ภาพตลาดและแนวโน้ม
ทรัมป์ปรับลดภาษีนำเข้าให้หลายประเทศ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร?
สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้รายงานเกี่ยวกับนโยบายภาษีเชิงรุกของรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญภาวะถดถอยในระดับกลาง (Mid-depth Recession) หากการเจรจาการค้าเป็นไปอย่างยืดเยื้อและไร้ความคืบหน้า โดยประเมินว่า GDP อาจหดตัวในกรอบ -1.5% ถึง -2.0%
อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศเลื่อนการจัดเก็บภาษีออกไป 90 วัน สำหรับ 75 ประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมเจรจา นำมาสู่คำถามสำคัญว่า การผ่อนคลายนโยบายครั้งนี้เพียงพอหรือไม่ที่จะหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
จากการติดตามข้อมูลเศรษฐกิจความถี่สูง (High Frequency Economic Data) ในหลายมิติ เราประเมินว่า แม้ความตึงเครียดด้านการค้าจะผ่อนคลายลง แต่ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยยังคงอยู่ เพียงแต่ระดับความรุนแรงอาจลดลงจาก Mid-depth Recession มาอยู่ในระดับ Mild Recession
บทวิเคราะห์วันนี้ เราจะใช้ข้อมูลดัชนี PMI และองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้นำเศรษฐกิจสำคัญ เพื่ออธิบายให้เห็นภาพความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่หมดไป โดยลักษณะเฉพาะของดัชนี PMI มักส่งสัญญาณในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันก่อนที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยมีลักษณะเด่นที่น่าสังเกตดังนี้:
จากการศึกษาค่า Z-Score แบบ Rolling 10 ปีของดัชนี US Services PMI และองค์ประกอบย่อย โดยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนและระหว่างภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอดีต (เช่น ในปี 2001, 2008 และ 2020) พบว่า New Orders ถือเป็นตัวชี้นำ (leading indicator) ที่มีความน่าเชื่อถือสูงทั้งในภาคบริการและภาคการผลิต โดยค่า Z-Score ของตัวแปรนี้มักลดลงก่อน Headline PMI และในหลายครั้งมักปรับตัวลดต่ำกว่า -1.0 ก่อนเกิดภาวะถดถอยจริง หากแนวโน้มของ New Orders ทั้งภาคการผลิตและบริการอ่อนตัวลงพร้อมกัน ย่อมสะท้อนความเสี่ยงว่าอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจโดยรวมกำลังถดถอย
ขณะที่ Backlog of Orders และ New Export Orders ก็แสดงบทบาทในลักษณะคล้ายกัน โดย Backlogs ของภาคบริการมักลดลงแรงล่วงหน้าก่อนเกิด Recession อย่างเห็นได้ชัดในช่วงวิกฤตซับไพรม์ และ New Export Orders ซึ่งมีความไวต่อเศรษฐกิจโลกก็มักส่งสัญญาณอ่อนตัวแรงกว่าดัชนีหลัก จึงสามารถใช้เป็นตัวช่วยยืนยันแนวโน้มชะลอตัวของอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศ
ในอีกด้านหนึ่ง Employment ถือเป็นตัวแปรที่เคลื่อนไหวช้ากว่าดัชนีอื่น (lagging indicator) โดยมักทรงตัวระยะหนึ่ง แม้ดัชนีอื่นเริ่มอ่อนแรงแล้ว ก่อนจะปรับลดลงแรงเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม หากค่า Z-Score ของ Employment ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาวมากกว่า -1.0 ในช่วงเวลาเดียวกับที่ New Orders และ Backlogs อ่อนแรง ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือว่าเศรษฐกิจได้เข้าสู่ช่วงท้ายวัฏจักรแล้ว
สุดท้าย Headline Services PMI หากลดต่ำกว่า -1.0 ต่อเนื่องหลายเดือน มักเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจภาคบริการกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก Headline, New Orders และ Backlogs ปรับตัวลงพร้อมกัน ก็จะ ยิ่งสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอในหลายมิติ และหากภาคการผลิตสะท้อนภาพเดียวกัน ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะ Recession ใน ไม่ช้า
สำหรับข้อมูลเดือนมีนาคม 2025 ค่า Z-Score ของ Services PMI, New Orders, Backlogs และ Employment ต่างอยู่ในระดับใกล้หรือต่ำกว่า -1.0 และบางตัวต่ำถึง -1.6 ซึ่งลักษณะเช่นนี้คล้ายกับช่วงก่อนเกิด Recession ในอดีตหลายครั้ง และหากประกอบกับสัญญาณอ่อนแอที่สะสมมาแล้วจากภาคการผลิต ย่อมสะท้อนความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในไตรมาส 1–3 ของปี 2025
สรุป: แม้ความตึงเครียดจากสงครามการค้าจะเริ่มลดลงบ้าง แต่ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2025 ยังคงอยู่ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสัญญาณชะลอตัวของอุปสงค์ที่สะท้อนผ่านดัชนี PMI และองค์ประกอบชี้นำสำคัญต่างๆ ที่ยังคงส่งสัญญาณเตือนอย่างต่อเนื่อง
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET รีบาวด์ตามคาด แต่แรงจะดูไม่ได้มาก โดยเป็นหุ้นใหญ่ถูกซื้อกลับ GULF CPALL CPF BDMS OR SCC PTT DELTA และกลุ่มธนาคาร ขณะที่หุ้นมีแรงขายสลับกันเป็น TRUE ADVANC และแรงขายต่อใน VGI
แนวโน้มตลาดวันนี้
หน้าร้อนมีหนาวไปกับ สงครามการค้า
เย็นวานนี้ จีนได้ตัดสินใจขึ้นภาษีโต้กลับสหรัฐฯ เป็น 84% (จากเดิม 34%) ตอบโต้ที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีกับจีน 104% ด้านสหรัฐฯ ตอบโต้กลับไป 125% อีกด้าน EU เตรียมขยายความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรที่เป็นประเทศคู่ค้า เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่เมื่อคืน ทรัมป์ก็เลือกประกาศระงับการบังคับใช้ภาษีตอบโต้ 90 วัน กับประเทศต่างๆ (เว้นจีนที่ปรับเพิ่มดังกล่าว) ระยะสั้น แม้ความตึงเครียดจะดูลดลงบ้าง แต่ยังมองว่าความผันผวนของตลาดโลกยังคงมีต่อ และความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจถดถอยยังคงอยู่ ตามสถานการณ์ปัจจุบัน (ติดตามใน Wealth Insight วันนี้)
กลยุทธ์ช่วงสั้นนี้ ควรจะเน้นลักษณะเลือกตัวเทรด ลง-ซื้อ, ขึ้น-ขาย ไปก่อน โดยแบ่งเงินเทรดบางส่วนสำหรับเก็งกำไร และเน้นเลือกในกลุ่มหุ้น Most Active ที่เป็นหุ้นใหญ่ เช่น GULF CPALL ADVANC TRUE OR เป็นต้น เพราะช่วงนี้ปลอดภัยจากการถูก Short Sell ด้วย ทำให้น่าจะเล่นสลับไปมาได้จนถึงพรุ่งนี้ ที่จะสิ้นสุดมาตรการชั่วคราวเพื่อประคองเสถียรภาพของตลาด (และมาลุ้นต่อมาตรการหรือไม่ หลังสงกรานต์)
ส่วนนักลงทุนระยะกลาง-ยาว ที่จะเน้นสะสมช่วงนี้ ไม่ชอบความหวาดเสียว แนะนำกลุ่ม Domestic/Defensive ไว้ก่อน เช่น ไอซีที (ADVANC TRUE) โรงพยาบาลในประเทศ (BDMS PR9) ค้าปลีกสินค้าจำเป็น (CPALL CPAXT) และกลุ่มที่เพิ่งฟื้นตัวและมีปัจจัยหนุนพิเศษ เช่น GFPT (ไม่ได้กระทบจาก US โดยตรงมาก และอาจเป็นสินค้าทดแทนหมูได้) HMPRO (มาตรการช่วยซ่อมบ้านและคอนโด) เป็นต้น
นอกจากการเจรจาการค้า แนะนำติดตามพัฒนาการสำคัญอย่าง การเมืองสหรัฐฯ (มีการชุมนุมประท้วงการใช้มาตรการการค้าที่รุนแรงเกินไป อาจส่งผลต่อแนวทางภาษีทรัมป์ เพราะกลัวเสียคะแนนเสียงเลือกตั้งกลางเทอม) และการทยอยปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่างๆ เช่น อินเดียเมื่อวาน
กลยุทธ์การลงทุน
พัฒนาการสำคัญที่เราจะกลับมาหาหุ้นเก็บเข้าพอร์ต ขึ้นอยู่กับ
1) การเจรจาจากที่ ทรัมป์ เผย มี 75 ประเทศพร้อมยอมเจรจา และหาหุ้นที่มาตรการภาษีตอบโต้กลายเป็นบวกต่อต้นทุนและสินค้านำเข้า
2) การเมืองสหรัฐฯจากการชุมนุม การใช้อำนาจสภาฯ อาจพลิกสถานการณ์ ทำให้ภาษีตอบโต้ ถูกดอง
3) มาตรการที่ ตลท.ใช้ระหว่าง 8-11 เม.ย.นี้ ต้องดูว่าจะช่วยลดแรงจูงใจในการทำกำไรขาลงได้ มากน้อยเพียงใด
4) คนเริ่มคาดการณ์กันแล้วว่า ธนาคารกลางต่างๆ จะเร่งลดดอกเบี้ย รวมทั้ง เฟด ด้วย ส่วนไทยมีลุ้นลดปลายเดือนนี้ ซึ่งอาจทำให้บรรยากาศลงทุนหุ้นไทยดีขึ้นกว่าเดิม
วิเคราะห์ทางเทคนิค SET เริ่มฟื้นมีสลับเขียวบ้าง ภายหลังถูกเทกระจาด ร่วงหนักสุดนับตั้งแต่ปี covid โดยผ่านการ drawdown ปรับตัวลงมาแล้วทั้งสิ้นถึง -22 YTD ส่วนมุมองกราฟเทคนิค…ภายหลังดัชนีหลุดเข้าสู่พ.ท. bear case 1,100 จุด ทำให้ดัชนีมีเวลาพักหายใจ มีโอกาสรีบาวด์สลับบ้าง ส่วนจะเป็นจุดต่ำสุดหรือไม่! ยังคงต้องรอสัญญาณยืนยัน อาจย้อนอดีตกลับไปช่วง Trade war 1.0 เดือนก.ค. ปี 2019 ตลาดจะฟื้นตัวได้ดี ต้องรอฝุ่นหายตลบไปเสียก่อน เราอาจซื้อช้า ซื้อแพงหน่อย…ไม่เป็นไร ส่วนแนวโน้มระยะสั้นยังคงเหมาะกับการ trading เก็งกำไรมากกว่า
Note: หุ้นที่เหมาะกับสภาวะตลาด ณ.ปัจจุบันมีแนะนำให้เลือกในหน้าถัดไปครับ
What to watch
สหรัฐฯ ประกาศระงับการบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariff) เป็นเวลา 90 วัน โดยมีผลบังคับใช้ในทันที เพื่อเปิดทางการเจรจาหลังประเทศต่าง ๆ มากกว่า 75 ประเทศได้ติดต่อมา (แต่ไม่ระงับจีน)
จีนตอบโต้กลับ ขึ้นภาษีเพิ่มเติมจาก 34% เป็น 84% สำหรับสินค้าจากสหรัฐฯ มีผลวันนี้ ขณะที่เมื่อคืนสหรัฐฯ เลือกที่จะตอบโต้จีนกลับ 125% แทนที่จะชะลอเหมือนประเทศอื่นๆ
อีกด้าน EU เตรียมขยายความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรที่เป็นประเทศคู่ค้า เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อรักษากฏระเบียบและ WTO ด้วยกัน
รมว. คลัง สหรัฐฯ เผยมีความเป็นไปได้ที่จะถอดหุ้นจีนออกจากตลาดสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้จีน ถือเป็นอีกมุมของสงครามการค้า-การเงิน
ธนาคารกลางอินเดียลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 6% ตามตลาดคาด และยอมรับว่าสงครามการค้าจะส่งผลต่อ GDP Growth
ผู้ว่า BOJ กังวลภาษีทรัมป์เสี่ยงทำเศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญความไม่แน่นอน // แบงก์ชาติอินโดฯ ลั่นพร้อมแทรกแซง หลังเงินรูเปียห์อ่อนค่าเป็นประวัติการณ์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัว -3.7% ในไตรมาส 1/2568
FedWatch Tool ของ CME Group ล่าสุด บ่งชี้ว่าเฟดมีโอกาสจะลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป (ความเห็นราว 52.5%) จากเดิมที่คาดลด มิ.ย.
หุ้นแนะนำวันนี้
ADVANC หุ้นหลบภัยความผันผวนของสงครามการค้า โดยอยู่ในจุดที่ปลอดภัยในแง่ผลกระทบ และมีฐานรายได้-กำไรในประเทศแกร่ง
แนวรับ 265 ต้าน 280 Stop loss 250
Tactical port
เพิ่ม TRUE HMPRO OR COM7
รายงานพื้นฐานวันนี้
Wealth Insight
สงครามการค้าในยุค Trump 2.0 และทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ
Reciprocal Tariff และสูตรการคำนวนที่แปลก เป็นการเดินเกมเชิงรุกเพื่อสร้างแรงกดดันให้ประเทศคู่ค้าตอบสนองอย่างเร่งด่วน สะท้อนแนวคิด “Art of the Deal” สำหรับ Timing คาดไตรมาส 2 ปี 2025 จะเป็นช่วง Escalation Phase โดยจะเห็นมาตรการตอบโต้จากหลายประเทศ ก่อนจะเข้าสู่ Negotiation & Partial De-escalation Phase ในไตรมาส 3 ปี 2025 ซึ่งประเทศเล็กน่าจะเริ่มบรรลุข้อตกลงรายประเทศแบบ Selective ขณะที่ประเทศใหญ่น่าจะเปิดโต๊ะเจรจากับสหรัฐฯ
สงครามการค้าเพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยมากและเร็วขึ้น ซึ่งแต่เดิมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็อยู่ในช่วงขาลงของวัฏจักรเศรษฐกิจอยู่แล้ว สะท้อนจากค่า Z-Score ของดัชนีชี้นำอย่าง Manufacturing PMI และ Service PMI รวมถึงดัชนีย่อยสำคัญ (New Orders, Backlogs และ Employment) ที่ล่าสุดปรับตัวลงใกล้หรือต่ำกว่า -1.0 และบางตัวต่ำถึง -1.6 ซึ่งเป็นลักษณะที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิด Recession ในอดีตหลายครั้ง สะท้อนความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในไตรมาส 1–3 ของปี 2025
CPALL
ซีพี ออลล์
กำไรร้อนแรงเหมือนไฟ แต่ราคาหุ้นถูกแช่แข็งอยู่
คาดกำไรหลัก 1Q25 อยู่ที่ 6,765 ลบ. โต 12% YoY (ลดลง 3% QoQ จากฤดูกาลของ CPAXT) ได้แรงหนุนจาก SSSG ของ 7-Eleven ที่ 3% และ GM ที่เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนสินค้ากลุ่มสินค้าพร้อมทานที่มากขึ้น และบุหรี่ที่ลดลง ขณะที่ยอดขายรวมอยู่ที่ 2.48 แสนลบ. (+6% YoY)
แนวโน้ม 2Q25 คาดกำไรหลักเติบโต YoY หนุนโดยยอดขายฤดูร้อน และสินค้ากำไรสูง และมี Upside จากนโยบายรัฐที่อาจเริ่มใน 2Q25 ได้แก่ 1) ค่าไฟฟ้าลดลงเหลือ 3.99 บาท/หน่วย (จาก 4.15) และ 2) การแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ระยะที่ 3 (วงเงินรวม 2.6 หมื่นลบ.) ซึ่ง CPALL มีเครือข่ายร้านสะดวกซื้อกว่า 15,400 แห่งทั่วประเทศ พร้อมรองรับกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
สำหรับผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ จำกัด แม้ภาพรวมอาจกระทบการบริโภคในประเทศผ่าน GDP ที่ชะลอลง แต่ 7-Eleven มีซัพพลายเชนในประเทศเป็นหลัก คาดแรงกดดันจาก GM ต่ำมาก และจากประมาณการฐานของนักเศรษฐศาสตร์ หาก GDP โตแค่ 0.9% (กรณีแย่สุด) เราประเมิน Downside ต่อกำไรปี 2025 ที่ราว 4% เท่านั้น (สมมติ SSSG เหลือเพียง 1%)
Fundamental View: เราคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 70 บาท
BBIK
บลูบิค กรุ๊ป
กระทบแค่ในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังมีศักยภาพ
สำหรับ BBIK มุมมองของเราต่ออุตสาหกรรม IT services ในไทยจากประเด็นผลกระทบของภาษีทรัมป์เรามองความเป็นไปได้ใน 3 ประเด็นคือ
1) IT spending ที่อาจจะมีการชะลอตัว เพื่อรักษาเงินสดไว้ท่ามกลางความไม่แน่นอน โดย CIO ฝั่ง US และ EU เริ่มมีการปรับการเติบโตของ IT spending ลงจาก 4% มาที่ 3%
2) การชะลอการลงทุนของ Hyperscaler อาจจะทำให้ demand ของ Cloud migration ลดลง รวมถึงต้นทุนด้าน AI อาจจะชะลอการปรับลง ซึ่งทำให้ความคุ้มของ ROI ในหลาย Use case อาจจะยืดเวลาไปกว่าเดิม
3) ต้นทุน Hardware ที่สูงขึ้น อาจจะส่งผลต่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย
แต่ในทางตรงข้ามมองเห็นประเด็นบวกใน 2 ประเด็น
1) ตลาด IT ในไทยยังแค่เริ่มต้น ผลกระทบจะจำกัด และระบบบางส่วนมีความจำเป็นต้องอัปเกรด เช่น ระบบ Banking รองรับ Transaction ที่เพิ่มขึ้น
2) การลงทุนด้าน IT หรือ AI จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระยะยาว
Fundamental view: ภาพรวมเรามีการปรับประมาณการรายได้ของ BBIK ลงเพื่อสะท้อนมุมมองระมัดระวังมากขึ้น โดยยังคาดกำไรโตได้ระดับ 20% มี Backlog ใกล้เคียงสิ้นปี 2023 ซึ่งน่าจะทำให้ Downside จำกัด ยังแนะนำ ซื้อ
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน