวานนี้ แต่พอช่วงบ่ายมีข่าวจีนเปิดทางเจรจาสหรัฐฯ (แบบมีเงื่อนไข) ทำให้ตลาดมีความหวังกลับมา โดยหุ้นใหญ่ที่ยังเห็นการบวกส่วนใหญ่อิงงานโครงสร้างพื้นฐาน GULF GPSC BTS SCC STECON CK เป็นต้น ขณะที่กลุ่มกดดัน DELTA (ลงสวนทางกลุ่มตาม NVIDIA) ธนาคารขึ้น XD อย่าง KTB SCB เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
ม่านเริ่มเปิด ความชัดเจนเริ่มมา
เรายังคงมองกรอบดัชนีช่วงนี้ไว้ที่ 1100-1150 โดยความผันผวนจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดโลกในแต่ละวันเป็นหลัก โดยความไม่แน่นอนก็ขึ้นอยู่กับสหรัฐฯ - จีน ที่ทั้งยื่นข้อเสนอ และออกมาตรการตอบโต้กันไปมา แต่คาดว่าจะลดลง เพราะอย่างเมื่อวานที่เมื่อมีข่าวจีนยื่นข้อเสนอเปิดการเจรจา ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ ก็เริ่มเปิดรายละเอียดและความต้องการในการเจรจากับ 14 ประเทศแรก หลักๆ นอกจากดุลการค้า ยังเน้นย้ำเรื่องการเป็นฐานส่งต่อสินค้าจีนด้วย
สำหรับในประเทศ วานนี้การประชุมระหว่าง คลัง – ธปท. ภาพรวมเป็นการตั้งการ์ดรับผลกระทบ และเตรียมแลกเปลี่ยนข้อมูล และเห็นการจะโฟกัสไปที่ Non-Tariff มากขึ้น รวมทั้งไม่ได้แตะเรื่องการปรับดอกเบี้ย-คุมอัตราแลกเปลี่ยน-เงินทุนสำรอง
มองไปข้างหน้า เราคิดว่าตลาดหุ้นกำลังจะเริ่มปรับโหมดไปโฟกัสประเด็นใหม่มากขึ้นอย่าง งบฯ 1Q25 ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป (เริ่มดักได้ก่อนช่วงนี้) โดยวันนี้ BLS ได้ออกรายงาน Earnings Preview กำไรในภาพรวม (และรายละเอียดรอบแรกของแต่ละบริษัท) พบว่ากำไรหลักจะทรงตัว YoY, QoQ แต่ยังมี Downside ในการปรับประมาณการบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม Global linked
ดังนั้น กลยุทธ์สำหรับสายเก็งกำไรระยะสั้น แนะใน 2 ธีมหลัก คือ 1) งบการเงินที่แนวโน้มจะออกมาดี (จะมีคาดการณ์ละเอียดตามออกมาอีกที) เช่น CPF TFG CPALL BDMS PR9 ADVANC และ 2) หุ้นได้อานิสงค์จากการเจาจาแลกเปลี่ยนแบบ Non-tariff ที่พอเห็นชัด กลุ่มปศุสัตว์ CPF BTG TFG GFPT (รายละเอียดอื่นๆ คาดมีเพิ่มวันนี้)
ส่วนนักลงทุนระยะกลาง เราให้มองในธีม 1) ทิศทางมาตรการของภาครัฐฯ โดยวันนี้คุณพิชัย (รมว. คลัง) จะพบปะกับนักวิเคราะห์ และนักลงทุนถึงสองเวทีก่อนไปสหรัฐฯ คาดว่าจะเห็นวิสัยทัศน์ในพยุง GDP จากผลสงครามการค้า เราคิดว่าหนึ่งในทางออกคือการเพิ่มการลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐที่ทำได้ง่ายและเร็ว (มีหลายโครงการพร้อมอยู่แล้ว) จึงแนะเก็งกำไรกลุ่มรับเหมาฯ STECON (ขึ้นนำมาแล้ว) CK (ยัง Laggards) รวมทั้งหุ้นโครงสร้างพื้นฐานรายใหญ่ที่มีเงินพร้อม GULF, BTS เป็นต้น และ 2) การลดดอกเบี้ย (ที่จะมีการประชุม กนง. 30 เม.ย.) เช่น ไฟแนนซ์ MTC TIDLOR
สำหรับสายลงทุนยาว ในจังหวะที่ภาพรวมตลาดค่อนข้างถูกที่ PBV ราว 1 เท่า (Downside ลึกสุดจากนี้อาจจะได้อีกแค่ราว 10% อิงจากค่าเฉลี่ยช่วงวิกฤติในอดีต) เป็นโอกาสในการทยอยสะสม DCA โดยเริ่มจากเน้นหุ้นกลุ่ม Domestic-Defensive ที่ปลอดภัยก่อน ได้แก่ ค้าปลีกสินค้าจำเป็น CPALL BJC โรงพยาบาล BDMS BCH โรงไฟฟ้า GULF และไอซีที ADVANC TRUE
กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้
1) เก็งกำไรหุ้นงบฯ 1Q25 เด่น เช่น CPF TFG CPALL BDMS PR9 ADVANC
2) ธีมเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ชดเชยผลกระทบ GDP จากการส่งออก STECON CK
3) เล่นเก็งกำไรการลดดอกเบี้ย เช่น ไฟแนนซ์ MTC TIDLOR
4) กลุ่มหลัก ที่ใช้สะสมแบบ DCA เน้นเลือกที่แนวโน้มกำไรยังแกร่ง (จากผลกระทบสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลก) และเป็นหุ้น Defensive ได้แก่ ค้าปลีก CPALL BJC โรงพยาบาล BDMS BCH โรงไฟฟ้า GULF และไอซีที ADVANC TRUE
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET หลุด low แล้วดึงกลับทันที! ยังไปได้สวย ล่าสุด test แนวเส้น EMA 10 วัน 1,135 จุด...ได้สำเร็จ กลับเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังผ่านการ drawdown มาแล้วทั้งสิ้นถึง -22% YTD ส่วนมุมองตลาด…ขอลุ้นโอกาสเกิดภาพ V-shape recovery! ลงลึก ลุ้นเด้งแรง&เร็ว ขึ้นจากหลุม bear case zone 1,100 จุด จับตา MACD cross ตัดขึ้น! (ลุ้นข่าวดีจะกระตุ้นให้ตลาดฟื้นตัวขึ้นได้ไม่ยาก) ส่วนจุดต้านประเมินตามตัวเลข Fibonacci retracement 23.6% ด่านแรก 1,150 จุด และถัดไป 38.2% ที่ 1,200 จุดตามลำดับ…
Update: แผนเทรดเล่นรอบเมื่อ GULF ขึ้นชนเป้าแรกที่ 47 บ. เอาไงต่อ! ขณะที่ CPALL ย่อยังน่าซื้ออยู่หรือไม่ ส่วนวันนี้มีแนะเพิ่มเติมหุ้นใหม่ จะเป็นหุ้นใดฝากติดตามในหน้าเลือกหุ้นเด่นครับ
What to watch
จีนเปิดทางการเจรจากับสหรัฐฯ โดยมีเงื่อนไขสำคัญเกี่ยวกับ 1) ต้องให้เกียรติกัน ไม่วิจารณ์ 2) แต่งตั้งผู้แทนเจรจา ที่มีอำนาจเต็ม และไม่ให้ข่าวสับสน และ 3) จีนตั้งใจจะหารือเรื่องที่ติดขัดไปด้วยอย่างมาตรการค่ำบาตรต่างๆ ส่วนกรณีไต้หวันสหรัฐฯ ต้องเคารพจุดยืนจีน // หลายฝ่ายมองว่าจีนมีการตั้งเงื่อนไขในประเด็นที่ละเอียดอ่อน
ด้านสหรัฐฯ วานนี้ได้ออกรายงานเผยแพร่ว่าอัตราภาษีศุลกากรที่เก็บสูงสุดอยู่ที่ 245% ซึ่งหมายถึงน่าจะรวมกำแพงภาษีรอบก่อนไปด้วย // รวมทั้ง เมื่อคืนก็เผยว่าการเจรจา 70 ประเทศ ต้องการไม่ให้เป็นทางผ่านของสินค้าจีน และเริ่มส่งสัญญาณจะโฟกัสการเจรจา 14 ประเทศ (จาก 15 ประเทศที่ได้ดุลฯ สหรัฐ เว้นจีน) ก่อน ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย
การหารือระหว่าง ก.คลัง - แบงค์ชาติ วานนี้ หลักๆ เป็นการวางกรอบการทำงานที่ใกล้ชิด แลกเปลี่ยนข้อมูล และเตรียมการมาตรการรองรับ Worst case แต่ไม่ได้แตะเรื่องการพิจารณาดอกเบี้ย (ปล่อยให้เป็นไปตามการพิจารณาของ กนง. ในวันที่ 30 เม.ย. นี้)
คณะทำงานของไทย ในการเจรจาสหรัฐฯ ได้มีมติเตรียมเสนอ โดยวันนี้แนะติดตามการให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงแนวทางในการเจรจา โดยหนึ่งในนั้นมีข่าวการให้นำเข้า LNG และอีเทน จากสหรัฐฯ โดยจะเพิ่ม LNG 15 ล้านตัน ใน 15 ปี ทั้งนี้ โดยปกติ PTT จะนำเข้า LNG และ PTTGC นำเข้าอีเทน
สำหรับการเจรจา คณะทำงานโดย รองนายกฯ และ รมว. คลัง จะนำคณะเดินทางไปพบนักธุรกิจในสหรัฐฯ 17 เม.ย. และคาดว่าจะเจรจากับผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ ในวันที่ 21 เม.ย.
คลังได้รายชื่อผู้ขอรับใบอนุญาต Virtual Banking มา 3 กลุ่มจากการคัดเลือกของ ธปท. (เพื่อนำมาพิจารณา) คือ 1) กลุ่ม SCB ที่เป็นพันธมิตรกับ WeBank (ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน) และ KakaoBank (ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในเกาหลีใต้) 2) กลุ่ม KTB, GULF , ADVANC และ OR และ 3) กลุ่มแอสเซนด์ มันนี่ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับแอนท์ กรุ๊ป (ผู้นำฟินเทค สัญชาติจีน)
มาตรการคุม Short Sell ใหม่ออกมา หลักๆ คือ ให้ Short Sell ได้เฉพาะหุ้นใน SET100 และใช้เกณฑ์ Uptick Rule และให้กลุ่ม HFT ซื้อขายเฉพาะหุ้นใน SET100
ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ ได้แก่ การประชุม ECB (ตลาดคาดลดดอกเบี้ย) และการกล่าวสุนทรพจน์ของพาวเวล ใน Economic Club of Chicago
หุ้นแนะนำวันนี้
GULF หลังจากรวบกิจการ เริ่มก้าวสู่ธุรกิจใหม่ พร้อมทั้งฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม
แนวรับ 45 ต้าน 52 Stop loss 42
CK เก็งกำไรธีมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกลับมา และมีโครงการซื้อหุ้นคืนคอย Support
แนวรับ 14.2 ต้าน 15.1 Stop loss 13.5
รายงานพื้นฐานวันนี้
Quantitative Strategy
คาด SET แกว่งตัวในกรอบท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าโลก
ตลาดหุ้นไทยผันผวนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันจากความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อ่อนแอ ท่ามกลางความตึงเครียดด้านสงครามการค้า เราคาดว่าตลาดจะแกว่งตัวในกรอบในระยะอันใกล้ เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ดัชนี Composite Short-term อ่อนแอลงในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทั้งดัชนี Short-term Momentum Strength และดัชนี Short-term Bull-to-Bear ปรับตัวลง อย่างไรก็ตามการปรับลงครั้งนี้ได้ทำให้ดัชนี Composite Short-term ปรับตัวลงสู่ระดับใกล้ Oversold ซึ่งน่าจะช่วยจำกัดดาวน์ไซด์ของตลาด ส่วนดัชนี Composite Medium-term ค่อนข้างทรงตัวในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากองค์ประกอบย่อยทุกตัวเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันดัชนีจะอยู่ใกล้ระดับกรอบล่าง แต่โอกาสที่จะเห็นการรีบาวด์ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากบรรยากาศการลงทุนยังคงเปราะบาง เราประเมินกรอบดัชนี SET ในช่วงสองสัปดาห์ข้างหน้าไว้ที่ 1050-1160 จุด
Thai Market Strategy
ส่องกำไรไตรมาส 1/68 ... ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว?
