ขอพลังจงสถิตย์อยู่กับ SET
TOP PICK BDMS / CPALL
EXTERNAL FACTOR
GLOBAL INDICES
• การประกาศปรับขึ้นภาษีตอบโต้เมื่อคืนที่ผ่านมา ปธน. TRUMP เรียกเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้าทุกประเภทที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ (มีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 เม.ย. 68) และเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นกับประเทศที่มีความไม่สมมดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ ราว 60 ประเทศ (มีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันที่ 9 เม.ย. 68)
• ซึ่ง “ไทย” ถูกเรียกเก็บ 36% สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียน
• มาตรการที่ออกมารุนแรงกว่าคาด กดดันตลาดหุ้นเช้านี้ผันผวนหนัก โดย DOWJONES FUTURE -2.1% ญี่ปุ่น -3.12% เกาหลีใต้ -1.3%
INTERNAL FACTOR
• TRUMP ประกาศเก็บภาษีตอบโต้ทั่วโลก ซึ่งไทยโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า 36% มีผลบังคับใช้ 9 เม.ย.68 ซึ่งหากการส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ลดลงทุกๆ 1% จะส่งผลให้มูลค่าส่งออกไทยลดลงราว 1.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน GDP ไทยราว -0.11%
• องค์ประกอบของ GDP ที่มีโอกาสลดลงทั้งตัวแปร X, I และส่งผลต่อเนื่องถึงตัวแปร Cทำให้เปิด DOWNSIDE ของ GDP GROWTH ปี 2568 โดยตัวเลขของบางสำนักเศรษฐกิจคาดว่า GDP อาจแตะระดับต่ำกว่า 2% ได้ไม่ยาก ซึ่งค่าเฉลี่ยแต่ละสำนักเศรษฐกิจก่อนหน้านี้อยู่ที่ +2.9%YOY
INVESTMENT STRATEGY
• นักลงทุนเหมือนโดนมีดบาดนิ้ว ด้วยประเด็น TARIFF เช้านี้ แต่ต้องตั้งสติ เพราะนิ้วยังไม่ขาด โดยเบื้องต้นประเมินรายได้ของ SET ส่งออกไปสหรัฐราว 3 –4% ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น ผลกระทบน่าจะจำกัด
• ในมุม DOWNSIDE เชิงพื้นฐาน ฝ่ายวิจัยประเมินจาก MEYG ที่สูงสุดช่วง COVID19 ที่ 6.8% แปลงเป็น P/E ที่ต่ำสุด คือ 12.8 เท่า หากนำมาคูณกับ EPS 88 –89 บาท/หุ้น จะได้แนวรับทางพื้นฐานที่สำคัญ ของ SETINDEX บริเวณ 1125 –1140จุด
• กลยุทธ์แนะนำหลีกเลี่ยง หุ้นส่งออก -> อาหาร, เกษตร ยานยนต์ ชินส่วนฯ ชั่วคราว เน้นหุ้น DOMESTIC ผันผวนต่ำ CPALL, BEM, BDMS, WHA, ADVANC
“ไทย” ไม่รอดสายตา TRUMP
USTR ของสหรัฐฯ เผยรายงานประเมินการกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าประจำปี 2025 (NATIONAL TRADEESTIMATE REPORT 2025) ในส่วนของประเทศไทย มีหลายประเด็นที่ทำให้บ้านเรามีความสุ่มเสี่ยงค่อนข้างสูง ในการถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มเติม อาทิ
• ดุลการค้า : ไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากขึ้น โดยในปี 2017 อยู่ลำดับที่ 14 (มูลค่า 2.01 หมื่นล้านเหรียญฯ) ส่วนปี 2024 อยู่ลำดับที่ 11 (มูลค่า 4.56 หมื่นล้านเหรียญฯ)
• ภาษีนำเข้า : อัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐที่อยู่ระดับสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ซึ่งของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 27%และสินค้าอื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.1% เทียบกับของสหรัฐในด้านสินค้าเกษตรอยู่ที่ 5% ส่วนสินค้าอื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 3.1% ขณะที่อัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยของสินค้าทั้งหมดอยู่ที่ 9.8% ซึ่งสูงกว่าสหรัฐฯ เกือบ 3 เท่า
• อุปสรรคทางการค้า : ไทบมีการห้ามนำเข้าเชื้อเพลิงจากเอทานอล บวกกับมีข้อจำกัดเนื้อวัว-เนื้อหมูนำเขาและห้ามนำเข้าสัตว์ปีก
• ทรัพย์สินทางปัญญา : ไทยอยู่ในบัญชีจับตาของสหัรฐฯ
ขณะที่ผลลัพธ์ของการประกาศปรับขึ้นภาษีตอบโต้เมื่อคืนที่ผ่านมา ปธน. TRUMP เรียกเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐาน10% สำหรับสินค้าทุกประเภทที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ (มีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 เม.ย. 68) และเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นกับประเทศที่มีความไม่สมมดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ ราว 60 ประเทศ (มีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันที่ 9 เม.ย.68)ซึ่ง “ไทย” ถูกเรียกเก็บ 36% สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียน
มาตรการที่ออกมารุนแรงกว่าคาด กดดันตลาดหุ้นเช้านี้ผันผวนหนัก โดย DOW JONES FUTURE -2.1% ญี่ปุ่น -3.12% เกาหลีใต้ -1.3% ขณะที่ไทย อาจได้รับ SENTIMENT เชิงลบตามไปด้วย สำหรับระยะถัดไป ยังต้องติดตามว่าบ้านเราจะมีท่าทีรับมือกับความผลกระทบ หรือรัฐบาลจะมีการเจรจาต่อรองอย่างไรบ้าง
เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด จาก TAX TARIFF 36%
หลังจากที่ TRUMP ประกาศเก็บภาษีตอบโต้ทั่วโลก ซึ่งไทยโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า 36%(สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียน) มีผลบังคับใช้ 9 เม.ย.68 โดยสัดส่วนการส่งออกไทยไปสหรัฐฯราว 18% ซึ่งหากการส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ลดลงทุกๆ 1% จะส่งผลให้มูลค่าส่งออกไทยลดลงราว 1.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน GDP ไทยราว -0.11%
ขณะที่ในมุมอื่นๆที่น่าจะกระทบต่อไทย คือ มูลค่า FDI มีโอกาสที่จะไม่เพิ่มขึ้นหรือไม่โดดเด่นดังยุค TRUMP 1.0เนื่องจากTRUMP จงใจขึ้นภาษีทุกประเทศ (การย้ายฐานการผลิตอาจจะไม่มีผล)ซึ่งองค์ประกอบของ GDP ที่มีโอกาสลดลงทั้งตัวแปร X, I และส่งผลต่อเนื่องถึงตัวแปร C ทำให้เปิด DOWNSIDE ของ GDP GROWTH ปี 2568โดยตัวเลขของบางสำนักเศรษฐกิจคาดว่า GDP อาจแตะระดับต่ำกว่า 2% ได้ไม่ยาก ซึ่งค่าเฉลี่ยแต่ละสำนักเศรษฐกิจก่อนหน้านี้
อยู่ที่ +2.9%YOY ขณะที่กระทรวงพาณิชย์เสนอว่าแผลการรับมือของไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง
1. ไทยพิจารณาปรับลดภาษีนำเข้าแต่ละสินค้าลงให้ไม่เกิน 36% คาดจะทำให้ผลขาดดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯ-ไทย ลดลง 3200 ล้านเหรียญฯ
2. ไทยเพิ่มปริมาณสินค้านำเข้าเกษตรจากสหรัฐญเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื้อสัตว์ แอลกฮอล์ ถั่วเหลือง เศษเนื้อและเครื่องใน เครื่องบิน
ประเมินแนวรับทางพื้นฐานที่สำคัญของ SET 1125 – 1140 จุด
นักลงทุนเหมือนโดนมีดบาดนิ้ว ด้วยประเด็น TARIFF เช้านี้ แต่ต้องตั้งสติ เพราะนิ้วยังไม่ขาด โดยเบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯประเมินรายได้ของ SET ส่งออกไปสหรัฐราว6.56 แสนล้านบาท หรือราว 3 –4% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนผลกระทบน่าจะจำกัด หากอิงอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น 36% และอัตรากำไรสุทธิที่ 2% –5% จะกระทบ EPS68F ราว 0.5 –1 บาท/หุ้น
ในมุม DOWNSIDE เชิงพื้นฐาน ฝ่ายวิจัยฯประเมิน VALUATION จากวิธีMEYG ที่สูงสุดช่วง COVID19 ที่ 6.8%แปลงเป็น P/E ที่ต่ำสุด คือ 12.8เท่า หากนำมาคูณกับ EPS67F88 –89 บาท/หุ้น จะได้แนวรับทางพื้นฐานที่สำคัญของ SET INDEX บริเวณ 1125 –1140จุด
กลยุทธ์แนะนำหลีกเลี่ยง หุ้นส่งออก -> อาหาร, เกษตร ยานยนต์ ชินส่วนฯ ชั่วคราว เน้นหุ้น DOMESTIC ผันผวนต่ำCPALL, BEM, BDMS, WHA, ADVANC
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์