คาดการณ์กำไรสุทธิ 1Q25 หดตัว -13% YoY (เติบโต 16% QoQ) หลักๆ จากกลุ่มพลังงาน/ปิโตรฯ ตามราคาพลังงาน/ค่าการกลั่น/ส่วนต่างปิโตรฯ ถ้าไม่รวมรายการพิเศษ/กลุ่มพลังงาน/ปิโตรฯ กำไรหลักคาดทรงตัว (+2% YoY, +3% QoQ) โดยกลุ่มที่กำไรหลักคาดโตดี YoY ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ กลุ่มไอซีที กลุ่มขนส่ง และกลุ่มท่องเที่ยว ขณะที่กลุ่มที่กำไรหลักคาดหดตัว YoY ได้แก่ กลุ่มพลังงาน/ปิโตรฯ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่มแพคเกจจิ้ง กลุ่มยานยนต์
นอกจากนี้ประเมินว่ากำไรที่คาดยังมี downside หลังเห็นการปรับประมาณการณ์ลงราว -7% ใน 1 เดือนที่ผ่านมา (BLS coverage) โดยกลุ่มที่โดนปรับลงแรง ยังคงเป็น Global-linked play/กลุ่ม Cyclical เช่น กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (SCC), กลุ่มปิโตรฯ (PTTGC, IVL), กลุ่มอสังหาฯ (LH), กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (DELTA, KCE), กลุ่มพลังงาน (PTTEP, TOP, SPRC), กลุ่มขนส่ง (AOT, BEM), กลุ่มโรงแรม (CENTEL, ERW, AWC) ในทางตรงข้าม กลุ่มที่เห็นการปรับกำไรขึ้น เช่น กลุ่ม ICT (ADVANC), กลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF), กลุ่มเนื้อสัตว์ (CPF, TFG, GFPT), กลุ่มค้าปลีก (HMPRO), กลุ่มธนาคาร (KTB), กลุ่มโรงพยาบาล (BDMS)
สำหรับบทเรียนจาก Trade war 1.0 พบว่าประมาณการณ์กำไรของ SET โดนปรับลงแรงระหว่างปี 2561-2562 โดยปรับลงถึง -27% (เทียบปี 2567-ปัจจุบัน โดนปรับลงไปแล้ว -12%) โดยกลุ่มที่ถูกปรับกำไรลงแรง ปรับลงแรงกว่า SET (แรงกว่า 30%) เช่น กลุ่มท่องเที่ยว (-59%) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (-56%), กลุ่มปิโตรฯ (-54%), กลุ่มรับเหมาฯ (-54%), กลุ่มสื่อ (-53%), กลุ่มขนส่ง (-49%), กลุ่มอสังหาฯ (-35%), กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (-33%) ขณะที่กลุ่มที่ถูกปรับกำไรลงน้อยกว่า SET เช่น กลุ่ม ICT, กลุ่มโรงพยาบาล, กลุ่มธนาคาร, กลุ่มค้าปลีก
Investment idea:
#1 Earnings play หุ้นที่คาดกำไร 1Q25 โตดี, ไม่โดนปรับลดประมาณการลงแรงช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ CPF TFG CPALL BDMS PR9 ADVANC
#2 Pre-seasonal play ทยอยสะสมหุ้นที่กำไรจะเริ่มเร่งตัว/เข้า high season ใน 2Q25 เช่น MINT (high season โรงแรมในยุโรป), BH (กำไรจะเริ่มเร่งตัวตั้งแต่ 2Q25 หลังผู้ป่วย middle east กลับมาหลังรอมฎอน)
Residential Property
ความต้องการที่อ่อนแอ ทำให้การเปิดโครงการลดลง
จากรายงานกลุ่มอสังหาฯ ที่เราออกไปล่าสุดเกี่ยวกับกำลังซื้อที่อ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นแนวราบหรือแนวสูง วันนี้ทาง AREA ก็ได้มีตัวเลขออกมาคอนเฟิร์มอีกต่อ จากการเปิดตัวโครงการใหม่ดือนมีนาคมที่ผ่านมา เปิดตัวลดลง 25% MoM เหลือ 3,524 ยูนิต คอนโดมิเนียมเปิดตัวทั้งหมด 1,765 ยูนิต ลดลง 48% MoM (ขณะที่ บ้านเดี่ยวเปิดตัวทั้งหมด 1,440 ยูนิต เพิ่มขึ้น 163% จากฐานต่ำ)
ส่วนอัตราการจองซื้อ ก็ปรับตัวลงเหลือเพียง 19% โดยปรับตัวลงทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะแนวราบ บ้านเดี่ยวเหลือเพียง 4% และทาวเฮ้าส์ ขายได้เพียง 1 ยูนิต จาก 225 ยูนิต ในเดือนที่ผ่านมา
Fundamental view: เรายังคงมุมมอง “น้อยกว่าตลาด” ต่อกลุ่มอสังหาฯ ถึงแม้ปันผลสูงถึง 6-7% บางบริษัท แต่เรามองว่าภาพกำลังซื้อที่อ่อนแอจะกดดันผลประกอบการในปีนี้ต่อเนื่อง
รวมไปถึงเราคาดว่าเดือนเมษายนจะเป็นช่วง Low Season เนื่องจากวันหยุดสงกรานต์ที่ยาวนาน รวมถึงผลกระทบจากแผ่นดินไหว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อคอนโดมิเนียม นอกจากนี้ มาตรการ (LTV) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม จะสร้างสุญญากาศของกำลังซื้อที่ล่าช้าในเดือนเมษายน
สรุปประเด็นจาก Quick take
PTTEP
ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม การเข้าซื้อสัดส่วนเพิ่มเติมในโครงการสินภูฮ่อม
PTTEP เข้าซื้อสัดส่วนเพิ่มเติมในโครงการสินภูฮ่อมเพิ่มขึ้นจาก 80.487% เป็น 90% มูลค่าเงินลงทุน US$35m (อาจมีการรับรู้มูลค่าซื้อเพิ่มเติม US$3.5m หากบรรลุเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญา) ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาด
View From Fundamental: ข่าวดังกล่าวน่าจะเป็น positive sentiment ต่อราคาหุ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันอาจมี downside risk จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย เราจึงมองว่าควรระมัดระวังในการลงทุน
Bank
แหล่งข่าวเปิดเผยว่าได้รายชื่อผู้ได้ใบอนุญาต Virtual bank แล้ว 3 ราย
กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่าได้รายชื่อผู้ได้ใบอนุญาต Virtual bank แล้ว 3 ราย คือ 1) กลุ่ม SCB ที่เป็นพันธมิตรกับ WeBank (ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน) และ KakaoBank (ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในเกาหลีใต้) 2) กลุ่ม KTB, GULF , ADVANC และ OR และ 3) กลุ่มแอสเซนด์ มันนี่ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับแอนท์ กรุ๊ป (ผู้นำฟินเทค สัญชาติจีน)
View From Fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว เพราะคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานกลุ่มธนาคารอย่างมีนัยฯ ในระยะสั้น และธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ก็มีการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลอยู่บ้างแล้ว แต่การได้ใบอนุญาต Virtual bank ก็เป็นกลยุทธ์ที่จะใช้ต่อยอดในการหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เข้าไม่ถึงธนาคาร ซึ่งมีศักยภาพการเติบโตในระยะกลางถึงยาว
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน